วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ชาติพันธุ์วิทยาคืออะไร : What is Ethnography?

ชาติพันธุ์วิทยาคืออะไร : What is Ethnography?

นักเรียนการแปล เรียบเรียง


เป็นเวลาหลายทศวรรษมาแล้ว ที่ชาติพันธุ์วิทยาได้กลายเป็นการวิจัยทางสังคม (social research) ที่ได้รับความนิยม เช่นเดียวกับการศึกษาสังคมเชิงปริมาณอื่นๆ (qualitative research) ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการศึกษาสังคมเชิงปริมาณ กลายเป็นกระบวนการศึกษาหลักในสาขาสังคมศาสตร์ แม้จะยังได้รับความนิยม แต่การศึกษาเชิงปริมาณก็ก่อให้เกิดการแตกกิ่งก้านอย่างหลากหลาย (diversification) และเกิดแนวคิดแย้ง (disagreement) ทั้งในด้านการให้คำอธิบายและการปฏิบัติ และการเห็นไม่ตรงกัน (dissensus) เกี่ยวกับลักษณะตามธรรมชาติและจุดประสงค์ของการวิจัยเชิงปริมาณ เกิดกระบวนทัศน์ที่หลากหลายขึ้นในการวิจัย

หนังสือเล่มนี้ให้ความหมายของคำว่า ชาติพันธุ์วิทยา ว่าเป็นกระบวนวิธี (method) อย่างหนึ่ง โดยผู้ที่เป็น นักชาติพันธุ์วิทยา (ethnographer) จะต้องเข้าร่วมสังเกตการณ์ อาจเปิดเผยและปกปิดตัวตน เพื่อศึกษาชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นระยะเวลาหนึ่ง สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น ฟังสิ่งที่มีการสื่อออกมา พร้อมทั้งตั้งคำถาม หรือกล่าวในอีกนัยหนึ่งคือ การเก็บข้อมูลต่างๆที่พบ เพื่อหาคำตอบในการศึกษาวิจัย แต่เมื่อนักวิจัยสังคมกลายเป็นผู้สังเกตการณ์ร่วม (participant observer) เป็นเหตุให้ขอบเขตของการศึกษาชาติพันธุ์วิทยาไม่มีลักษณะชัดเจนในตัวเอง จนสามารถแยกตัวเองออกจากการศึกษาเชิงคุณภาพอื่น

ชาติพันธุ์วิทยา เป็นการศึกษาวิจัยสังคมพื้นฐานที่สุด ไม่ใช่เพราะเป็นสาขาวิชาที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเท่านั้น หากแต่เป็นสาขาวิชาที่มีความเหมือน (resemblance) กับวิธีการปกติ ที่มนุษย์ใช้รับรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลก มีนักวิชาการบางท่านมองว่า คุณสมบัติข้อนี้เป็นทั้งข้อเด่นและข้อด้อย แต่ปัจจุบันเริ่มมีการยอมรับแนวทางของชาติพันธุ์วิทยามากขึ้น จนเกิดความต้องการเชื่อมโยงการศึกษาเชิงปริมาณ เข้ากับการศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative technique) แต่ก็มีนักชาติพันธุ์วิทยาบางท่าน ที่พยายามแยกกระบวนการศึกษาให้ต่าง ไปจากที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณ อีกทั้งได้ปฏิเสธความเป็นวิทยาศาสตร์ (science) ของชีวิตกับสังคม (social life) ที่ต้องการทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของมนุษย์ นักวิจัยสังคมเกิดความคิดขัดแย้ง ระหว่างการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ และแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาโลกทางสังคม (social world) ว่าต้องทำโดยวิธีใด

เนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงของแนวคิดเกี่ยวกับวิธีวิทยาทางด้านชาติพันธ์วิทยาระหว่างการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ที่กลายเป็นแบบจำลอง (model) ที่ขับเคี่ยวกันในการศึกษาวิจัยสังคม เริ่มด้วยการที่ทางทางปรัชญา (philosophical position) ระหว่าง ปฏิฐานนิยม (positivism) และ ธรรมชาตินิยม (naturalism) โดยที่ปฏิฐานนิยมเป็นแนวคิดที่อ้างอิงกระบวนการเชิงปริมาณ ขณะที่ ธรรมชาตินิยมอ้างอิงกระบวนการเชิงคุณภาพ

ปฏิฐานนิยม (positivism) มีประวัติศาสตร์ยาวนาน แต่มีอิทธิพลสูงสุดเมื่อได้พัฒนามาเป็น (logical positivism) นำเสนอสภาวะการวิจัยที่เน้นการทดลองและสำรวจ และการศึกษาเชิงปริมาณที่มีกระบวนการวิเคราะห์เชิงทดลองและสำรวจ มีลักษณะโดดเด่น 3 ข้อ ดังต่อไปนี้

1. วิทยาศาสตร์กายภาพ ในฐานะตรรกะของการทดลอง เป็นแบบจำลองสำหรับศึกษาวิจัยสังคม (physical science, conceived in terms of the logic of the experiment, is the model for social research) นักปฏิฐานนิยมอ้างว่าตนเองใช้แนวคิดเดียวกับวิทยาศาสตร์กายภาพ กล่าวคือสามารถวัดค่าของสิ่งที่ศึกษาได้ เพื่อหาความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น

2. กฎสากล (universal truth) นักปฏิฐานนิยม มักอธิบายลักษณะว่า เป็นสิ่งที่มีลักษณะพื้นฐานที่เป็นสากล ว่าตัวแปรทั้งหลาย (variable) ล้วนแต่มีความสัมพันธ์กัน แม้สถานการณ์จะแตกต่าง นักสังคมศาสตร์ (social scientist) ที่ยึดแนวคิดนี้จึงทำให้เกิดการกำหนดแบบจำลอง (model) เพื่อศึกษาตัวอย่าง เป็นการศึกษาเชิงวิจัย

3. ภาษาในการศึกษาที่เป็นกลาง (neutral observation language) นักปฏิฐานนิยมให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์ที่สัมผัสรับรู้ได้ โดยระบุว่าสิ่งต่างๆในโลก จะเป็นไปตามที่ระบุไว้ในทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ ทุกคนสามารถรับรู้ไม่มีสิ่งใดพิสูจน์ไม่ได้ มีการสร้างมาตรฐานของการเก็บข้อมูล ให้มีลักษณะคงที่ เมื่อมีการตรวจสอบโดยคนอื่นๆในภายหลัง

กล่าวได้ว่า แนวคิดปฏิฐานนิยม คือความเชื่อมั่นในวิธีศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ สร้างแบบจำลองขึ้นจากแนวคิดวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดด้านฟิสิกส์ มุ่งเน้นการทดสอบตามหลักทฤษฏี แยกแยะการค้นพบ (discovery) ออกจากการพิสูจน์ว่าเป็นจริง (justification) ถือว่าสิ่งที่พิสูจน์ได้เป็นวิทยาศาสตร์ แยกขาดจากผลที่เกิดจากความคิดความรู้สึก (common sense) ความจริงเป็นกลาง ปราศจากการครอบงำของระบบคุณค่าของมนุษย์

ธรรมชาตินิยม (naturalism) เสนอแนวคิดว่า ควรศึกษา โลกทางสังคม (social world) ตามสภาวะธรรมชาติ ที่มันเป็น ไม่ควรถูกรบกวนโดยผู้ทำวิจัย ดังนั้นการวิจัยจึงต้องระมัดระวัง ไม่ให้กระทบกระเทือนกับธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ โดยมีจุดปรสงค์เพื่ออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ลักษณะของคนที่เกี่ยวข้องมองภาพลักษณ์ตนเองและมองตัวตนของคนอื่น ในบริบทของสถานการณ์นั้นๆ หัวใจสำคัญของแนวคิดธรรมชาตินิยมคือ การที่นักวิจัยต้องปรับทัศนคติให้ เคารพ (respect) รู้ซึ้งถึงคุณค่า (appreciation) ในโลกทางสังคม สิ่งที่จำเป็นอันดับแรกของการวิจัยสังคม ตามแนวทางธรรมชาตินิยมคือ ความซื่อสัตย์ต่อปรากฏการณ์ที่ศึกษา ไม่ใช่ยึดติดกับวิธีวิทยาการศึกษาใดๆ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะขัดแย้งกับข้อโต้แย้งทางปรัชญาแค่ไหนก็ตาม ในการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ผู้ศึกษาต้องเข้าร่วมในสังคมนั้นๆ เพื่อศึกษาและตีความโลกได้ถูกต้อง ตามที่คนที่ศึกษาตีความ แทนที่จะศึกษาแบบนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ที่ทำความเข้าใจพฤติกรรมด้วยปรากฏการณ์ทางกายภาพประเภทต่างๆ (physical phenomena) ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เชื่อว่า ความรู้ที่ได้มาอย่างบริสุทธิ์เป็นกลางนั้น ไม่มีจริง กระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าการวิจัยตามแนวคิดสะท้อนกลับ ต้องประกอบด้วยอุดมการณ์ทางการเมือง แต่เป้าหมายของการวิจัยคือการสร้างองค์ความรู้

ในหัวข้อ การวิจารณ์แบบปฏิสัจนิยมและแบบการเมืองของธรรมชาตินิยม (anti-realist and political critiques of naturalism) ให้ข้อมูลว่า ชาติพันธุ์วิทยาและการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ ยังมีความพยายามรวมวิธีเอาการวิจัยเชิงปริมาณเข้ามาใช้ด้วย แต่กระนั้น แนวคิดทั้งสองก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าละเลยที่จะตรวจสอบแนวคิดทางปรัชญาและทางการเมือง ที่ปรากฏอยู่ในการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แม้ว่า ปฏิฐานนิยม จะแตกต่างกับธรรมชาตินิยม แต่ก็มีหลายประเด็นที่เหมือนกัน เช่นแนวคิดทั้งคู่ต่างใช้หลักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เพียงแต่ตีความต่างประเด็นกันเท่านั้น จุดร่วมกันของสองแนวคิดคือ นำเสนอความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคม ว่า เป็นสิ่งที่ปลอดพ้นอิทธิพลของผู้ศึกษาวิจัย หมายความว่า การวิจัยตามแนวคิดทั้งสอง จะต้องไม่มีการกระทำหรือความคิดเชิงการเมืองของผู้วิจัยไปแทรกแซงผลของการวิจัย กระนั้นก็ตาม ก็มีนักชาติพันธุ์วิทยาหลายท่านเริ่มตั้งคำถามต่อความคิดนี้

ผู้วิจารณ์แนวคิดปฏิฐานนิยมและธรรมชาตินิยม เนื่องจากทั้งสองแนวคิดเสนอว่า การทำวิจัยสังคมต้องแสดงปรากฏการณ์ออกมาในรูปตัวหนังสือ ผ่านการเก็บข้อมูลและนำเสนอให้ตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่คำถามคือ ถ้าอย่างนั้นปฏิฐานนิยมและธรรมชาตินิยมก็ไม่ต่างอะไรกับสัจนิยม (realism) อนึ่งคำวิจารณ์นี้ เกิดจากความไม่ลงตัวภายในวิชาชาติพันธุ์วิทยาเอง ระหว่างคุณลักษณะแบบธรรมชาตินิยม (characteristic) ของกระบวนการทำวิจัยของนักชาติพันธุ์วิทยากับแนวคิดโครงสร้างนิยม (constructivism) และแนวคิดสัมพัทธิ์นิยมทางวัฒนธรรม (cultural relativism) ที่ทำให้มีมุมมองอย่างนั้น ทั้งนี้รวมถึงพฤติกรรมของผู้ที่เข้าไปศึกษาด้วย

ในห้วข้อเรื่อง การเมืองเรื่องชาติพันธุ์วิทยา (The politics of ethnography) แสดงข้อมูลว่า ผู้ยึดถือแนวคิดธรรมชาตินิยม มีความคิดเช่นเดียวกับผู้มีแนวคิดปฏิฐานนิยมคือ ต้องการศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ด้วยการสะท้อนธรรมชาติของปรากฏการณ์นั้นๆ อย่างปราศจากค่านิยมหรือแนวคิดทางการเมือง กระนั้นผู้ยึดแนวคิดทั้งสองแบบ ก็ตระหนักดีว่า การวิจัยนั้นย่อมได้รับผลกระทบจากค่านิยมของผู้วิจัยอย่างแน่นอน ดังนั้น ผู้มีแนวคิดธรรมชาตินิยมจึงต้องการลดอิทธิพลจากแนวคิดของผู้วิจัยให้น้อยเท่าที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้การศึกษาสื่อออกมาได้ใกล้เคียงความเป็นจริง หลายปีที่ผ่านมาแนวคิดเป็นกลาง (neutrality) หรือเป็นภววิสัย (objectivity) ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลาย จนมีบางกลุ่มต้องออกมาใช้ศัพท์ใหม่ว่า การวิจัยที่เปิดกว้างทางอุดมการณ์ (openly ideological research) ทั้งนี้ส่วนหนึ่งได้แนวคิดจากอิทธิพลของ แนวคิดสายมาร์กซิสและทฤษฏีวิพากย์ (critical theory) รวมถึงทฤษฏีสายสตรีนิยม (feminism)

