ชาติพันธุ์วิทยาคืออะไร : What is Ethnography?
นักเรียนการแปล เรียบเรียง
เป็นเวลาหลายทศวรรษมาแล้ว ที่ชาติพันธุ์วิทยาได้กลายเป็นการวิจัยทางสังคม (social research) ที่ได้รับความนิยม เช่นเดียวกับการศึกษาสังคมเชิงปริมาณอื่นๆ (qualitative research) ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการศึกษาสังคมเชิงปริมาณ กลายเป็นกระบวนการศึกษาหลักในสาขาสังคมศาสตร์ แม้จะยังได้รับความนิยม แต่การศึกษาเชิงปริมาณก็ก่อให้เกิดการแตกกิ่งก้านอย่างหลากหลาย (diversification) และเกิดแนวคิดแย้ง (disagreement) ทั้งในด้านการให้คำอธิบายและการปฏิบัติ และการเห็นไม่ตรงกัน (dissensus) เกี่ยวกับลักษณะตามธรรมชาติและจุดประสงค์ของการวิจัยเชิงปริมาณ เกิดกระบวนทัศน์ที่หลากหลายขึ้นในการวิจัย
หนังสือเล่มนี้ให้ความหมายของคำว่า ชาติพันธุ์วิทยา ว่าเป็นกระบวนวิธี (method) อย่างหนึ่ง โดยผู้ที่เป็น นักชาติพันธุ์วิทยา (ethnographer) จะต้องเข้าร่วมสังเกตการณ์ อาจเปิดเผยและปกปิดตัวตน เพื่อศึกษาชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นระยะเวลาหนึ่ง สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น ฟังสิ่งที่มีการสื่อออกมา พร้อมทั้งตั้งคำถาม หรือกล่าวในอีกนัยหนึ่งคือ การเก็บข้อมูลต่างๆที่พบ เพื่อหาคำตอบในการศึกษาวิจัย แต่เมื่อนักวิจัยสังคมกลายเป็นผู้สังเกตการณ์ร่วม (participant observer) เป็นเหตุให้ขอบเขตของการศึกษาชาติพันธุ์วิทยาไม่มีลักษณะชัดเจนในตัวเอง จนสามารถแยกตัวเองออกจากการศึกษาเชิงคุณภาพอื่น
ชาติพันธุ์วิทยา เป็นการศึกษาวิจัยสังคมพื้นฐานที่สุด ไม่ใช่เพราะเป็นสาขาวิชาที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเท่านั้น หากแต่เป็นสาขาวิชาที่มีความเหมือน (resemblance) กับวิธีการปกติ ที่มนุษย์ใช้รับรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลก มีนักวิชาการบางท่านมองว่า คุณสมบัติข้อนี้เป็นทั้งข้อเด่นและข้อด้อย แต่ปัจจุบันเริ่มมีการยอมรับแนวทางของชาติพันธุ์วิทยามากขึ้น จนเกิดความต้องการเชื่อมโยงการศึกษาเชิงปริมาณ เข้ากับการศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative technique) แต่ก็มีนักชาติพันธุ์วิทยาบางท่าน ที่พยายามแยกกระบวนการศึกษาให้ต่าง ไปจากที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณ อีกทั้งได้ปฏิเสธความเป็นวิทยาศาสตร์ (science) ของชีวิตกับสังคม (social life) ที่ต้องการทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของมนุษย์ นักวิจัยสังคมเกิดความคิดขัดแย้ง ระหว่างการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ และแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาโลกทางสังคม (social world) ว่าต้องทำโดยวิธีใด
เนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงของแนวคิดเกี่ยวกับวิธีวิทยาทางด้านชาติพันธ์วิทยาระหว่างการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ที่กลายเป็นแบบจำลอง (model) ที่ขับเคี่ยวกันในการศึกษาวิจัยสังคม เริ่มด้วยการที่ทางทางปรัชญา (philosophical position) ระหว่าง ปฏิฐานนิยม (positivism) และ ธรรมชาตินิยม (naturalism) โดยที่ปฏิฐานนิยมเป็นแนวคิดที่อ้างอิงกระบวนการเชิงปริมาณ ขณะที่ ธรรมชาตินิยมอ้างอิงกระบวนการเชิงคุณภาพ
