วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

กลอนของอ.ระวินทร์แต่งให้ "นักเรียนการแปล"


เกิดอยู่น่าน…ด้านหลังท่าวังผา
ยังจรมา พานพบประสบได้
บุพเพกต บุญญตา…ท่านว่าไว้
อุ้มสมให้ หล่นปุ…ลงสุรินทร์

ดุ๋ยช่างเก่ง ช่างกาจเกินมาตรฐาน
ชื่อ “ชำนาญ”ควรนิยม สมถวิล
สมควรก้าวยาวไกล ในธรณิน
สมควรบินเบิกฟ้า นภาดล

เป็นครูสมฐานะ สมดุล
นามสกุล “ยานะ” ฤาฉงน
ปลุกวิญญาณแนวคิด ให้ศิษย์ตน
เป็นยานยนต์ ขนส่งปรัชญา

ถึงวันจากกันไกล จำใจจาก
แม้นมิอยากให้ไป ไฉนหนา
ให้รู้สึกสับสน จนอุรา
ความก้าวหน้าเพรียกพร่ำ ต้องจำยอม

ขอให้สมประสงค์ จำนงแน่ว
ให้คลาดแคล้ว ผองภัยทั้งใหญ่ย่อม
บรรลุสิ่งจริงแท้ ใช่แปรปลอม
พบ-เพียบพร้อมผลเลิศ ประเสริฐ…เทอญฯ

……………………………
อาจารย์ระวินทร์ รอดวินิจ
ครูภาษาที่เชี่ยวชาญด้านกาพย์กลอน แห่งแผนกวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ให้เกียรติประพันธ์เป็นพิเศษ ก่อนข้าพเจ้าจะอำลาจากสถาบันอุดมศึกษาแห่งนั้น ขอบกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างยิ่ง สำหรับกลอนแสนไพเราะกินใจบทนี้ และสำหรับความรักความเมตตาและมิตรภาพที่ร่วมสืบสานกันมาโดยตลอดระยะเวลาสามปีเต็ม

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

แมรี่กับอาการ alexithymia

งานแปลชิ้นที่ 2

เมื่อแมรี่บอกกับนักจิตวิเคราะห์ว่า เธอได้รับเพียงบาดเจ็บเล็กน้อยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ในเช้าวันนั้น นักจิตวิเคราะห์จึงตัดสินใจจัดสอนวิธีกระตุ้นความรู้สึกให้ทันที ถ้าเป็นผู้ป่วยอื่นๆ การจัดสอนกระตุ้นความรู้สึก อาจทำให้คนเราเกิดจินตนาการได้ต่างๆนา อยากระบายเรื่องที่เก็บไว้และอยากเล่าสิ่งที่คิดฝัน แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นกับแมรี่ เมื่อได้รับการร้องขอให้อธิบายความรู้สึกเกี่ยวกับอุบัติเหตุ แมรี่นึกออกแค่สิ่งที่เกิดกับรถอีกคัน กับเหตุการณ์จริงที่ว่าคนขับรถคันนั้นเป็นผู้หญิง เธอกำลังมีอาการผิดปกติ ประเภทที่ทำให้นักจิตวิเคราะห์กังวลใจอย่างมาก อาการนี้เรียกว่า อเลกซิธิเมีย (alexithymia) ซึ่งแปลว่าแมรี่มีภาวะไร้อารมณ์ขั้นรุนแรง

อเลกซิธิเมีย (alexithymia) มาจากภาษากรีก แปลว่า“ไม่มีคำมาอธิบายความรู้สึก” ผู้ป่วยโรคนี้จะไม่สามารถอธิบายความรู้สึกลึกๆในใจตนเองได้ คนเหล่านี้ประสบปัญหาเรื่องการบอกและอารมณ์ที่ตนเองมี และมักอธิบายเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตอย่างไร้ความรู้สึก มักตั้งใจเล่าแต่รายละเอียดที่ไม่น่าสนใจ ที่ปราศจากสีสันและจินตนาการ

