วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2551

เพื่อนแท้ของคนจน : วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์


เพื่อนแท้ของคนจน
ผู้ยืนหยัดต่อสู้เพื่อคนจนในสังคมไทย ตราบจนวาระสุดท้าย
ศุภรา จันทร์ชิดฟ้า และวาสนา ชินวรากร เขียน
ชำนาญ ยานะ แปล
................................................

หมายเหตุ: ผู้แปลขอขอบคุณคุณศุภราและคุณวาสนา ซึ่งเป็นผู้เขียนบทความนี้ที่กรุณาสละเวลาตรวจแก้และให้คำแนะนำกับผู้แปล. บทความต้นฉบับภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ฉบับวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา หนึ่งในผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยี่ยมพี่มด (วนิดา ตันติวิทยาพิทักษ์) ที่บ้านน้องชายของเธอ พี่มดพักรักษาตัวที่นั่นภายหลังเข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง ในคณะที่ไปเยี่ยมคราวนั้นมีพี่ภินันท์ โชติรสเศรณี นักธุรกิจผู้ผันตัวเองเป็นนักรณรงค์สิ่งแวดล้อมจากกาญจนบุรี ร่วมเดินทางไปด้วย ระหว่างที่สนทนาถึงเรื่องปัญหาสังคมไทยและการค้นหาทางเลือกทางออกจากปัญหาอยู่นั้น พี่มดได้แสดงความห่วงใยถึงความเป็นไปได้ที่เขื่อนศรีนครินทร์ ที่กาญจนบุรี จังหวัดบ้านเกิดของพี่ภินันท์อาจจะพังถล่มลงมา เพราะที่ตั้งเขื่อนอยู่ในเขตรอยเลื่อนแผ่นดินไหว พี่มดพูดด้วยน้ำเสียงอ่อนล้าว่า “ถ้าเขื่อนพังลงมาจริงๆแล้ว คนท้ายเขื่อนจะเป็นยังไงกันหนอ”

พี่มดขอร้องพี่ภินันท์ว่า “พี่(ภินันท์)ช่วยให้ข้อมูลกับชาวบ้านต่อไปนะ ส่วนมดจะสู้เคียงข้างพี่จนถึงที่สุด”

ในวันนั้น แม้แก้มพี่มดจะซูบตอบ ส่วนผมก็บาง เหลือเพียงไม่กี่เส้น (เนื่องจากการทำเคมีบำบัด) แต่ดวงตาของพี่มดยังเปล่งประกาย ริมฝีปากที่แห้งผากยังฉายแววมุ่งมั่น พร้อมยืนหยัดท้าทายผู้มีอำนาจ มันเป็นริมฝีปากคู่เดียวกับที่เคยพูดจาอย่างมีมิตรไมตรีกับคนจนที่ได้พบเจอ ไม่ว่าจะเป็นคนหาปลาผู้เดือดร้อนจากเขื่อนปากมูลและเขื่อนอื่นๆ ชาวสลัมในกรุงเทพและเมืองใหญ่ทั้งหลาย คนงานโรงงานซึ่งสุขภาพถูกบั่นทอนจากสภาพแวดล้อมเป็นพิษ คนจนด้อยโอกาสทั่วประเทศไทย กลับเริ่มมีความหวังขึ้นมาใหม่ เพราะผลพวงจากงานของพี่มดและเพื่อนพ้องชาว “สมัชชาคนจน” ที่ทำร่วมกันมากว่าหนึ่งทศวรรษ

รายชื่อยาวเหยียดของคนจนเหล่านี้ ยังสะท้อนให้เห็นว่า ตลอดระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา นโยบายการพัฒนาประเทศนั้นบิดเบี้ยวเพียงใด โครงการขนาดใหญ่วางแผนจากส่วนกลาง ไม่คำนึงถึงคนท้องถิ่น และเกิดขึ้นเพียงเพื่อสร้างผลประโยชน์ระยะสั้นให้กับนักการเมืองและผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

การก้าวเข้ามาทำงานเพื่อคนจนของพี่มด ได้พลิกเปลี่ยนเรื่องเล่าเดิมๆ ที่เคยกล่าวถึงคนจนที่ถูกปล้นวิถีทำมาหากินจนต้องลุกขึ้นสู้ เรื่องเล่าที่แทบไม่มีคนสนใจมาก่อน แน่นอน การก้าวเข้ามาทำงานกับคนจนของพี่มด ย่อมสร้างความไม่พอใจต่อผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายรัฐหลายต่อหลายคน

ถูกล่ะ สมัชชาคนจนยังมีข้อจำกัดนานัปการ แต่อีกด้านหนึ่ง สมัชชาฯก็นับเป็นเครือข่ายแรกๆที่ประสบความสำเร็จในการรวบรวมชาวบ้านจากทั่วประเทศ เพื่อต่อรองอำนาจกับภาครัฐ จนอย่างน้อยครั้งหนึ่ง รัฐบาลต้องยอมจ่าย “ค่าเสียโอกาส” ให้กับชาวบ้านที่หาปลาไม่ได้ตลอดระยะเวลา 3 ปีของการสร้างเขื่อนปากมูล เหตุการณ์เช่นนี้ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย

ภายหลังที่เขื่อนปากมูลเปิดใช้งาน ปลาในแม่น้ำมูนได้ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง ขัดแย้งกับสิ่งที่เจ้าหน้าที่รัฐเคยสัญญาไว้กับชาวบ้าน ยิ่งเมื่อมีผลการศึกษาของคณะกรรมการเขื่อนโลกในเวลาต่อมา ที่ระบุว่า เขื่อนปากมูลผลิตกระแสไฟฟ้าได้น้อยกว่าที่วางแผนไว้แต่แรก รัฐบาลทักษิณยิ่งถูกกดดันจนในที่สุด ต้องยอมให้เปิดประตูเขื่อนปีละสี่เดือน การท้าทายรัฐบาลของคนจนด้อยโอกาสเหล่านี้ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย (อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านปากมูนก็ยังคงต้องเดินทางมาประท้วงที่กรุงเทพฯ ทุกปี เพื่อ “เตือนความจำ” ให้รัฐบาลปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้ จนกระทั่งต้นปี ๒๕๕๐ เมื่อรัฐบาลสุรยุทธ์ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีที่ว่าโดยสิ้นเชิง)

พี่มดเกิดที่กรุงเทพฯเมื่อ พ.ศ. 2498 ความสนใจในปัญหาคนด้อยโอกาสได้ฉายแววมาตั้งแต่อายุยังน้อย สมัยที่พี่มดย่างเข้าวัยรุ่น เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ขบวนการประชาชนซึ่งมีนักศึกษาเป็นแกนนำกำลังเติบโต ภายหลังจากตกอยู่ภายใต้การปกครองแบบกดขี่จากรัฐบาลทหารเป็นเวลายาวนาน

ในสมัยที่เรียนมัธยมปลาย พี่มดได้เข้าร่วมเหตุการณ์ 14 ตุลา ซึ่งนำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลถนอม-ประภาสได้เป็นผลสำเร็จ ช่วงเวลาสามปีที่ประชาธิปไตยกำลังเบ่งบานนั้น (พ.ศ. 2516- พ.ศ. 2519) พี่มดเข้าร่วมงานรณรงค์เคลื่อนไหวหลายเรื่อง ที่โดดเด่นได้แก่การเข้าร่วมกับคนงานหญิงโรงงานยีนส์ฮาร่า ในครั้งนั้น คนงานหญิงได้บุกเข้ายึดโรงงาน ภายหลังเจรจากับนายจ้างล้มเหลวมาหลายรอบ เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนั้น สะท้อนให้เห็นว่าคนงานสามารถเป็นเจ้าของโรงงานที่ดำเนินการเพี่อคนงาน และโดยคนงานได้อย่างแท้จริงเป็นครั้งแรก

ทว่า เหตุการณ์สังหารหมู่นักศึกษาฝ่ายซ้าย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ทำให้ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยดังกล่าวต้องยุติลง พี่มดเองก็ต้องหนีเข้าป่า ไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยรวมทั้งหมดเป็นเวลา 4 ปี

ในปี พ.ศ. 2524 พี่มดกลับมากรุงเทพอีกครั้ง เพื่อเรียนต่อจนจบปริญญาตรี ในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่นั้น พี่มดต้องทำงานสารพัดอย่างเพื่อช่วยครอบครัวใช้หนี้ รวมทั้งส่งเสียให้น้องๆเรียนหนังสือด้วย แม้จะมีรายได้อยู่ในขั้นดีพอสมควร แต่เมื่อจัดการแก้ไขภาระหนี้สินของครอบครัวหมดแล้ว พี่มดกลับเลือกที่จะทำในสิ่งที่ตนเองรัก นั่นคือการไปทำงานกับคนจนและเพื่อคนจน

หลายปีก่อนที่เหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้จะปะทุขึ้น หนึ่งในผู้เขียนบทความและพี่มดได้ไปเดินตลาดสดแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี ขณะที่กำลังเดินสำรวจตลาดอยู่นั้น พี่มดได้เล่าย้อนเหตุการณ์สมัยอยู่ฐาน พคท. ในแถบนั้นว่า สมัยก่อนพื้นที่ป่าบริเวณนั้นยังอุดมสมบูรณ์ดี เพราะสมาชิก พคท. ร่วมกันดูแลเพื่อใช้เป็นที่หลบซ่อนตัว