ปฏิฐานนิยม (positivism) มีประวัติศาสตร์ยาวนาน แต่มีอิทธิพลสูงสุดเมื่อได้พัฒนามาเป็น (logical positivism) นำเสนอสภาวะการวิจัยที่เน้นการทดลองและสำรวจ และการศึกษาเชิงปริมาณที่มีกระบวนการวิเคราะห์เชิงทดลองและสำรวจ มีลักษณะโดดเด่น 3 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. วิทยาศาสตร์กายภาพ ในฐานะตรรกะของการทดลอง เป็นแบบจำลองสำหรับศึกษาวิจัยสังคม (physical science, conceived in terms of the logic of the experiment, is the model for social research) นักปฏิฐานนิยมอ้างว่าตนเองใช้แนวคิดเดียวกับวิทยาศาสตร์กายภาพ กล่าวคือสามารถวัดค่าของสิ่งที่ศึกษาได้ เพื่อหาความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น
2. กฎสากล (universal truth) นักปฏิฐานนิยม มักอธิบายลักษณะว่า เป็นสิ่งที่มีลักษณะพื้นฐานที่เป็นสากล ว่าตัวแปรทั้งหลาย (variable) ล้วนแต่มีความสัมพันธ์กัน แม้สถานการณ์จะแตกต่าง นักสังคมศาสตร์ (social scientist) ที่ยึดแนวคิดนี้จึงทำให้เกิดการกำหนดแบบจำลอง (model) เพื่อศึกษาตัวอย่าง เป็นการศึกษาเชิงวิจัย
3. ภาษาในการศึกษาที่เป็นกลาง (neutral observation language) นักปฏิฐานนิยมให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์ที่สัมผัสรับรู้ได้ โดยระบุว่าสิ่งต่างๆในโลก จะเป็นไปตามที่ระบุไว้ในทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ ทุกคนสามารถรับรู้ไม่มีสิ่งใดพิสูจน์ไม่ได้ มีการสร้างมาตรฐานของการเก็บข้อมูล ให้มีลักษณะคงที่ เมื่อมีการตรวจสอบโดยคนอื่นๆในภายหลัง
กล่าวได้ว่า แนวคิดปฏิฐานนิยม คือความเชื่อมั่นในวิธีศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ สร้างแบบจำลองขึ้นจากแนวคิดวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดด้านฟิสิกส์ มุ่งเน้นการทดสอบตามหลักทฤษฏี แยกแยะการค้นพบ (discovery) ออกจากการพิสูจน์ว่าเป็นจริง (justification) ถือว่าสิ่งที่พิสูจน์ได้เป็นวิทยาศาสตร์ แยกขาดจากผลที่เกิดจากความคิดความรู้สึก (common sense) ความจริงเป็นกลาง ปราศจากการครอบงำของระบบคุณค่าของมนุษย์
ธรรมชาตินิยม (naturalism) เสนอแนวคิดว่า ควรศึกษา โลกทางสังคม (social world) ตามสภาวะธรรมชาติ ที่มันเป็น ไม่ควรถูกรบกวนโดยผู้ทำวิจัย ดังนั้นการวิจัยจึงต้องระมัดระวัง ไม่ให้กระทบกระเทือนกับธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ โดยมีจุดปรสงค์เพื่ออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ลักษณะของคนที่เกี่ยวข้องมองภาพลักษณ์ตนเองและมองตัวตนของคนอื่น ในบริบทของสถานการณ์นั้นๆ หัวใจสำคัญของแนวคิดธรรมชาตินิยมคือ การที่นักวิจัยต้องปรับทัศนคติให้ เคารพ (respect) รู้ซึ้งถึงคุณค่า (appreciation) ในโลกทางสังคม สิ่งที่จำเป็นอันดับแรกของการวิจัยสังคม ตามแนวทางธรรมชาตินิยมคือ ความซื่อสัตย์ต่อปรากฏการณ์ที่ศึกษา ไม่ใช่ยึดติดกับวิธีวิทยาการศึกษาใดๆ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะขัดแย้งกับข้อโต้แย้งทางปรัชญาแค่ไหนก็ตาม ในการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ผู้ศึกษาต้องเข้าร่วมในสังคมนั้นๆ เพื่อศึกษาและตีความโลกได้ถูกต้อง ตามที่คนที่ศึกษาตีความ แทนที่จะศึกษาแบบนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ที่ทำความเข้าใจพฤติกรรมด้วยปรากฏการณ์ทางกายภาพประเภทต่างๆ (physical phenomena) ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เชื่อว่า ความรู้ที่ได้มาอย่างบริสุทธิ์เป็นกลางนั้น ไม่มีจริง กระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าการวิจัยตามแนวคิดสะท้อนกลับ ต้องประกอบด้วยอุดมการณ์ทางการเมือง แต่เป้าหมายของการวิจัยคือการสร้างองค์ความรู้