การสะท้อนกลับ (reflexivity) เป็นลักษณะของการวิจัยเชิงสังคม เป็นประเด็นหนึ่งที่นักชาติพันธ์วิทยาและนักวิชาการสาขาอื่นๆ ให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานประเภท ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (natural history) แนวคิดนี้กล่าว่า สิ่งที่ผู้วิจัยศึกษาจะมีลักษณะที่โน้มเอียงไปยังผู้ศึกษา เนื่องจากอิทธิพลจากสภาพสังคมและประวัติศาสตร์ ทั้งที่เป็น ค่านิยม (value) ความสนใจ (interest) การสะท้อนกลับปฏิเสธแนวคิดว่า การวิจัยสามารถทำได้อย่างอิสระ ปราศจากอิทธิพลใดๆ อย่างสิ้นเชิง การสะท้อนกลับเป็นคุณลักษณะสำคัญของการวิจัยสังคม เพราะการวิจัยสายนี้ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ทำวิจัย ด้วยการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นๆ เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะไม่ให้เราใช้ความรู้ที่มาจากสามัญสำนึก และเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงไมให้มันกระทบกับปรากฏการณ์ทางสังคมที่เราศึกษาได้ เราไม่จำเป็นต้องละทิ้งความรู้ที่ได้จากสามัญสำนึก (commonsense knowledge) เพียงแต่ระบุให้มันถูกต้องตามที่มันควรจะเป็น คนเราไม่มีมาตรฐานตายตัวที่จะมาตัดสินแนวคิดว่าถูกหรือผิดได้เด่นชัด แต่เราสามารถใช้ความรู้ที่เรามีได้ โดยที่ต้องระลึกไว้เสมอว่า มันอาจจะมีความผิดพลาดปรากฏ ข้อสงสัยสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อคิดได้เช่นนี้ จะทำให้เราคิดได้ว่า ได้พยายามอธิบายปรากฏการณ์อย่างที่มันเป็นจริง ไม่ใช่ศึกษาตามที่เราอยากให้มันเป็น มันเป็นเรื่องปกติ เพราะในชีวิตประจำวัน เราก็มักจะคิดเอาเองโดยไม่ได้ศึกษาสิ่งรอบตัวอยู่แล้ว หรือหากนำมาทดสอบก็ยากที่จะทำได้อย่างครบถ้วน

นอกจากนั้น เราต้องตระหนักอีกว่า การวิจัยเป็นกระบวนที่เกิดจากการกระทำ เกิดการเลือกศึกษาข้อมูลบางส่วน และตีความด้วยทฤษฏีบางทฤษฏี ตามที่ผู้วิจัยเห็น ดังนั้นบางประเด็นจึงหลงเหลือไม่ได้ศึกษา องค์ความรู้หรือผลการศึกษาที่ได้ แม้ไม่ครบถ้วน ก็ไม่ได้หมายความว่า เราไม่ได้ศึกษาปรากฏการณ์จริงๆ ในการศึกษามนุษย์ เราไม่ได้พึ่งเฉพาะข้อมูลที่มีเท่านั้น เรายังลดปฏิกิริยาและควบคุมมันอีกด้วย นั่นคือเรานำข้อมูลมาปรับเพ่อใช้ประโยชน์ อีกทั้งการปรากฏตัวของนักวิจัยอาจเป็นประโยชน์ สำหรับศึกษาว่า ในสถานการณ์อื่น ผู้ทีถูกศึกษามีปฏิกิริยาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

จากเนื้อหาทั้งหมด เราสามารถสรุปได้ว่า การตรวจสอบการสร้างโครงสร้างใหม่เกี่ยวกับตรรกะของการวิจัยเชิงสังคมและปัญหาของตรรกะนี้ ที่ส่งผลต่อวิชาชาติพันธ์วิทยา แนวคิดปฏิฐานนิยม (positivism) และแนวคิดธรรมชาตินิยม (naturalism) ต่างไม่สามารถแสดงกรอบโครงสร้างได้อย่างเพียงพอ ทั้งสองแนวคิดต่างไม่ตรวจสอบการสะท้อนกลับพื้นฐาน (fundamental reflexivity) ด้วยความจริงที่ว่า พวกเราต่างอยู่ในโลกที่เราศึกษา และไม่มีทางหลีกเร้นจากการพึ่งพิง (reliance) ความรู้และกระบวนการตรวจสอบที่อาศัยสามัญสำนึกได้ การวิจัยเชิงสังคมทั้งหมดต้องอาศัยการสำรวจตรวจสอบของมนุษย์ เราทุกคนมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม ดังนั้นสิ่งที่เราแสดงออก จึงสะท้อนสังคมที่เราอยู่ การกระทำของเราจึงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังคม อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กล่าวนี้ก็นำไปสู่ข้อสงสัยว่าการวิจัยสังคมจะสามารถสร้างความรู้ได้หรือไม่ หรือทำได้เพียงแต่เปลี่ยนสิ่งที่วิจัยให้กลายเป็นสิ่งประกอบสร้างทางการเมือง (political enterprise) เท่านั้น ในการศึกษา การสะท้อนกลับ ให้รากฐานของตรรกะการตั้งคำถามแบบรื้อถอนโครงสร้าง (reconstructed logic of inquiry) ที่มีลักษณะคล้ายแนวคิดปฏิฐานนิยมและธรรมชาตินิยม แต่ การสะท้อนกลับ (reflexivity) เป็นลักษณะของการวิจัยเชิงสังคม เป็นประเด็นหนึ่งที่นักชาติพันธ์วิทยาและนักวิชาการสาขาอื่นๆ ให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานประเภท ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (natural history)
.........................

วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2551

การสร้างภาพตัวแทนบุคคลในมุกตลกภาษาอังกฤษ


การสร้างภาพตัวแทนบุคคลในมุกตลกภาษาอังกฤษ
-- นักเรียนการแปล ---
วิชาการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม โรงเรียนศาลายาประชาอุปถัมภ์

อารมณ์ขัน หรือความขบขัน (Humor) เป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ แสดงออกด้วยการยิ้มหรือหัวเราะ ผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า มุกตลก (Joke) สำหรับคำว่าอารมณ์ขันนั้นมีผู้นิยามแตกต่างกันไป ซิกมันด์ ฟรอยด์ (อ้างถึงในพงศกร บัวทอง; 2545: 1) กล่าวว่าการตลกหรือการเล่าเรื่องขำขันเป็นกลไกทางจิตใจที่ช่วยลดความตึงเครียดในระดับจิตสำนึก นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวว่า ความขบขันเกิดขึ้นในสัตว์และเด็กตัวเล็กๆไม่ได้ เพราะอารมณ์ขันต้องอาศัยความเข้าใจหลายอย่างเช่นเข้าใจตรรกะ ไม่ใช่การหัวเราะหรือยิ้มเพียงอย่างเดียว เมื่อสิ่งที่คนอื่นพูดออกมาขัดกับตรรกะหรือไม่ลงรอยกับตรรกะแล้ว ความขบขันจึงจะเกิดขึ้น แต่อารมณ์ขันจะแตกต่างกันไปตามระเบียบและประเพณีของแต่ละวัฒนธรรม นอกจากนั้นในกรณีมุกตลก ซึ่งเป็นเครื่องมือสื่ออารมณ์ขัน นิธิมองว่า มุกตลกคือการจัดวางคนไว้บนบันไดทางสังคม ตลกชาติพันธ์และตลกชนชั้นนั้นไม่ว่าวัฒนธรรมใด ย่อมเป็นการผลักดันกลุ่มที่เป็นตัวตลกให้ลงบันใดล่างๆทั้งนั้น โดยเฉพาะคนที่เป็นคนแปลกหน้าของสังคม ในกรณีของคนไทยได้แก่ คนจีน (ตลกเจ๊ก) และคนอีสาน (ตลกลาว) เป็นต้น

ผู้เขียนทำการศึกษาการใช้ภาษาสื่ออารมณ์ขันในมุกตลกภาษาอังกฤษบนอินเตอร์เน็ต ในเว็ปไซต์ www.funyandjokes.com โดยสังเกตว่า ในการใช้มุกตลกเพื่อสื่ออารมณ์ขันนั้น มีการกล่าวถึงลักษณะของบุคคลบางกลุ่มในสังคมตะวันตกไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งคล้ายคลึงกับที่เกิดในประเทศไทย ดังที่ยกตัวอย่างข้างต้นเป็นอย่างมาก เพียงแต่เป็นบุคคลต่างกลุ่มกันเท่านั้น มีการกล่าวย้ำซ้ำไปมาหลายครั้งในมุกตลก แม้สถานการณ์ในเรื่องตลกแต่ละเรื่องจะเปลี่ยนไป แต่ประเด็นหลักเกี่ยวกับลักษณะของบุคคลเหล่านั้นยังคงอยู่ ผู้วิจัยจึงหยิบยกประเด็นดังกล่าวมาวิเคราะห์ โดยใช้แนวคิด Stereotype ของ Walter Lippman

คำว่า Stereotype หมายถึงการอธิบายลักษณะของคน กลุ่มคน หรือสังคม ในลักษณะตายตัวและเกินจริง ก่อนที่จะสัมผัสหรือศึกษาตามหลักวิชาการ Stereotype มักมีพื้นฐานมาจากอคติ (prejudice) มากกว่าข้อเท็จจริง แต่เพราะการนำเสนอแบบตอกย้ำเป็นเวลานาน Stereotype จึงติดตรึงอยู่ในความคิดของคน กระตุ้นให้บุคคลนั้นต่อต้านขัดขืนความเปลี่ยนแปลง ตลอดจนเพิกเฉยต่อหลักฐานข้อเท็จจริงที่ขัดแย้งกับสิ่งที่ตนได้รับรู้มา ในภาษาไทยคำว่า Stereotype มีคำแปลหลายคำ ยกตัวอย่างเช่น “ภาพประทับ” “ภาพตายตัว” แต่ในที่นี้ผู้เขียนขอใช้คำว่า “ภาพตัวแทน”
แม้มุกตลกจะอ้างว่าเพื่อความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียด แต่ก็ยากที่จะปฏิเสธว่า แท้ที่จริงได้เคลือบฉาบ ค่านิยม อคติ และโลกทัศน์ บางอย่างของผู้สร้างมุกตลกไว้ ไม่ว่าจะเจตนาหรือไม่ก็ตาม นอกจากนั้น มุกตลกจึงมักเสนอภาพของคนชั้นล่าง ซึ่งมีแนวโน้มเป็นคนแปลกหน้าของสังคม ผู้เขียนต้องการสะท้อนให้เห็นแนวคิด ค่านิยมและโลกทัศน์ ของสังคมที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ โดยเฉพาะสังคมตะวันตก ต่อบุคคลบางกลุ่มในสังคมและนอกสังคม บทความชิ้นนี้ นำเสนอตัวอย่างการสร้างภาพตัวแทนบุคคล 6 กลุ่มในมุกตลกภาษาอังกฤษ ดังต่อไปนี้ (1) ผู้หญิงผมทองในมุกตลก Blonde Jokes (2) เด็กชายจอห์นนี่ ในมุกตลก Little Johnny Jokes (3) คนจนบ้านนอกในมุกตลก Redneck Jokes (4) แม่ในมุกตลก Yo Mama Jokes (5) คนต่างชาติในมุขตลก Racial Jokes (6) คนรักเพศเดียวกันใน Gay Jokes

(1) ผู้หญิงผมทองในมุกตลก Blonde Jokes
ในประเทศตะวันตก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา มีการจำแนกผู้หญิงออกเป็นสามประเภท ได้แก่ ผู้หญิงผมแดง (Redhead) หมายถึงหญิงแรกรุ่น เป็นตัวแทนของความเย้ายวนทางเพศ ผู้หญิงผมดำ (Brunette) หมายถึงหญิงที่สวยและฉลาด เป็นที่ปรารถนาของชาย ผู้หญิงผมทอง (Blonde) หมายถึงหญิงที่สวยแต่โง่ อาจก็ไร้เดียงสาในเรื่องเพศ หรือแสดงออกถึงสำส่อนทางเพศ แต่ในมุกตลกทั่วไปจะเน้นความโง่ของหญิงผมทองเป็นหลัก

Revenge By Gunshot
A distraught young blonde woman suspects her boyfriend of cheating on her. In a fit of anger she drives to a local pawn shop and buys a gun.
She shows up at his apartment unexpectedly, slams opens the door, and sure enough he’s naked in the arms of a beautiful redhead.
This angers her, she is furious and can no longer control her emotions. The blonde opens her purse and pulls out the .38 handgun she bought earlier. As she takes aim, grief overcomes here and she points the gun at her own head.
“No, honey, don’t do it!” yells the boyfriend.
“Shut up,” she says. “You’re next.”

ในมุกตลกที่ชื่อ Revenge By Gunshot มีผู้หญิงผมทองคนหนึ่งรู้สึกไม่สบายใจเพราะสงสัยว่าแฟนหนุ่มกำลังนอกใจ เธอจึงขับรถไปที่โรงจำนำ (Pawn shop) เพื่อซื้อปืน เมื่อหญิงผมทองคนนี้ไปถึงบ้านแฟนหนุ่ม เธอจึงพังปะตูเข้าไป แล้วพบว่า แฟนของเธอเปลือยกายอยู่ในอ้อมแขนของสาวผมแดง (Redhead) หญิงผมทองบันดาลโทสะ จึงล้วงปืนขนาดจุดสามแปดออกมาจากกระเป๋า ด้วยความโศกเศร้าเสียใจ เธอได้หันปืนไปที่หัวของตัวเอง แฟนหนุ่มของเธอตะโกนว่า “ที่รัก อย่าทำแบบนั้น” หญิงผมทองตอบกลับไปว่า “หุบปากซะ แกจะเป็นรายต่อไป” (“Shut up. You’re next.”)