ผู้ป่วยด้วยอาการไร้อารมณ์เหล่านี้มักเฉยชาและเก็บตัวเงียบ หลายคนเกิดความผิดปกติทางประสาทที่ส่งผลต่อร่างกายเช่น มีแผลตามร่างกายและมีอาการปวดหัวชนิดไมเกรน เนื่องจากคนไข้ไม่สามารถแสดงคิดแสดงความรู้สึก ทำให้เกิดความเครียดสะสม ก่อให้เกิดโรคผิดปกติทางประสาท ถ้าคุณทะเลาะกับเจ้านายและจินตนาการถึงตอนเผชิญหน้ากันหรือถึงขั้นลงไม้ลงมือ คุณยังรู้สึกตัวว่ามีอารมณ์โกรธ แต่ผู้ป่วยโรค อเลกซิธีเมีย (alexithymia) จะกลับบ้านพร้อมอาการปวดหัวโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกมีความสุขและไม่สามารถแสดงความรักความเห็นใจกับคนที่ตนเองรักได้

..........................

ฉลอง 60 ปี “ยูเอ็น” ภาคพื้นเอเชีย


ฉลอง 60 ปี “ยูเอ็น” ภาคพื้นเอเชีย เชิดชูเกียรติ อมาตยา เซน
UN’s 60th Anniversary in Asia; Amartya Sen Honoured

กรุงเทพ 29 มีนาคม (สำนักสารนิเทศสหประชาชาติ-สำนักข่าวไทย) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงแสดงสุนทรกถามีใจความว่า “ประชาชนคือความมั่งคั่งที่แท้จริงของชาติ” เนื่องในโอกาสงานฉลองการปฎิบัติงานของหน่วยงานสาขาแห่งองค์การสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียครบหกสิบปี ในงานนี้มีการยกย่อง อมาตยา เซน เจ้าของรางวัลโนเบล ที่ได้เสนอแนวคิดเศรษฐศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาของภูมิภาคนี้มาโดยตลอด

“เป้าหมายของการพัฒนาคือขยายทางเลือก ให้ประชนมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี” สมเด็จพระเทพฯ ตรัสเสริมว่า ศาสตราจารย์เซนและ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) ได้ทำหน้าที่แตกต่างกันไปในงานพัฒนา

พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีแถลงว่า ประเทศไทยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้รับเลือกเป็นที่ตั้งสำนักงานเอสแคป มากว่าหกสิบปี และประเทศไทยจะสนับสนุนระบบขององค์การสหประชาชาติและการทำงานในภูมิภาคเอเชียต่อไป

สมเด็จพระเทพฯ ทรงตรัสเน้นว่า เอสแคปได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามารถ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอด้อยโอกาส โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย พระองค์ทรงชื่นชมเลขาธิการแห่งคณะกรรมาธิการฯคนใหม่ ที่เป็นผู้นำการดำเนินงานในภูมิภาคนี้ได้เป็นอย่างดี

พระองค์ทรงร่วมกับองค์การสหประชาชาติ เชิดชูเกียรติ อมาตยา เซน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ผู้คิดหาหนทางพัฒนาและแก้ปัญหาอย่างท้าทายวิธีคิดแบบเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ดังคำกล่าวในงานเฉลิมฉลองของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติในครั้งนี้ ที่ว่า “ความคิดของอมาตยา เซน ท้าทายกระบวนทัศน์เศรษฐศาสตร์(กระแสหลัก)”

อมาตยา เซน แสดงปาฐกถานำในงานเฉลิมฉลองหกสิบปีการทำงานของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) ในงานนี้ อมาตยา เซน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เข้ารับรางวัล Award for Life Achievement นับเป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้จากคณะกรรมาธิการฯแห่งสหประชาชาติ

นายบัน คีมุน เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาหกทศวรรษที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการฯแห่งสหประชาชาติได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับประชาชนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อขจัดความกลัวและความขาดแคลน ทุกวันนี้ ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งมีประชากรหกพันล้านคน เป็นขุมพลังให้กับเศรษฐกิจโลก

คณะกรรมาธิการฯแห่งสหประชาชาติ ได้เลือกประโยค “สร้างศตวรรษใหม่ให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเจริญรุ่งเรือง” เป็นคำขวัญ นายคิม ฮัก ซู เลขาธิการใหญ่ของเอสแคปแถลงว่า “มันเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องรับใช้ประชาชนในภูมิภาคนี้ และจะทำงานกันให้เกิดสัมฤทธิผล ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์เช่นนี้ เราจะพยายามสุดความสามารถเพื่อสร้างศตวรรษใหม่ให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเจริญรุ่งเรือง”

เอสแคป ประกอบด้วยสมาชิกหกสิบสองประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 1947 เดิมมีชื่อว่า คณะกรรมการเศรษฐกิจเพื่อเอเชียและตะวันออกไกล (ECAFE) คณะกรรมการเศรษฐกิจฯได้ย้ายสำนักงานใหญ่จากกรุงเซี่ยงไฮ้ มาที่กรุงเทพมหานครในปี 1949

……………………………………..

