วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

แมลงวันเจ้าปัญญา โดย เจมส์ เธอร์เบอร์

แมลงวันเจ้าปัญญา โดย เจมส์ เธอร์เบอร์
The Fairly Intelligent Fly by James Thurber
แปลเป็นไทยโดย นักเรียนการแปล

ในบ้านเก่าหลังหนึ่ง มีแมงมุมตัวใหญ่ตัวหนึ่ง ชักใยอย่างวิจิตรบรรจงไว้จับแมลงวัน ทุกครั้งที่มีแมลงวันร่อนลงมาติดบนใยแมงมุม แมงมุมจะจับกินเป็นอาหารไม่ให้เหลือร่องรอย เพื่อให้แมลงวันที่บินผ่านมาคิดว่า ใยแมงมุมนี้ปลอดภัยและสงบเงียบ เหมาะเป็นที่พักผ่อน วันหนึ่ง แมลงวันเจ้าปัญญาตัวหนึ่งบินผ่านมาถึงใยแมงมุมนี้ มันหยุดอยู่นานโดยไม่บินลงไปเกาะ จนกระทั่งแมงมุมเจ้าของใยปรากฏตัวขึ้น แมงมุมบอกว่า “ลงมาสิ”

แต่แมลงวันฉลาดกว่า จึงตอบไปว่า “ข้าไม่ไปในที่ที่ไม่มีแมลงวันอื่นอยู่เด็ดขาด ข้าไม่เห็นแมลงวันเกาะที่ใยของเจ้าเลยสักตัว” ว่าแล้ว แมลงวันเจ้าปัญญาก็บินหนีไป จนไปถึงสถานที่หนึ่ง ที่นั่นมีแมลงวันอยู่มากมาย

ขณะที่แมลงวันเจ้าปัญญาจะร่อนลงไปร่วมกับฝูงแมลงวันนั้น มีผึ้งตัวหนึ่งบินผ่านมา พลางพูดว่า อย่าเพิ่งลงไป เจ้าโง่ นั่นมันที่ดักแมลงวัน เจ้าพวกนั้นนั้นติดกับดัก อย่าโง่ไปหน่อยเลยน่า แมลงวันเจ้าปัญญาตอบ แมลงวันพวกนั้นกำลังเต้นรำกันต่างหาก

ว่าแล้ว แมลงวันเจ้าปัญญาจึงร่อนลงและตัวมันก็ติดกับที่ดักแมลงวัน เช่นเดียวกับแมลงวันตัวอื่น

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า จำนวนหรือสิ่งอื่นใด ไม่มีอะไรรับประกันความปลอดภัยได้ทั้งนั้น

………………….

James Thurber, "The Fairly Intelligent Fly"

A large spider in an old house built a beautiful web in which to catch flies. Every time a fly landed on the web and was entangled in it the spider devoured him, so that when another fly came along he would think the web was a safe and quiet place in which to rest.

One day a fairly intelligent fly buzzed around above the web so long without lighting that the spider appeared and said, "Come on down."

But the fly was too clever for him and said, "I never light where I don't see other flies and I don't see any other flies in your house." So he flew away until he came to a place where there were a great many other flies.

He was about to settle down among them when a bee buzzed up and said, "Hold it, stupid, that's flypaper. All those flies are trapped." "Don't be silly," said the fly, "they're dancing."

So he settled down and became stuck to the flypaper with all the other flies.

Moral: There is no safety in numbers, or in anything else.

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายใหม่พรรค

....................
ปชป.แถลงนโยบายใหม่พรรค
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สัญญาจะผลักดันนโยบายหลักของพรรคภายใต้คำขวัญ “ประชาชนต้องมาก่อน”
นายอภิสิทธิ์ ให้คำมั่นในระหว่างการประชุมประจำปีของพรรคว่า จะช่วยฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยด้วยการรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พร้อมแนะให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไปเข้าคูหาใช้สิทธิ์ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เองก็จะส่งผู้สมัครลงแข่งขันด้วย ทั้งนี้หัวหน้าพรรคกล่าวอีกว่า ทางกองทัพที่กระทำรัฐประหารโค่นล้มอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถึงเวลากลับเข้ากรมกองแล้ว หลังประเทศไทยได้ระบอบประชาธิปไตยคืนมาอีกครั้ง

นายอภิสิทธิ์แถลงว่า ตนเองไม่คิดว่าภาคเอกชนต้องช่วยเหลือคนจน แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจของประเทศไม่มีทางดีขึ้น ถ้าไม่แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและความอยู่ดีมีสุขของประชาชนเป็นอย่างแรกนอกจากนั้น นายอภิสิทธิ์สัญญาด้วยว่าจะผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัว เพื่อให้คนจนมีรายได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกษตรกรที่ผลิตพืชผลทางการเกษตรเลี้ยงโลก
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า เป็นหน้าที่หลักของรัฐบาลที่ต้องจัดทำโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจในพื้นที่ชนบทซึ่งประสบปัญหาความยากจนทั่วทั้งประเทศ คนจนต้องมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ให้มากที่สุดจากโครงการลงทุนที่คุ้มค่าและมีให้เลือกหลากหลาย ขณะเดียวกัน ต้องพัฒนาโครงการชลประธานให้ครอบคลุมพื้นที่เกษตรในพื้นที่ทุรกันดารให้กว้างขวางกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการต้องได้รับการสนับสนุนให้เข้มแข็ง

นายอภิสิทธิ์ระบุว่า ควรมีมาตรการจำกัดการขนส่งที่มีต้นทุนสูงภายในประเทศ เช่น การขนส่งสินค้าจากพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ควรสร้างเส้นทางขนส่งสินค้าโดยตรง เช่นท่าเรือบริเวณทะเลอันดามันสำหรับภาคใต้และระบบรถไฟคู่ขนานสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ตนเองจะผลักดันโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และโครงการเพื่อพัฒนาการศึกษา นอกจากนั้นยังให้ความเห็นอีกว่าว่าประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของประทศ โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องหยุดการทำร้ายกันและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
การเลือกตั้งทั่วไปคาดว่าจะมีขึ้นในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้
………………………………………

Thailand’s Oldest Party Announces New Policy Platform

BANGKOK, July 21 Democrat Party leader Abhisit Vejjajiva pledged Saturday to push forward several major party policies under a ‘‘People Come First‘‘ platform.

During the annual party caucus, Mr. Abhisit pledged to help restore democratic rule by endorsing the newly-drafted constitution and urging eligible voters to go to the polls which his Democrat Party will contest. The military, which had staged last year's coup to oust former prime minister Thaksin Shinawatra, are bound to return to their barracks after democratic rule has returned to the country, the Democrat leader said.

Mr. Abhisit said he did not believe the private sector should necessarily take care of the poor, but said the national economy will not improve unless the people's economy and well-being have been restored in the first place.

In addition, Mr. Abhisit vowed to push for economic recovery so that the poor earn higher income, especially the farmers who have been feeding the world with their farm products and food.

Rural, poverty-stricken areas throughout the country should top government priorities for economic restoration projects, he said. The impoverished people should be entitled to optimum benefits from varied, cost-effective investment schemes while irrigation projects should be developed to cover wider farmland in remote areas than today and industries and service businesses should be strengthened.

Thailand's high logistics costs involving the transport of goods should be substantially reduced, he said. For instance, goods from the northeastern and southern regions of the country should have direct access to export markets, such as an Andaman Sea port for the South and a double railroad system for the Northeast. The Democrat leader said he will push for human resources and educational development projects and see to it that people in all parts of the country, especially those in the southernmost provinces, stop from harming one another and begin to co-exist in peace.

The general election is expected to be held in December this year.

การแปลและการเซ็นเซอร์ในยุโรป

Translation and Censorship in European Environments
การแปลและการเซ็นเซอร์ในยุโรป
Antonia Keratsa เขียน ชำนาญ ยานะ เรียบเรียง
Translation Journal Volume 9, No. 3 July 2005

บทความชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการแปลภายใต้ระบบการเซ็นเซอร์ เป็นการสำรวจกลไกการจัดการกับต้นฉบับ ทั้งดัดแปลงบิดเบือนหรือกำจัดเนื้อหาต้นฉบับ เพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง ในประวัติศาสตร์ของยุโรป การเซ็นเซอร์งานแปลถูกนำมาอ้างว่าเป็นเครื่องมือในการปกป้องวัฒนธรรมของชาติจากอิทธิพลต่างชาติ ขณะเดียวกันก็เชิดชูอุดมการณ์ชาตินิยมของชนชั้นนำในประเทศนั้น เนื้อหาในบทความนี้มุ่งสำรวจและตรวจสอบอุตสาหกรรมการแปลในสามประเทศได้แก่

1. อิตาลีภายใต้ระบอบฟาสซิสต์
2. เยอรมันภายใต้ระบอบนาซี
3. สเปนภายใต้การนำของนายพลฟรังโก
………………………………

1. การแปลและการเซ็นเซอร์ในอิตาลีใต้ระบอบฟาสซิสต์
Translation and Censorship in Fascist Italy

รัฐบาลอิตาลีของนายกรัฐมนตรี เบนิโต มุสโสลินี ต้องการให้ประชาชนหลงใหลระบอบการปกครองแบบฟาสซิสต์ เพื่อนำไปสู่การสถาปนาอุดมการณ์ฟาสซิสต์ให้มั่นคงในสังคมอิตาลี มุสโสลินีต้องการให้ประชาชนเชื่อว่า ตนเองกำลังนำพาประเทศไปพบกับความสำเร็จ สู่ความมีอารยธรรมที่รุ่งเรือง และเหตุผลอีกประการหนึ่งคือ รัฐบาลมุสโสลินีต้องการปกป้องตนเองจากคำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับพฤติกรรมเผด็จการ ดังนั้นรัฐบาลจึงควบคุมการสื่อสารทุกประเภทเช่น วิทยุ ภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ สำนักพิมพ์และหนังสือ


ช่วงทศวรรษที่ 1920 ยังไม่มีการเซ็นเซอร์จากส่วนกลาง ไม่มีการแยกวรรณกรรมอิตาเลียนจากวรรณกรรมต่างประเทศ กฎเกณฑ์ควบคุมการแปลยังไม่มีบัญญัติ ช่วงทศวรรษที่ 1930 อิตาลีตีพิมพ์งานแปลมากกว่าประเทศใดๆในยุโรป ส่วนใหญ่จะเป็นผลงานจากอังกฤษและอเมริกา ต่อมารัฐบาลไม่ต้องการให้อิตาลีรับอิทธิพลจากต่างชาติมากเกินไป เพราะนั่นสะท้อนถึงความล้มเหลวของการปฏิวัติชาติสู่ระบอบฟาสซิสต์ เพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ จึงได้มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรมออกกฎหมายควบคุมงานแปล

สำนักพิมพ์ถูกบังคับให้แจ้งและขออนุญาตก่อนพิมพ์งานแปลหนังสือต่างประเทศ งานแปลจำพวกบันเทิงถูกจำกัด บางครั้งก็ถูกเซ็นเซอร์ตามคำสั่งรัฐบาล สำนักพิมพ์จำใจต้องเซ็นเซอร์ตัวเองก่อนตีพิมพ์หนังสือ เนื่องจากการห้ามจำหน่ายหลังตีพิมพ์อาจทำให้สูญเสียเงินจำนวนมหาศาล จนอาจทำให้บริษัทล้มละลายได้

งานแปลชื่อ Americana เป็นหนังสือชุดสองเล่ม รวมงานประพันธ์ที่นักเขียนอิตาเลียนร่วมสมัยหลายท่านร่วมกันแปล ได้ถูกห้ามตีพิมพ์ถึงสองครั้ง ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลอยากแสดงให้ว่าไม่ต้องการเป็นมิตรกับอเมริกา ไม่เว้นแม้แต่กับวรรณกรรม แต่ในที่สุดรัฐบาลก็ตัดสินใจอนุญาตให้ตีพิมพ์ กระนั้นก็ตามหลายส่วนของหนังสือเล่มนี้ถูกตัดออกให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ของรัฐบาล

เห็นได้ชัดว่า ยุทธการรวมทั้งมาตรการลงโทษขั้นรุนแรงของมุสโสลินี มีจุดประสงค์เพื่อรวบอำนาจมาไว้กับรัฐบาล เชิดชูค่านิยมแบบฟาสซิสต์และแยกวัฒนธรรมอิตาเลียนให้พ้นอิทธิพลต่างชาติ อย่างไรก็ตาม ชาวอิตาเลียนรู้สึกชื่นชอบวัฒนธรรมต่างชาติ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถสร้างระบบเซนเซอร์ที่มีประสิทธิภาพ มาต่อต้านการรุกรานของวัฒนธรรมต่างชาติและจัดการอุตสาหกรรมการแปลได้

2. การแปลและการเซ็นเซอร์ในเยอรมนียุครัฐบาลนาซี
Translation and Censorship in Nazi Germany

ในรัฐบาลพรรคนาซีของอดอร์ฟ ฮิตเลอร์ นักแปลถูกมองว่าเป็นศัตรูของวัฒนธรรมประจำชาติ วารสารของรัฐบาลนาซีระบุว่าการแปลเป็นภัยต่อความจริงและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมเยอรมัน อีกทั้งเป็นอันตรายต่อวัฒนธรรมที่พรรคนาซีสร้างขึ้น รัฐบาลจึงสั่งให้ต่อต้านการคุกคามของต่างชาติด้วยการส่งเสริมวรรณกรรมนาซี ห้ามสิ่งพิมพ์ใดๆที่ขัดแย้งกับอุดมการณ์นาซี ที่มุ่งเชิดชูจิตวิญญาณความเป็นเยอรมัน ด้านเชื้อชาติ ความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ความเป็นผู้นำ แบบแผนความเป็นชาย/หญิง ความเป็นชนบทที่ตรงกันข้ามกับความเป็นเมืองซึ่งชั่วร้าย เป็นการปกป้องประชาชนเยอรมันจากอิทธิพลที่คุกคามจากต่างประเทศ