มุกตลกนี้สร้างความขบขันจากความโง่ของผู้หญิงผมทอง ผ่านการหันปลายกระบอกปืนไปที่หัวของเธอเอง ทั้งที่เจตนาของการซื้อปืนในตอนแรกสามารถสันนิษฐานว่า จะเอาไปลงโทษแฟนหนุ่มที่คิดนอกใจ ต่อมาเมื่อแฟนหนุ่มของเธอร้องบอกไม่ให้ยิงตัวตาย ผู้หญิงผมทองก็ได้แสดงความโง่เขลาของเธอออกมาอีกครั้ง ด้วยการบอกว่า หากเธอยิงตัวเองเสร็จแล้ว จะยิงแฟนให้ตายตาม ซึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้แน่ เพราะนั่นหมายความว่า ผู้หญิงผมทองตายแล้ว

Renting An Adult Movie
A blond decides to do something she’s never done before - rent a dirty movie. She drives to the local Video Warehouse and makes here way to the adult section in the back. After looking around at titles, she selects a something that sounds very stimulating.
She drives home, lights some candles, slips into something comfortable, and puts the tape in the VCR. To her disappointment there’s nothing but static on the screen. She calls the store to complain and says, “I just rented an adult movie from you and there’s nothing on the tape, but static.”
The clerk apologized about the defective video and asked, “Which title did you rent?” The blond replied, “It’s called ‘Head Cleaner.’”

ในมุกตลกเกี่ยวกับผู้หญิงผมทอง ชื่อ Renting An Adult Movie ผู้หญิงผมทองตัดสินใจทำในสิ่งที่เธอไม่เคยทำมาก่อน นั่นคือการเช่าวิดีโอโป๊มาดู เธอขับรถไปร้านเช่าวิดีโอ เดินเข้าไปในชั้นที่มีหนังโป๊วางอยู่ทางด้านหลังร้าน หลังจากเรื่องชื่อเรื่องแล้ว เธอก็เจอเรื่องหนึ่งที่อ่านแล้วน่าระทึกใจ ผู้หญิงผมทองขับรถกลับบ้าน เธอจุดเทียนและหาที่นอนสบายๆ ใส่ม้วนเทปลงในเครื่องเล่น เธอตกใจเมื่อไม่มีอะไรขึ้นที่หน้าจอโทรทัศน์เลย หญิงผมทองโทรไปที่ร้านวิดีโอ “ฉันเช่าหนังผู้ใหญ่จากร้านคุณมาดู แต่ไม่มีอะไรขึ้นจอเลย” พนักงานในร้านวิดีโอกล่าวคำขอโทษเรื่องวิดีโอเสีย แล้วถามว่า “คุณเช่าหนังชื่ออะไรครับ” ผู้หญิงผมทองกล่าวว่า “หนังชื่อ Head Cleaner ค่ะ”

มุกตลกนี้เล่นกับความโง่ของผู้หญิงผมทอ ในที่นี้คือการไม่รู้ว่าม้วนวิดีโอที่ยืมมานั้น ไม่ใช่ม้วนวิดีโอที่เอาไว้ดู แต่มันคือ Head Cleaner หรือม้วนเทปสำหรับทำความสะอาดเครื่องเล่นวิดีโอ โดยทั่วไปแล้ว คนทั่วไปจะรู้จักว่าคืออะไรและจะไม่มีใครเช่ามา ผู้หญิงผมทองในมุกตลก จึงมีสภาพน่าสมเพชเวทนา เพราะสวยแต่โง่ ทั้งที่สภาพความเป็นจริง ขัดแย้งกับการสร้างภาพตัวแทนนี้ เพราะมีผู้หญิงผมทองจำนวนไม่น้อยที่ฉลาด มุกตลกเช่นนี้อาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจไขว้เขวว่าผู้หญิงผมทองมีสภาพเป็นอย่างที่มุกตลกสร้างภาพตัวแทนจริงๆ

(2) เด็กชายจอห์นนี่ ในมุกตลก Little Johnny Jokes
ในบรรดามุกตลกต่างๆที่นำเสนอบนอินเตอร์เน็ต ที่ถือว่าทะลึ่งที่สุดกลุ่มหนึ่งนอกเหนือจากกลุ่มของ Dirty Joke คือมุกตลก Little Johnny (หรือเด็กชายจอห์นนี่) กระนั้นก็ตาม มุกตลกนี้ไม่ได้นำเสนอเพียงแค่เรื่องสัปดนเท่านั้น แต่มีการแสดงเชาว์ปัญญาไหวพริบ ตลอดจนการแหกกฎเกณฑ์ทางสังคมได้และเล่นกับอำนาจได้อย่างน่าสนใจ ภาพตัวแทนของเด็กชายจอห์นนี่คือภาพของเด็กผู้ชายที่ทะลึ่ง คะนอง ไม่สนใจกฎเกณฑ์ มักทำทุกอย่างตามที่ตนเองต้องการ

Example Of A Tragedy
George W. Bush was visiting an elementary school, and the 4th grade class he sat through began a discussion related to words and their meanings.
The teacher asked the President if he would like to lead the class in a discussion of the word “tragedy.” So, George W. asked the class for an example of a tragedy.
One boy stood up and said, “If my best friend who lives next door is playing in the street and a car comes along and runs him over, that would be a tragedy.”
“No,” said Bush, “that would be an accident.”
A girl raised her hand and said, “If a school bus carrying 50 children drove off a cliff, killing everyone on board, that would be a tragedy.”
“I’m afraid not,” the President said. “That’s what we would call a Great Loss.”
The room went silent. No other children volunteered. President Bush searched the room and asked, “Isn’t there someone here who can give me an example of a tragedy?”
Finally, way in the back of the room, Johnny raised his hand, and in a quiet voice, he said, “If Air Force One, carrying Mr. and Mrs. Bush, was struck by a missile and blown up to smithereens, THAT would be a tragedy.”
“That’s right! And can you tell me WHY that would be a tragedy?” asked the President.
“Well,” Johnny said, “because it wouldn’t be an accident and it sure as hell wouldn’t be a Great Loss…”

ตัวอย่างมุกตลกชื่อ Example Of A Tragedy จอร์จ ดับยา บุช ประธานาธิบดีสหรัฐ ไปเยี่ยมโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง ครูประจำชั้นยกให้ บุช เป็นผู้นำการสนทนาคำว่า Tragedy หรือ โศกนาฏกรรม บุชได้ให้เด็กๆยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่คิดว่าเป็นโศกนาฏกรรม แต่ทุกครั้งที่ยก เขาก็จะบอกว่าไม่ใช่โศกนาฏกรรม เช่นเมื่อนักเรียนชายคนแรกบอกว่า โศกนาฏกรรมคือการที่เพื่อนสนิทข้างบ้านของเขาไปเล่นที่ถนน แล้วถูกรถชนตาย แต่บุชบอกว่า ไม่ใช่ เขาเรียกว่าอุบัติเหตุ ต่อมานักเรียนหญิงบอกว่า ถ้ารถเมล์ของโรงเรียนซึ่งบรรทุกนักเรียนห้าสิบคน ขับตกเขา ทุกคนบนรถตายหมด นั่นคือโศกนาฏกรรม บุช ตอบว่า ไม่ใช่ เขาเรียกว่าความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ (Great Loss) ทั้งห้องเงียบกริบ บุชถามต่อว่ามีใครจะยกตัวอย่างได้ถูกต้องบ้าง เด็กชายจอห์นนี่จึงยกตัวอย่างว่า ถ้าเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน ซึ่งเป็นเครื่องบินประจำตำแหน่งของประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งมีประธานาธิบดีบุชและภริยานั่งอยู่ ถูกจรวดมิสซาย (Missile) ยิงใส่จนแหลกเป็นชิ้นๆ นั่นจึงจะเรียกว่าเป็นโศกนาฏกรรม บุชจึงตอบว่า นั่นคือเหตุการณ์ที่เป็นโศกนาฏกรรมที่ถูกต้อง เขาถามต่อว่าเหตุใดเด็กชายจอห์นนี่จึงคิดว่าเป็นโศกนาฏกรรม เด็กชายจอห์นนี่ตอบว่า เพราะเหตุการณ์ถล่มเครื่องบินของประธานาธิบดีและภรรยาไม่ใช่ทั้งอุบัติเหตุและไม่ใช่การสูญเสียที่ยิ่งใหญ่

มุกนี้สร้างภาพของเด็กชายจอห์นนี่ ในการเป็นตัวแทนของคนที่เล่นกับอำนาจ ด้วยการใช้ตรรกะเข้าช่วย นักเรียนคนแรกบอกว่า เพื่อนตายเพราะถูกรถชนจึงเป็นโศกนาฏกรรม แต่บุชตอบไม่ใช่ นักเรียนคนที่สองบอกว่า รถโรงเรียนคว่ำ นักเรียนตายหมดเป็นโศกนาฏกรรม แต่บุชก็ตอบว่าไม่ใช่อีก ดังนั้นเมื่อเด็กชายจอห์นนี่ตอบว่า กรณีเครื่องบินที่บุชกับภริยานั่งถูกยิงถล่ม เขาจึงเลือกใช้เหตุผลว่า มันต้องไม่ใช่การสูญเสียอันยิ่งใหญ่ และไม่ใช่อุบัติเหตุด้วย โดยมีนัยว่ามีคนจงใจสังหารนั่นเอง

(3) คนจนบ้านนอกในมุกตลก Redneck Jokes
ในสหรัฐอเมริกา คำว่า Redneck หมายถึงคนที่มาจากรัฐทางใต้ และแถบเทือกเขาแอป ปาลาเชียน (Appalacian) เช่น Alabama, Mississippi, Missouri, Louisiana, Tennessee เป็นต้น อย่างไรก็ตาม นิยามของคำนี้มีความแตกต่างกันไปแล้วแต่ผู้นิยาม แต่โดยทั่วไปแล้ว คำว่า Redneck หรือที่ผู้วิจัยแปลว่า “คนจนบ้านนอก” มีความหมายว่าคนที่มาจากชนบทและเป็นชนชั้นกรรมาชีพ คำนี้ จากมุกตลก Redneck Jokes มีการสร้างภาพตัวแทนของคนจนบ้านนอกหลายด้านเช่น มีเพศสัมพันธ์กันเองในครอบครัว (Incest) ติดเบียร์ ความล้าหลัง พูดไม่ชัด ดังตัวอย่างต่อไปนี้

Redneck Love
One beautiful afternoon, a young redneck boy runs into his house and yells “Paw, I found her! I found the girl I’m gonna marry, and she’s a virgin!”
Now while this might impress some families, it irritated and upset his father. Pounding his fist on the table, he yells back “There’s no way you’ll marry that girl! If she ain’t good enough for her own family, she ain’t good enough for ours!”

ประเด็นแรกเป็นเรื่องเพศสัมพันธ์ในครอบครัว ในมุขตลกที่ชื่อว่า Redneck Love ชายหนุ่มบ้านนอกคนหนึ่งวิ่งเข้ามาในบ้านด้วยความดีใจ เพื่อบอกกับครอบครัวของเขาว่า เขาได้เจอหญิงที่อยากแต่งงานด้วยแล้ว พร้อมระบุลักษณะของหญิงบ้านนอกคนดังกล่าวว่าเป็นสาวบริสุทธิ์ พ่อของชายหนุ่มทุบโต๊ะด้วยความไม่พอใจเมื่อได้ยินเช่นนั้น แล้วพูดว่า “แกแต่งงานกับยัยนั่นไม่ได้ ขนาดครอบครัวหล่อนยังไม่เอาแล้ว ครอบครัวเราจะเอามาทำไม” (“There’s no way you’ll marry that girl! If she ain’t good enough for her own family, she ain’t good enough for ours!”) คำพูดดังกล่าวมีนัยสะท้อนเรื่องเพศว่า หญิงสาวบ้านนอกที่ดี ต้องผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายในครอบครัวของตนเองก่อน ถ้ายังบริสุทธิ์อยู่ก็หมายความว่า ผู้ชายในครอบครัวหญิงคนนั้นรังเกียจ ดังนั้นครอบครัวฝ่ายชายจึงไม่สมควรรับมาเป็นลูกสะใภ้ ความคิดเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องจริง แต่มุกตลกดังกล่าวต้องการสร้างภาพว่า ครอบครัวคนจนบ้านนอกมีลักษณะการมีเพศสัมพันธ์กันเองในครอบครัวจริง ซึ่งผู้อ่านหากเป็นคนในเมืองที่ยึดถือธรรมเนียมที่แตกต่างออกไป เห็นพฤติกรรมทางเพศอันแปลกประหลาด (ที่อาจไม่จริงนี้) จะเกิดความตลกขบขันได้

Recent NHTSA Study
The National Highway Traffic Safety Administration (NHTSA) recently announced that, for the past three years, they jointly funded a project with two major US auto makers, Ford and Chevrolet, whereby the auto makers installed black boxes in all four wheel drive pickup trucks in an effort to determine, in fatal accidents, the circumstances in the last 10 seconds before a crash.
They were surprised to find in 45 of the 50 states that the last words of drivers in 63 percent of fatal crashes were, “Oh, Shit!” Only the states of Georgia, Mississippi, Louisiana, Alabama, and Tennessee were different - where over 89 percent of final words were: “Hey ya’ll, hold my beer and watch this!”