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

เมื่อสื่อไร้ความรับผิดชอบ : กรณี นิตยสาร Der Spiegel และสำนักข่าว DPA



Der Spiegel Apologizes, Retracts Story

about Walden Bello Inciting to Riot in Rostock

Focus on the Global South, Wednesday, 06 June 2007

...................................................

เดอ สปิเกล ออกมาขอโทษ

ยอมรับข่าววอลเดน เบลโล ปลุกระดม

ให้เกิดจราจลในกรุงรอสต๊อค เป็นเรื่องไม่จริง


Irresponsible journalism is alive and well in Germany.

During the rally of over 50,000 people against the G 8 in Rostock, the country's premier weekly, Der Spiegel, reported on its online edition that Focus on the Global South Executive Director Walden Bello was inciting participants to riot. The publication quoted Bello as saying "We have to bring war to this demonstration."

การข่าวที่ไร้ความรับผิดชอบยังมีอยู่และเจริญรุ่งเรืองดีในเยอรมัน

ระหว่างการชุมนุมประท้วงของประชาชนห้าหมื่นคน เพื่อต่อต้านการประชุมผู้นำประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำแปดประเทศหรือ จีแปด ที่กรุงรอสต๊อค นิตยสารรายสัปดาห์ชั้นนำของเยอรมันนี เดอ สปิเกล รายงานข่าวทางเวปไซต์ของตนว่า วอลเดน เบลโล ผู้อำนวยการโครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (Focus on the Global South) ปลุกระดมผู้ชุมนุมให้ก่อความวุ่นวาย รายงานข่าวชิ้นนี้ระบุคำกล่าวของเบลโลที่ว่า เราต้องทำให้การชุมนุมครั้งนี้เป็นสงคราม

Bello said no such thing in his wildly applauded speech. Representatives of ATTAC, one of the lead organizers of the demonstration, and many others immediately protested.

ความจริง ในปาฐกถาที่ได้รับการปรบมือชื่นชมอย่างท่วมท้นตอนนั้น เบลโลไม่ได้พูดประโยคนี้ ตัวแทนขององค์กร ATTAC ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรประสานงานหลักของการชุมนุมและผู้ชุมนุมอื่นๆจึงออกมาประท้วงเรื่องนี้ในทันที

When Der Spiegel’s editorial board were presented with a video of Bello speaking, they admitted their error but shifted the blame to DPA, the German Press Agency, which, they said, filed the story from which they took the wrong quote. According to the Spiegel apology carried online on June 4, “the correspondent from Der Spiegel in Rostock was in another site of the demonstration at the time Walden Bello was giving his speech and could not personally listen to his words.”

เมื่อมีการนำวิดีโอตอนที่เบลโลพูดมาให้กรรมการผู้บริหารของ เดอ สปิเกล ตรวจสอบ พวกเขาต่างยอมรับว่าตนเองผิด แต่ก็โยนความรับผิดชอบไปให้ DPA ซึ่งเป็นสำนักข่าวของเยอรมันนี โดยกล่าวว่าสำนักข่าวแห่งนี้ส่งเรื่องนี้มาให้ เป็นเหตุให้นิตยสารนำมาเสนออย่างไม่ถูกต้อง นิตยสาร เดอ สปิเกล นำเสนอคำขอโทษทางอินเตอร์เน็ตเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ระบุว่า ผู้สื่อข่าวของ เดอ สปิเกล ในกรุงรอสต็อค อยู่ในที่ชุมนุมอีกที่หนึ่ง ตอนที่ วอลเดน เบลโล กำลังแสดงปาฐกถา จึงไม่ได้อยู่ฟังด้วยตนเอง