ในหัวข้อ การวิจารณ์แบบปฏิสัจนิยมและแบบการเมืองของธรรมชาตินิยม (anti-realist and political critiques of naturalism) ให้ข้อมูลว่า ชาติพันธุ์วิทยาและการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ ยังมีความพยายามรวมวิธีเอาการวิจัยเชิงปริมาณเข้ามาใช้ด้วย แต่กระนั้น แนวคิดทั้งสองก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าละเลยที่จะตรวจสอบแนวคิดทางปรัชญาและทางการเมือง ที่ปรากฏอยู่ในการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แม้ว่า ปฏิฐานนิยม จะแตกต่างกับธรรมชาตินิยม แต่ก็มีหลายประเด็นที่เหมือนกัน เช่นแนวคิดทั้งคู่ต่างใช้หลักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เพียงแต่ตีความต่างประเด็นกันเท่านั้น จุดร่วมกันของสองแนวคิดคือ นำเสนอความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคม ว่า เป็นสิ่งที่ปลอดพ้นอิทธิพลของผู้ศึกษาวิจัย หมายความว่า การวิจัยตามแนวคิดทั้งสอง จะต้องไม่มีการกระทำหรือความคิดเชิงการเมืองของผู้วิจัยไปแทรกแซงผลของการวิจัย กระนั้นก็ตาม ก็มีนักชาติพันธุ์วิทยาหลายท่านเริ่มตั้งคำถามต่อความคิดนี้
ผู้วิจารณ์แนวคิดปฏิฐานนิยมและธรรมชาตินิยม เนื่องจากทั้งสองแนวคิดเสนอว่า การทำวิจัยสังคมต้องแสดงปรากฏการณ์ออกมาในรูปตัวหนังสือ ผ่านการเก็บข้อมูลและนำเสนอให้ตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่คำถามคือ ถ้าอย่างนั้นปฏิฐานนิยมและธรรมชาตินิยมก็ไม่ต่างอะไรกับสัจนิยม (realism) อนึ่งคำวิจารณ์นี้ เกิดจากความไม่ลงตัวภายในวิชาชาติพันธุ์วิทยาเอง ระหว่างคุณลักษณะแบบธรรมชาตินิยม (characteristic) ของกระบวนการทำวิจัยของนักชาติพันธุ์วิทยากับแนวคิดโครงสร้างนิยม (constructivism) และแนวคิดสัมพัทธิ์นิยมทางวัฒนธรรม (cultural relativism) ที่ทำให้มีมุมมองอย่างนั้น ทั้งนี้รวมถึงพฤติกรรมของผู้ที่เข้าไปศึกษาด้วย
ในห้วข้อเรื่อง การเมืองเรื่องชาติพันธุ์วิทยา (The politics of ethnography) แสดงข้อมูลว่า ผู้ยึดถือแนวคิดธรรมชาตินิยม มีความคิดเช่นเดียวกับผู้มีแนวคิดปฏิฐานนิยมคือ ต้องการศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ด้วยการสะท้อนธรรมชาติของปรากฏการณ์นั้นๆ อย่างปราศจากค่านิยมหรือแนวคิดทางการเมือง กระนั้นผู้ยึดแนวคิดทั้งสองแบบ ก็ตระหนักดีว่า การวิจัยนั้นย่อมได้รับผลกระทบจากค่านิยมของผู้วิจัยอย่างแน่นอน ดังนั้น ผู้มีแนวคิดธรรมชาตินิยมจึงต้องการลดอิทธิพลจากแนวคิดของผู้วิจัยให้น้อยเท่าที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้การศึกษาสื่อออกมาได้ใกล้เคียงความเป็นจริง หลายปีที่ผ่านมาแนวคิดเป็นกลาง (neutrality) หรือเป็นภววิสัย (objectivity) ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลาย จนมีบางกลุ่มต้องออกมาใช้ศัพท์ใหม่ว่า การวิจัยที่เปิดกว้างทางอุดมการณ์ (openly ideological research) ทั้งนี้ส่วนหนึ่งได้แนวคิดจากอิทธิพลของ แนวคิดสายมาร์กซิสและทฤษฏีวิพากย์ (critical theory) รวมถึงทฤษฏีสายสตรีนิยม (feminism)