ช่วงทศวรรษที่ 1930 ยังไม่มีมาตรการควบคุมหนังสือและงานแปลอย่างเป็นกิจลักษณะ ทำให้ผลของการละเมิดเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ ก่อให้เกิดความกลัวและความรู้สึกไม่ปลอดภัยให้กับสำนักพิมพ์ การเซ็นเซอร์ตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญในตอนนั้น เพราะสำนักพิมพ์ไม่อยากสูญเสียเงิน อันอาจเกิดการถูกสั่งห้ามจำหน่าย ภายหลังปี 1933 การควบคุมสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานแปล ได้บัญญัติเป็นกฎหมาย การเซนเซอร์ก่อนตีพิมพ์เป็นไปอย่างจริงจัง การเซนเซอร์ดำเนินการโดยกระทรวงโฆษณาการของ ดร. พอล โจเซฟ เกิบเบิล และองค์กรตำรวจลับเกสตาโป การกระทำนี้ยากที่จะรู้ได้ เนื่องจาก “ทำก่อนการจำหน่ายหนังสือและก่อนนำหนังสือเข้าห้องสมุด”

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง งานแปลทั้งหมดจากประเทศศัตรูถูกเซ็นเซอร์อย่างหนัก รัฐบาลสร้างภาพว่าวัฒนธรรมต่างชาติต่ำต้อยและเป็นอันตรายต่อวัฒนธรรมประจำชาติ พรรคนาซีโฆษณาชวนเชื่อผ่านนิตยสารสายการเมืองของพรรคชื่อ Bucherkund ซึ่งตีพิมพ์รายเดือนตั้งแต่ปี 1934 ถึง 1944 มีการนำเสนอผลงานที่ “แนะนำ”และ”ไม่แนะนำ” ให้อ่าน ควบคู่กับบทวิจารณ์งานแปลซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส ตลอดจนหัวข้ออื่นที่เกี่ยวกับวรรณกรรมร่วมสมัย ต่อมางานแปลทั้งสองภาษาถูกกำจัดออกไป คงเหลือเพียงงานแปลภาษาอื่นที่ ”เป็นมิตร”มากกว่า นอกจากนั้น งานแปลเป็นภาษาเยอรมันจะได้รับยกย่อง ถ้าแสดงความเป็นต่างชาติแต่เพียงน้อย และภาพลักษณ์วัฒนธรรมต่างชาติที่ถูกต้องต้องยึดตามที่พรรคนาซีกำหนดเท่านั้น

ตัวอย่างวรรณกรรมฝรั่งเศสและอังกฤษที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน แต่ถูกสร้างภาพให้นำเสนอความต่ำต้อยในวัฒนธรรมต้นฉบับได้แก่ วรรณกรรมเรื่อง Minuit ของ Julien Green ในฉบับแปล มีการสร้างภาพชาวฝรั่งเศสให้เป็นคนจิตใจหยาบช้า ไม่ยึดถือหลักการใดๆทั้งสิ้น นอกจากนี้ วรรณกรรมเรื่อง "Autobiography of a Cad" ของ AG MacDonnell ได้ถูกนำมาแปลโดยสร้างภาพว่า ความจริงแล้ว ชาวอังกฤษเป็นพวกชนชั้นต่ำนิสัยชอบประจบประแจง
นอกจากจะควบคุมงานแปลแล้ว กิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการแปลและศิลปะก็ถูกเซ็นเซอร์และบิดเบือนด้วย ด้วยเหตุที่ชาวเยอรมันถือว่าการแสดงบนเวทีมักมีเรื่องการเมือง ศีลธรรมจรรยา รัฐบาลนาซีจึงตัดส่วนประกอบที่เห็นว่าเป็นวัฒนธรรมต่างชาติ เป็นอันตรายต่อการละครของประเทศ กระทรวงวัฒนธรรมของรัฐบาลนาซีจึงเล่นบทจอมเซ็นเซอร์ ใช้อำนาจจัดการกำกับควบคุมบทละครต่างประเทศ ก่อนการนำขึ้นแสดงบนเวที

ในเยอรมันยุคนาซี การแปลถูกมองว่าเลวร้าย มีอันตราย ทำให้วัฒนธรรมในฉบับแปลแปดเปื้อนด้วยความเป็นต่างชาติ ดังนั้น งานแปลที่เห็นว่าขัดกับหลักการของประเทศจึงถูกแก้ไขและเซ็นเซอร์ นักแปลถูกเนรเทศและฆ่าตาย ส่วนสำนักพิมพ์ที่ดื้อแพ่งก็มักพบจุดจบ

3. การแปลและการเซนเซอร์ในสเปนยุคนายพลฟรังโก
Translation and Censorship in Franco's Spain

การเซ็นเซอร์วัฒนธรรมจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับรัฐบาลนายพลฟรานซิสโก ฟรังโก เพราะถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบอบเผด็จการ ไม่เช่นนั้นรัฐบาลของนายพลฟรังโก จะไม่สามารถควบคุมสังคมสเปนได้ เป้าหมายของนายพลฟรังโกคือรักษาอุดมการณ์การปกครองของตนเอง ขณะเดียวก็ต้องการแยกวัฒนสเปนออกจากอิทธิพลต่างชาติ มีหน่วยงานรัฐบาลสามหน่วยรับผิดชอบในเรื่องนี้

ผลงานศิลปะที่เห็นว่าเป็นภัยต่ออุดมการณ์ของรัฐ ขัดต่อศีลธรรมทางเพศ การเมือง ศาสนาและการใช้ภาษาจะถูกเซ็นเซอร์ ในกรณีของหนังสือ นอกจากจะต้องถูกรัฐบาลเซ็นเซอร์ก่อนตีพิมพ์แล้ว ก่อนหน้านั้นต้องผ่านกระบวนการเซ็นเซอร์ตัวเองของผู้แต่ง ผู้แปลและกองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ ผลงานที่เห็นว่ามีผลดีต่อสภาวะการทางการเมืองของสเปนเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาต เมื่อเป็นเช่นนี้ นักเขียนสเปนหัวก้าวหน้าจึงต้องลี้ภัยเพราะปฏิเสธวิธีการของรัฐบาล

มีผลงานของผู้แต่งชาวต่างชาติเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์ได้ ผลงานของนักเขียนโด่งดังเหล่านั้นมีทั้งที่โดนแก้ไขงานหรือไม่ก็ถูกห้ามตีพิมพ์ กระทั่งมีผู้กล่าวไว้ว่า การแปลในสเปนหลังสงครามเป็นมากกว่าภารกิจด้านภาษา การแทรกแซงของรัฐบาลทำให้นักแปลแทบจะลืมทักษะการใช้ภาษาของตนเอง

ตัวอย่างวรรณกรรมสองชิ้นที่ถูกเซ็นเซอร์ภายใต้รัฐบาลฟรังโกได้แก่ เรื่อง Across into the Trees ของ Ernest Hemingway คำว่า “Franco” ถูกตัดออกจากวลี “General Fat-Ass Franco” ในฉบับแปลภาษาสเปน อีกเรื่องคือ The Spanish Earth ของ Hemmingway อีกเช่นกัน

ส่วนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของสเปน การพากย์เสียงถูกใช้เป็นเครื่องมือปลุกปั่นความรู้สึกชาตินิยม มีการบังคับ สร้างมาตรฐาน กำหนดลักษณะพึงประสงค์ให้ภาษาประจำชาติ ยกตัวอย่างเช่น เสียงต้นฉบับในภาพยนต์ถูกตัดออก ภาษาต่างประเทศถูกห้ามเด็ดขาด เพราะรัฐบาลนายพลฟรังโก ต้องการกำจัดอิทธิพลต่างชาติ และสร้างภาพว่าภาพยนตร์ต่างประเทศที่ผ่านการเซ็นเซอร์ถ่ายทำในสเปน โดยใช้มาตรฐานแบบสเปนของนายพลฟรังโก
ภาพยนตร์ตลกถูกกำหนดมาตรฐานความขำขัน ภาพยนตร์ตลกสองเรื่องที่ผลิตโดย Billy Wilder ชื่อ The Apartment และ Some Like It Hot ภาพยนต์ตลกทั้งสองประสบความสำเร็จอย่างสูงในอเมริกา แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้น ลักษณะตัวละครในภาพยนตร์นี้มีพฤติกรรมรักนอกสมรส มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย และเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องต้องห้ามและต้องถูกตัดออก มีมุขตลกจำนวนมากถูกตัดทิ้งหรือไม่ก็ถูกแก้ไขเพราะเห็นว่าขัดกับศีลธรรมหรือไม่ก็ไร้ศีลธรรม

สเปนในยุคนายพลฟรังโก มีนโยบายตั้งตัวเป็นศัตรูกับวัฒนธรรมต่างชาติเท่านั้น นั่นแปลว่า นโยบายของนายพลฟรังโก มุ่งเน้นการควบคุมวัฒนธรรมชาติอื่น มากกว่าสร้างวัฒนธรรมของตนเอง ระบบการเซ็นเซอร์มีลักษณะเข้มงวดและมีบทลงโทษรุนแรง เพื่อต่อต้านวัฒนธรรมต่างชาติที่หลั่งไหลเข้าประเทศ แต่ในที่สุด มาตรการต่างๆของรัฐบาลนายพลฟรังโก ก็ถูกบีบให้คลายความเข้มงวดลง เปิดทางให้กับเสรีภาพในการแสดงออก อำนาจของการเซ็นเซอร์ในสเปนค่อยๆเสื่อมสลายไป พร้อมกับการฟื้นฟูผลงานศิลปะ
บทสรุป

การแปลไม่ว่าในรูปแบบไหน มักเป็นที่ปะทะสังสรรค์กันของอำนาจของคนหลายกลุ่ม และการปรับแก้บิดเบือนงานแปลก็ทำด้วยหลายเหตุผล ตั้งแต่อยากประหยัดเงินไปจนถึงความต้องการควบคุมพฤติกรรม ตั้งแต่ความต้องการให้ปฏิบัติตามแบบแผนดั้งเดิมไปจนถึงความต้องการสถาปนาอำนาจทางวัฒนธรรม เมื่อการแปลถูกกีดกันไม่ให้แสดงออกอย่างซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา แต่ถูกครอบงำด้วยอิทธิพลของความรุนแรง เช่นการเซ็นเซอร์ ผลสะเทือนทั้งในมิติทางวัฒนธรรมและศีลธรรมจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่นำเสนอไปแล้วเป็นตัวอย่างของการแปลในสภาพสังคมที่คลั่งไคล้ลัทธิชาตินิยม ณ ที่นั้น การแปลถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม และการเซ็นเซอร์ก็เป็นวิธีแก้ไข ที่เชื่อว่าสามารถป้องกันการรุกรานและการปนเปื้อนของวัฒนธรรมต่างชาติ

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การสื่อสารทางการเมืองบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

งานชิ้นนี้แปลขึ้นเป็นพิเศษสำหรับ "ใหมฟ้า" อาจารย์ประจำ วิทยาลัยนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เพื่อประกอบการเสนอผลงานทางวิชาการสาขารัฐศาสตร์
ในหัวข้อ การสื่อสารทางการเมืองบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงการต่อต้านรัฐบาลทักษิณ


Political Communication on the Internet in the Periods of Mass Demonstrations against the Thaksin Regime

Abstract

The purpose of this research has been three-fold. The first is to study styles of political communication and possible factors affecting popular usage of the internet as a means of political communication in the period of mass demonstrations against the Thaksin regime. The second is to study and analyze various political discourses presented on the internet in the period of mass demonstrations against the Thaksin regime. The third is to study and analyze the tendency regarding political communication, employed on the Internet.

The study found that, in the globalization era, the Internet has been playing a major role as a communicative tool highly potential for political involvement, evidently in the case of popular demonstrations against the former government of Thaksin Shinawatra. Civil groups, as well as engaged individuals, who were either for or against the premiere and his cabinet, used the Internet as their tool for communicating politically; for example, on websites, web boards, and blogs (equally known as web logs). During those moments, there were factors that potentially affected how the Internet was used in political communication. Firstly, Thailand’s mainstream media (e.g. television stations, radio broadcast studios and news publishers) were controlled by the government. As a result, the mainstream media had to broadcast what was likely to serve the interests of the government, leaving the unfavorable side omitted, or even unexamined, from publicity, with some on-air information supplied by the government and its supporters. Secondly, the Internet has become a growing trend of popular communication. And, thirdly, the alternative media were expanding with the ability to promote the rights and freedom of the public on the issues of politics. More importantly, besides being convenient, fast, and effective, the Internet is a tool compatible with political communication because it helps enhancing the two-way communication process essential toward democratic governance.

In addition to the Internet being considered a tool of political communication, it was found that the network system is also a special space, where the public are permitted to communicating politically, apart from a gathering on the street or in other strategic places. This aspect is evident in the case of popular demonstrations against the former government of Thaksin Shinawatra. In those moments, the Internet had been used as a medium intended for sharing various forms of information among its users; such as news, political points of view, on web boards which is a part of some websites. Highly diversified in content, the Internet is open for the public, regardless of political stances. Political communication, therefore, flourishes on the web boards, enabling public discourses to progress. There displayed discourses, like “the power over the constitution”, “political premiership”, and “protection of the King” (symbolized with the slogan, “we love the King” and the yellow shirt campaign)

In accordance with an analysis on public utilization of the Internet for political purposes, there is a tendency that the popular network system will still be leading its way in Thailand’s politics, as a sphere of political communication, an arena of public discourses in the new political movements and civil participation, and a strategic realm for government-sponsored services. It is important to note that the public usage of the Internet is growing in terms of quantity and quality. Whether this trend is able to continue, it depends on government policy and its application. To sum up, it is believed, perhaps, that the government’s legitimacy reflexes its proper management of the Internet.