ประเด็นที่สองเป็นเรื่องของการติดเบียร์ ในมุกตลกชื่อ Recent NHTSA Study ระบุว่า จากการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการรักษาความปลอดภัยบนทางหลวงแห่งชาติ (NHTSA) ของสหรัฐอเมริกา ระบุว่า เมื่อสามปีที่แล้ว ทางสำนักงานได้ร่วมมือกับสองบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตรถยนต์ เพื่อติดตั้งกล่องดำ (Black box) ในรถขับเคลื่อนสี่ล้อทุกคัน เพื่อบันทึกเสียงก่อนเกิดอุบัติเหตุ 10 วินาที มีข้อมูลน่าสนใจว่า คำพูดสุดท้ายใน 45 มลรัฐจาก 50 มลรัฐ คิดเป็น 63% คือคำว่า “Oh Shit!” แต่ในมลรัฐที่เหลืออีก 5 แห่งได้แก่ จอร์เจีย (Georgia) มิสซิสซิปปี (Mississippi) ลุยเซียร์นา (Louisiana) อลาบามา (Alabama) และเทนเนสซี (Tennessee) คิดเป็น 89% พูดคำสุดท้ายว่า “Hey y’ll hold my bear and watch this!” จากมุกตลกข้างต้นจะเห็นได้ว่า คนที่อาศัยอยู่ห้ามลรัฐสุดท้าย ที่ถูกตีตราว่าเป็นพวกคนจนบ้านนอกมีอาการติดเบียร์ หรืออย่างน้อยก็ดื่มเบียร์ในขณะขับรถ หากมองในแง่สถิติแล้วมีจำนวนถึง 89% ทีเดียว มุกตลกนี้กำลังสร้างภาพตัวแทนว่า คนจนบ้านนอกเป็นคนติดเหล้าและขับรถโดยประมาท ในขณะที่ตัวเปรียบเทียบคือคนจากอีก 45 มลรัฐ เกิดอุบัติเหตุเพราะประมาทเพียงอย่างเดียว เพราะสบถว่า “Oh Shit!” โดยไม่แสดงลักษณะนิสัยติดเหล้าหรือลักษณะอื่นใดที่น่ารังเกียจให้เห็น
Go Git Yo Momma
A redneck family from the hills was visiting the city and they were in a mall for the first time in their life. The father and son were strolling around while the wife shopped. They were amazed by almost everything they saw, but especially by two shiny, silver walls that could move apart and then slide back together again.
The boy asked, “Paw, What’s ‘at?”
The father (never having seen an elevator) responded, “Son, I dunno. I ain’t never seen anything like that in my entire life, I ain’t got no idea’r what it is.”
While the boy and his father were watching with amazement, a fat old lady in a wheel chair rolled up to the moving walls and pressed a button. The walls opened and the lady rolled between them into a small room. The walls closed and the boy and his father watched the small circular numbers above the walls light up sequentially. They continued to watch until it reached the last number and then the numbers began to light in the reverse order. Then the walls opened up again and a gorgeous, voluptuous 24-year-old blonde woman stepped out.
The father, not taking his eyes off the young woman, said quietly to his Son, “Boy, go git yo Momma…”

ประเด็นที่สามเป็นเรื่องความล้าหลังและพูดไม่ชัด ในมุขตลกเรื่อง Go Git Yo Momma ครอบครัวของคนจนบ้านนอกหลังเขาเดินทางเข้าเมืองเป็นครั้งแรก พวกเขาพากันไปเที่ยวห้างสรรพสินค้าเป็นครั้งแรกในชีวิต ฝ่ายพ่อและลูกชายเดินเล่นภายในห้าง ขณะที่ผู้เป็นแม่ไปซื้อของ สองพ่อลูกประหลาดใจกับทุกอย่างที่ได้เห็น โดยเฉพาะผนังสีเงินสะท้อนแสดงสองแผ่นที่สามารถเปิดและปิดได้ เด็กชายถามพ่อว่า “พ่อ นั่นอะไร (“Paw, What’s ‘at?”) พ่อ (ซึ่งไม่เคยเห็นลิฟท์มาก่อนในชีวิต) ตอบว่า “ไม่รู้เหมือนกันลูก พ่อก็ไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิต อะไรของมันก็ไม่รู้ (“Son, I dunno. I ain’t never seen anything like that in my entire life, I ain’t got no idea’r what it is.” ) ขณะที่สองพ่อลูกกำลังงุนงงสงสัยอยู่นั้น หญิงชรารูปร่างอ้วนนั่งรถเข็นมากดปุ่ม ผนังนั้นเปิดออก หญิงแกพาตัวเองเข้าห้องนั้น ผนังปิดตัวลง ลูกชายกับพ่อของเขามองตัวเลขที่กำลังเลื่อนขึ้นเรื่อยๆ ไฟก็เลื่อนตามลำดับ สองพ่อลูกพากันจ้องจนกระทั่งถึงตัวเลขสุดท้าย จากนั้นดวงไฟก็เลื่อนลงมา ทันใดนั้นผนังก็เปิดออกอีกครั้ง หญิงสาวผมทองสวยสง่า ส่วนสัดสะโอดสะองเดินออกในวัย 24 ปีเดินออกมา ผู้เป็นพ่อมองหญิงคนนั้นไม่วางตา เขาพูดกับลูกชายเบาๆว่า “ลูก ไปหาแม่แกสิ” (“Boy, go git yo Momma”)
มุกตลกนี้สร้างภาพตัวแทนของคนจนบ้านนอกว่าเป็นคนล้าหลังจากความเป็นสมัยใหม่ จึงตื่นตะลึงกับทุกอย่างในห้างสรรพสินค้า ซึ่งเพิ่งเคยเห็นครั้งแรกในชีวิต พวกเขาไม่รู้ลิฟท์ การอธิบายมุกตลกจึงเป็นแบบฟังดูโง่เพื่อให้ดูตลก อาทิเช่น อธิบายลิฟท์ว่าเป็นเพียงผนัง (Wall) ภายในเป็นเพียงห้อง (Room) ที่แสดงออกนอกเหนือจากความล้าหลังแล้วคือคำพูด มีการใช้ประโยคไม่มาตรฐาน ที่แสดงว่าไร้การศึกษากับคำพูดของสองพ่อลูกนั้นเช่น ลูกเรียกพ่อ (Papa) ว่า “Paw” คำว่า “Dunno” มาจาก “Don’t know” “ain’t” มาจาก “am not” พูดว่า “git” แทนจะพูดว่า “get” พูดคำว่า “yo” แทนจะเป็น “your” การสร้างภาพตัวแทนเช่นนี้ แม้จะมีพื้นฐานจากความเป็นจริง แต่ก็มองข้ามไปว่าคนบ้านนอกไม่ได้พูดเช่นนี้ทุกคน สามารถเปลี่ยนแปลงได้

(4) แม่ในมุกตลก Yo Mama Jokes
มุกตลกชนิดนี้มีลักษณะเป็นกลอนเปล่า (blank verse) หรือกลอนสัมผัสในภาษาอังกฤษ มีเนื้อหาหลักคือการแสดงความอัปลักษณ์น่ารังเกียจของแม่ (ในที่นี้อาจมีความหมายโน้มเอียงไปทาง แม่ของคนผิวดำ สังเกตได้จากคำว่า Yo Mama ซึ่งเป็นภาษาพูดของคนผิวดำ มาจากคำว่า Your Mama) ผู้วิจัยแปลมุกตลกประเภทนี้ว่า “มุกตลกด่าแม่” แต่เป็นแม่ของคนอื่น มีการสร้างภาพแม่ว่าเป็น หญิงรูปร่างอัปลักษณ์ สกปรกและมักมากในกาม ตัวอย่างมุกตลกเช่น

Yo Mama Poetry
Roses are red, violets are black, why’s Yo mama’s chest, as flat as her back?
Roses are red, Yo mom’s lips are blue, she sucked off that Smurf and did me up too.
Roses are red, lemons are sour, how many dicks yo mama suck in one hour?
Roses are red, violets are yellow, that guy that just fucked Yo mama is a jolly good fellow.
Roses are red, violets are blue, I gave your mom a dollar and she fucked me too!

ในตอนแรกของ Yo Mama Poetry กล่าวถึงรูปร่างของแม่ว่าหน้าอกของเธอนั้นแบนเหมือนแผ่นหลัง ในสังคมที่มักสร้างภาพว่าผู้หญิงต้องรูปร่างสวยงามต้องมีหน้าอกเต่งตึง การสร้างภาพตัวแทนให้แม่มีลักษณะตรงกันข้าม ทำให้แม่กลายเป็นหญิงอัปลักษณ์ ที่ไม่คู่ควรเกิดเป็นหญิง ในตอนที่สอง มีการสร้างภาพแม่ให้เป็นหญิงเกลือกกลั้วกามารมด้วยการใช้ปากอมอวัยวะเพศชาย (Suck off) ให้กับชายรูปร่างประหลาด (คำว่า Smurf คือตัวการ์ตูนแคระตัวสีฟ้า สวมหมวกสีขาว) ต่อจากนั้นจึงทำอย่างเดียวกันกับคนเขียนมุกตลกเพศชายคนนี้ด้วย (and did me up too) ในตอนที่สามตั้งเป็นคำถามกับแม่ว่า เธอใช้ปากกับอวัยวะเพศไปทั้งหมดเท่าไหร่ ในตอนที่สี่กล่าวว่า แม่ยอมให้ชายนิสัยดีคนหนึ่ง (Jolly good fellow) มีเพศสัมพันธ์ด้วย ในตอนสุดท้ายผู้เขียนมุกตลกเพศชายจ่ายเงินให้แม่ เพื่อให้แม่มีเพศสัมพันธ์กับเขา การสร้างภาพตัวแทนเหล่านี้นอกจากจะบ่งชี้ว่า แม่เป็นหญิงสำส่อนแล้ว ยังเป็นหญิงขายตัวอีกด้วย ในสังคมที่เพศชายเป็นใหญ่ การสร้างภาพผู้หญิงในทำนองนี้เป็นการสร้างอำนาจเหนือเพศหญิง ให้เธอเหล่านั้นมีสภาพ เป็นเพียงวัตถุบำบัดความใคร่ หรือไม่ก็สิ่งสกปรกที่น่ารังเกียจ

(5) คนต่างชาติในมุขตลก Racial Jokes
ในประเทศตะวันตก ภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน ภาพตัวแทนของคนต่างชาติในตลกชาติพันธ์เช่นนี้ ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะในโลกตะวันตก สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดคือลักษณะของการเป็นโจรก่อการร้าย สกปรก หน้าไหว้หลังหลอก มีเมียมาก หรือมีสติปัญญาด้อยกว่า ขี้เกียจทำงานและพูดภาษาผิดๆถูกๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

You Might Be An Iraqi If…
• You wipe your butt with your bare left hand, but consider bacon “unclean.”
• You can’t think of anyone you HAVEN’T declared Jihad against.
• You think vests come in two styles: bullet-proof and suicide.
• You consider television dangerous, but routinely carry explosives in your clothing.
• You were amazed to discover that cell phones have uses other than setting off roadside bombs.
• You own a $3,000 machine gun and $5,000 rocket launcher, but you can’t afford shoes.
• You have nothing against women and think every man should own at least one.
• You bathe at least monthly, whether necessary or not.
• You have more wives than teeth.
• You have ever had a crush on your neighbor’s goat.

ตัวอย่างมุกตลกชื่อ You Might Be An Iraqi If… (คุณอาจเป็นชาวอิรักถ้า…) มีระบุลักษณะของชาวอิรักเป็นข้อดังต่อไปนี้ ข้อแรก คุณล้างก้นด้วยมือเปล่า แต่กลับบอกว่าเบคอน สกปรก ข้อที่สอง คุณนึกไม่ออกว่าใครบ้างที่คุณไม่เคยประกาศสงครามศาสนาด้วย ข้อที่สาม เสื้อชั้นในมีสองแบบคือแบบกันกระสุนและแบบใช้ฆ่าตัวตาย ข้อที่สี่ คุณคิดว่าโทรทัศน์ไม่ปลอดภัย แต่ตัวเองกลับมีวัตถุระเบิดใส่ในเสื้อผ้า ข้อที่ห้า คุณประหลาดใจที่ค้นพบว่าโทรศัพท์มือถือใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่าง นอกเหนือจากใช้กดชนวนให้ระเบิดตามท้องถนน ข้อที่หก คุณมีปืนราคา 3000 เหรียญและเครื่องยิงลูกระเบิดราคา 5000 เหรียญ แต่กลับไม่มีปัญญาซื้อรองเท้ามาใส่ ข้อที่เจ็ด คุณไม่ละเมิดผู้หญิงเลยไม่ว่าเรื่องใดและคิดว่าชายทุกคนควรมีหญิงไว้ครอบครองอย่างน้อยหนึ่งคน ข้อที่แปด คุณอาบน้ำเดือนละครั้ง ด้วยความจำเป็นหรือไม่ก็ตาม ข้อที่เก้า คุณมีจำนวนภรรยามากกว่าจำนวนฟันของตัวเองเสียอีก ข้อที่สิบ คุณเคยตกหลุมรักแพะของเพื่อนบ้าน
จากมุกตลกที่ยกตัวอย่างจะเห็นว่ามีการสร้างภาพตัวแทนที่ขัดแย้งกันของคนที่เป็นชาวอิรัก เป็นคนที่สองมาตรฐาน โดยมองว่าการใช้มือล้างก้นควรสกปรกกว่า ส่วนเบคอนไม่สกปรก เบคอนทำจากเนื้อหมู ตามหลักของศาสนาอิสลามแล้ว ชาวมุสลิมซึ่งก็คือชาวอิรัก ข้อนี้เป็นการวิจารณ์หลักศาสนาที่มองว่าผิดปกติ มีการสร้างภาพตัวแทนว่าคนอิรักเป็นคนฝักไฝ่สงคราม จนนึกไม่ออกว่าไม่เคยทำสงครามกันใครบ้าง โทรศัพท์มือถือก็ถูกมองว่าเป็นสิ่งที่อิรักรู้จัก แต่เอาไว้ใช้ในการจดชนวนระเบิดเท่านั้น สร้างภาพว่าคนอิรักมีอาวุธสงครามราคาแพงใช้ แต่ไม่มีร้องเท่าใส่ เป็นการใช้เงินอย่างไร้สาระ ไม่รู้ว่าอะไรควรซื้อ อะไรไม่ควร นอกจากนั้นยังพูดถึงความสัมพันธ์ชายหญิงในสังคมด้วยว่า ชาวอิรักเพศชายมีเมียมาก เป็นคนที่สกปรกเนื่องจากอาบน้ำแค่เดือนละครั้ง และมีพฤติกรรมทางเพศแปลกประหลาด อยากร่วมเพศกับสัตว์ (แสดงออกผ่านการตกหลุมรักแพะของเพื่อนบ้าน) ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภาพชายชาวอิรักและคนอิรักทั่วไป ตามแบบที่ตะวันตกได้รับจากสื่อมวลชน สามารถตีความได้ว่า ลักษณะเหล่านี้มีลักษณะด้อย ต่ำต้อยกว่า ที่สำคัญคือการสร้างภาพผู้ก่อการร้าย จนอาจทำให้คนอื่นคิดว่า ชาวอิรัก (คนตะวันออกกลาง) ที่นับถือศาสนาอิสลามมีลักษณะอย่างนี้จริงๆ

Chinese Sick Day
Hung Chow calls into work and says, “Hey, I no come work today, I really sick. Got headache, stomach ache and legs hurt, I no come work.”
The boss says, “You know something, Hung Chow, I really need you today. When I feel like this, I go to my wife and tell her I want sex. That makes everything better and I go to work. You try that.”
Two hours later Hung Chow calls again. “I do what you say and I feel great. I be at work soon… You got nice house.”