การสะท้อนกลับ (reflexivity) เป็นลักษณะของการวิจัยเชิงสังคม เป็นประเด็นหนึ่งที่นักชาติพันธ์วิทยาและนักวิชาการสาขาอื่นๆ ให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานประเภท ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (natural history) แนวคิดนี้กล่าว่า สิ่งที่ผู้วิจัยศึกษาจะมีลักษณะที่โน้มเอียงไปยังผู้ศึกษา เนื่องจากอิทธิพลจากสภาพสังคมและประวัติศาสตร์ ทั้งที่เป็น ค่านิยม (value) ความสนใจ (interest) การสะท้อนกลับปฏิเสธแนวคิดว่า การวิจัยสามารถทำได้อย่างอิสระ ปราศจากอิทธิพลใดๆ อย่างสิ้นเชิง การสะท้อนกลับเป็นคุณลักษณะสำคัญของการวิจัยสังคม เพราะการวิจัยสายนี้ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ทำวิจัย ด้วยการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นๆ เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะไม่ให้เราใช้ความรู้ที่มาจากสามัญสำนึก และเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงไมให้มันกระทบกับปรากฏการณ์ทางสังคมที่เราศึกษาได้ เราไม่จำเป็นต้องละทิ้งความรู้ที่ได้จากสามัญสำนึก (commonsense knowledge) เพียงแต่ระบุให้มันถูกต้องตามที่มันควรจะเป็น คนเราไม่มีมาตรฐานตายตัวที่จะมาตัดสินแนวคิดว่าถูกหรือผิดได้เด่นชัด แต่เราสามารถใช้ความรู้ที่เรามีได้ โดยที่ต้องระลึกไว้เสมอว่า มันอาจจะมีความผิดพลาดปรากฏ ข้อสงสัยสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อคิดได้เช่นนี้ จะทำให้เราคิดได้ว่า ได้พยายามอธิบายปรากฏการณ์อย่างที่มันเป็นจริง ไม่ใช่ศึกษาตามที่เราอยากให้มันเป็น มันเป็นเรื่องปกติ เพราะในชีวิตประจำวัน เราก็มักจะคิดเอาเองโดยไม่ได้ศึกษาสิ่งรอบตัวอยู่แล้ว หรือหากนำมาทดสอบก็ยากที่จะทำได้อย่างครบถ้วน
นอกจากนั้น เราต้องตระหนักอีกว่า การวิจัยเป็นกระบวนที่เกิดจากการกระทำ เกิดการเลือกศึกษาข้อมูลบางส่วน และตีความด้วยทฤษฏีบางทฤษฏี ตามที่ผู้วิจัยเห็น ดังนั้นบางประเด็นจึงหลงเหลือไม่ได้ศึกษา องค์ความรู้หรือผลการศึกษาที่ได้ แม้ไม่ครบถ้วน ก็ไม่ได้หมายความว่า เราไม่ได้ศึกษาปรากฏการณ์จริงๆ ในการศึกษามนุษย์ เราไม่ได้พึ่งเฉพาะข้อมูลที่มีเท่านั้น เรายังลดปฏิกิริยาและควบคุมมันอีกด้วย นั่นคือเรานำข้อมูลมาปรับเพ่อใช้ประโยชน์ อีกทั้งการปรากฏตัวของนักวิจัยอาจเป็นประโยชน์ สำหรับศึกษาว่า ในสถานการณ์อื่น ผู้ทีถูกศึกษามีปฏิกิริยาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
จากเนื้อหาทั้งหมด เราสามารถสรุปได้ว่า การตรวจสอบการสร้างโครงสร้างใหม่เกี่ยวกับตรรกะของการวิจัยเชิงสังคมและปัญหาของตรรกะนี้ ที่ส่งผลต่อวิชาชาติพันธ์วิทยา แนวคิดปฏิฐานนิยม (positivism) และแนวคิดธรรมชาตินิยม (naturalism) ต่างไม่สามารถแสดงกรอบโครงสร้างได้อย่างเพียงพอ ทั้งสองแนวคิดต่างไม่ตรวจสอบการสะท้อนกลับพื้นฐาน (fundamental reflexivity) ด้วยความจริงที่ว่า พวกเราต่างอยู่ในโลกที่เราศึกษา และไม่มีทางหลีกเร้นจากการพึ่งพิง (reliance) ความรู้และกระบวนการตรวจสอบที่อาศัยสามัญสำนึกได้ การวิจัยเชิงสังคมทั้งหมดต้องอาศัยการสำรวจตรวจสอบของมนุษย์ เราทุกคนมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม ดังนั้นสิ่งที่เราแสดงออก จึงสะท้อนสังคมที่เราอยู่ การกระทำของเราจึงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังคม อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กล่าวนี้ก็นำไปสู่ข้อสงสัยว่าการวิจัยสังคมจะสามารถสร้างความรู้ได้หรือไม่ หรือทำได้เพียงแต่เปลี่ยนสิ่งที่วิจัยให้กลายเป็นสิ่งประกอบสร้างทางการเมือง (political enterprise) เท่านั้น ในการศึกษา การสะท้อนกลับ ให้รากฐานของตรรกะการตั้งคำถามแบบรื้อถอนโครงสร้าง (reconstructed logic of inquiry) ที่มีลักษณะคล้ายแนวคิดปฏิฐานนิยมและธรรมชาตินิยม แต่ การสะท้อนกลับ (reflexivity) เป็นลักษณะของการวิจัยเชิงสังคม เป็นประเด็นหนึ่งที่นักชาติพันธ์วิทยาและนักวิชาการสาขาอื่นๆ ให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานประเภท ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (natural history)