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

กลอนของอ.ระวินทร์แต่งให้ "นักเรียนการแปล"


เกิดอยู่น่าน…ด้านหลังท่าวังผา
ยังจรมา พานพบประสบได้
บุพเพกต บุญญตา…ท่านว่าไว้
อุ้มสมให้ หล่นปุ…ลงสุรินทร์

ดุ๋ยช่างเก่ง ช่างกาจเกินมาตรฐาน
ชื่อ “ชำนาญ”ควรนิยม สมถวิล
สมควรก้าวยาวไกล ในธรณิน
สมควรบินเบิกฟ้า นภาดล

เป็นครูสมฐานะ สมดุล
นามสกุล “ยานะ” ฤาฉงน
ปลุกวิญญาณแนวคิด ให้ศิษย์ตน
เป็นยานยนต์ ขนส่งปรัชญา

ถึงวันจากกันไกล จำใจจาก
แม้นมิอยากให้ไป ไฉนหนา
ให้รู้สึกสับสน จนอุรา
ความก้าวหน้าเพรียกพร่ำ ต้องจำยอม

ขอให้สมประสงค์ จำนงแน่ว
ให้คลาดแคล้ว ผองภัยทั้งใหญ่ย่อม
บรรลุสิ่งจริงแท้ ใช่แปรปลอม
พบ-เพียบพร้อมผลเลิศ ประเสริฐ…เทอญฯ

……………………………
อาจารย์ระวินทร์ รอดวินิจ
ครูภาษาที่เชี่ยวชาญด้านกาพย์กลอน แห่งแผนกวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ให้เกียรติประพันธ์เป็นพิเศษ ก่อนข้าพเจ้าจะอำลาจากสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้น ขอบกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง สำหรับกลอนแสนไพเราะกินใจบทนี้ และสำหรับความรักความเมตตาและมิตรภาพที่ร่วมสืบสานกันมาโดยตลอดระยะเวลาสามปีเต็ม

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

แมรี่กับอาการ alexithymia

งานแปลชิ้นที่ 2

เมื่อแมรี่บอกกับนักจิตวิเคราะห์ว่า เธอได้รับเพียงบาดเจ็บเล็กน้อยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ในเช้าวันนั้น นักจิตวิเคราะห์จึงตัดสินใจจัดสอนวิธีกระตุ้นความรู้สึกให้ทันที ถ้าเป็นผู้ป่วยอื่นๆ การจัดสอนกระตุ้นความรู้สึก อาจทำให้คนเราเกิดจินตนาการได้ต่างๆนา อยากระบายเรื่องที่เก็บไว้และอยากเล่าสิ่งที่คิดฝัน แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นกับแมรี่ เมื่อได้รับการร้องขอให้อธิบายความรู้สึกเกี่ยวกับอุบัติเหตุ แมรี่นึกออกแค่สิ่งที่เกิดกับรถอีกคัน กับเหตุการณ์จริงที่ว่าคนขับรถคันนั้นเป็นผู้หญิง เธอกำลังมีอาการผิดปกติ ประเภทที่ทำให้นักจิตวิเคราะห์กังวลใจอย่างมาก อาการนี้เรียกว่า อเลกซิธิเมีย (alexithymia) ซึ่งแปลว่าแมรี่มีภาวะไร้อารมณ์ขั้นรุนแรง

อเลกซิธิเมีย (alexithymia) มาจากภาษากรีก แปลว่า“ไม่มีคำมาอธิบายความรู้สึก” ผู้ป่วยโรคนี้จะไม่สามารถอธิบายความรู้สึกลึกๆในใจตนเองได้ คนเหล่านี้ประสบปัญหาเรื่องการบอกและอารมณ์ที่ตนเองมี และมักอธิบายเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตอย่างไร้ความรู้สึก มักตั้งใจเล่าแต่รายละเอียดที่ไม่น่าสนใจ ที่ปราศจากสีสันและจินตนาการ

ผู้ป่วยด้วยอาการไร้อารมณ์เหล่านี้มักเฉยชาและเก็บตัวเงียบ หลายคนเกิดความผิดปกติทางประสาทที่ส่งผลต่อร่างกายเช่น มีแผลตามร่างกายและมีอาการปวดหัวชนิดไมเกรน เนื่องจากคนไข้ไม่สามารถแสดงคิดแสดงความรู้สึก ทำให้เกิดความเครียดสะสม ก่อให้เกิดโรคผิดปกติทางประสาท ถ้าคุณทะเลาะกับเจ้านายและจินตนาการถึงตอนเผชิญหน้ากันหรือถึงขั้นลงไม้ลงมือ คุณยังรู้สึกตัวว่ามีอารมณ์โกรธ แต่ผู้ป่วยโรค อเลกซิธีเมีย (alexithymia) จะกลับบ้านพร้อมอาการปวดหัวโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกมีความสุขและไม่สามารถแสดงความรักความเห็นใจกับคนที่ตนเองรักได้

..........................

ฉลอง 60 ปี “ยูเอ็น” ภาคพื้นเอเชีย


ฉลอง 60 ปี “ยูเอ็น” ภาคพื้นเอเชีย เชิดชูเกียรติ อมาตยา เซน
UN’s 60th Anniversary in Asia; Amartya Sen Honoured

กรุงเทพ 29 มีนาคม (สำนักสารนิเทศสหประชาชาติ-สำนักข่าวไทย) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงแสดงสุนทรกถามีใจความว่า “ประชาชนคือความมั่งคั่งที่แท้จริงของชาติ” เนื่องในโอกาสงานฉลองการปฎิบัติงานของหน่วยงานสาขาแห่งองค์การสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียครบหกสิบปี ในงานนี้มีการยกย่อง อมาตยา เซน เจ้าของรางวัลโนเบล ที่ได้เสนอแนวคิดเศรษฐศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาของภูมิภาคนี้มาโดยตลอด

“เป้าหมายของการพัฒนาคือขยายทางเลือก ให้ประชนมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี” สมเด็จพระเทพฯ ตรัสเสริมว่า ศาสตราจารย์เซนและ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) ได้ทำหน้าที่แตกต่างกันไปในงานพัฒนา

พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีแถลงว่า ประเทศไทยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้รับเลือกเป็นที่ตั้งสำนักงานเอสแคป มากว่าหกสิบปี และประเทศไทยจะสนับสนุนระบบขององค์การสหประชาชาติและการทำงานในภูมิภาคเอเชียต่อไป

สมเด็จพระเทพฯ ทรงตรัสเน้นว่า เอสแคปได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามารถ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอด้อยโอกาส โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย พระองค์ทรงชื่นชมเลขาธิการแห่งคณะกรรมาธิการฯคนใหม่ ที่เป็นผู้นำการดำเนินงานในภูมิภาคนี้ได้เป็นอย่างดี

พระองค์ทรงร่วมกับองค์การสหประชาชาติ เชิดชูเกียรติ อมาตยา เซน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ผู้คิดหาหนทางพัฒนาและแก้ปัญหาอย่างท้าทายวิธีคิดแบบเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ดังคำกล่าวในงานเฉลิมฉลองของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติในครั้งนี้ ที่ว่า “ความคิดของอมาตยา เซน ท้าทายกระบวนทัศน์เศรษฐศาสตร์(กระแสหลัก)”

อมาตยา เซน แสดงปาฐกถานำในงานเฉลิมฉลองหกสิบปีการทำงานของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) ในงานนี้ อมาตยา เซน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เข้ารับรางวัล Award for Life Achievement นับเป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้จากคณะกรรมาธิการฯแห่งสหประชาชาติ

นายบัน คีมุน เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาหกทศวรรษที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการฯแห่งสหประชาชาติได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับประชาชนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อขจัดความกลัวและความขาดแคลน ทุกวันนี้ ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งมีประชากรหกพันล้านคน เป็นขุมพลังให้กับเศรษฐกิจโลก

คณะกรรมาธิการฯแห่งสหประชาชาติ ได้เลือกประโยค “สร้างศตวรรษใหม่ให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเจริญรุ่งเรือง” เป็นคำขวัญ นายคิม ฮัก ซู เลขาธิการใหญ่ของเอสแคปแถลงว่า “มันเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องรับใช้ประชาชนในภูมิภาคนี้ และจะทำงานกันให้เกิดสัมฤทธิผล ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์เช่นนี้ เราจะพยายามสุดความสามารถเพื่อสร้างศตวรรษใหม่ให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเจริญรุ่งเรือง”

เอสแคป ประกอบด้วยสมาชิกหกสิบสองประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 1947 เดิมมีชื่อว่า คณะกรรมการเศรษฐกิจเพื่อเอเชียและตะวันออกไกล (ECAFE) คณะกรรมการเศรษฐกิจฯได้ย้ายสำนักงานใหญ่จากกรุงเซี่ยงไฮ้ มาที่กรุงเทพมหานครในปี 1949

……………………………………..

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

เมื่อสื่อไร้ความรับผิดชอบ : กรณี นิตยสาร Der Spiegel และสำนักข่าว DPA



Der Spiegel Apologizes, Retracts Story

about Walden Bello Inciting to Riot in Rostock

Focus on the Global South, Wednesday, 06 June 2007

...................................................

เดอ สปิเกล ออกมาขอโทษ

ยอมรับข่าววอลเดน เบลโล ปลุกระดม

ให้เกิดจราจลในกรุงรอสต๊อค เป็นเรื่องไม่จริง


Irresponsible journalism is alive and well in Germany.

During the rally of over 50,000 people against the G 8 in Rostock, the country's premier weekly, Der Spiegel, reported on its online edition that Focus on the Global South Executive Director Walden Bello was inciting participants to riot. The publication quoted Bello as saying "We have to bring war to this demonstration."

การข่าวที่ไร้ความรับผิดชอบยังมีอยู่และเจริญรุ่งเรืองดีในเยอรมัน

ระหว่างการชุมนุมประท้วงของประชาชนห้าหมื่นคน เพื่อต่อต้านการประชุมผู้นำประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำแปดประเทศหรือ จีแปด ที่กรุงรอสต๊อค นิตยสารรายสัปดาห์ชั้นนำของเยอรมันนี เดอ สปิเกล รายงานข่าวทางเวปไซต์ของตนว่า วอลเดน เบลโล ผู้อำนวยการโครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (Focus on the Global South) ปลุกระดมผู้ชุมนุมให้ก่อความวุ่นวาย รายงานข่าวชิ้นนี้ระบุคำกล่าวของเบลโลที่ว่า เราต้องทำให้การชุมนุมครั้งนี้เป็นสงคราม

Bello said no such thing in his wildly applauded speech. Representatives of ATTAC, one of the lead organizers of the demonstration, and many others immediately protested.

ความจริง ในปาฐกถาที่ได้รับการปรบมือชื่นชมอย่างท่วมท้นตอนนั้น เบลโลไม่ได้พูดประโยคนี้ ตัวแทนขององค์กร ATTAC ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรประสานงานหลักของการชุมนุมและผู้ชุมนุมอื่นๆจึงออกมาประท้วงเรื่องนี้ในทันที

When Der Spiegel’s editorial board were presented with a video of Bello speaking, they admitted their error but shifted the blame to DPA, the German Press Agency, which, they said, filed the story from which they took the wrong quote. According to the Spiegel apology carried online on June 4, “the correspondent from Der Spiegel in Rostock was in another site of the demonstration at the time Walden Bello was giving his speech and could not personally listen to his words.”

เมื่อมีการนำวิดีโอตอนที่เบลโลพูดมาให้กรรมการผู้บริหารของ เดอ สปิเกล ตรวจสอบ พวกเขาต่างยอมรับว่าตนเองผิด แต่ก็โยนความรับผิดชอบไปให้ DPA ซึ่งเป็นสำนักข่าวของเยอรมันนี โดยกล่าวว่าสำนักข่าวแห่งนี้ส่งเรื่องนี้มาให้ เป็นเหตุให้นิตยสารนำมาเสนออย่างไม่ถูกต้อง นิตยสาร เดอ สปิเกล นำเสนอคำขอโทษทางอินเตอร์เน็ตเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ระบุว่า ผู้สื่อข่าวของ เดอ สปิเกล ในกรุงรอสต็อค อยู่ในที่ชุมนุมอีกที่หนึ่ง ตอนที่ วอลเดน เบลโล กำลังแสดงปาฐกถา จึงไม่ได้อยู่ฟังด้วยตนเอง

The same line from DPA was reproduced in hundreds of newspapers throughout Germany and Europe and contributed to the perception that violence had been deliberately fanned by organizers of the largely peaceful but spirited rally. It was only three days after the event that the main culprit, DPA, retracted the story and apologized to Bello and the organizers. In an item that went out on the wires on June 5, the agency said:

ประโยคที่สำนักข่าว DPA นำเสนอไม่ถูกต้องนี้ ได้รับการเผยแพร่ไปยังหนังสือพิมพ์นับหลายร้อยฉบับ ทั่วเยอรมันนี รวมถึงทวีปยุโรป ทำให้คิดกันไปทั่วว่าอาจจะเกิดความรุนแรงขึ้นจากการปลุกระดมขององค์กรต่างที่จัดการชุมนุมแบบอหิงสาและเน้นความตั้งใจจริงเป็นหลัก สามวันหลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น สำนักข่าว DPA ตัวการสำคัญของเรื่อง ออกมายอมรับผิดและขอโทษ เบลโล และองค์กรที่จัดการชุมนุม ในรายงานข่าวที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน สำนักข่าว DPA กล่าวว่า

A call to war by one of the speakers at the demonstration in Rostock last Saturday did not take place. An investigation of the text of the speech showed that the intervention of Walden Bello had been wrongly translated and reported by the DPA. DPA regrets the flawed reporting and has apologized to the organizers.