ต่อมาเป็นมุกตลกชื่อ Chinese Sick Day ชายชื่อ หังโจว โทรมาที่ทำงานเพื่อบอกว่า “อั๊วมาทำงานไม่ได้ อั๊วป่วย ปวดหัว ปวดท้อง เลยมาทำงานไม่ได้” นายจ้างของเขาตอบว่า “จริงๆแล้วนะ หังโจว ผมอยากให้คุณมาทำงานจริงๆ แต่ถ้าผมมีอาการแบบนี้นะ ผมจะไปหาเมียและขอมีอะไรกับเธอ อาการทุกอย่างก็จะหาย และมาทำงานได้ ลองทำสิ” สองชั่วโมงต่อมา หังโจวโทรมาอีกครั้ง “ผมทำอย่างที่คุณบอกแล้ว มันดีขึ้นจริงๆ ผมไปบ้านคุณมา บ้านคุณสวยมากเลยนะ”
จากตัวอย่างมุกตลกนี้ มีการใช้นายหังโจวเป็นภาพตัวแทนคนจีนที่โง่ แสดงความขี้เกียจจากการทำงาน ด้วยการโทรมาลางาน มุกตลกเล่นกับวิธีรักษาอาการป่วย ซึ่งอ่านแล้วก็จะทราบว่า เป็นอาการป่วยที่ไม่จริง เหมือนเป็นเพียงข้อแก้ตัวมากกว่า เมื่อเจ้านายนำเสนอวิธีแก้อาการป่วย อย่างผิดปกติคือให้มีเพศสัมพันธ์กับเมียตัวเอง แต่หังโจวซึ่งมีสติปัญญาน้อยกลับไปที่บ้านของนาย เพื่อมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาเจ้านาย (เป็นการเข้าใจผิดนึกว่า เจ้านายให้ทำอย่างนั้น) เป็นการสร้างภาพตัวแทนว่า คนเอเชีย เมื่อมองในแง่ภาษาที่ใช้ ชาวต่างชาติมักมองว่าพูดภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่อง ไม่ได้มาตรฐาน บ่งบอกว่าไร้การศึกษา เป็นคนชั้นต่ำ โดยดูได้จากประโยคที่หังโจวใช้

(6) คนรักเพศเดียวกันใน Gay Jokes
ในมุกตลกประเภทนี้ บางครั้ง จะไม่กล่าวถึงการรักเพศเดียวกันโดยตรง แต่อาจแสดงออกผ่านพฤติกรรมทางเพศของตัวละครในมุกตลก คนรักเพศเดียวกันไม่ว่าเป็นชายหรือหญิงมักถูกสร้างภาพให้เป็น ผู้ที่มีพฤติกรรมแปลกประหลาดทางเพศ มุ่งนำเสนอการหมกหมุ่นอยู่กับอวัยวะเพศ (หากเป็นเกย์เพศชาย จะหมกมุ่นกับก้นหรือทวารหนัก หากเป็นเลสเบี้ยน จะหมกมุ่นกับอวัยวะเพศหญิงเป็นต้น ) และเป็นพาหะนำเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
More One Liner Gay Jokes
Three gays are in a spa bath - Suddenly a blob of semen floats to the surface of the spa. They all look at each other and one says to the other two: “Ok, which of you two morons farted?”
Q: When in Greece, how do you separate the men from the boys?
A: With a crowbar.
Q: What did one gay sperm say to another?
A: “How do we find an egg in all of this shit?”
Q: What does GAY stand for?
A: Got Aids Yet?
Q: What do you call a gay dinosaur?
A: Megasorass.
Q: What do you call a lesbian dinosaur?
A: Lickalotopus.
Did you hear about the gay Magician who vanished with a poof?
Q: What’s the favourite pickup line in a gay bar?
A: “May I push your stool in?”

จากมุกตลก More One Liner Gay Jokes มีสถานการณ์ต่างๆ เช่น กลุ่มชายที่เป็นเกย์สามคนอยู่ในสปา เห็นกลุ่มน้ำอสุจิลอยมา จึงมองหน้ากันด้วยความงุนงงและบอกว่า “พวกแกใครเป็นคนตด” ต่อมาคำถามแรกว่า ในประเทศกรีก เราจะจับชายที่เป็นผู้ใหญ่กับเด็กชายอย่างไร (ต้องใช้ชะแลงงัด) ตัวอสุจิของเกย์มักจะคุยกันว่าอะไร (เราจะหาไข่ในขี้เหล่านี้ได้อย่างไร) คำว่า GAY ย่อมาจากอะไร (Got Aids Yet) เราจะเรียกไดโนเสาร์ที่เป็นเกย์ว่าอะไร (Megasoass) เราจะเรียกไดโนเสาร์ที่เป็นเลสเบียนว่าอะไร ( Lickalotopus) คุณเคยได้ยินว่านักมายากลที่เป็นเกย์หายไปกับ Poof หรือไม่ ( ) ในจุดรับเหล้าในบาร์เกย์ คำถามใดที่ถามกันบ่อยที่สุด (“May I push your stool in?”)

ในมุกตลกแรกมีการสร้างภาพว่าเกย์โง่ไม่รู้สิ่งที่ลอยมาบนน้ำนั้นคืออะไร จึงพูดประโยคผิดๆออกมา ต่อมามีการสร้างภาพตัวแทนว่าในประเทศกรีก ชายที่เป็นผู้ใหญ่มักมีเพศสัมพันธ์กับเด็กชาย เมื่อพูดถึงคนที่รักเพศเดียวกัน มักจะล้อเลียนกันเรื่องความปกติของเพศสัมพันธ์ ในเรื่องคืออสุจิถามกันว่า ตนเองจะหาไข่ (ของผู้หญิง) ในอุจจาระ (ในทวารหนัก) ได้อย่างไร ซึ่งสะท้อนว่าการร่วมเพศนั้น ต้องเป็นไปตามแบบแผนชายหญิงของสังคมเท่านั้น ต่อมานำเสนอภาพเกย์ในฐานะพาหะนำโรค โดยสะท้อนจากคำถามที่เป็นตัวย่อว่า (ติดเชื้อเอดส์หรือยัง) มีการเล่นคำล้อเลียนสิ่งที่คิดว่าคนรักเพศเดียวกันหมกมุ่นเช่น ชื่อไดโนเสาร์ Megasoas ซึ่งเล่นกับคำว่า ass ซึ่งแปลว่า ก้น และ Lickatopus เล่นคำกับคำว่า Lick ซึ่งเป็นการร่วมเพศแบบหนึ่งของผู้หญิงที่เป็นเลสเบียน กับคำว่า pus ซึ่งเล่นกับคำว่า pussy หรืออวัยวะเพศหญิง ต่อมาในมุกมายากล มีการเล่นคำว่า poof ซึ่งแปลว่า มนต์วิเศษก็ได้ หรือแปลว่า ชายรักร่วมเพศก็ได้ ในตอนสุดท้ายมีการเล่นกับคำว่า stool ที่แปลว่าที่นั่งมีพนักพิง หรืออุจจาระก็ได้ เป็นการบ่งบอกความสกปรกของการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักของเกย์ ความนิยมในการพูดประโยคดังกล่าวข้างต้น ยังสะท้อนพฤติกรรมสำส่อนทางเพศของชายและหญิงที่รักเพศเดียวกันอีกด้วย

บทสรุป
Orville Boyd Jenkins นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับภาษาและการมองโลก ไว้ว่า ภาษากับความคิดเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด ภาษาทำให้เราเห็นมุมมองที่อยู่ลึก เข้าไปในความคิดของคนที่พูดภาษานั้น ดังนั้นการล้อเลียนด้วยการสร้างภาพตัวแทนบุคคลบางกลุ่ม ในเชิงดูถูกเหยียดหยาม จึงสะท้อนวิธีคิดของคนที่สร้างมุกตลกว่า มองคนกลุ่มนั้นว่าอย่างไรบ้าง แม้มุกตลกอาจจะไม่มีอำนาจใดๆในการกำหนดความคิดให้ทุกคนที่ได้รับฟังคล้อยตามก็ตาม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า มุกตลกมีการสืบทอด เรื่องเล่าที่กระทำซ้ำกันนานๆ จะมีส่วนผลักดันให้เกิดความคิดว่า เรื่องดังกล่าวเป็นจริงขึ้นมา Ivana Milogevic ได้ทำการศึกษามุกตลกสร้างอารมณ์ขันในออสเตรเลีย พบว่า อารมณ์ขันก่อให้เกิดความรุนแรงได้ เพราะทำให้เกิดความเข้าใจผิด ตัวอย่างเช่น นักเรียนในเขตวิคตอเรียของออสเตรเลีย มองผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเป็นผู้ก่อการร้ายและสกปรก

จากการศึกษาการสร้างภาพตัวแทนบุคคลที่ปรากฏในมุกตลก ทำให้เราทราบว่า ในความคิดของคนที่พูดภาษาอังกฤษ (ซึ่งน่าจะเป็นชาวอเมริกัน) มีความคิดเหยียดคนกลุ่มต่างๆเช่น คนต่างชาติเป็นคนสกปรก มีค่านิยมต่ำต้อยกว่าและสติปัญญาโง่เขลา เป็นผู้ก่อการร้าย คนที่รักเพศเดียวกันเป็นพาหะนำเชื้อ โง่และสำส่อนทางเพศ แม่เป็นหญิงอัปลักษณ์และหมกมุ่นเรื่องเพศ คนจนบ้านนอกเป็นคนโง่เขลา ล้าหลัง พูดไม่รู้เรื่อง และผู้หญิงผมทองแม้จะสวยแต่ก็โง่ เป็นต้น เป็นการกำหนดให้คนแต่ละกลุ่มมีบุคลิกเฉพาะบางอย่างที่ตายตัว ปราศจากการเปลี่ยนแปลง สังเกตจากการตอกย้ำลักษณะของบุคคลเหล่านั้นผ่านมุกตลก ส่วนมุกตลกเด็กชายจอห์นนี่ มีลักษณะเด่นคือเป็นการท้าทายอำนาจและแหกกฎสังคม

ภาพบุคคลต่างๆที่นำเสนอนี้ ส่วนใหญ่มีจุดร่วมอย่างหนึ่งคือ คือภาพลักษณ์ที่ต่ำต้อยกว่า เป็นคนชั้นต่ำในสังคม มีลักษณะเป็นที่น่ารังเกียจ ทั้งในด้านพฤติกรรมส่วนตัว การแสดงออกทางกายภาพ ศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณี แม้มุกตลกจะมีจุดประสงค์หลัก ซึ่งมักอ้างว่าเพื่อความผ่อนคลายและสร้างความบันเทิง แต่เราจำเป็นต้องตระหนักว่า เราอยู่ในสังคมที่หลากหลาย มีคนที่ต่างจากเราอาศัยอยู่ร่วมด้วย ดังนั้น การสร้างภาพตัวแทน หรือการเหยียดหยามลักษณะพิเศษบางประการ ที่เราเห็นว่าแตกต่างจากสิ่งที่ตนเองมีหรือปฏิบัติ ไม่ควรทำเพราะถือเป็นการสร้างภาพขัดแย้ง โดยเฉพาะกรณีการสร้างมุกตลก เพราะเมื่อมีการเล่าหรือถ่ายทอดกันจนยอมรับภาพตัวแทนเหล่านั้น จนนำไปสู่การเลือกปฏิบัติหรือเหตุรุนแรงอื่นๆได้

บรรณานุกรม

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2548) “ตลกลง”.
จาก http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q4/article2005nov04p11.htm
วงศกร บัวทอง. (2545). การแปลนิทานเรื่องขำขันในนิตยสารสรรสาระ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน. (2543) “วงสนทนามหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วัฒนธรรมฮาเฮ”.
จาก http://midnightuniv.org/midnightuniv/newpage81.htm

ภาษาอังกฤษ

Jenkins, O. (1999) Worldview in Language; Language and Thought
http://strategyleader.org/worldview/worldvthink.html 20/03/2550.
Milojevic, I. (2007) Is this funny: Can we develop non-violent humour?
www.freearticlesarchive.com/article/Is_This_Funny__Can_We_Develop_Non_violent_Humour_/9407/0/. 22/09/2007
Tiscali Reference. (2008) “Stereotype”. From http://www.tiscali.co.uk/reference/encyclopaedia /hutchinson/m0006460.html

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551

เพื่อนแท้ของคนจน : วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์


เพื่อนแท้ของคนจน
ผู้ยืนหยัดต่อสู้เพื่อคนจนในสังคมไทย ตราบจนวาระสุดท้าย
ศุภรา จันทร์ชิดฟ้า และวาสนา ชินวรากร เขียน
ชำนาญ ยานะ แปล
................................................