หนังสือเล่มนี้ให้ความหมายของคำว่า ชาติพันธุ์วิทยา ว่าเป็นกระบวนวิธี (method) อย่างหนึ่ง โดยผู้ที่เป็น นักชาติพันธุ์วิทยา (ethnographer) จะต้องเข้าร่วมสังเกตการณ์ อาจเปิดเผยและปกปิดตัวตน เพื่อศึกษาชีวิตประจำวันของมนุษย์ เป็นระยะเวลาหนึ่ง สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น ฟังสิ่งที่มีการสื่อออกมา พร้อมทั้งตั้งคำถาม หรือกล่าวในอีกนัยหนึ่งคือ การเก็บข้อมูลต่างๆที่พบ เพื่อหาคำตอบในการศึกษาวิจัย แต่เมื่อนักวิจัยสังคมกลายเป็นผู้สังเกตการณ์ร่วม (participant observer) เป็นเหตุให้ขอบเขตของการศึกษาชาติพันธุ์วิทยาไม่มีลักษณะชัดเจนในตัวเอง จนสามารถแยกตัวเองออกจากการศึกษาเชิงคุณภาพอื่น
ชาติพันธุ์วิทยา เป็นการศึกษาวิจัยสังคมพื้นฐานที่สุด ไม่ใช่เพราะเป็นสาขาวิชาที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานเท่านั้น หากแต่เป็นสาขาวิชาที่มีความเหมือน (resemblance) กับวิธีการปกติ ที่มนุษย์ใช้รับรู้สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลก มีนักวิชาการบางท่านมองว่า คุณสมบัติข้อนี้เป็นทั้งข้อเด่นและข้อด้อย แต่ปัจจุบันเริ่มมีการยอมรับแนวทางของชาติพันธุ์วิทยามากขึ้น จนเกิดความต้องการเชื่อมโยงการศึกษาเชิงปริมาณ เข้ากับการศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative technique) แต่ก็มีนักชาติพันธุ์วิทยาบางท่าน ที่พยายามแยกกระบวนการศึกษาให้ต่าง ไปจากที่ใช้ในการศึกษาเชิงปริมาณ อีกทั้งได้ปฏิเสธความเป็นวิทยาศาสตร์ (science) ของชีวิตกับสังคม (social life) ที่ต้องการทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของมนุษย์ นักวิจัยสังคมเกิดความคิดขัดแย้ง ระหว่างการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ และแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาโลกทางสังคม (social world) ว่าต้องทำโดยวิธีใด
เนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงของแนวคิดเกี่ยวกับวิธีวิทยาทางด้านชาติพันธ์วิทยาระหว่างการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ที่กลายเป็นแบบจำลอง (model) ที่ขับเคี่ยวกันในการศึกษาวิจัยสังคม เริ่มด้วยการที่ทางทางปรัชญา (philosophical position) ระหว่าง ปฏิฐานนิยม (positivism) และ ธรรมชาตินิยม (naturalism) โดยที่ปฏิฐานนิยมเป็นแนวคิดที่อ้างอิงกระบวนการเชิงปริมาณ ขณะที่ ธรรมชาตินิยมอ้างอิงกระบวนการเชิงคุณภาพ
ปฏิฐานนิยม (positivism) มีประวัติศาสตร์ยาวนาน แต่มีอิทธิพลสูงสุดเมื่อได้พัฒนามาเป็น (logical positivism) นำเสนอสภาวะการวิจัยที่เน้นการทดลองและสำรวจ และการศึกษาเชิงปริมาณที่มีกระบวนการวิเคราะห์เชิงทดลองและสำรวจ มีลักษณะโดดเด่น 3 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. วิทยาศาสตร์กายภาพ ในฐานะตรรกะของการทดลอง เป็นแบบจำลองสำหรับศึกษาวิจัยสังคม (physical science, conceived in terms of the logic of the experiment, is the model for social research) นักปฏิฐานนิยมอ้างว่าตนเองใช้แนวคิดเดียวกับวิทยาศาสตร์กายภาพ กล่าวคือสามารถวัดค่าของสิ่งที่ศึกษาได้ เพื่อหาความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น