ที่กรุงรอสต็อคเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ไม่มีการเรียกร้องให้ก่อสงครามจากผู้ที่ขึ้นกล่าวในการชุมนุมใดๆทั้งสิ้น จากการสืบสวนสอบสวนที่มาของคำพูดดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การปาฐกถาของวอลเดน เบลโล เกิดจากการแปลและการรายงานข่าวที่ผิดพลาดของสำนักข่าว DPA ทางสำนักข่าว DPA ก็ได้แสดงความเสียใจกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งขออภัยองค์กรผู้จัดการชุมนุม

In its correspondent's report about the violence during the demonstration on June 2, DPA had quoted Bello wrongly as calling for ‘bringing war to the demonstration because with peaceful means we will achieve nothing.' Bello actually said in English: ‘We must bring the war into the discussion because without peace there can be no justice.' His demand was in connection with the conflicts in Iraq and Afghanistan. The German translation was ‘We need to bring the war into the discussion because without peace there can be no fight against poverty.'

จากรายงานข่าวของผู้สื่อข่าวสำนักข่าว DPA เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงในการชุมนุมเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน สำนักข่าว DPA อ้างคำพูดของ เบลโล อย่างผิดๆว่า ต้องทำให้การชุมนุมครั้งนี้เป็นสงคราม ถ้ามัวแต่ใช้วิธีอหิงสา เราจะไม่ได้อะไรเลย ทั้งที่ เบลโล ได้กล่าวเป็นภาษาอังกฤษว่า เราต้องนำเรื่องสงครามเข้าไปเจรจาด้วย เพราะเมื่อไม่มีสันติ ก็จะไม่มีความยุติธรรมเบลโล ต้องการให้จัดการเรื่องความขัดแย้งในอิรักและอาฟกานิสถาน แต่ฉบับแปลภาษาเยอรมันกลายเป็นเราต้องนำสงครามเข้าไปเจรจาด้วย เพราะเมื่อไม่มีสันติ การต่อสู้กับความยากจนจะไม่มีวันเกิดขึ้น

Although DPA apologized, the damage already had been done. Organizers of the G8 Alternative Summit have been very frustrated with the German press' focus on the images of disturbances at the margins of Saturday's largely peaceful rally and its lack of coverage of the issues relating to global justice that are being discussed in the week-long affair that is timed with the G8 meeting in Heiligendamm. There is, indeed, a lively debate on whether the wide transmission of the mistranslation of Bello's message was deliberate on the part of largely conservative German press eager to discredit the alternative summit.

แม้สำนักข่าว DPA จะออกมาขอโทษ แต่ก็ระงับความเสียหายไม่ได้แล้ว ผู้จัดการประชุมสุดยอดผู้นำประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำแปดประเทศรู้สึกสับสนกับสื่อเยอรมัน ที่มุ่งความสนใจไปที่ภาพความวุ่นวายโกลาหล ในการชุมนุมที่ส่วนใหญ่เป็นไปอย่างสงบ แต่กลับไม่ค่อยรายงานการประชุม ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความยุติธรรมให้กับโลก ซึ่งเป็นเรื่องนำมาอภิปรายกันยาวนานตลอดหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งอาจต่อเนื่องถึงการประชุม G8 ที่เมือง Heiligendamm มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างครึกครื้นเกี่ยวกับการแปลคำพูดของเบลโลอย่างผิดๆว่า เกิดจากฝีมือกลุ่มสื่อเยอรมันสายอนุรักษ์นิยม ซึ่งพยายามอย่างยิ่งที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของการชุมนุมทางเลือกสุดยอดในครั้งนี้ ใช่หรือไม่

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

บทกล่าวนำเนื่องในวันชาติอเมริกา : เฟรเดอริค ดักลาส และ ฮาเวิร์ด ซินน์

บทความชิ้นนี้ ได้รับการตรวจแก้เรียบร้อยแล้ว จะนำขึ้นเผยแพร่บนเวปไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนในโอกาสต่อไป

ทกล่าวนำเนื่องในงานเฉลิมฉลองวันชาติอเมริกา

4 กรกฏาคม 2543

ฮาวเวิร์ด ซินน์ กล่าว ชำนาญ ยานะ แปล

ักศึกษาปริญญาโท สาขาการแปล

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล


ในงานเฉลิมฉลองวันชาติอเมริกาปีนี้ ข้าพเจ้าไม่สามารถแสดงปาฐกถาใด ให้ลึกซึ้งเกินกว่าที่ เฟรเดอริค ดักลาส เคยแสดงไว้ ในงานฉลองวันประกาศอิสรภาพเมื่อปี พ.ศ. 2495 เขาอดไม่ได้ที่ต้องนึกถึงคำมั่นสัญญาลม ๆ แล้ง ๆ ในคำประกาศอิสรภาพ ทั้งเรื่องความเสมอภาค ชีวิต อิสรภาพ ซึ่งบรรดานายทาสทั้งหลายตราไว้ รวมทั้งการทำให้ระบบทาสถูกต้องตามกฏหมาย ดังระบุไว้ในรัฐธรรมนูญสหรัฐ ภายหลังประกาศ อิสรภาพ จากอังกฤษเป็นผลสำเร็จ เฟรเดอริค ดักลาส ได้รับเชิญให้กล่าวปาฐกถาเพียงสองปีหลังจากสหรัฐอเมริกาออก กฎหมายว่าด้วยทาสที่หลบหนี (Fugitive Slave Act) ทำให้รัฐบาลมีอำนาจเต็มตามกฎหมายที่จะส่งตัวทาสที่หลบหนีกลับไปเป็นทาสตามเดิม


ในยุคที่ตำรวจได้รับยกเว้นโทษในข้อหาฆาตกรรมชายผิวดำที่ปราศจากอาวุธ ในยุคที่เก้าอี้ประหารไฟฟ้าและห้องรมแก๊สพิษถูกนำมาใช้เพื่อลงโทษคนผิวสีมากที่สุด ถือว่าสมควรแล้ว ที่เราพึงหยุดเฉลิมฉลอง แล้วหันมาสดับตรับฟังถ้อยคำอันขื่นขมของเฟรเดอริค ดักลาส :

สหายชาวอเมริกันทั้งหลาย ข้าพเจ้าขออภัย ที่ต้องถามท่านว่า ทำไมถึงเชิญข้าพเจ้ามากล่าวปาฐกถาในวันนี้? ข้าพเจ้าและคนอื่น ๆ เช่นอย่างข้าพเจ้าเกี่ยวอะไรกับวันประกาศอิสรภาพประจำชาติของท่าน? หลักการอันยิ่งใหญ่เรื่องเสรีภาพทางการเมืองและความยุติธรรมตามธรรมชาติ ที่ระบุไว้ในคำประกาศอิสรภาพ มีผลคุ้มครองต่อคนอย่างเราหรือ? สมควรแล้วหรือที่ข้าพเจ้าต้องมาน้อมคำนับแท่นบูชาประจำชาติของท่าน ต้องยอมรับคุณงามความดีและแสดงความตื้นตันกตัญญูในพรที่อิสรภาพของท่านประทานแก่เรา?

ถ้าถามว่า วันชาติอเมริกามีความหมายอย่างไรต่อคนที่เป็นทาส? ข้าพเจ้าขอตอบว่า มันเป็นวันที่แสดงให้เห็นความอยุติธรรมและพฤติกรรมโหดเหี้ยม ซึ่งทาสได้ตกเป็นเหยื่อมาตลอดมากยิ่งกว่าวันไหน ๆ สำหรับคนที่เป็นทาส การเฉลิมฉลองวันชาติเป็นแค่เรื่องเหลวไหลลวงโลก คำอวดอ้างเสรีภาพของพวกท่านเป็นแค่ใบอนุญาตให้ทำสิ่งต่ำทราม ความยิ่งใหญ่ของอเมริกาเป็นแค่ความหลงตนจนตัวพอง เสียงไชโยโห่ร้องเป็นแค่ความว่างเปล่าและไร้หัวใจ คำประณามด่าทอทรราชเป็นแค่ความโอหังหน้าด้าน เสียงตะโกนสรรเสริญเสรีภาพและความเสมอภาคเป็นแค่ถ้อยคำตลกโปกฮาน่าขบขัน คำสวดและเพลงสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งมาพร้อมกับขบวนแห่และความเคร่งศาสนา เป็นแค่เปลือกนอกที่มีแต่ความปลิ้นปล้อนกะล่อนหลอกลวง ไร้ศรัทธา หน้าไหว้หลังหลอก เปรียบเสมือนแค่ผ้าบังตาบางๆ ที่ใช้ปกปิดอาชญากรรม ที่แม้แต่ชนป่าเถื่อนยังต้องอับอาย

ในโมงยามนี้ ไม่มีประเทศใดอีกแล้วในโลก ที่จะสร้างบาปได้น่าขนพองสยองเกล้าและเลือดนองท่วมแผ่นดินได้เท่ากับประชาชนแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา

ลองออกไปค้นหาที่ไหนก็ได้ ลองไปสำรวจทุกระบอบกษัตริย์และเผด็จการ ใน ดินแดนโลกเก่า จงไปให้ทั่วอเมริกาใต้ เสาะสำรวจทุกทารุณกรรมและเมื่อพบจนหมดแล้ว ให้ลองเอาความชั่วเหล่านั้นมาวางเทียบกับทารุณกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวันในประเทศนี้ แล้วคุณจะเห็นพ้องกับผมว่า ทั้งความป่าเถื่อนและพฤติกรรมปลิ้นปล้อนไร้ยางอายนั้น อเมริกาชนะแบบไร้คู่แข่ง……”

หมายเหตุ: ขอขอบพระคุณ คุณภัควดี วีระภาสพงษ์ สำหรับคำแนะนำและการตรวจแก้ให้กับผู้แปล บทความนี้แปลเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษบนเวปไซต์ ZNet

http://www.zmag.org/sustainers/content/2000-07/04zinn.htm

……………………………………….

ต้นฉบับ

July 4 2000

A Fourth of July Commentary By Howard Zinn

In this year 2000, I cannot comment more meaningfully on the Fourth of July than Frederick Douglass did when he was invited in 1852 to give an Independence Day address. He could not help thinking about the irony of the promise of the Declaration of Independence, of equality, life, liberty made by slave owners, and how slavery was made legitimate in the writing of the Constitution after a victory for "freedom" over England. And his invitation to speak came just two years after the passage of the Fugitive Slave Act, committing the national government to return fugitives to slavery with all the force of the law.

So it is fitting, at a time when police are exonerated in the killing of unarmed black men, when the electric chair and the gas chamber are used most often against people of color, that we refrain from celebration and instead listen to Douglass' sobering words:

"Fellow citizens: Pardon me, and allow me to ask, why am I called upon to speak here today? What have I or those I represent to do with your national independence? Are the great principles of political freedom and of natural justice, embodied in that Declaration of Independence, extended to us? And am I, therefore, called upon to bring our humble offering to the national altar, and to confess the benefits, and express devout gratitude for the blessings resulting from your independence to us?

"What to the American slave is your Fourth of July? I answer, a day that reveals to him more than all other days of the year, the gross injustice and cruelty to which he is the constant victim. To him your celebration’s a sham; your boasted liberty an unholy license; your national greatness, swelling vanity; your sounds of rejoicing are empty and heartless; your denunciation of tyrants, brass-fronted impudence; your shouts of liberty and equality, hollow mockery; your prayers and hymns, your sermons and thanksgivings, with all your religious parade and solemnity, are to him mere bombast, fraud, deception, impiety, and hypocrisy -- a thin veil to cover up crimes which would disgrace a nation of savages. There is not a nation of the earth guilty of practices more shocking and bloody than are the people of these United States at this very hour.

"Go and search wherever you will, roam through all the monarchies and despotisms of the Old World, travel through South America, search out every abuse and when you have found the last, lay your facts by the side of the everyday practices of this nation, and you will say with me that, for revolting barbarity and shameless hypocrisy, American reigns without a rival...."

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

หอเอนเมืองปิซ่า the Pisa Tower



The Piza’s Tower หอเอนเมืองปิซ่า

The Tower of Pisa is the bell tower of the Cathedral. Its construction began in the august of 1173 and continued (with two long interruptions) for about two hundred years, in full fidelity to the original project, whose architect is still uncertain.

หอเอนเมืองปิซ่าเป็นหอระฆังประจำโบสถ์ เริ่มการก่อสร้างตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1173 และสร้างต่อเนื่องอีกประมาณสองร้อยปี โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแบบอาคารต้นฉบับ (มีเหตุให้หยุดการก่อสร้างเป็นระยะยาวนานถึงสองครั้ง) ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ

In the past it was widely believed that the inclination of the Tower was part of the project ever since its beginning, but now we know that it is not so. The Tower was designed to be "vertical" (and even if it did not lean it would still be one of the most remarkable bell towers in Europe), and started to incline during its construction.