หมายเหตุ: ผู้แปลขอขอบคุณคุณศุภราและคุณวาสนา ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความนี้ที่กรุณาสละเวลาตรวจแก้และให้คำแนะนำกับผู้แปล. บทความต้นฉบับภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ฉบับวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา หนึ่งในผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยี่ยมพี่มด (วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์) ที่บ้านน้องชายของเธอ พี่มดพักรักษาตัวที่นั่นภายหลังเข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง ในคณะที่ไปเยี่ยมคราวนั้นมีพี่ภินันท์ โชติรสเศรณี นักธุรกิจผู้ผันตัวเองเป็นนักรณรงค์สิ่งแวดล้อมจากกาญจนบุรี ร่วมเดินทางไปด้วย ระหว่างที่สนทนาถึงเรื่องปัญหาสังคมไทยและการค้นหาทางเลือกทางออกจากปัญหาอยู่นั้น พี่มดได้แสดงความห่วงใยถึงความเป็นไปได้ที่เขื่อนศรีนครินทร์ ที่กาญจนบุรี จังหวัดบ้านเกิดของพี่ภินันท์อาจจะพังถล่มลงมา เพราะที่ตั้งเขื่อนอยู่ในเขตรอยเลื่อนแผ่นดินไหว พี่มดพูดด้วยน้ำเสียงอ่อนล้าว่า “ถ้าเขื่อนพังลงมาจริงๆแล้ว คนท้ายเขื่อนจะเป็นยังไงกันหนอ”

พี่มดขอร้องพี่ภินันท์ว่า “พี่(ภินันท์)ช่วยให้ข้อมูลกับชาวบ้านต่อไปนะ ส่วนมดจะสู้เคียงข้างพี่จนถึงที่สุด”

ในวันนั้น แม้แก้มพี่มดจะซูบตอบ ส่วนผมก็บาง เหลือเพียงไม่กี่เส้น (เนื่องจากการทำเคมีบำบัด) แต่ดวงตาของพี่มดยังเปล่งประกาย ริมฝีปากที่แห้งผากยังฉายแววมุ่งมั่น พร้อมยืนหยัดท้าทายผู้มีอำนาจ มันเป็นริมฝีปากคู่เดียวกับที่เคยพูดจาอย่างมีมิตรไมตรีกับคนจนที่ได้พบเจอ ไม่ว่าจะเป็นคนหาปลาผู้เดือดร้อนจากเขื่อนปากมูลและเขื่อนอื่นๆ ชาวสลัมในกรุงเทพและเมืองใหญ่ทั้งหลาย คนงานโรงงานซึ่งสุขภาพถูกบั่นทอนจากสภาพแวดล้อมเป็นพิษ คนจนด้อยโอกาสทั่วประเทศไทย กลับเริ่มมีความหวังขึ้นมาใหม่ เพราะผลพวงจากงานของพี่มดและเพื่อนพ้องชาว “สมัชชาคนจน” ที่ทำร่วมกันมากว่าหนึ่งทศวรรษ

รายชื่อยาวเหยียดของคนจนเหล่านี้ ยังสะท้อนให้เห็นว่า ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา นโยบายการพัฒนาประเทศนั้นบิดเบี้ยวเพียงใด โครงการขนาดใหญ่วางแผนจากส่วนกลาง ไม่คำนึงถึงคนท้องถิ่น และเกิดขึ้นเพียงเพื่อสร้างผลประโยชน์ระยะสั้นให้กับนักการเมืองและผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

การก้าวเข้ามาทำงานเพื่อคนจนของพี่มด ได้พลิกเปลี่ยนเรื่องเล่าเดิมๆ ที่เคยกล่าวถึงคนจนที่ถูกปล้นวิถีทำมาหากินจนต้องลุกขึ้นสู้ เรื่องเล่าที่แทบไม่มีคนสนใจมาก่อน แน่นอน การก้าวเข้ามาทำงานกับคนจนของพี่มด ย่อมสร้างความไม่พอใจต่อผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายรัฐหลายต่อหลายคน

ถูกล่ะ สมัชชาคนจนยังมีข้อจำกัดนานัปการ แต่อีกด้านหนึ่ง สมัชชาฯก็นับเป็นเครือข่ายแรกๆที่ประสบความสำเร็จในการรวบรวมชาวบ้านจากทั่วประเทศ เพื่อต่อรองอำนาจกับภาครัฐ จนอย่างน้อยครั้งหนึ่ง รัฐบาลต้องยอมจ่าย “ค่าเสียโอกาส” ให้กับชาวบ้านที่หาปลาไม่ได้ตลอดระยะเวลา 3 ปีของการสร้างเขื่อนปากมูล เหตุการณ์เช่นนี้ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย

ภายหลังที่เขื่อนปากมูลเปิดใช้งาน ปลาในแม่น้ำมูนได้ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง ขัดแย้งกับสิ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐเคยสัญญาไว้กับชาวบ้าน ยิ่งเมื่อมีผลการศึกษาของคณะกรรมการเขื่อนโลกในเวลาต่อมา ที่ระบุว่า เขื่อนปากมูลผลิตกระแสไฟฟ้าได้น้อยกว่าที่วางแผนไว้แต่แรก รัฐบาลทักษิณยิ่งถูกกดดันจนในที่สุด ต้องยอมให้เปิดประตูเขื่อนปีละสี่เดือน การท้าทายรัฐบาลของคนจนด้อยโอกาสเหล่านี้ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย (อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านปากมูนก็ยังคงต้องเดินทางมาประท้วงที่กรุงเทพฯ ทุกปี เพื่อ “เตือนความจำ” ให้รัฐบาลปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้ จนกระทั่งต้นปี ๒๕๕๐ เมื่อรัฐบาลสุรยุทธ์ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีที่ว่าโดยสิ้นเชิง)

พี่มดเกิดที่กรุงเทพฯเมื่อ พ.ศ. 2498 ความสนใจในปัญหาคนด้อยโอกาสได้ฉายแววมาตั้งแต่อายุยังน้อย สมัยที่พี่มดย่างเข้าวัยรุ่น เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ขบวนการประชาชนซึ่งมีนักศึกษาเป็นแกนนำกำลังเติบโต ภายหลังจากตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบกดขี่จากรัฐบาลทหารเป็นเวลายาวนาน

ในสมัยที่เรียนมัธยมปลาย พี่มดได้เข้าร่วมเหตุการณ์ 14 ตุลา ซึ่งนำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลถนอม-ประภาสได้เป็นผลสำเร็จ ช่วงเวลาสามปีที่ประชาธิปไตยกำลังเบ่งบานนั้น (พ.ศ. 2516- พ.ศ. 2519) พี่มดเข้าร่วมงานรณรงค์เคลื่อนไหวหลายเรื่อง ที่โดดเด่นได้แก่การเข้าร่วมกับคนงานหญิงโรงงานยีนส์ฮาร่า ในครั้งนั้น คนงานหญิงได้บุกเข้ายึดโรงงาน ภายหลังเจรจากับนายจ้างล้มเหลวมาหลายรอบ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนั้น สะท้อนให้เห็นว่าคนงานสามารถเป็นเจ้าของโรงงานที่ดำเนินการเพี่อคนงาน และโดยคนงานได้อย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก

ทว่า เหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาฝ่ายซ้าย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยดังกล่าวต้องยุติลง พี่มดเองก็ต้องหนีเข้าป่า ไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยรวมทั้งหมดเป็นเวลา 4 ปี

ในปี พ.ศ. 2524 พี่มดกลับมากรุงเทพอีกครั้ง เพื่อเรียนต่อจนจบปริญญาตรี ในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่นั้น พี่มดต้องทำงานสารพัดอย่างเพื่อช่วยครอบครัวใช้หนี้ รวมทั้งส่งเสียให้น้องๆเรียนหนังสือด้วย แม้จะมีรายได้อยู่ในขั้นดีพอสมควร แต่เมื่อจัดการแก้ไขภาระหนี้สินของครอบครัวหมดแล้ว พี่มดกลับเลือกที่จะทำในสิ่งที่ตนเองรัก นั่นคือการไปทำงานกับคนจนและเพื่อคนจน

หลายปีก่อนที่เหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้จะปะทุขึ้น หนึ่งในผู้เขียนบทความและพี่มดได้ไปเดินตลาดสดแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ขณะที่กำลังเดินสำรวจตลาดอยู่นั้น พี่มดได้เล่าย้อนเหตุการณ์สมัยอยู่ฐาน พคท. ในแถบนั้นว่า สมัยก่อนพื้นที่ป่าบริเวณนั้นยังอุดมสมบูรณ์ดี เพราะสมาชิก พคท. ร่วมกันดูแลเพื่อใช้เป็นที่หลบซ่อนตัว

พี่มดชี้ให้เราดูแผงขายหมูและแผงขายเนื้อที่ตั้งร้านอยู่ติดกัน “เห็นไหมชาวบ้านเขาอยู่ร่วมกันได้ ความแตกต่างทางศาสนา (ระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิม) ไม่ใช่ปัญหา คนนอกต่างหากที่แทรกแซงจนเขามีเรื่องกัน”
แม้งานรณรงค์เรียกร้องสิทธิคนจนของพี่มดเองจะถูกมองว่าเป็นเรื่อง “คนนอกแทรกแซง” เช่นกัน แต่อันที่จริง ต้องเข้าใจบริบทแวดล้อมและจิตเจตนาของพี่มดเองก่อน หนึ่งในบทสัมภาษณ์พี่มดที่มีไม่กี่ชิ้น (ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในเว็ปไซต์ไทยเอ็นจีโอ) ได้ชี้ให้เห็นว่า ที่ผ่านมาประชาชนต้องเผชิญกับกระบวนการลิดรอนสิทธิ จนไร้อำนาจตัดสินชะตาชีวิตตัวเอง พี่มดกล่าวว่าหน้าที่ของตนเองนั้นคือ การพยายามเอื้อให้ประชาชนเหล่านั้นได้ตระหนักในสิทธิ์อำนาจของตัวเอง “ลองคิดดูว่าชาวบ้านไม่มีอะไรในมือ กฎหมาย ทหาร ตำรวจ หรือเทศกิจ หรืออาวุธ (เพื่อปกป้องตัวเอง) ไม่ว่ากรณีใด แค่นั่งคุยกันเรื่องโครงการ (พัฒนา) หรือความไม่ชอบธรรมก็ถูกจับเสียแล้ว สมัยก่อนชาวบ้านปากมูลเวลาจะพูดคุยกันเรื่องเขื่อนต้องไปนั่งพูดคุยกันในทุ่ง แอบๆ ไปกัน”

พี่มดเชื่อว่าความรู้คืออำนาจ หลายปีที่ทำงานเคลื่อนไหว พี่มดได้ใช้ความรู้ช่วยเหลือคนด้อยอำนาจมาโดยตลอด พี่มดได้เปลี่ยนโฉมหน้าขบวนการเคลื่อนไหวระดับรากหญ้าในประเทศไทย ซึ่งต่างจากนักเคลื่อนไหวในอดีต (หรือแม้แต่ในปัจจุบัน) ที่มีภูมิหลังเป็นคนชั้นกลาง จบมหาวิทยาลัย มีเงินเดือนประจำ พี่มดเป็นหนึ่งในนักเคลื่อนไหวเพียงไม่กี่คน ที่ใช้ยุทธการขับเคลื่อนมวลชนแบบใหม่ เพาะบ่มผู้นำที่มาจากมวลชนนั้นๆเอง ผู้นำชาวบ้านที่เป็นคนท้องถิ่นที่กล้าท้าทายโครงการขนาดใหญ่ที่ถูกรัฐและ/หรือกลุ่มทุนยัดเยียดให้ ถึงแม้ภูมิหลังและเนื้อหาของปัญหาที่เผชิญจะแตกต่างกันไป แต่สิ่งทีผู้นำมวลชนสายพันธุ์ใหม่นี้ มีร่วมกัน คือการเรียกร้องความเป็นธรรมในสังคม ชาวประมงแห่งปากมูนและชาวบ้านทั่วประเทศที่ได้เข้ามาร่วมกับสมัชชาคนจน ได้เรียนรู้ที่จะ เลิกหวาดกลัวผู้มีอำนาจ และกลับมาเชื่อมั่นในสิทธิพลเมืองของตนเอง

ที่สำคัญ บทบาทความสัมพันธ์ระหว่างปัญญาชนและชาวบ้านก็ได้เปลี่ยนแปลงไป สมัชชาคนจนเป็นตัวอย่างที่บุกเบิกการสลายความคิดแบ่งแยกชนชั้น เปิดโอกาสให้ชาวบ้านเข้ามามีบทบาทนำ ในฐานะ พ่อครัวใหญ่ โดยมีพี่มดและนักเคลื่อนไหวอื่นๆ ซึ่งเป็นคนชนชั้นกลางมีการศึกษา ทำหน้าที่เป็นเพียงที่ปรึกษาเท่านั้น ยุคประชาธิปไตยเพื่อมวลชนที่แท้จริงได้เริ่มขึ้นแล้ว เป็นประชาธิปไตยที่ไปพ้นการเลือกตั้งและการแย่งชิงอำนาจกันอย่างที่เคยเป็นมา