2. กฎสากล (universal truth) นักปฏิฐานนิยม มักอธิบายลักษณะว่า เป็นสิ่งที่มีลักษณะพื้นฐานที่เป็นสากล ว่าตัวแปรทั้งหลาย (variable) ล้วนแต่มีความสัมพันธ์กัน แม้สถานการณ์จะแตกต่าง นักสังคมศาสตร์ (social scientist) ที่ยึดแนวคิดนี้จึงทำให้เกิดการกำหนดแบบจำลอง (model) เพื่อศึกษาตัวอย่าง เป็นการศึกษาเชิงวิจัย
3. ภาษาในการศึกษาที่เป็นกลาง (neutral observation language) นักปฏิฐานนิยมให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์ที่สัมผัสรับรู้ได้ โดยระบุว่าสิ่งต่างๆในโลก จะเป็นไปตามที่ระบุไว้ในทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ ทุกคนสามารถรับรู้ไม่มีสิ่งใดพิสูจน์ไม่ได้ มีการสร้างมาตรฐานของการเก็บข้อมูล ให้มีลักษณะคงที่ เมื่อมีการตรวจสอบโดยคนอื่นๆในภายหลัง
กล่าวได้ว่า แนวคิดปฏิฐานนิยม คือความเชื่อมั่นในวิธีศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ สร้างแบบจำลองขึ้นจากแนวคิดวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดด้านฟิสิกส์ มุ่งเน้นการทดสอบตามหลักทฤษฏี แยกแยะการค้นพบ (discovery) ออกจากการพิสูจน์ว่าเป็นจริง (justification) ถือว่าสิ่งที่พิสูจน์ได้เป็นวิทยาศาสตร์ แยกขาดจากผลที่เกิดจากความคิดความรู้สึก (common sense) ความจริงเป็นกลาง ปราศจากการครอบงำของระบบคุณค่าของมนุษย์
ธรรมชาตินิยม (naturalism) เสนอแนวคิดว่า ควรศึกษา โลกทางสังคม (social world) ตามสภาวะธรรมชาติ ที่มันเป็น ไม่ควรถูกรบกวนโดยผู้ทำวิจัย ดังนั้นการวิจัยจึงต้องระมัดระวัง ไม่ให้กระทบกระเทือนกับธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ โดยมีจุดปรสงค์เพื่ออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ลักษณะของคนที่เกี่ยวข้องมองภาพลักษณ์ตนเองและมองตัวตนของคนอื่น ในบริบทของสถานการณ์นั้นๆ หัวใจสำคัญของแนวคิดธรรมชาตินิยมคือ การที่นักวิจัยต้องปรับทัศนคติให้ เคารพ (respect) รู้ซึ้งถึงคุณค่า (appreciation) ในโลกทางสังคม สิ่งที่จำเป็นอันดับแรกของการวิจัยสังคม ตามแนวทางธรรมชาตินิยมคือ ความซื่อสัตย์ต่อปรากฏการณ์ที่ศึกษา ไม่ใช่ยึดติดกับวิธีวิทยาการศึกษาใดๆ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะขัดแย้งกับข้อโต้แย้งทางปรัชญาแค่ไหนก็ตาม ในการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ผู้ศึกษาต้องเข้าร่วมในสังคมนั้นๆ เพื่อศึกษาและตีความโลกได้ถูกต้อง ตามที่คนที่ศึกษาตีความ แทนที่จะศึกษาแบบนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ที่ทำความเข้าใจพฤติกรรมด้วยปรากฏการณ์ทางกายภาพประเภทต่างๆ (physical phenomena) ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้เชื่อว่า ความรู้ที่ได้มาอย่างบริสุทธิ์เป็นกลางนั้น ไม่มีจริง กระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าการวิจัยตามแนวคิดสะท้อนกลับ ต้องประกอบด้วยอุดมการณ์ทางการเมือง แต่เป้าหมายของการวิจัยคือการสร้างองค์ความรู้