ในอดีต เชื่อกันว่าสาเหตุที่หอแห่งนี้เอนเนื่องจากการจงใจสร้าง แต่ทุกวันนี้เราทราบแล้วว่ามันไม่ใช่เช่นนั้น หอได้รับการออกแบบให้ตั้งตรง” (ถึงแม้ว่าหอแห่งนี้จะไม่เอน ก็ยังถือเป็นหอระฆังที่น่าทึ่งแห่งหนึ่งในยุโรป) แต่เริ่มเอนลงระหว่างการก่อสร้าง

Both because of its inclination, and its beauty, from 1173 up to the present the Tower has been the object of very special attention. During its construction efforts were made to halt the incipient inclination through the use of special construction devices; later colums and other damaged parts were substituted in more than one occasion; today, interventions are being carried out within the sub-soil in order to significantly reduce the inclination and to make sure that Tower will have a long life.

เนื่องจากลักษณะที่ไม่ตั้งตรง รวมทั้งความงดงามของหอเอนเมืองปิซา ทำให้สถานที่แห่งนี้ได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นพิเศษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1173 จนถึงปัจจุบัน ในระหว่างก่อสร้าง มีความพยายามไม่ให้หอเอนลงอีก ด้วยการใช้เครื่องมือชนิดพิเศษต่างๆ ทั้งใส่เสาเข้าไปใหม่และเปลี่ยนเอาบางส่วนของหอที่เสียหายออก ปัจจุบันยังคงมีความพยายามหยุดไม่ให้หอเอียง ด้วยการขุดลงไปใต้ผืนดิน เพื่อให้หอเอนเมืองปิซาสามารถตั้งอยู่ต่อไปได้นานแสนนาน

In all, this story it is possible to find a meaningful constant, the "genetic code" of the Tower: its continual interaction with the soil on which it was built. Today's (1999) works for the safeguard and the conservation of the Tower with very advanced methodologies are designed to fully respect this constant.

จากเรื่องที่บรรยายมาทั้งหมดนี้ คงพอทำให้เห็นถึง รหัสความเป็นมาน่าพิศวงของหอเอนเมืองปีซ่า ซึ่งก็คือปฏิกิริยาที่มีอย่างต่อเนื่องของหอกับดินที่มันตั้งอยู่ ปัจจุบัน ยังมีความพยายามบูรณปฏิสังขรณ์หอเอนเมืองปิซ่าด้วยวิธีการขั้นสูง เพื่อให้ถาวรวัตถุแห่งนี้คงอยู่ต่อไป

................................................

(ข้อมูลจากเวปไซต์ http://torre.duomo.pisa.it/index_eng.html)

วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550

เชื้อร้ายเสรีนิยม: สงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุด และการทำให้โลกเป็นเหมือนอเมริกา


บทวิจารณ์หนังสือ

เชื้อร้ายเสรีนิยม: สงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุด และการทำให้โลกเป็นเหมือนอเมริกา โดย ซาเมียร์ อามิน

The Liberal Virus: Permanent War and the Americanization of the World by Samir Amin

---- บทวิจารณ์ของ เซท แซนดรอนสกี ----

หมายเหตุ ต้นฉบับภาษาอังกฤษนำเสนอท้ายฉบับแปล

พวกเสรีนิยมมีอำนาจปกครองเบ็ดเสร็จแล้วอย่างนั้นหรือ? คนพวกนี้ทำร้ายคนที่ตนเองต้องการช่วยจริงหรือไม่? จะตอบคำถามนี้ได้ ต้องขึ้นอยู่กับว่าคุณนิยามเสรีนิยมว่าอย่างไร ครั้งหนึ่ง การเป็นเสรีนิยมคือการให้อภิสิทธิ์กับตลาดเหนือชีวิตคน เช่นที่ อดัม สมิธ นักปราชญ์ทุนนิยมได้เขียนไว้เมื่อสองศตวรรษที่ผ่านมาว่า เสรีนิยมคือการที่ประเทศต่างๆ รวมถึงชนชั้นต่างๆพากันแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน หรือเรียกว่า เสรีภาพในการตลาด เมื่อสังคมมีอิสระก็จะเจริญรุ่งเรือง ในปัจจุบัน เสรีนิยม หมายถึงนโยบายหรือแนวคิดที่สวนทางกับอิสรภาพในการตลาด ดังที่อดัม สมิธเคยเขียนไว้ แนวคิดของนักปราชญ์ท่านนี้เป็นเพียงความหมายดั้งเดิมของลัทธิเสรีนิยม ความจริงในทุกวันนี้ มันเป็นเพียงวิถีทางอนุรักษ์นิยม หรือการเปิดตลาดให้เสรีเท่านั้น

ซาเมียร์ อามิน ผู้แต่ง เป็นนักสังคมศาสตร์ชาวเมืองดักการ์ ประเทศซีเนกัล เขียนว่า อเมริกาภายใต้บัญชาการของนายจอร์จ ดับยา บุช มีลัทธิเสรีนิยมเป็นความเจ็บป่วยที่เป็นอันตรายอย่างยิ่ง ในหนังสือเล่มนี้ (ซึ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Monthly Review Press ปี 2004) อามินเสนอว่า เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกจากไวรัสเสรีนิยม มีต้นตอมาจากทฤษฏีการตลาดในจินตนาการซึ่งไม่เป็นจริง (อุปโลกน์) ทฤษฏีนี้นำเสนอภาพในอุดมคติของระบบทุนนิยม ไม่มีการเคลื่อนไหวต่อสู้ของประชาชน ไม่มีการเหยียดเชื้อชาติ ไม่มีการเหยียดเพศ และไม่มีลัทธินิยมกองทัพ อยู่เลยแม้แต่น้อย มีเพียงการต่อสู้กับการว่างงาน และสู้กับสงครามเพื่อป้องกันการรุกราน ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติเท่านั้น.

อ่านหนังสือของซาเมียร์ อามินแล้ว ช่วยให้เราเห็นความแตกต่างของตลาดในจินตนาการ และทุนนิยมที่แท้จริงได้ชัดเจนขึ้น เช่นกรณีการโจมตีอิรักของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ พร้อมกับบริษัทฮาลิเบอร์ตันลงมือปล้นทรัพยากรอิรัก อามินเขียนว่า การใช้กำลังเพื่อสร้างความชอบธรรมกับการแสวงหาผลกำไรของบรรษัทเป็นเรื่องป่าเถื่อน สาธารณชนอเมริกัน รวมทั้งผู้ร่วมงาน กลุ่มเพื่อนและครอบครัว ควรตั้งคำถามเรื่องความมีสติของรัฐบาลและบรรษัท ว่ายังมีอยู่หรือไม่ เหตุใดถึงทำได้ ทั้งรัฐบาลสหรัฐและบรรษัทติดเชื้อที่ ซาเมียร์ อามิน ตั้งชื่อว่า “เชื้อร้ายเสรีนิยมซึ่งเชื่อว่าตลาดจะสร้างโอกาสให้คนเข้าถึงเสรีภาพ.

อามินเชื่อว่า ในมุมมองประวัติศาสตร์ เชื้อร้ายเสรีนิยมแพร่มาจากระบบความเชื่อในลัทธิเสรีนิยมสุดขั้ว ที่ถือเอาสหรัฐอเมริกาเป็นศูนย์กลาง ที่น่าเศร้าคือ มันเป็นปฏิปักษ์กับแนวคิดเรื่องความเสมอภาค (ในทางตรงกันข้าม) ความเสมอภาคเป็นแก่นสารของแนวคิดปลดปล่อยในยุโรป นับตั้งแต่การปฏิวัติในฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับชาวเฮติและชนชาติต่างๆ ที่มีแนวคิดปฏิวัติสังคม นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ความแตกต่างทางอุดมการณ์เกิดขึ้นในฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งของเรา สิ่งที่อเมริกาทำไว้มีอยู่สองอย่างคือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการกดคนลงเป็นทาส เราและคนอื่นๆในโลกมีชีวิตอย่างทรมานแสนสาหัส เนื่องจากความป่วยไข้ของวัฒนธรรมการเมืองอเมริกัน อามิน กระหน่ำโจมตีสหรัฐอเมริกันอย่างไม่ยั้ง.

อามินเขียนว่า “สังคมอเมริกันเกลียดชังความเสมอภาค ไม่เพียงแต่ยอมรับความเหลื่อมล้ำอย่างสุดขั้ว ยังถือว่ามันเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จ ที่ได้จากเสรีภาพอีกด้วย แต่ทว่า เสรีภาพที่ปราศจากความเสมอภาคคือความป่าเถื่อนผมเข้าใจมากขึ้นแล้วว่า ทำไมชาวยุโรปที่มีชั่วโมงทำงานน้อยกว่า จึงมีสุขภาพดีกว่าชาวอเมริกัน.

อามินเชื่อมั่นว่า ชาวยุโรปจะสามารถสร้างนโยบาย ที่ให้ความสำคัญกับมนุษยชาติยิ่งกว่าผลกำไร ผมเองเชื่อว่า เราชาวอเมริกันจะเป็นกุญแจสำคัญที่สามารถเปลี่ยนระบบโลก ซึ่งยกย่องการทำลายล้าง ให้เป็นโลกที่เกื้อกูลมนุษยชาติ ผมชื่นชมชาวยุโรปที่ออกมาออกมาต่อต้านสิ่งที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์สิบเอ็ดกันยายน และการรุกรานปกครองอิรักเพื่อตั้งฐานทัพของสหรัฐอย่างแข็งขัน.

อามินให้เหตุผลเรื่องสงครามการก่อการร้ายของสหรัฐว่า เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอำพรางเศรษฐกิจสหรัฐที่ถดถอยลงเรื่อยๆ นับแต่สงครามเวียดนาม ที่กองทัพสหรัฐเกรี้ยวกราดเป็นการโต้ตอบคู่แข่งทางการค้าในทวีปเอเชียและยุโรป การวิเคราะห์การเมืองและเศรษฐกิจอย่างถึงรากถึงโคนของซาเมียร์ อามิน ทำได้ยอดเยี่ยม ลองอ่านบทที่ชื่อ “คำถามของเกษตรกร อามินชี้ว่าเกษตรกรสามพันล้านคนกำลังเผชิญหน้ากับเกษตรกรรมแผนใหม่ยี่สิบล้านแห่ง ธุรกิจเกษตรทุนนิยมกำลังขับไล่เกษตรกรรายย่อยออกจากแผ่นดิน มุ่งสู่เมืองใหญ่ในประเทศโลกที่สามและในสหรัฐอเมริกา ที่ที่ค่าจ้างไม่พอเลี้ยงชีวิต ต้นตอมาจากข้อตกลงการค้าหลายฉบับเช่น ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (หรือ NAFTA—ผู้แปล) ซึ่งเหยียบย่ำทำลายเกษตรกรรมขนาดเล็กในเม็กซิโก.

ผมชอบซาเมียร์ อามินวิจารณ์อุดมการณ์ก่อสงครามไม่สิ้นสุดของสหรัฐ แต่ผมอยากให้นำเสนอด้วยว่า อุดมการณ์ตลาดเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเรื่องโกหกเกี่ยวกับตลาดทางช่องฟ๊อกซ์ทีวีก็ใช่ แต่คนเราสามารถสร้างอุดมการณ์ตลาดอื่นๆได้อีก สังเกตจากลักษณะงานในประเทศทุนนิยมร่ำรวยเช่นสหรัฐอเมริกา ความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างบีบคั้นให้คนส่วนใหญ่ต้องยอมก้มหัวให้กับแนวคิดเผด็จการในที่ทำงาน ว่าเป็นกฎของธรรมชาติ เช่นเดียวกับแรงโน้มถ่วง จะมีการตลาดที่เสรีได้อย่างไร หากปราศจากอิสรภาพในการทำงาน อยากป้องกันตัวเองจากความเจ็บป่วยของการสร้างภาพการตลาด ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้!

-------------------

เซท แซนดรอนสกี เป็นสมาชิกของกลุ่มรณรงค์ต่อสู้แบบไม่ใช้ความรุนแรงแห่งเมืองซาคราเมนโต (Sacramento Area Peace Action) เป็นบรรณาธิการร่วมของหนังสือพิมพ์หัวก้าวหน้าชื่อ Because People Matter สามารถติดต่อ เซท แซนดรอนสกี ที่ ssandron@hotmail.com


ต้นฉบับ

Book review

The Liberal Virus, by Samir Amin


Are liberals in control? Do they really hurt the people they try to help? How you answer depends on your definition of the "L" word.

Once, to be a liberal meant to privilege the market over people. So wrote Adam Smith, the guru of capitalism, over two centuries ago. For him, liberalism was nations and peoples pursuing their self-interest, or freedom, in the marketplace. Thus freed, society would prosper.

Currently, liberalism describes policies or views that run counter to the market freedom that Smith backed. His vision was the traditional meaning of liberalism. Today it is actually the conservative, or free-market, approach.

In George W. Bush’s America, such liberalism is a dangerous sickness, writes author Samir Amin, a top social scientist based in Dakar, Senegal. In his book titled The Liberal Virus: Permanent War and the Americanization of the World (Monthly Review Press, 2004), he argues that the global consequences of this virus are spawned by a theory of an imaginary market. It presents an idealized version of the capitalist economy. Thus regular people’s struggles against racism, sexism and militarism vanish. In their places are "natural" rates of unemployment and "preventive" wars.

Reading Amin’s book helps us to see more clearly the distinction between the imaginary market and real capitalism. A case in point is the Pentagon’s smashing of Iraq as Halliburton Corp. is looting its energy resources. This trend of might makes right for corporate profits is barbaric, he notes.

Say that in public and many Americans—including co-workers, friends and family — might question your sanity. Why? They are infected with what Amin terms the "liberal virus," that the market brings us the opportunity for liberty.

For him, this virus flows, historically, from a U.S.-centered belief system of extreme individualism. Tragically, it has crushed the concept of equity. By contrast, equity has been central to European liberalism since the French Revolution that inspired revolutionary Haitians, and others.

The opposite has been and is the case on our side of the Atlantic. Two examples are the U.S.America’s political culture. Amin pulls no punches in criticizing the U.S.