เมื่อปี พ.ศ. 2545 นายพลหม่อง เอ รองคณะมนตรีด้านสันติภาพและการพัฒนาของพม่า มีกำหนดเยือนประเทศไทย รัฐมนตรีคนหนึ่งในรัฐบาลทักษิณ ซึ่งเคยเป็นอดีตสหายร่วมเหตุการณ์เดือนตุลา ได้ขอร้องให้พี่มดย้ายที่ชุมนุมสมัชชาคนจน เพื่อไม่ให้เป็นที่ “อุจาดตา” ผู้นำพม่า แต่พี่มดปฏิเสธคำขอดังกล่าวโดยระบุว่า เป็นโอกาสดีของผู้นำพม่า ที่จะได้เรียนรู้ว่าประชาธิปไตยที่แท้จริงของไทยนั้นเป็นอย่างไร

จะว่าไปแล้ว กระบวนการสร้างประชาธิปไตยของสมัชชาคนจนนั้นเป็นกรณีศึกษาที่โดดเด่นซึ่งขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนทั้งในและต่างประเทศอื่นๆ ควรจะนำไปเรียนรู้เพิ่มเติม ยุทธวิธีที่สมัชชาคนจนริเริ่มมีหลากหลาย อาทิเช่น การรวบรวมชาวบ้านหลายพันคนทั่วประเทศมาผนึกกำลังกันเรียกร้องความเป็นธรรมโดยการตั้ง “หมู่บ้านประท้วง” เป็นครั้งแรก หน้าทำเนียบรัฐบาล (เป็นเวลายาวนานติดต่อกันถึง 99 วัน) และในอีกหลายพื้นที่ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ ยังมี การอดอาหารประท้วง การจัดขบวนยาตราทั่วภาคอีสาน การทำงานวิจัยไทบ้านครั้งแรกในประเทศไทย (งานวิจัยนี้ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่นจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ) วิธีการต่างๆเหล่านี้ล้วนสะท้อนความสามารถในการใช้ภูมิปัญญาแก้ปัญหาและความมุ่งมั่นที่จะตัดสินชะตาชีวิตด้วยตนเองของชาวบ้านในหลายๆรูปแบบ ช่วงเวลาที่ชาวบ้านร่วมใจกันต่อสู้นี้ ในหลายต่อหลายครั้ง เป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านต้องทนนั่งหรือเดินกรำแดดเป็นกิโลๆ ต้องกล้ำกลืนความขมขื่น เผชิญความหวาดระแวงหรือคำเหยียดหยามดูถูกจากคนเมืองผู้ไม่เข้าใจปัญหา และในหลายๆครั้ง ต้องสูญเสียเลือดเนื้อในขณะปะทะกับกำลังเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ตัวพี่มดเองก็ถูกฟ้องในหลายข้อหา (และบางคดีก็ยังอยู่ในชั้นศาล) มีความเป็นไปได้อย่างมาก ที่ชื่อพี่มดอาจจะอยู่ใน “บัญชีดำ” ลำดับต้นๆของหน่วยงานรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เจ้าของโครงการเขื่อนปากมูลและโครงการพัฒนาอื่นๆ
แต่ไม่เคยมีสักครั้งที่ผู้หญิงคนนี้จะยอมแพ้

คนที่เคยทำงานกับพี่มด ล้วนกล่าวเป็นเสียงเดียวกันถึงความเป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย การใช้ชีวิตอย่างสมถะ คิดถึงคนอื่นก่อนตัวเองเสมอ (มีหลายครั้งที่พี่มดได้รับการเสนอชื่อให้รับรางวัลเกียรติยศ แต่ทุกครั้งพี่มดก็จะตอบปฏิเสธไป) ความกล้าหาญของพี่มดเป็นสิ่งที่หาได้ยากในสังคมปัจจุบัน และที่เหนือไปกว่านั้น คือการรู้จักให้อภัย แม่สมปอง เวียงจันทน์ แกนนำสมัชชาคนจน เคยเล่าให้ฟังว่า พี่มดมักพูดกับแม่สมปองเสมอ ถึงการให้อภัยคนที่มาสร้างปัญหาทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน พี่มดขอให้แม่สมปองสู้ด้วยจิตใจที่อาจหาญ โดยไม่ต้องพะวงกับผลลัพธ์ คำพูดหนึ่งที่แม่สมปองยกมาคือ “วันนี้เราอาจจะแพ้ ถ้าเราไม่ท้อถอยมันก็คงจะมีวันของเราบ้าง”

พี่มดอุทิศตนทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย จนกระทั่งวันที่ล้มป่วยด้วยโรคมะเร็ง ที่จริงแล้ว พี่มดไม่ได้สู้โรคร้ายแต่เพียงลำพัง ยังมีชาวบ้านหลายพันคนที่คอยเอาใจช่วย เมื่อได้ทราบข่าวร้ายนี้ ชาวบ้านพวกนี้ต่างถือว่าพี่มดคือมิตรแท้ แม้พวกเขาจะไม่สามารถมอบสิ่งใดเพื่อตอบแทนพี่มดได้ นอกจากข้าวเหนียว และปลาร้า รวมถึงสายตาที่บ่งบอกถึงความซาบซึ้งต่อสิ่งที่พี่มดได้ทำเพื่อพวกเขามาโดยตลอดชีวิต

ไม่กี่วันก่อนวาระสุดท้าย เพื่อนสนิทของพี่มดได้เดินทางมาเยี่ยมให้กำลังใจกันหลายคน หนึ่งในนั้นคือพี่รสนา โตสิตระกูล เพื่อนร่วมชั้นสมัยเรียนมัธยม

พี่รสนาเล่าว่าแม้ขณะที่พี่มดพูดแทบไม่ได้ พี่มดยังยื่นมือมาจับแขนพี่รสนา พร้อมกับพูดเบาๆว่า “บ้านเมืองคงต้องฝากให้เธอดูแลต่อไปแล้วนะ”

พี่มดเสียชีวิตเมื่อเวลา 13 นาฬิกาของวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ทิ้งภารกิจที่เคยทำมาตลอดชีวิตให้คนที่ยังอยู่ได้สืบสานต่อ พี่มดจากพวกเราไป สี่วัน ก่อนวันครบรอบสิบสองปีของสมัชชาคนจนซึ่งพี่มดได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง

.....................................
OBITUARY / WANIDA TANTIWITAYAPITAK (1955-2007)
An activist and true friend of the poor
Right up till the very last days of her life, Wanida Tantiwitayapitak continued to hold on to her fiery mission to serve the underprivileged in Thailand
By SUPARA JANCHITFAH and VASANA CHINVARAKORN
The Bangkok Post December 8, 2007
..............................................................................

A few months ago we visited Wanida Tantiwitayapitakat at her brother's house where she was resting after a series of treatments for cancer. Accompanying us was Phinun Chotirosseranee, a businesswoman-turned-environmentalist from Kanchanaburi. During our conversation, which touched on the usual subjects of social problems and possible alternatives, Wanida raised her concern about the safety of the Sri Nakharin dam in Ms Phinun's hometown. ''The structure of the dam is not solid; it is located in an earthquake-prone area,'' Wanida made the observation in her feeble voice. ''What will happen to people who live downstream if the dam collapses?
''But please continue your campaign to raise public awareness,'' Wanida asked Ms Phinun. ''I will try my best to fight alongside with you,'' she said.

Despite her bony cheeks and sparse hair (due to chemotherapy), Wanida's eyes still shone; her parched lips maintained their stubborn character, ever ready to challenge the powers that be. But they were the very same lips which always spoke kindly to the poor she came across, be they the fisherfolk affected by the Pak Moon and other dam projects, the slum people in Bangkok and other big cities, the factory workers whose health had been ravaged due to poor environment... The list of the downtrodden whose lives began to feel a glimmer of hope, thanks to Wanida and her peers at the Assembly of the Poor (AoP), is long and diverse.

The list is also a testament to how misguided Thailand's development policies have been over the last five decades. Centrally planned, with little consideration for the locals, the mega projects have adamantly been imposed for short-term profit (of politicians and the few local influential people) and not much else.

The entrance of Wanida on the scene has - to the annoyance of policy-makers - significantly reshaped the otherwise mundane narratives of the poor being robbed of their livelihood and having to fend for themselves.

The AoP, for all its limitations, is the very first effective networking of villagers from all corners of the country who have managed to coerce a certain bargaining power vis-a-vis the national administration. Unprecedented in this country's history, the government was obliged to pay compensation for ''the loss of opportunity'' to the Isan villagers affected by the Pak Moon dam who were not able to fish during the three-year construction period.

Contrary to the authority's promises, the stocks of fish continued to dwindle after the dam went into operation, and with the subsequent finding by the World Commission on Dams that the project yielded far less electricity power than originally projected, the Thaksin cabinet was pressured to open the dam's gates for four months a year. Such a challenge to the state by the downtrodden had never before been heard of in Thailand.

(However, the Pak Moon villagers have had to rally every year to remind the government to fulfil its promise. Early this year, the Surayud cabinet cancelled the cabinet's resolution altogether.)

Born in Bangkok in 1955, Wanida demonstrated her interest in, and concern for, the less privileged from a very young age. Her teenage years coincided with the growing civil movement, mostly student-led, after years of suppressive military regimes.

Still a senior high school student, she took part in the historic Oct 14, 1973 uprising that toppled the Thanom-Prapass government. During the three-year interlude of so-called
''democracy'' (1973-1976), Wanida worked on various campaigns, notably with the women workers at Hara Jeans factory.

The legendary siege by the Hara workers, after unsuccessful rounds of negotiations with the employers over unfair treatment, witnessed the very first attempt to run an enterprise by and for workers themselves.

The bloody massacre of leftist students on Oct 6, 1976 put an abrupt halt to such endeavours. Wanida herself fled to join the Communist Party of Thailand in the jungle, where she stayed for about four years.

In 1981 she returned to the capital, completed her university education, worked for a couple of years to repay the family's debts and support her younger siblings' schooling.

Despite the good income, after completing her family duty, Wanida resumed her labour of love: that of working with and for the poor.

Long before the southern violence erupted, during our stroll through a fresh food market in Pattani, Wanida recalled the time she spent at a CPT base nearby. The forest there was still in pristine condition, she remarked, for the CPT members had been protecting it as their hideout.
She also commented on how the southern vendors of pork and beef could put up their booths near one another. ''See how the folk here can live together - religious differences [between Muslims and Buddhists] are not a problem. It is the outsiders' interference that usually pits people against one another.''

Ironically, Wanida's own line of public campaigning on behalf of the poor throughout the kingdom suffered a similar charge of ''outside interference''. But one needs to understand the difference in context - and in intention.

In an interview with Thai NGO.org online newsletter, Wanida explained how the common folk have been deprived of their right to control their own destiny. Her job was to empower their voice. ''They don't have anything at all. No law, no army, police, civilian officials or weapons [to protect them]. Even to talk among themselves about whether or not a [development] project is justified could land them in jail. Back then, the Pak Moon villagers had to sneak out into the fields to talk about the dam.''

For Wanida, knowledge was power. And her years of social work were put to good use in support of the powerless. Again, Wanida more or less started a new chapter in Thailand's grassroots movement. Unlike the previous (and even current) generations of activists who are typically from the middle class, with a university education and enjoying regular salaries, Wanida was one of the very few who embarked on a new type of public campaign, one that would later see a blossoming of quintessentially mass-based leaders _ those who are native to the land and dare to challenge the imposition of mega projects.

Despite the differences in their background and nature of problems facing them, this new breed of grassroots leaders shared a common cause: a search for justice.

The fisherfolk of Ubon Ratchathani, for example, have become confident of their rights. They no longer feel embarrassed or shy about speaking up. More importantly, the role of intellectuals vis-a-vis villagers has been reversed. The Assembly of the Poor was a pioneer in doing away with hierarchies: the villagers now took a front-seat role as por krua yai (core members) while Wanida and other educated middle-class activists served as advisers. The new era had begun.
It would be a dramatic, larger-than-life step towards real democracy. A democracy that went beyond the routine of elections and the perennial struggle for power.

During a planned state visit by General Maung Aye, vice chairman of Burma's State Peace and Development Council, in 2002, Wanida was asked by a member of Thaksin Shinawatra's cabinet, a former associate from the October generation, to relocate the demonstrations by the AoP to a secluded spot so that it would not be ''an eyesore'' for the Burmese delegation.

She refused, arguing that the Burmese leaders should have a chance to learn what Thai-style democracy actually was all about.

In retrospect, the democratisation process was a class in itself, for both Thailand and other countries, to take lessons from; a process that saw thousands of villagers across the nation joining hands to set up the country's first protest village, right in front of Government House (once lasting 99 days) and at several other sites.

The villagers' ingenuity and sense of determination has been manifest in various forms _ hunger protests, long marches throughout the Isan region, a completion of Thailand's first grassroots-based research (that went on to win the Best Research of the Year award from the National Public Health Foundation).

In between the moments of glory have been times of bitterness, sweat, clashes, doubts, physical and verbal confrontation.

Wanida herself was slapped with several lawsuits (some of which have yet to reach their final verdict). For the energy policy planners, in particular the Electricity Generating Authority of Thailand, Wanida was probably at the very top of their blacklist.
But this woman never wavered.

Those who have worked with Wanida have invariably commented on her consistency, simple lifestyle, selflessness (she turned down several nominations for awards), and remarkable courage. And the willingness to forgive.

Sompong Wiangjand, an AoP core member, said Wanida often told her how important it was to forgive those who have wreaked havoc on the villagers' lives. She also encouraged Ms Sompong to keep up the fighting spirit, regardless of the results.

''We may lose today, but we can always fight again tomorrow,'' Ms Sompong quoted her sister-friend as saying.