The same line from DPA was reproduced in hundreds of newspapers throughout Germany and Europe and contributed to the perception that violence had been deliberately fanned by organizers of the largely peaceful but spirited rally. It was only three days after the event that the main culprit, DPA, retracted the story and apologized to Bello and the organizers. In an item that went out on the wires on June 5, the agency said:

ประโยคที่สำนักข่าว DPA นำเสนอไม่ถูกต้องนี้ ได้รับการเผยแพร่ไปยังหนังสือพิมพ์นับหลายร้อยฉบับ ทั่วเยอรมันนี รวมถึงทวีปยุโรป ทำให้คิดกันไปทั่วว่าอาจจะเกิดความรุนแรงขึ้นจากการปลุกระดมขององค์กรต่างที่จัดการชุมนุมแบบอหิงสาและเน้นความตั้งใจจริงเป็นหลัก สามวันหลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น สำนักข่าว DPA ตัวการสำคัญของเรื่อง ออกมายอมรับผิดและขอโทษ เบลโล และองค์กรที่จัดการชุมนุม ในรายงานข่าวที่ออกอากาศเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน สำนักข่าว DPA กล่าวว่า

A call to war by one of the speakers at the demonstration in Rostock last Saturday did not take place. An investigation of the text of the speech showed that the intervention of Walden Bello had been wrongly translated and reported by the DPA. DPA regrets the flawed reporting and has apologized to the organizers.

ที่กรุงรอสต็อคเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ไม่มีการเรียกร้องให้ก่อสงครามจากผู้ที่ขึ้นกล่าวในการชุมนุมใดๆทั้งสิ้น จากการสืบสวนสอบสวนที่มาของคำพูดดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การปาฐกถาของวอลเดน เบลโล เกิดจากการแปลและการรายงานข่าวที่ผิดพลาดของสำนักข่าว DPA ทางสำนักข่าว DPA ก็ได้แสดงความเสียใจกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งขออภัยองค์กรผู้จัดการชุมนุม

In its correspondent's report about the violence during the demonstration on June 2, DPA had quoted Bello wrongly as calling for ‘bringing war to the demonstration because with peaceful means we will achieve nothing.' Bello actually said in English: ‘We must bring the war into the discussion because without peace there can be no justice.' His demand was in connection with the conflicts in Iraq and Afghanistan. The German translation was ‘We need to bring the war into the discussion because without peace there can be no fight against poverty.'

จากรายงานข่าวของผู้สื่อข่าวสำนักข่าว DPA เกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงในการชุมนุมเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน สำนักข่าว DPA อ้างคำพูดของ เบลโล อย่างผิดๆว่า ต้องทำให้การชุมนุมครั้งนี้เป็นสงคราม ถ้ามัวแต่ใช้วิธีอหิงสา เราจะไม่ได้อะไรเลย ทั้งที่ เบลโล ได้กล่าวเป็นภาษาอังกฤษว่า เราต้องนำเรื่องสงครามเข้าไปเจรจาด้วย เพราะเมื่อไม่มีสันติ ก็จะไม่มีความยุติธรรมเบลโล ต้องการให้จัดการเรื่องความขัดแย้งในอิรักและอาฟกานิสถาน แต่ฉบับแปลภาษาเยอรมันกลายเป็นเราต้องนำสงครามเข้าไปเจรจาด้วย เพราะเมื่อไม่มีสันติ การต่อสู้กับความยากจนจะไม่มีวันเกิดขึ้น

Although DPA apologized, the damage already had been done. Organizers of the G8 Alternative Summit have been very frustrated with the German press' focus on the images of disturbances at the margins of Saturday's largely peaceful rally and its lack of coverage of the issues relating to global justice that are being discussed in the week-long affair that is timed with the G8 meeting in Heiligendamm. There is, indeed, a lively debate on whether the wide transmission of the mistranslation of Bello's message was deliberate on the part of largely conservative German press eager to discredit the alternative summit.