"American society despises equality," he writes. "Extreme inequality is not only tolerated, it is taken as a symbol of "success" that liberty promises. But liberty without equality is equal to barbarism." I better understand now why Europeans work fewer hours and have better health care than Americans.

Amin has much faith in Europeans to forge policies that put humanity before profitability. I see the American people—you and me—as the key to changing the world system from one that glorifies brutality into one that nurtures humanity. Still, I am heartened by Europeans strong opposition after 9/11 to the U.S. invasion and occupation of Iraq that is establishing American military bases there.

America’s war on terror, Amin reasons, is partly a cover for a weak U.S. economy in decline since the Vietnam War. American military aggression is a response to the rise of Asian and European commercial rivals.

Amin’s radical analysis of politics and economics is a knockout. Consider his section on the "peasant question." Peasant agriculture, accounting for 3 billion humans, faces economic extermination by 20 million modern farms, he warns. Such capitalist agribusiness is driving these small farmers off their land and into big cities in the Third World and the U.S. that lack livable employment. Case in point is commercial pacts such as the North American Free Trade Agreement that are smashing small farming in Mexico.

I applaud Amin for critiquing the ideology of America’s permanent war culture. However, I wanted more on how market ideology is produced.

Believing the market myths on FOX-TV is one thing. Yet people’s lives generate market ideology in other ways. Take the nature of their work in a rich capitalist nation such as the U.S. Such relations of inequality between laborers and bosses force most folks most of the time to accept workplace tyranny as a natural law, like gravity. How can there be a "free" job market in the absence of freedom on the job?

--Seth Sandronsky, a member of Sacramento Area Peace Action and a co-editor of Because People Matter, Sacramento’s progressive paper. He can be reached at: ssandron@hotmail.com. legacy of genocide and slavery. We and the world are the worse for the resulting sickness of

http://www.politicalaffairs.net/article/articleview/893/1/86/

อาหารคือของขวัญเพื่อแบ่งปัน


อาหารคือของขวัญเพื่อแบ่งปัน

Gift of Food by Vandana Shiva

วันทนา ศิวะ เขียน ชำนาญ ยานะ แปล

หมายเหตุ งานแปลชิ้นนี้ยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบความถูกต้อง อาจมีความผิดพลาด จึงขอให้ผู้อ่านช่วยตรวจสอบและเสนอแนะความเห็นได้ เมื่อแก้ไขแล้ว ผู้แปลจะนำไปเผยแพร่บนเวปไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ต่อไป อนึ่ง ต้นฉบับแปลอยู่ด้านล่างของบทความนี้ เพื่อความสะดวกในการเทียบเคียง

สิ่งแรกที่เราระลึกถึงเมื่อกล่าวถึงอาหารคือ อาหารเป็นรากฐานของชีวิต อาหารมีชีวิต มิใช่เพียงก้อนวัตถุที่รวมคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและแร่ธาตุเข้าไว้ด้วยกันเท่านั้น นอกจากจะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิ่งมีชีวิตแล้ว อาหารยังเป็นผู้สร้างชีวิต (Creator) อีกด้วย เพราะเหตุนี้ ชาวอินเดียที่ยากจนจึงมีหม้อดินเล็กๆไว้สำหรับกราบไหว้บูชาในบ้าน ขนมปังก้อนแรกที่พวกเขามี จะนำไปให้วัว หลังจากนั้นชาวอินเดียจะตรวจดูว่า ในละแวกที่ตนเองอาศัย มีใครอีกบ้างที่ไม่มีอาหารกิน (เพื่อจะแบ่งขนมปังที่มีอยู่ให้คนคนนั้นผู้แปล) ในจารึกศาสนบัญญัติอินเดียโบราณ มีคำกล่าวว่า ผู้ให้อาหารคือผู้ให้ชีวิต ฉะนั้นผู้ที่ต้องการแสวงหาความสุขสวัสดีทั้งในภพนี้และภพหน้า จะต้องเป็นผู้ที่ถือเอาการแบ่งปันอาหารเป็นกิจของตน

เนื่องจากอาหารเป็นรากฐานของการสร้างสรรค์ ฉะนั้นอาหารเองจึงเป็นการสร้างสรรค์และเป็นผู้สร้างชีวิตในเวลาเดียวกัน พวกเรามีหน้าที่หลายอย่างที่ต้องปฏิบัติ เพื่อแสดงความเคารพกับสิ่งที่เรากินเข้าไป สังคมใดมีคนที่มีอาหารกินอย่างถ้วนหน้า แสดงว่าสังคมนั้นยังไม่ลืมหน้าที่ที่มีต่ออาหาร แต่หากสังคมใดมีคนอดอยากอยู่ นั่นก็แสดงว่าสังคมได้ละทิ้งศีลธรรมที่มีต่ออาหารไปแล้ว

คนเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้ ก็เพราะมีอีกหลายชีวิตได้ดำรงอยู่มาก่อน เช่นพ่อแม่ ผืนดิน ไส้เดือนดิน ในประเทศอินเดีย การแบ่งปันอาหารเป็นการเสียสละที่ชาวอินเดียพึงกระทำเป็นกิจวัตรประจำวัน ถือเป็นพิธีกรรมที่ฝังแน่นอยู่ในอาหารทุกมื้อ สะท้อนความคิดที่ว่า การให้คือสภาวะของการมีชีวิตอยู่ ชาวอินเดียมิได้ให้เพราะถือเป็นกิจกรรมพิเศษ แต่ให้เพราะตระหนักถึงความเชื่อมโยงของสรรพชีวิต

มีภาพภาพหนึ่งที่ติดตาตรึงใจข้าพเจ้าเกี่ยวกับประเทศอินเดีย นั่นคือภาพของโกลัม(kolam) ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ฝีมือสตรีชาวอินเดีย ทำขึ้นเพื่อประดับไว้หน้าบ้าน ในช่วงเทศกาลปองกัล (pongal) อันเป็นเทศกาลเกี่ยวข้าวทางภาคใต้ของอินเดีย ข้าพเจ้าสังเกตเห็นสตรีในท้องถิ่นนั้นตื่นก่อนฟ้าสาง เพื่อประดิษฐ์โกลัมอยู่ภายนอกบ้าน

เหตุผลจริงๆของสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวก็เพื่อแบ่งอาหารให้มด โกลัมเป็นงานศิลป์ที่ผู้เป็นแม่ถ่ายทอดให้ลูกสาว ในเทศกาลปองกัล สตรีทุกคนต่างพากันทำโกลัมของตนอย่างสุดฝีมือเพื่อเป็นการทำบุญ ดังนั้นการให้อาหารมดกับการสร้างสรรค์ศิลปะจึงบรรสานสอดคล้องกัน

ข้าพเจ้าเคยไปเยือนถิ่นชาวเขาเผ่าชาติการ(Chattigarh) ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวสายพันธ์อินเดีย เป็นครั้งแรกเมื่อประมาณสิบห้าปีที่แล้ว ผู้คนแถบนั้นกำลังสานชิ้นงานที่ทำด้วยข้าวอย่างสวยงามยิ่งเพื่อเอาห้อยไว้นอกบ้าน ตอนแรกข้าพเจ้าคิดว่าคงจะมีเทศกาลบางอย่างเป็นแน่ จึงได้เอ่ยถามไปว่า ท่านประดิษฐ์งานชิ้นนี้เนื่องในโอกาสพิเศษอะไรหรือ?” คนเหล่านั้นตอบว่า เปล่าหรอก พอดีฤุดูนี้เป็นช่วงที่นกไม่สามารถหาเมล็ดข้าวในนากินได้เขาต้องการแบ่งเมล็ดข้าวให้สัตว์ต่างๆ ในรูปของงานฝีมือที่ประณีตนั่นเอง

เพราะเราเป็นหนี้สรรพสิ่งต่าง สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเหล่านั้นจึงเป็นแรงบันดาลใจเรื่องการให้อาหารเป็นทาน (annadana) หรือการแบ่งปันอาหาร วิถีชีวิตในสังคมเกื้อหนุนให้ทุกคนยึดถือการแบ่งปันอาหารเป็นประจำทุกวัน ดังสุภาษิตอินเดียที่ว่า ไม่มีการให้ทานใดยิ่งใหญ่กว่าการแบ่งปันอาหาร หรือในบทสวดศักดิ์สิทธิ์ก็กล่าวไว้เช่นกันว่า อย่าปล่อยให้คนที่มาเยือนประตูหน้าบ้านของท่านกลับไโดยไม่ได้รับอาหารหรือความเอื้อเฟื้อใดๆจากท่านเป็นอันขาด นี่เป็นกฏที่มนุษย์จะละเว้นเสียมิได้ มนุษย์มีอาหารกินอย่างอุดม ต้องมีหน้าที่ทำนุบำรุงความอุดมดังกล่าวไว้ ตลอดจนประกาศให้ทั้งโลกได้ทราบว่า มีอาหารไว้พร้อมแล้วสำหรับทุกชีวิตบนโลกนี้ ด้วยวัฒนธรรมการให้ทาน เราทั้งหลายจะถึงพร้อมด้วยความอุดมสมบูรณ์และการแบ่งปันกัน

หากเรามองดูสภาพปัจจุบันที่โลกกำลังประสบอยู่ จะเห็นการผลิตอาหารจนล้นเกินความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกัน ผู้คนจำนวน 820 ล้านคนกำลังต้องการอาหาร ในฐานะนักนิเวศวิทยา ข้าพเจ้ามองว่าส่วนเกินของการผลิตอาหารเป็นส่วนเกินจอมปลอม ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะคลังเก็บอาหารและชั้นวางในตลาดแน่นขนัดไปด้วยของกิน อันเป็นผลจากระบบการผลิตและการกระจายอาหารที่แย่งอาหารจากมือคนอ่อนแอและคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ตลอดจนแย่งอาหารจากสรรพชีวิตอื่นๆ

ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าเดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้ามาร์คแอนด์สเปนเซอร์ (Mark and Spencer) ข้าพเจ้ารู้สึกสะท้อนใจที่เห็นอาหารในนั้น เพราะข้าพเจ้าทราบดีว่า กล้วยที่วางขายอยู่ได้มาจากการเปลี่ยนไร่นาของชาวนาชาวไร่ให้เป็นแปลงปลูกกล้วยขนาดใหญ่ ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าเห็นห้างสรรพสินค้า ข้าพเจ้าเห็นภาพชุมชนและระบบนิเวศน์ที่มีศักยภาพในการผลิตเลี้ยงสิ่งมีชีวิตทั้งมวลถูกทำลาย เพียงเพื่อให้คนจำนวนน้อยนิดในโลกได้มีอาหารจนล้นเกินความสามารถที่จะบริโภค แต่อนิจจา อาหารที่ล้นเกินเหล่านี้เป็นสิ่งจอมปลอม ที่ผลักไสให้คนอีก 820 ล้านคนขาดแคลนอาหาร ในขณะที่คนอื่นๆที่เหลือบริโภคมากเกินพอดีจนเจ็บป่วยและเป็นโรคอ้วน

ทีนี้ลองกลับมาดูกันซิว่า มนุษย์ผลิตอาหารได้อย่างไร ก่อนอื่นเราต้องมีผืนดินที่จะทำหน้าที่เป็นระบบที่มีชีวิต เพื่อการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน เราต้องการสิ่งมีชีวิตในดินจำนวนหลายล้านชนิดเพื่อให้ดินอุดมสมบูรณ์ ความอุดมสมบูรณ์จะผลิตอาหารที่มีคุณประโยชน์ให้กับเรา ในวัฒนธรรมแบบอุตสาหกรรม เราลืมไปว่าไส้เดือนสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน โดยพากันเชื่อว่า ความอุดมสมบูรณ์ของดินได้มาจากธาตุไนเตรด ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลือจากโรงงานผลิตวัตถุระเบิด อีกทั้งยังเชื่ออีกว่า การกำจัดแมลงไม่ได้เกิดจากความสมดุลของพืชพันธ์ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด แต่มาจากการใช้ยาพิษ เมื่อเราสามารถรักษาความสมดุลได้ สิ่งมีชีวิตต่างๆจะไม่กลายเป็นแมลงรบกวนที่ต้องกำจัดทิ้ง แต่จะอยู่ร่วมกันโดยไม่มาทำลายพืชผักที่เราปลูก

มีรายงานล่าสุดจากองค์การเกษตรกรรมและอาหาร แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า มนุษย์ใช้วิธีการใดผลิตอาหาร แต่คำนวณออกมาแค่ตัวเลขแรงงานที่ถูกผลักไส (labour displacement) ออกจากการบวนการผลิต โดยให้ความสำคัญเฉพาะการผลิตภาคแรงงาน (labour productivity) เท่านั้น ตัวอย่างเช่น มีอาหารจำนวนเท่าใดบ้าง ที่ได้จากการใช้เทคโนโลยีที่กีดกันแรงงานคน กีดกันสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ตลอดจนทำลายแหล่งทรัพยากรที่ใช้ผลิตอาหารนั้นๆด้วยซ้ำ เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่ได้แปลว่าเราผลิตอาหารได้มากขึ้นต่อขนาดพื้นที่ ไม่ได้แปลว่าเราได้อาหารเพิ่มขึ้นต่อหน่วยการใช้น้ำ ไม่ได้แปลว่าเราได้อาหารเพิ่มขึ้นเพื่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่ต้องการอาหารเหมือนกับเรา ความต้องการอันหลากหลายดังที่กล่าวมานี้กำลังถูกทำลาย เมื่อเรานิยามประสิทธิภาพการผลิตให้เหลือแค่การผลิตอาหารต่อหน่วยแรงงาน

เรากำลังใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมที่แพร่ขยายความรุนแรงออกไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในระหว่างที่เดินทางไปเมืองปัญจาบ ข้าพเจ้าตกใจมากเมื่อทราบว่า แมลงที่ช่วยผสมเกษรได้ตายจากไปหมดแล้ว คนที่บ้าคลั่งเทคโนโลยีได้ดัดแปรพืช ด้วยการยิงยีนส์มีพิษของเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ บาซิลลัส ทูริงเจนซิส เข้าไปในต้นพืช เพื่อให้พืชนั้นสามารถสร้างสารพิษออกมาตลอดเวลา ทั้งในเซลทุกเซล ในใบ ในรากและในเกษร เมื่อแมลงเต่าทองและผีเสื้อกินพืชดังกล่าวเข้าไป จึงพากันตาย

เพราะคนพวกนั้นมืดบอดจึงมองไม่เห็นข่ายใยชีวิต(web of life) ที่ตนเองกำลังทำลายลงไป เราจะเห็นความเชื่อมโยงได้ ก็ต่อเมื่อเรารู้สึกต่อความอ่อนไหวของข่ายใยดังกล่าว เมื่อตระหนักรู้ได้เช่นนี้ เราจะทราบว่า ตนเองเป็นหนี้บุญคุณสิ่งต่างๆในเรื่องใดบ้าง เป็นหนี้บุญคุณแมลงผสมเกษรอย่างไร เป็นหนี้ชาวนาชาวไร่ผู้ผลิตอาหารให้เรากิน ตลอดจนเป็นหนี้คนที่นำอาหารมาให้เรา ในยามที่ตนเองไม่สามารถหาอาหารกินเองได้อย่างไรบ้าง

การแบ่งปันอาหารสัมพันธ์กับความเชื่อที่ว่า เราทุกคนเกิดมาเพื่อใช้หนี้สรรพชีวิตอื่นๆ เรามีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะหนี้ชนิดนี้ เราเกิดมาพร้อมกับหนี้ เราจึงต้องใช้หนี้คืนชั่วชีวิต ต้องใช้หนี้ให้กับผึ้งและผีเสื้อที่ผสมเกษรให้เรา ใช้หนี้ให้กับไส้เดือนและรา รวมถึงจุลชีพ (microbe) และแบคทีเรียในดินที่ทำงานอย่างแข็งขัน เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ซึ่งปุ๋ยเคมีไม่มีวันที่จะทำได้

เราเกิดมาและดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยหนี้ ที่มีต่อการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ(Creation) เราจึงต้องจำใส่ใจไว้ ของขวัญสำหรับแบ่งปันกันของอาหารคือการระลึกรู้เรื่องการใช้คืน ภารกิจดังกล่าวถือเป็นความรับผิดชอบ เป็นเรื่องของการยอมรับและความพยายามตอบแทนบุญคุณให้กับการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ และตอบแทนชุมชนที่เราเป็นสมาชิก เหล่านี้เป็นเหตุผลที่วัฒนธรรมส่วนใหญ่มองนิเวศน์วิทยา (ecology) ว่าเป็น sacred trust (หรือ สิ่งที่ประกันการอยู่รอดอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งต้องกราบไหว้ผู้แปล) ที่ระบุความรับผิดชอบ เมื่อข้าพเจ้าใส่ใจให้ทุกคนรอบตัวมีอาหารกิน คนที่อยู่รอบตัวข้าพเจ้าก็จะใส่ใจว่าข้าพเจ้าเองจะมีอาหารกินเช่นเดียวกัน

ในตอนที่ข้าพเจ้าลาออกจากการสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยเมื่อปี ค..1982( หรือปี พ..2525) ทุกคนต่างถามข้าพเจ้าว่า อาจารย์จะอยู่อย่างไรถ้าไม่ได้รับเงินเดือนข้าพเจ้าตอบว่า ถ้าชาวอินเดียร้อยละเก้าสิบสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากเงินเดือน ข้าพเจ้าก็สามารถมีชีวิตอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์แบบมีหลักประกันการอยู่รอดร่วมกับคนเหล่านั้นได้เช่นเดียวกันหากเรารู้จักให้ เราก็จะได้รับเป็นการตอบแทน ไม่ต้องคำนวณว่าจะได้รับเท่าไหร่ สิ่งเดียวที่เราควรสนใจคือการให้ก็เพียงพอแล้ว

ในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ เราก็เป็นหนี้ แต่เป็นหนี้สิน เด็กที่เกิดในประเทศโลกที่สามทุกประเทศ มีหนี้ติดตัวหลายล้านดอลลาร์ โดยมีธนาคารโลกเป็นเจ้าหนี้ ซึ่งสามารถใช้อำนาจสั่งให้เราและประเทศของเราเลิกผลิตอาหารสำหรับใส้เดือนและนก หรือแม้แต่อาหารสำหรับมนุษย์ด้วยกันเอง จากนั้นก็สั่งให้เราเลี้ยงกุ้งหรือปลูกดอกไม้เพื่อส่งออก เพราะนั่นเป็นวิธีที่สามารถหาเงิน(มาใช้หนี้)ได้

แม้จะหาเงินได้ก็จริง แต่ก็เป็นจำนวนไม่มากนัก ข้าพเจ้าคำนวณแล้วว่า หากคิดในแง่ผลกำไร เงินที่ได้จากการทำธุรกิจระหว่างประเทศหนึ่งดอลลาร์ จะก่อให้เกิดการทำลายล้างเชิงนิเวศและเศรษฐกินในระบบนิเวศท้องถิ่นคิดเป็นมูลค่าสิบดอลลาร์ ฉะนั้นทุกหนึ่งดอลลาร์ที่ได้มาจากการค้า เราต้องสูญเสียต้นทุนแฝง(หรือ shadow cost) ถึงสิบดอลลาร์ ไปกับการปล้นชิงอาหารจากคนที่เขาต้องการอาหาร เราสามารถทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้จากการสังเกตการค้าระหว่างประเทศที่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น ความขาดแคลนอาหารยิ่งเพิ่มสูงขึ้นด้วย นั่นเป็นเพราะผู้ที่ต้องการอาหารมากที่สุด กลับถูกผลักไสออกจากระบบการค้า เพื่อไม่ให้ได้รับอาหาร

สิ่งที่เรียกว่าการค้าเสรีกำลังพยายามทุกวิถีทาง ที่จะฉุดกระชากผู้คนไม่ให้ตอบสนองความต้องการของคนอื่นแม้แต่ความต้องการของตนเองได้

มีคนถามข้าพเจ้าว่า เราจะปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ(biodiversity) ได้อย่างไร ถ้าหากจำเป็นต้องตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ข้าพเจ้าตอบว่า วิธีเดียวที่จะตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของมนุษย์ได้คือการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะถ้าเราดูแลรักษาไส้เดือน นกและผีเสื้อไม่ได้ เราก็ดูแลรักษามนุษย์ด้วยกันไม่ได้เช่นเดียวกัน

ความคิดที่ว่า มนุษยชาติสามารถตอบสนองความต้องการของตน ด้วยการทำลายสรรพชีวิตอื่นๆให้สูญสิ้นไปเป็นสมมุติฐานที่ผิดพลาด เพราะแนวคิดนี้มาจากการมืดบอดต่อข่ายใยชีวิต ที่เชื่อมโยงเราทุกคนเข้าด้วยกัน มองไม่เห็นว่าเราทุกคนดำรงชีวิตอย่างบรรสานสอดคล้องและพึ่งพาอาศัยกัน

วัฒนธรรมเดี่ยว(monoculture) เพียงหนึ่งเดียว สามารถสร้างวัฒนธรรมเดี่ยวอื่นๆให้มีมากขึ้น แต่ไม่ได้สร้างอาหารให้มากขึ้นแต่อย่างใดทั้งสิ้น ถ้าเรามีสวนสักแห่ง เรานำพืชยี่สิบชนิดลงปลูก เราจะได้ผลผลิตจำนวนมหาศาล แต่ถ้าปลูกพืชชนิดเดียว เช่นปลูกแต่เข้าโพดหรือข้าวฟ่าง แล้วเทียบกับสวนที่สวนที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว เราจะได้อาหารน้อยกว่า เพราะทั้งสวนไม่ได้มีแต่ข้าวโพดอย่างเดียว ดังนั้นการเปลี่ยนจากระบบการปลูกพืชแบบหลากหลาย ไปเป็นระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยวแบบอุตสาหกรรม ที่ใช้สารเคมีและเครื่องจักร เราจะพบว่าเราได้ผลผลิตมากกว่า(การปลูกพืชแบบหลากหลาย) ถึงแม้ว่าความจริงเราจะได้ผลผลิตน้อยลงกว่าเดิมก็ตาม

เมื่อมีสิ่งมีชีวิตน้อยลง ผลผลิตก็ยิ่งน้อยลง สารอาหารน้อยลง เกษตรกรน้อยลง อาหารมีน้อยลง การหาสารอาหารมาบำรุงร่างกายทำได้น้อยลง ถึงอย่างนั้น เราก็ยังถูกล้างสมองให้เชื่อว่า เราผลิตได้มากขึ้นทั้งๆที่ผลิตได้น้อย อย่างนี้เรียกว่าภาพลวงตาชนิดหยั่งลึกเข้าไปในจิตใจ (deep illusion)

ในปัจจุบัน การค้าไม่ใช่การแลกเปลี่ยนสิ่งที่เราต้องการเพราะเราผลิตเองไม่ได้ แต่การค้าเป็นเรื่องของการหยุดผลิตสิ่งที่เราต้องการ หยุดช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะซื้อสิ่งเหล่านี้จากที่อื่น

มีบรรษัทค้าเมล็ดพันธ์สี่บรรษัท บรรษัทที่ใหญ่ที่สุดคือ คาร์กิล (Cargills) ซึ่งควบคุมการค้าอาหารทั่วโลกคิดเป็นร้อยละเจ็ดสิบ มีอำนาจกำหนดราคาตามใจชอบ บรรษัทเหล่านี้ชี้นำเกษตรกรว่าสิ่งใดควรปลูก จากนั้นรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคาถูก ในขณะเดียวกัน ก็ขายผลผลิตนั้นให้กับผู้บริโภคในราคาแพง ในกระบวนการผลิต บรรษัทค้าเมล็ดพันธ์ก่อพิษภัยให้กับทุกส่วนของห่วงโซ่อาหาร บรรษัทเหล่านี้ไม่เคยให้ คิดแต่เพียงผลประโยชน์แม้จนชิ้นสุดท้าย ทั้งจากระบบนิเวศ จากสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตลอดจนจากคนยากจน รวมถึงจากประเทศโลกที่สาม

ต้นปี คศ. 1990 (หรือ พศ.2543) บริษัทคาร์กิลแถลงว่า ชาวนาอินเดียช่างโง่เขลานัก คนพวกนี้โง่ถึงขนาดไม่รู้ว่าเมล็ดพันธ์ของเรานั้นเฉลียวฉลาด เราค้นเทคโนโลยีใหม่ ที่ป้องกันไม่ให้ผึ้งขโมย เกษรดอกไม้ได้

แนวคิดของขวัญจากอาหารบอกว่า เกษรดอกไม้เป็นของขวัญสำหรับแบ่งปัน ที่เราต้องรักษาไว้ให้แมลงที่ผสมเกษร ดังนั้นเราจึงต้องปลูกพืชที่เปิดโอกาสให้ผึ้งและผีเสื้อผสมเกษรได้ เพราะเกษรคืออาหารของแมลง พวกมันมีสิทธิ์ใช้พื้นที่ทางนิเวศ (ecological space) เราต้องระมัดระวังไม่ให้ตนเองรุกล้ำพื้นที่ของแมลงเหล่านั้น

แต่บริษัทคาร์กิลกลับหาว่า ผึ้งขโมยเกษรดอกไม้ ก็เพราะบริษัทนี้นิยามว่า เกษรดอกไม้ทุกอณูเป็นของตน เช่นเดียวกับที่บริษัทมอนซานโต้บอกว่าเราสามารถป้องกันไม่ให้วัชพืชขโมยแสงแดดได้ ด้วยการใช้ยาฆ่าหญ้าราวอัพโลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ ซึ่งถือเป็นพลังที่ให้ชีวิต แต่บริษัทมอนซานโต้กลับมาบอกว่า ตนเองและเกษตรกรที่ทำสัญญาปลูกพืชกับทางบริษัทมีสิทธิ์ในการใช้แสงอาทิตย์แต่เพียงผู้เดียว ใครอื่นนอกจากนี้หากมาใช้ร่วมถือเป็นการโจรกรรม

โลกที่เราอยู่จึงเป็นโลกที่ตรงกันข้ามกับการแบ่งปันอาหารกัน เป็นโลกที่ฉกฉวยอาหารไปจากห่วงโซ่อาหารและข่ายใยชีวิต แทนที่จะเป็นการแบ่งปันกัน เรากลับยึดถือผลกำไรและความโลภเป็นสรณะสูงสุด น่าเศร้านักที่ผลกำไรเพิ่มมากขึ้น การขาดแคลนอาหารกลับยิ่งเพิ่มสูงสุด ความเจ็บป่วย การทำลายล้างธรรมชาติ การทำลายล้างผืนดิน การทำลายล้างผืนน้ำ การทำลายล้างความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ระบบอาหารที่เรามีขาดความยั่งยืนยิ่งๆขึ้นไป พวกเราต่างยู่ในวังวนหนี้ ไม่ใช่หนี้ที่มีต่อธรรมชาติ ไม่ใช่หนี้ที่มีต่อโลกหรือต่อสรรพชีวิตอื่นๆ แต่เป็นหนี้สินที่ต้องจ่ายคืนเจ้าหนี้และตัวแทนจำหน่ายสารเคมีและเมล็ดพันธ์ หนี้สินมาแทนที่หนี้ด้านนิเวศ การให้เพื่อทำนุบำรุงชีวิตและอาหารถูกแทนที่ด้วยการแสวงหาผลกำไรที่เพิ่มขึ้นทุกที