Up until the day she fell ill with cancer, Wanida tirelessly devoted herself to her mission. It has not been a lonely struggle: she cultivated long-lasting friendships with thousands of villagers who considered her their true friend. They had nothing to offer her besides sticky rice and fish, and a gaze that revealed their deep gratitude for what she was trying to do on their behalf.

A few days before her death, some close friends of Wanida paid her a visit. One was Rosana Tositrakul, who had been her classmate back in high-school days.

Ms Rosana later related how Wanida, though barely able to speak, placed her hand on hers and said softly: ''Please continue the work for the country for me.''

Wanida passed away at 1pm on Dec 6, 2007, leaving her life-long mission for others to carry on. It was four days short of the 12th anniversary of the Assembly of the Poor, which she co-founded.

……………………..

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551

อุปสรรคทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสาร

อุปสรรคทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสาร
Cultural Barriers to Effective Communication
นักเรียนการแปล เอามาเล่าใหม่เป็นภาษาไทย

การสื่อสารกับบุคคลที่มีวัฒนธรรมแตกต่างให้มีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ท้าทาย วัฒนธรรมกำหนดวิธีคิดของคนเรา รวมทั้งวิธีมองได้ยินและตีความโลก ดังนั้นคำคำเดียวอาจมีความหมายต่อคนต่างวัฒนธรรมแตกต่างกัน ถึงแม้จะพูดภาษาเดียวกันก็ตาม เมื่อภาษามีความแตกต่างกันและต้องนำการแปลมาใช้สื่อสาร แนวโน้มของการไม่เข้าใจกันก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น

สเตลลา ติง-ตูเม อธิบาย 3 ปัจจัยที่วัฒนธรรมแทรกแซงประสิทธิภาพของการทำความเข้าใจกันระหว่างวัฒนธรรม ปัจจัยแรกเรียกว่า cognitive constraints หมายถึงกรอบความเข้าใจหรือการมองโลกใช้บ่งชี้ภูมิหลัง ซึ่งข้อมูลใหม่ๆถูกนำมาเปรียบเทียบหรือใส่เข้าไป

ปัจจัยที่สองคือ behavior constraints แต่ละวัฒนธรรมมีกฏเกณฑ์เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เหมาะสม ซึ่งส่งผลต่อการสื่อสารแบบวัจนภาษาและอวัจนภาษา ไม่ว่าเราจะมองเข้าไปในตาของคนอื่นหรือไม่ ไม่ว่าเราจะสื่อความหมายอย่างเปิดเผยหรือพูดคุยเกี่ยวกับบางเรื่อง ระยะห่างของเรากับคนอื่นขณะกำลังคุยกัน ทั้งหมดนี้และกฎของความสุภาพอื่นอีกมากมาย มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละวัฒนธรรม

ปัจจัยที่สามที่ ติง-ตูเม ระบุไว้คือ emotional constraints วัฒนธรรมที่แตกต่างกันกำหนดการแสดงอารมณ์ที่แตกต่างกัน บางวัฒนธรรมมีอารมณ์มาเกี่ยวข้องอย่างมากในระหว่างการถกเถียง มีทั้งโห่ร้อง ร้องไห้ แสดงอารมณ์โกรธ กลัว สับสน และอารมณ์อื่นๆอย่างเปิดเผย บางวัฒนธรรมพยายามเก็บงำอารมณ์เอาไว้ โดยแสดงและแลกเปลี่ยนกันเฉพาะส่วนที่ “เป็นเหตุเป็นผล” หรือเป็นข้อเท็จจริงเท่านั้น

ทั้งหมดนี้คือความแตกต่างที่อาจนำไปสู่ปัญหาการสื่อสาร ถ้าคนที่สื่อสารไม่ตระหนักปัญหาเหล่านี้ ก็มีโอกาสที่จะประสบกับปัญหาได้ ดังนั้นจึงต้องตระหนักและเอาชนะปัญหาเหล่านี้ให้สำเร็จ จึงจะสื่อสารข้ามวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพได้

………………………..

Cultural Barriers to Effective Communication
International Online Training Program On Intractable Conflict
Conflict Research Consortium, University of Colorado, USA


Effective communication with people of different cultures is especially challenging. Cultures provide people with ways of thinking--ways of seeing, hearing, and interpreting the world. Thus the same words can mean different things to people from different cultures, even when they talk the "same" language. When the languages are different, and translation has to be used to communicate, the potential for misunderstandings increases.

Stella Ting-Toomey describes three ways in which culture interferes with effective cross-cultural understanding. First is what she calls "cognitive constraints." These are the frames of reference or world views that provide a backdrop that all new information is compared to or inserted into.

Second are "behavior constraints." Each culture has its own rules about proper behavior which affect verbal and nonverbal communication. Whether one looks the other person in the eye-or not; whether one says what one means overtly or talks around the issue; how close the people stand to each other when they are talking--all of these and many more are rules of politeness which differ from culture to culture.

Ting-Toomey's third factor is "emotional constraints." Different cultures regulate the display of emotion differently. Some cultures get very emotional when they are debating an issue. They yell, they cry, they exhibit their anger, fear, frustration, and other feelings openly. Other cultures try to keep their emotions hidden, exhibiting or sharing only the "rational" or factual aspects of the situation.

All of these differences tend to lead to communication problems. If the people involved are not aware of the potential for such problems, they are even more likely to fall victim to them, although it takes more than awareness to overcome these problems and communicate effectively across cultures.
…………………………….

http://www.colorado.edu/conflict/peace/problem/cultrbar.htm

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

เป็นครูต้องมีความฝัน : เปาโล แฟรร์

คำคมของ เปาโล แฟรร์

“I’d like to say to us as educators; poor are those among us who lose their capacity to dream, to create their courage to denounce and announce…” --- Paulo Freire

อยากบอกกับพวกเราที่เป็นครูบาอาจารย์ว่า ถ้าเราไม่มีความฝัน ไม่มีความกล้าหาญ ที่จะประณามสิ่งเลวร้ายและประกาศสิ่งดีงามแล้ว ย่อมเป็นคนที่น่าสงสารยิ่งนัก – เปาโล แฟรร์ ครูและนักเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมในสังคม

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

แมลงวันเจ้าปัญญา โดย เจมส์ เธอร์เบอร์

แมลงวันเจ้าปัญญา โดย เจมส์ เธอร์เบอร์
The Fairly Intelligent Fly by James Thurber
แปลเป็นไทยโดย นักเรียนการแปล

ในบ้านเก่าหลังหนึ่ง มีแมงมุมตัวใหญ่ตัวหนึ่ง ชักใยอย่างวิจิตรบรรจงไว้จับแมลงวัน ทุกครั้งที่มีแมลงวันร่อนลงมาติดบนใยแมงมุม แมงมุมจะจับกินเป็นอาหารไม่ให้เหลือร่องรอย เพื่อให้แมลงวันที่บินผ่านมาคิดว่า ใยแมงมุมนี้ปลอดภัยและสงบเงียบ เหมาะเป็นที่พักผ่อน วันหนึ่ง แมลงวันเจ้าปัญญาตัวหนึ่งบินผ่านมาถึงใยแมงมุมนี้ มันหยุดอยู่นานโดยไม่บินลงไปเกาะ จนกระทั่งแมงมุมเจ้าของใยปรากฏตัวขึ้น แมงมุมบอกว่า “ลงมาสิ”

แต่แมลงวันฉลาดกว่า จึงตอบไปว่า “ข้าไม่ไปในที่ที่ไม่มีแมลงวันอื่นอยู่เด็ดขาด ข้าไม่เห็นแมลงวันเกาะที่ใยของเจ้าเลยสักตัว” ว่าแล้ว แมลงวันเจ้าปัญญาก็บินหนีไป จนไปถึงสถานที่หนึ่ง ที่นั่นมีแมลงวันอยู่มากมาย

ขณะที่แมลงวันเจ้าปัญญาจะร่อนลงไปร่วมกับฝูงแมลงวันนั้น มีผึ้งตัวหนึ่งบินผ่านมา พลางพูดว่า อย่าเพิ่งลงไป เจ้าโง่ นั่นมันที่ดักแมลงวัน เจ้าพวกนั้นนั้นติดกับดัก อย่าโง่ไปหน่อยเลยน่า แมลงวันเจ้าปัญญาตอบ แมลงวันพวกนั้นกำลังเต้นรำกันต่างหาก

ว่าแล้ว แมลงวันเจ้าปัญญาจึงร่อนลงและตัวมันก็ติดกับที่ดักแมลงวัน เช่นเดียวกับแมลงวันตัวอื่น

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า จำนวนหรือสิ่งอื่นใด ไม่มีอะไรรับประกันความปลอดภัยได้ทั้งนั้น

………………….

James Thurber, "The Fairly Intelligent Fly"

A large spider in an old house built a beautiful web in which to catch flies. Every time a fly landed on the web and was entangled in it the spider devoured him, so that when another fly came along he would think the web was a safe and quiet place in which to rest.

One day a fairly intelligent fly buzzed around above the web so long without lighting that the spider appeared and said, "Come on down."

But the fly was too clever for him and said, "I never light where I don't see other flies and I don't see any other flies in your house." So he flew away until he came to a place where there were a great many other flies.

He was about to settle down among them when a bee buzzed up and said, "Hold it, stupid, that's flypaper. All those flies are trapped." "Don't be silly," said the fly, "they're dancing."

So he settled down and became stuck to the flypaper with all the other flies.

Moral: There is no safety in numbers, or in anything else.

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายใหม่พรรค

....................
ปชป.แถลงนโยบายใหม่พรรค
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สัญญาจะผลักดันนโยบายหลักของพรรคภายใต้คำขวัญ “ประชาชนต้องมาก่อน”
นายอภิสิทธิ์ ให้คำมั่นในระหว่างการประชุมประจำปีของพรรคว่า จะช่วยฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยด้วยการรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พร้อมแนะให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไปเข้าคูหาใช้สิทธิ์ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เองก็จะส่งผู้สมัครลงแข่งขันด้วย ทั้งนี้หัวหน้าพรรคกล่าวอีกว่า ทางกองทัพที่กระทำรัฐประหารโค่นล้มอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถึงเวลากลับเข้ากรมกองแล้ว หลังประเทศไทยได้ระบอบประชาธิปไตยคืนมาอีกครั้ง

นายอภิสิทธิ์แถลงว่า ตนเองไม่คิดว่าภาคเอกชนต้องช่วยเหลือคนจน แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจของประเทศไม่มีทางดีขึ้น ถ้าไม่แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและความอยู่ดีมีสุขของประชาชนเป็นอย่างแรกนอกจากนั้น นายอภิสิทธิ์สัญญาด้วยว่าจะผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัว เพื่อให้คนจนมีรายได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกษตรกรที่ผลิตพืชผลทางการเกษตรเลี้ยงโลก
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า เป็นหน้าที่หลักของรัฐบาลที่ต้องจัดทำโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจในพื้นที่ชนบทซึ่งประสบปัญหาความยากจนทั่วทั้งประเทศ คนจนต้องมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ให้มากที่สุดจากโครงการลงทุนที่คุ้มค่าและมีให้เลือกหลากหลาย ขณะเดียวกัน ต้องพัฒนาโครงการชลประธานให้ครอบคลุมพื้นที่เกษตรในพื้นที่ทุรกันดารให้กว้างขวางกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการต้องได้รับการสนับสนุนให้เข้มแข็ง

นายอภิสิทธิ์ระบุว่า ควรมีมาตรการจำกัดการขนส่งที่มีต้นทุนสูงภายในประเทศ เช่น การขนส่งสินค้าจากพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ควรสร้างเส้นทางขนส่งสินค้าโดยตรง เช่นท่าเรือบริเวณทะเลอันดามันสำหรับภาคใต้และระบบรถไฟคู่ขนานสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ตนเองจะผลักดันโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และโครงการเพื่อพัฒนาการศึกษา นอกจากนั้นยังให้ความเห็นอีกว่าว่าประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของประทศ โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องหยุดการทำร้ายกันและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
การเลือกตั้งทั่วไปคาดว่าจะมีขึ้นในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้
………………………………………

Thailand’s Oldest Party Announces New Policy Platform

BANGKOK, July 21 Democrat Party leader Abhisit Vejjajiva pledged Saturday to push forward several major party policies under a ‘‘People Come First‘‘ platform.

During the annual party caucus, Mr. Abhisit pledged to help restore democratic rule by endorsing the newly-drafted constitution and urging eligible voters to go to the polls which his Democrat Party will contest. The military, which had staged last year's coup to oust former prime minister Thaksin Shinawatra, are bound to return to their barracks after democratic rule has returned to the country, the Democrat leader said.

Mr. Abhisit said he did not believe the private sector should necessarily take care of the poor, but said the national economy will not improve unless the people's economy and well-being have been restored in the first place.

In addition, Mr. Abhisit vowed to push for economic recovery so that the poor earn higher income, especially the farmers who have been feeding the world with their farm products and food.

Rural, poverty-stricken areas throughout the country should top government priorities for economic restoration projects, he said. The impoverished people should be entitled to optimum benefits from varied, cost-effective investment schemes while irrigation projects should be developed to cover wider farmland in remote areas than today and industries and service businesses should be strengthened.

Thailand's high logistics costs involving the transport of goods should be substantially reduced, he said. For instance, goods from the northeastern and southern regions of the country should have direct access to export markets, such as an Andaman Sea port for the South and a double railroad system for the Northeast. The Democrat leader said he will push for human resources and educational development projects and see to it that people in all parts of the country, especially those in the southernmost provinces, stop from harming one another and begin to co-exist in peace.

The general election is expected to be held in December this year.