แม้สำนักข่าว DPA จะออกมาขอโทษ แต่ก็ระงับความเสียหายไม่ได้แล้ว ผู้จัดการประชุมสุดยอดผู้นำประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำแปดประเทศรู้สึกสับสนกับสื่อเยอรมัน ที่มุ่งความสนใจไปที่ภาพความวุ่นวายโกลาหล ในการชุมนุมที่ส่วนใหญ่เป็นไปอย่างสงบ แต่กลับไม่ค่อยรายงานการประชุม ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความยุติธรรมให้กับโลก ซึ่งเป็นเรื่องนำมาอภิปรายกันยาวนานตลอดหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งอาจต่อเนื่องถึงการประชุม G8 ที่เมือง Heiligendamm มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างครึกครื้นเกี่ยวกับการแปลคำพูดของเบลโลอย่างผิดๆว่า เกิดจากฝีมือกลุ่มสื่อเยอรมันสายอนุรักษ์นิยม ซึ่งพยายามอย่างยิ่งที่จะทำลายความน่าเชื่อถือของการชุมนุมทางเลือกสุดยอดในครั้งนี้ ใช่หรือไม่

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

บทกล่าวนำเนื่องในวันชาติอเมริกา : เฟรเดอริค ดักลาส และ ฮาเวิร์ด ซินน์

บทความชิ้นนี้ ได้รับการตรวจแก้เรียบร้อยแล้ว จะนำขึ้นเผยแพร่บนเวปไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนในโอกาสต่อไป

ทกล่าวนำเนื่องในงานเฉลิมฉลองวันชาติอเมริกา

4 กรกฏาคม 2543

ฮาวเวิร์ด ซินน์ กล่าว ชำนาญ ยานะ แปล

ักศึกษาปริญญาโท สาขาการแปล

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล


ในงานเฉลิมฉลองวันชาติอเมริกาปีนี้ ข้าพเจ้าไม่สามารถแสดงปาฐกถาใด ให้ลึกซึ้งเกินกว่าที่ เฟรเดอริค ดักลาส เคยแสดงไว้ ในงานฉลองวันประกาศอิสรภาพเมื่อปี พ.ศ. 2495 เขาอดไม่ได้ที่ต้องนึกถึงคำมั่นสัญญาลม ๆ แล้ง ๆ ในคำประกาศอิสรภาพ ทั้งเรื่องความเสมอภาค ชีวิต อิสรภาพ ซึ่งบรรดานายทาสทั้งหลายตราไว้ รวมทั้งการทำให้ระบบทาสถูกต้องตามกฏหมาย ดังระบุไว้ในรัฐธรรมนูญสหรัฐ ภายหลังประกาศ อิสรภาพ จากอังกฤษเป็นผลสำเร็จ เฟรเดอริค ดักลาส ได้รับเชิญให้กล่าวปาฐกถาเพียงสองปีหลังจากสหรัฐอเมริกาออก กฎหมายว่าด้วยทาสที่หลบหนี (Fugitive Slave Act) ทำให้รัฐบาลมีอำนาจเต็มตามกฎหมายที่จะส่งตัวทาสที่หลบหนีกลับไปเป็นทาสตามเดิม


ในยุคที่ตำรวจได้รับยกเว้นโทษในข้อหาฆาตกรรมชายผิวดำที่ปราศจากอาวุธ ในยุคที่เก้าอี้ประหารไฟฟ้าและห้องรมแก๊สพิษถูกนำมาใช้เพื่อลงโทษคนผิวสีมากที่สุด ถือว่าสมควรแล้ว ที่เราพึงหยุดเฉลิมฉลอง แล้วหันมาสดับตรับฟังถ้อยคำอันขื่นขมของเฟรเดอริค ดักลาส :

สหายชาวอเมริกันทั้งหลาย ข้าพเจ้าขออภัย ที่ต้องถามท่านว่า ทำไมถึงเชิญข้าพเจ้ามากล่าวปาฐกถาในวันนี้? ข้าพเจ้าและคนอื่น ๆ เช่นอย่างข้าพเจ้าเกี่ยวอะไรกับวันประกาศอิสรภาพประจำชาติของท่าน? หลักการอันยิ่งใหญ่เรื่องเสรีภาพทางการเมืองและความยุติธรรมตามธรรมชาติ ที่ระบุไว้ในคำประกาศอิสรภาพ มีผลคุ้มครองต่อคนอย่างเราหรือ? สมควรแล้วหรือที่ข้าพเจ้าต้องมาน้อมคำนับแท่นบูชาประจำชาติของท่าน ต้องยอมรับคุณงามความดีและแสดงความตื้นตันกตัญญูในพรที่อิสรภาพของท่านประทานแก่เรา?