สิ่งที่เราต้องช่วยกันทำเดี๋ยวนี้คือการแสวงหาหนทางสลัดตัวเองจากแผนการสู่ความหายนะ ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนการค้าเสรีให้เป็นการค้าที่เป็นธรรมเท่านั้น ถ้ายังมองไม่เห็นภาพรวมที่กำลังนำเราไปสู่การใช้ยาพิษและการสร้างมลพิษให้กับชีวิตรวมถึงตัวเราเอง ก็ไม่สามารถทีจะยกระดับไปสู่วิถีสู่ความอุดมสมบูรณ์ได้อีก เราจะไม่สามารถสร้างความอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้ ถ้ารู้จักแต่หยิบฉวยจากธรรมชาติ โดยไม่รู้จักให้ เราจะสามารถสร้างได้แต่ความขาดแคลนเท่านั้น

ความขาดแคลนที่เกิดขึ้นในโลก เป็นส่วนหนึ่งของความขาดแคลนที่ว่า โรคร้ายอันเนื่องมาจากการดำรงชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือยที่กำลังแพร่กระจายออกไป เป็นส่วนหนึ่งของความขาดแคลนเช่นกัน ถ้าหากเราวางตนได้อย่างเหมาะสมภายในหลักประกันการอยู่รอดด้านนิเวศวิทยา และระลึกรู้ว่าเรามีหนี้ที่ต้องจ่ายคืนให้กับมนุษย์และสรรพสิ่งอื่นๆ เมื่อนั้น การปกป้องสิทธิให้กับสิ่งมีชีวิตต่างๆจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมเนียมและวิถีชีวิตของเรา ผลที่จะเกิดตามมาคือ คนที่พึ่งพาด้านอาหารจากคนอื่น จะได้รับอาหารที่ดีและได้รับประโยชน์จากอาหารนั้นเพื่อบำรุงร่างกาย ฉะนั้นหากเราเริ่มต้นจากการบำรุงข่ายใยชีวิต เราก็จะสามารถแก้ไขวิกฤตด้านเกษตรกรรม วิกฤตสุขภาพของผู้บริโภค ตลอดจนวิกฤตด้านเศรษฐกิจอันเกิดจากความยากจนในประเทศโลกที่สามได้


หมายเหตุ: แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง Gift of Food ของ Vandana Shiva ซึ่งตีพิมพ์ใน Resurgence ซึ่งเป็นนิตยสารรายไตรมาส (รายสามเดือน)ในประเทศอังกฤษ ที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างแหวกแนวท้าทาย นอกกรอบวังวนของการศึกษากระแสหลัก มุ่งเน้นองค์ความรู้ด้านนิเวศน์วิทยา สังคมวิทยาและจิตวิญญาณ

……………………………………………………..

ต้นฉบับ

Gift of Food by Vandana Shiva

The first thing to recognise about food is that it is the very basis of life. Food is alive: it is not just pieces of carbohydrate, protein and nutrient, it is a being, a sacred being. Not only is food sacred, not only is it living, but it is the Creator itself, and that is why in the poorest of Indian huts you find the little earthen stove being worshipped; the first piece of bread is given to the cow, then you are required to find out who else is hungry in your area. In the words of the sacred texts of India, "The giver of food is the giver of life," and indeed of everything else. Therefore, one who desires wellbeing in this world and beyond should especially endeavour to give food.

Because food is the very basis of creation, food is creation, and it is the Creator. There are all kinds of duties that we should be performing with respect to food. If people have food it is because society has not forgotten those duties. If people are hungry, society has rejected the ethical duties related to food.

The very possibility of our being alive is based on the lives of all kinds of beings that have gone before us - our parents, the soil, the earthworm - and that is why the giving of food in Indian thought has been treated as everyday sacrifice that we have to perform. It is a ritual embodied in every meal, reflecting the recognition that giving is the condition of our very being. We do not give as an extra, we give because of our interdependence with all of life.

One of my favourite images in India is the kolam, a design which a woman makes in front of her house. In the days of Pongal, which is the rice harvest festival in South India, I have seen women get up before dawn to make the most beautiful art work outside their houses, and it is always made with rice. The real reason is to feed the ants, but it is also a beautiful art form that has gone on from mother to daughter, and at festival time everyone tries to make the best kolam as their offering. Thus, feeding the ants and works of art are integrated.

The indica rice variety's homeland is a tribal area called Chattisgarh in India. It must be about fifteen years ago that I first went there. The people there weave beautiful designs of paddy, which they then hang outside their houses. I thought that this must be related to a particular festival, and I asked, "What festival is it for?" They said, "No, no, this is for the season when the birds cannot get rice grain in the fields." They were putting rice out for other species, in very beautiful offerings of art work.

Because we owe the conditions of our life to all other beings and all other creatures, giving - to humans and to non-human species - has inspired annadana, the gift of food. All other ethical arrangements in society get looked after if everyone is engaging in annadana on a daily basis. According to an ancient Indian saying: "There is no gift greater than annadana, the giving of food." Or again, in the words of the sacred texts: "Do not send away anyone who comes to your door without offering him or her food and hospitality. This is the inviolable discipline of humankind; therefore have a great abundance of food and exert all your efforts towards ensuring such abundance, and announce to the world that this abundance of food is ready to be partaken by all."

Thus from the culture of giving you have the conditions of abundance, and the sharing by all.

IF WE REALLY look at what is happening in the world, we seem to have more and more food surpluses, while 820 million people still
go hungry every day. As an ecologist, I see these surpluses as pseudo-surpluses. They are pseudo-surpluses because the overflowing stocks and packed supermarket shelves are the result of production and distribution systems which take food away from the weak and marginalised, and from non-human species.

I went through the food department of Marks & Spencer the other day, and I went dizzy seeing all the food there, because I knew that, for example, a peasant's rice field would have been converted into a banana plantation to get luscious bananas to the world's markets. Each time I see a supermarket, I see how every community and ecosystem's capacity to meet its food needs is being undermined, so that a few people in the world can experience food 'surpluses'.

But these are pseudo-surpluses leadingto 820 million malnourished people, while many others eat too much and get ill or obese.

LET US SEE how food is produced. To have sustainable food supplies we need our soils to function as living systems: we need all those millions of soil organisms that make fertility. And that fertility gives us healthy foods. In industrial cultures we forget that it is the earthworm that creates soil fertility; we believe that soil fertility can come from nitrates - the surplus of explosives factories; that pest-control does not come out of the balance of different crops hosting different species, but from poisons. When you have the right balance, living organisms never become pests: they all coexist, and none of them destroys your crop.

The recently released report of the Food and Agriculture Organization has chart after chart to show how in the last century we increased food productivity. But all they really calculated is labour displacement. They only looked at labour productivity - as how much food a human being produces by using technologies that are labour-displacing, species-displacing and resource-destroying. It does not mean that you have more food per acre; it does not mean that you have more food per unit used of water; it does not mean that you have more food for all the other species that need food. All of these diverse needs are being destroyed as we define productivity on the basis of food production per unit of labour.

We are now working on technologies, based on genetic engineering, which accelerate this violence towards other beings. On my recent trip to Punjab, it suddenly hit me that they no longer have pollinators. Those technologically obsessed people are manipulating crops to put genes from the Bt toxin (the soil bacterium Bacillus thuringiensis) into plants, so that the plant releases toxins at every moment and in every cell: in its leaves, its roots, its pollen. These toxins are being eaten by ladybirds and butterflies which then die.

We do not see the web of life that we are rupturing. We can only see the interconnections if we are sensitive to them. And when we are aware of them we immediately recognise what we owe to other beings: to the pollinators, to the farmers who have produced the food, and to the people who have nourished us when we could not nourish ourselves.

The giving of food is related to the idea that every one of us is born in debt to other beings: our very condition of being born depends on this debt. So we come with a debt and for the rest of our lives we are paying back that debt - to the bees and the butterflies that pollinate our crops, to the earthworms and the fungi and the microbes and the bacteria in the soil that are constantly working away to create the fertility that our chemical fertilisers can never, never replenish.

We are born and live in debt to all Creation, and it becomes our duty to recognise this. The gift of food is merely a recognition of the need for constantly paying back that obligation, that responsibility. It is merely a matter of accepting and endeavouring to repay our debts to Creation, and to the communities of which we are a part. And that is why most cultures that have seen ecology as a sacred trust have always spoken of responsibility. Rights have flowed out of responsibility: once I ensure that everyone in my sphere of influence is fed, someone in that sphere is also ensuring that I am fed.

WHEN I LEFT university teaching in 1982, everyone said, "How will you manage without a salary?" I replied by saying that if ninety per cent of India manages without a salary, all I have to do is put my life in the kind of relationships of trust that they live through. If you give, then you will receive. You do not have to calculate the receiving: what you have to be conscious of is the giving.

In modern economic systems we also have debts, but they are financial debts. A child born in any Third World country already has millions of dollars of debt on her or his head owed to the World Bank, which has every power to tell you and your country that you should not be producing food for the earthworms and the birds, or even for the people of the land: you should be growing shrimps and flowers for export, because that earns money.

It does not earn very much money, either. I have made calculations that show that one dollar of trading by international business, in terms of profit, leads to $10 of ecological and economic destruction in local ecosystems. Now if for every dollar being traded we have a $10 shadow-cost in terms of how we are literally robbing food from those who need it most, we can understand why, as growth happens and as international trade becomes more 'productive', there is, inevitably, more hunger: because the people who needed that food most are the ones who are being denied access to it by this new system of trading. This so-called free trade is taking away from them any way of looking after others' needs, or their own.

People ask me: "How can we protect biodiversity if we are to meet growing human needs?" My reply is that the only way to meet growing human needs is to protect biodiversity, because unless we are looking after the earthworms and the birds and the butterflies we are not going to be able to look after people either. This idea that somehow the human species can only meet its needs by wiping out all other species is a wrong assumption: it is based on not seeing how the web of life connects us all, and how much we live in interaction and in interdependence.

Monocultures produce more monocultures, but they do not produce more nutrition. If you take a field and plant it with twenty crops, it will have a lot of food output, but if any one of those individual yields - say of corn or wheat - is measured in comparison with that of a monoculture field, of course you will have less, because the field is not all corn. So just by shifting from a diversity-based system into a monoculture industrially supported with chemicals and machines, you automatically define it as more, even though you are getting less! Less species, less output, less nutrition, less farmers, less food, less nourishment. And yet we have been absolutely brainwashed into believing that when we are producing less we are producing more. It is an illusion of the deepest kind.

Trade today is no longer about the exchange of things which we need and which we cannot produce ourselves. Trade is an obligation to stop producing what we need, to stop looking after each other, and to buy from somewhere else.

In trade today there are four grain giants. The biggest of them, Cargill, controls seventy per cent of the food traded in the world; and they fix the prices. They sell the inputs, they tell the farmer what to grow, they buy cheaply from the farmer, then they sell it at high cost to consumers. In the process they poison every bit of the food chain. Instead of giving, they are thinking of how they can take out that last bit, from ecosystems, other species, the poor, the Third World.

In the early 1990s Cargill said, "Oh, these Indian peasants are stupid. They do not realise that our seeds are smart: we have found new technologies that prevent the bees from usurping the pollen." Now the concept of 'the gift of food' tells us that pollen is the gift that we must maintain for pollinators, and therefore we must grow open-pollinated crops that bees and butterflies can pollinate. That is their food and it is their ecological space. And we have to make sure that we do not eat into their space.

Instead, Cargill says that the bees usurp the pollen - because Cargill have defined every piece of pollen as their property. And in a similar way, Monsanto said: "Through the use of Roundup we are preventing weeds from stealing the sunshine." The entire planet is energised by the life-giving force of the sun, and now Monsanto has basically said that it is Monsanto and the farmers in contract with Monsanto that, alone on the planet, have the right to sunshine - the rest of it is theft.

So what we are getting is a world which is absolutely the opposite to the 'giving of food'. Instead, it is the taking of food from the food chain and the web of life. Instead of gift we have profit and greed as the highest organising principle. Unfortunately, the more the profit, the more hunger, illness, destruction of Nature, of soil, of water, of biodiversity, the more non-sustainable our food systems become. We then actually become surrounded by deepening debt: not the ecological debt to Nature, to the Earth and to other species, but the financial debt to the money-lenders and to the agents of chemicals and seeds. The ecological debt is in fact replaced by this financial debt: the giving of nourishment and food is replaced by the making of more and more profits.

WHAT WE NEED to do now is to find ways of detaching ourselves from these destructive arrangements. It is not just replacing free trade with fair trade: unless we see how the whole is leading to the poisoning and polluting of our very beings, of our very consciousness, we will not be able to make the deeper shifts that allow us to create abundance again. In taking all from nature, without giving, we are not creating abundance; we are creating scarcity.

Growing world hunger is part of that scarcity. And the growing diseases of affluence are a part of that scarcity too. If we relocate ourselves again in the sacred trust of ecology, and recognise our debt to all human and non-human beings, then the protection of the rights of all species simply becomes part of our ethical norm and our ethical duty. And as a result of that, those who depend on others for feeding them and for bringing them food will get the right kind of food and the right kind of nourishment. So, if we begin with the nourishment of the web of life, we actually solve the agricultural crisis of small farms, the health crisis of consumers, and the economic crisis of Third World poverty.

Vandana Shiva is Director of Bija Vidyapeeth, the International College for Sustainable Living, in Dehra Dun, India.


http://www.resurgence.org/2005/shiva228.htm