ในหัวข้อ การวิจารณ์แบบปฏิสัจนิยมและแบบการเมืองของธรรมชาตินิยม (anti-realist and political critiques of naturalism) ให้ข้อมูลว่า ชาติพันธุ์วิทยาและการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ ยังมีความพยายามรวมวิธีเอาการวิจัยเชิงปริมาณเข้ามาใช้ด้วย แต่กระนั้น แนวคิดทั้งสองก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าละเลยที่จะตรวจสอบแนวคิดทางปรัชญาและทางการเมือง ที่ปรากฏอยู่ในการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ แม้ว่า ปฏิฐานนิยม จะแตกต่างกับธรรมชาตินิยม แต่ก็มีหลายประเด็นที่เหมือนกัน เช่นแนวคิดทั้งคู่ต่างใช้หลักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เพียงแต่ตีความต่างประเด็นกันเท่านั้น จุดร่วมกันของสองแนวคิดคือ นำเสนอความเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคม ว่า เป็นสิ่งที่ปลอดพ้นอิทธิพลของผู้ศึกษาวิจัย หมายความว่า การวิจัยตามแนวคิดทั้งสอง จะต้องไม่มีการกระทำหรือความคิดเชิงการเมืองของผู้วิจัยไปแทรกแซงผลของการวิจัย กระนั้นก็ตาม ก็มีนักชาติพันธุ์วิทยาหลายท่านเริ่มตั้งคำถามต่อความคิดนี้
ผู้วิจารณ์แนวคิดปฏิฐานนิยมและธรรมชาตินิยม เนื่องจากทั้งสองแนวคิดเสนอว่า การทำวิจัยสังคมต้องแสดงปรากฏการณ์ออกมาในรูปตัวหนังสือ ผ่านการเก็บข้อมูลและนำเสนอให้ตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่คำถามคือ ถ้าอย่างนั้นปฏิฐานนิยมและธรรมชาตินิยมก็ไม่ต่างอะไรกับสัจนิยม (realism) อนึ่งคำวิจารณ์นี้ เกิดจากความไม่ลงตัวภายในวิชาชาติพันธุ์วิทยาเอง ระหว่างคุณลักษณะแบบธรรมชาตินิยม (characteristic) ของกระบวนการทำวิจัยของนักชาติพันธุ์วิทยากับแนวคิดโครงสร้างนิยม (constructivism) และแนวคิดสัมพัทธิ์นิยมทางวัฒนธรรม (cultural relativism) ที่ทำให้มีมุมมองอย่างนั้น ทั้งนี้รวมถึงพฤติกรรมของผู้ที่เข้าไปศึกษาด้วย
ในห้วข้อเรื่อง การเมืองเรื่องชาติพันธุ์วิทยา (The politics of ethnography) แสดงข้อมูลว่า ผู้ยึดถือแนวคิดธรรมชาตินิยม มีความคิดเช่นเดียวกับผู้มีแนวคิดปฏิฐานนิยมคือ ต้องการศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ด้วยการสะท้อนธรรมชาติของปรากฏการณ์นั้นๆ อย่างปราศจากค่านิยมหรือแนวคิดทางการเมือง กระนั้นผู้ยึดแนวคิดทั้งสองแบบ ก็ตระหนักดีว่า การวิจัยนั้นย่อมได้รับผลกระทบจากค่านิยมของผู้วิจัยอย่างแน่นอน ดังนั้น ผู้มีแนวคิดธรรมชาตินิยมจึงต้องการลดอิทธิพลจากแนวคิดของผู้วิจัยให้น้อยเท่าที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้การศึกษาสื่อออกมาได้ใกล้เคียงความเป็นจริง หลายปีที่ผ่านมาแนวคิดเป็นกลาง (neutrality) หรือเป็นภววิสัย (objectivity) ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลาย จนมีบางกลุ่มต้องออกมาใช้ศัพท์ใหม่ว่า การวิจัยที่เปิดกว้างทางอุดมการณ์ (openly ideological research) ทั้งนี้ส่วนหนึ่งได้แนวคิดจากอิทธิพลของ แนวคิดสายมาร์กซิสและทฤษฏีวิพากย์ (critical theory) รวมถึงทฤษฏีสายสตรีนิยม (feminism)
การสะท้อนกลับ (reflexivity) เป็นลักษณะของการวิจัยเชิงสังคม เป็นประเด็นหนึ่งที่นักชาติพันธ์วิทยาและนักวิชาการสาขาอื่นๆ ให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานประเภท ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (natural history) แนวคิดนี้กล่าว่า สิ่งที่ผู้วิจัยศึกษาจะมีลักษณะที่โน้มเอียงไปยังผู้ศึกษา เนื่องจากอิทธิพลจากสภาพสังคมและประวัติศาสตร์ ทั้งที่เป็น ค่านิยม (value) ความสนใจ (interest) การสะท้อนกลับปฏิเสธแนวคิดว่า การวิจัยสามารถทำได้อย่างอิสระ ปราศจากอิทธิพลใดๆ อย่างสิ้นเชิง การสะท้อนกลับเป็นคุณลักษณะสำคัญของการวิจัยสังคม