ถ้าถามว่า วันชาติอเมริกามีความหมายอย่างไรต่อคนที่เป็นทาส? ข้าพเจ้าขอตอบว่า มันเป็นวันที่แสดงให้เห็นความอยุติธรรมและพฤติกรรมโหดเหี้ยม ซึ่งทาสได้ตกเป็นเหยื่อมาตลอดมากยิ่งกว่าวันไหน ๆ สำหรับคนที่เป็นทาส การเฉลิมฉลองวันชาติเป็นแค่เรื่องเหลวไหลลวงโลก คำอวดอ้างเสรีภาพของพวกท่านเป็นแค่ใบอนุญาตให้ทำสิ่งต่ำทราม ความยิ่งใหญ่ของอเมริกาเป็นแค่ความหลงตนจนตัวพอง เสียงไชโยโห่ร้องเป็นแค่ความว่างเปล่าและไร้หัวใจ คำประณามด่าทอทรราชเป็นแค่ความโอหังหน้าด้าน เสียงตะโกนสรรเสริญเสรีภาพและความเสมอภาคเป็นแค่ถ้อยคำตลกโปกฮาน่าขบขัน คำสวดและเพลงสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งมาพร้อมกับขบวนแห่และความเคร่งศาสนา เป็นแค่เปลือกนอกที่มีแต่ความปลิ้นปล้อนกะล่อนหลอกลวง ไร้ศรัทธา หน้าไหว้หลังหลอก เปรียบเสมือนแค่ผ้าบังตาบางๆ ที่ใช้ปกปิดอาชญากรรม ที่แม้แต่ชนป่าเถื่อนยังต้องอับอาย

ในโมงยามนี้ ไม่มีประเทศใดอีกแล้วในโลก ที่จะสร้างบาปได้น่าขนพองสยองเกล้าและเลือดนองท่วมแผ่นดินได้เท่ากับประชาชนแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา

ลองออกไปค้นหาที่ไหนก็ได้ ลองไปสำรวจทุกระบอบกษัตริย์และเผด็จการ ใน ดินแดนโลกเก่า จงไปให้ทั่วอเมริกาใต้ เสาะสำรวจทุกทารุณกรรมและเมื่อพบจนหมดแล้ว ให้ลองเอาความชั่วเหล่านั้นมาวางเทียบกับทารุณกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวันในประเทศนี้ แล้วคุณจะเห็นพ้องกับผมว่า ทั้งความป่าเถื่อนและพฤติกรรมปลิ้นปล้อนไร้ยางอายนั้น อเมริกาชนะแบบไร้คู่แข่ง……”

หมายเหตุ: ขอขอบพระคุณ คุณภัควดี วีระภาสพงษ์ สำหรับคำแนะนำและการตรวจแก้ให้กับผู้แปล บทความนี้แปลเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษบนเวปไซต์ ZNet

http://www.zmag.org/sustainers/content/2000-07/04zinn.htm

……………………………………….

ต้นฉบับ

July 4 2000

A Fourth of July Commentary By Howard Zinn

In this year 2000, I cannot comment more meaningfully on the Fourth of July than Frederick Douglass did when he was invited in 1852 to give an Independence Day address. He could not help thinking about the irony of the promise of the Declaration of Independence, of equality, life, liberty made by slave owners, and how slavery was made legitimate in the writing of the Constitution after a victory for "freedom" over England. And his invitation to speak came just two years after the passage of the Fugitive Slave Act, committing the national government to return fugitives to slavery with all the force of the law.

So it is fitting, at a time when police are exonerated in the killing of unarmed black men, when the electric chair and the gas chamber are used most often against people of color, that we refrain from celebration and instead listen to Douglass' sobering words:

"Fellow citizens: Pardon me, and allow me to ask, why am I called upon to speak here today? What have I or those I represent to do with your national independence? Are the great principles of political freedom and of natural justice, embodied in that Declaration of Independence, extended to us? And am I, therefore, called upon to bring our humble offering to the national altar, and to confess the benefits, and express devout gratitude for the blessings resulting from your independence to us?

"What to the American slave is your Fourth of July? I answer, a day that reveals to him more than all other days of the year, the gross injustice and cruelty to which he is the constant victim. To him your celebration’s a sham; your boasted liberty an unholy license; your national greatness, swelling vanity; your sounds of rejoicing are empty and heartless; your denunciation of tyrants, brass-fronted impudence; your shouts of liberty and equality, hollow mockery; your prayers and hymns, your sermons and thanksgivings, with all your religious parade and solemnity, are to him mere bombast, fraud, deception, impiety, and hypocrisy -- a thin veil to cover up crimes which would disgrace a nation of savages. There is not a nation of the earth guilty of practices more shocking and bloody than are the people of these United States at this very hour.

"Go and search wherever you will, roam through all the monarchies and despotisms of the Old World, travel through South America, search out every abuse and when you have found the last, lay your facts by the side of the everyday practices of this nation, and you will say with me that, for revolting barbarity and shameless hypocrisy, American reigns without a rival...."

วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

หอเอนเมืองปิซ่า the Pisa Tower



The Piza’s Tower หอเอนเมืองปิซ่า

The Tower of Pisa is the bell tower of the Cathedral. Its construction began in the august of 1173 and continued (with two long interruptions) for about two hundred years, in full fidelity to the original project, whose architect is still uncertain.

หอเอนเมืองปิซ่าเป็นหอระฆังประจำโบสถ์ เริ่มการก่อสร้างตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1173 และสร้างต่อเนื่องอีกประมาณสองร้อยปี โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแบบอาคารต้นฉบับ (มีเหตุให้หยุดการก่อสร้างเป็นระยะยาวนานถึงสองครั้ง) ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ

In the past it was widely believed that the inclination of the Tower was part of the project ever since its beginning, but now we know that it is not so. The Tower was designed to be "vertical" (and even if it did not lean it would still be one of the most remarkable bell towers in Europe), and started to incline during its construction.

ในอดีต เชื่อกันว่าสาเหตุที่หอแห่งนี้เอนเนื่องจากการจงใจสร้าง แต่ทุกวันนี้เราทราบแล้วว่ามันไม่ใช่เช่นนั้น หอได้รับการออกแบบให้ตั้งตรง” (ถึงแม้ว่าหอแห่งนี้จะไม่เอน ก็ยังถือเป็นหอระฆังที่น่าทึ่งแห่งหนึ่งในยุโรป) แต่เริ่มเอนลงระหว่างการก่อสร้าง

Both because of its inclination, and its beauty, from 1173 up to the present the Tower has been the object of very special attention. During its construction efforts were made to halt the incipient inclination through the use of special construction devices; later colums and other damaged parts were substituted in more than one occasion; today, interventions are being carried out within the sub-soil in order to significantly reduce the inclination and to make sure that Tower will have a long life.

เนื่องจากลักษณะที่ไม่ตั้งตรง รวมทั้งความงดงามของหอเอนเมืองปิซา ทำให้สถานที่แห่งนี้ได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นพิเศษตั้งแต่ปี ค.ศ. 1173 จนถึงปัจจุบัน ในระหว่างก่อสร้าง มีความพยายามไม่ให้หอเอนลงอีก ด้วยการใช้เครื่องมือชนิดพิเศษต่างๆ ทั้งใส่เสาเข้าไปใหม่และเปลี่ยนเอาบางส่วนของหอที่เสียหายออก ปัจจุบันยังคงมีความพยายามหยุดไม่ให้หอเอียง ด้วยการขุดลงไปใต้ผืนดิน เพื่อให้หอเอนเมืองปิซาสามารถตั้งอยู่ต่อไปได้นานแสนนาน

In all, this story it is possible to find a meaningful constant, the "genetic code" of the Tower: its continual interaction with the soil on which it was built. Today's (1999) works for the safeguard and the conservation of the Tower with very advanced methodologies are designed to fully respect this constant.

จากเรื่องที่บรรยายมาทั้งหมดนี้ คงพอทำให้เห็นถึง รหัสความเป็นมาน่าพิศวงของหอเอนเมืองปีซ่า ซึ่งก็คือปฏิกิริยาที่มีอย่างต่อเนื่องของหอกับดินที่มันตั้งอยู่ ปัจจุบัน ยังมีความพยายามบูรณปฏิสังขรณ์หอเอนเมืองปิซ่าด้วยวิธีการขั้นสูง เพื่อให้ถาวรวัตถุแห่งนี้คงอยู่ต่อไป

................................................

(ข้อมูลจากเวปไซต์ http://torre.duomo.pisa.it/index_eng.html)