เพราะการวิจัยสายนี้ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ทำวิจัย ด้วยการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นๆ เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะไม่ให้เราใช้ความรู้ที่มาจากสามัญสำนึก และเราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงไมให้มันกระทบกับปรากฏการณ์ทางสังคมที่เราศึกษาได้ เราไม่จำเป็นต้องละทิ้งความรู้ที่ได้จากสามัญสำนึก (commonsense knowledge) เพียงแต่ระบุให้มันถูกต้องตามที่มันควรจะเป็น คนเราไม่มีมาตรฐานตายตัวที่จะมาตัดสินแนวคิดว่าถูกหรือผิดได้เด่นชัด แต่เราสามารถใช้ความรู้ที่เรามีได้ โดยที่ต้องระลึกไว้เสมอว่า มันอาจจะมีความผิดพลาดปรากฏ ข้อสงสัยสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อคิดได้เช่นนี้ จะทำให้เราคิดได้ว่า ได้พยายามอธิบายปรากฏการณ์อย่างที่มันเป็นจริง ไม่ใช่ศึกษาตามที่เราอยากให้มันเป็น มันเป็นเรื่องปกติ เพราะในชีวิตประจำวัน เราก็มักจะคิดเอาเองโดยไม่ได้ศึกษาสิ่งรอบตัวอยู่แล้ว หรือหากนำมาทดสอบก็ยากที่จะทำได้อย่างครบถ้วน
นอกจากนั้น เราต้องตระหนักอีกว่า การวิจัยเป็นกระบวนที่เกิดจากการกระทำ เกิดการเลือกศึกษาข้อมูลบางส่วน และตีความด้วยทฤษฏีบางทฤษฏี ตามที่ผู้วิจัยเห็น ดังนั้นบางประเด็นจึงหลงเหลือไม่ได้ศึกษา องค์ความรู้หรือผลการศึกษาที่ได้ แม้ไม่ครบถ้วน ก็ไม่ได้หมายความว่า เราไม่ได้ศึกษาปรากฏการณ์จริงๆ ในการศึกษามนุษย์ เราไม่ได้พึ่งเฉพาะข้อมูลที่มีเท่านั้น เรายังลดปฏิกิริยาและควบคุมมันอีกด้วย นั่นคือเรานำข้อมูลมาปรับเพ่อใช้ประโยชน์ อีกทั้งการปรากฏตัวของนักวิจัยอาจเป็นประโยชน์ สำหรับศึกษาว่า ในสถานการณ์อื่น ผู้ทีถูกศึกษามีปฏิกิริยาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
จากเนื้อหาทั้งหมด เราสามารถสรุปได้ว่า การตรวจสอบการสร้างโครงสร้างใหม่เกี่ยวกับตรรกะของการวิจัยเชิงสังคมและปัญหาของตรรกะนี้ ที่ส่งผลต่อวิชาชาติพันธ์วิทยา แนวคิดปฏิฐานนิยม (positivism) และแนวคิดธรรมชาตินิยม (naturalism) ต่างไม่สามารถแสดงกรอบโครงสร้างได้อย่างเพียงพอ ทั้งสองแนวคิดต่างไม่ตรวจสอบการสะท้อนกลับพื้นฐาน (fundamental reflexivity) ด้วยความจริงที่ว่า พวกเราต่างอยู่ในโลกที่เราศึกษา และไม่มีทางหลีกเร้นจากการพึ่งพิง (reliance) ความรู้และกระบวนการตรวจสอบที่อาศัยสามัญสำนึกได้ การวิจัยเชิงสังคมทั้งหมดต้องอาศัยการสำรวจตรวจสอบของมนุษย์ เราทุกคนมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม ดังนั้นสิ่งที่เราแสดงออก จึงสะท้อนสังคมที่เราอยู่ การกระทำของเราจึงเป็นสิ่งที่มีอยู่ในสังคม อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กล่าวนี้ก็นำไปสู่ข้อสงสัยว่าการวิจัยสังคมจะสามารถสร้างความรู้ได้หรือไม่ หรือทำได้เพียงแต่เปลี่ยนสิ่งที่วิจัยให้กลายเป็นสิ่งประกอบสร้างทางการเมือง (political enterprise) เท่านั้น ในการศึกษา การสะท้อนกลับ ให้รากฐานของตรรกะการตั้งคำถามแบบรื้อถอนโครงสร้าง (reconstructed logic of inquiry) ที่มีลักษณะคล้ายแนวคิดปฏิฐานนิยมและธรรมชาตินิยม แต่ การสะท้อนกลับ (reflexivity) เป็นลักษณะของการวิจัยเชิงสังคม เป็นประเด็นหนึ่งที่นักชาติพันธ์วิทยาและนักวิชาการสาขาอื่นๆ ให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานประเภท ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (natural history)
.........................