พี่มดชี้ให้เราดูแผงขายหมูและแผงขายเนื้อที่ตั้งร้านอยู่ติดกัน “เห็นไหมชาวบ้านเขาอยู่ร่วมกันได้ ความแตกต่างทางศาสนา (ระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิม) ไม่ใช่ปัญหา คนนอกต่างหากที่แทรกแซงจนเขามีเรื่องกัน”
แม้งานรณรงค์เรียกร้องสิทธิคนจนของพี่มดเองจะถูกมองว่าเป็นเรื่อง “คนนอกแทรกแซง” เช่นกัน แต่อันที่จริง ต้องเข้าใจบริบทแวดล้อมและจิตเจตนาของพี่มดเองก่อน หนึ่งในบทสัมภาษณ์พี่มดที่มีไม่กี่ชิ้น (ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในเว็ปไซต์ไทยเอ็นจีโอ) ได้ชี้ให้เห็นว่า ที่ผ่านมาประชาชนต้องเผชิญกับกระบวนการลิดรอนสิทธิ จนไร้อำนาจตัดสินชะตาชีวิตตัวเอง พี่มดกล่าวว่าหน้าที่ของตนเองนั้นคือ การพยายามเอื้อให้ประชาชนเหล่านั้นได้ตระหนักในสิทธิ์อำนาจของตัวเอง “ลองคิดดูว่าชาวบ้านไม่มีอะไรในมือ กฎหมาย ทหาร ตำรวจ หรือเทศกิจ หรืออาวุธ (เพื่อปกป้องตัวเอง) ไม่ว่ากรณีใด แค่นั่งคุยกันเรื่องโครงการ (พัฒนา) หรือความไม่ชอบธรรมก็ถูกจับเสียแล้ว สมัยก่อนชาวบ้านปากมูลเวลาจะพูดคุยกันเรื่องเขื่อนต้องไปนั่งพูดคุยกันในทุ่ง แอบๆ ไปกัน”

พี่มดเชื่อว่าความรู้คืออำนาจ หลายปีที่ทำงานเคลื่อนไหว พี่มดได้ใช้ความรู้ช่วยเหลือคนด้อยอำนาจมาโดยตลอด พี่มดได้เปลี่ยนโฉมหน้าขบวนการเคลื่อนไหวระดับรากหญ้าในประเทศไทย ซึ่งต่างจากนักเคลื่อนไหวในอดีต (หรือแม้แต่ในปัจจุบัน) ที่มีภูมิหลังเป็นคนชั้นกลาง จบมหาวิทยาลัย มีเงินเดือนประจำ พี่มดเป็นหนึ่งในนักเคลื่อนไหวเพียงไม่กี่คน ที่ใช้ยุทธการขับเคลื่อนมวลชนแบบใหม่ เพาะบ่มผู้นำที่มาจากมวลชนนั้นๆเอง ผู้นำชาวบ้านที่เป็นคนท้องถิ่นที่กล้าท้าทายโครงการขนาดใหญ่ที่ถูกรัฐและ/หรือกลุ่มทุนยัดเยียดให้ ถึงแม้ภูมิหลังและเนื้อหาของปัญหาที่เผชิญจะแตกต่างกันไป แต่สิ่งทีผู้นำมวลชนสายพันธุ์ใหม่นี้ มีร่วมกัน คือการเรียกร้องความเป็นธรรมในสังคม ชาวประมงแห่งปากมูนและชาวบ้านทั่วประเทศที่ได้เข้ามาร่วมกับสมัชชาคนจน ได้เรียนรู้ที่จะ เลิกหวาดกลัวผู้มีอำนาจ และกลับมาเชื่อมั่นในสิทธิพลเมืองของตนเอง

ที่สำคัญ บทบาทความสัมพันธ์ระหว่างปัญญาชนและชาวบ้านก็ได้เปลี่ยนแปลงไป สมัชชาคนจนเป็นตัวอย่างที่บุกเบิกการสลายความคิดแบ่งแยกชนชั้น เปิดโอกาสให้ชาวบ้านเข้ามามีบทบาทนำ ในฐานะ พ่อครัวใหญ่ โดยมีพี่มดและนักเคลื่อนไหวอื่นๆ ซึ่งเป็นคนชนชั้นกลางมีการศึกษา ทำหน้าที่เป็นเพียงที่ปรึกษาเท่านั้น ยุคประชาธิปไตยเพื่อมวลชนที่แท้จริงได้เริ่มขึ้นแล้ว เป็นประชาธิปไตยที่ไปพ้นการเลือกตั้งและการแย่งชิงอำนาจกันอย่างที่เคยเป็นมา

เมื่อปี พ.ศ. 2545 นายพลหม่อง เอ รองคณะมนตรีด้านสันติภาพและการพัฒนาของพม่า มีกำหนดเยือนประเทศไทย รัฐมนตรีคนหนึ่งในรัฐบาลทักษิณ ซึ่งเคยเป็นอดีตสหายร่วมเหตุการณ์เดือนตุลา ได้ขอร้องให้พี่มดย้ายที่ชุมนุมสมัชชาคนจน เพื่อไม่ให้เป็นที่ “อุจาดตา” ผู้นำพม่า แต่พี่มดปฏิเสธคำขอดังกล่าวโดยระบุว่า เป็นโอกาสดีของผู้นำพม่า ที่จะได้เรียนรู้ว่าประชาธิปไตยที่แท้จริงของไทยนั้นเป็นอย่างไร

จะว่าไปแล้ว กระบวนการสร้างประชาธิปไตยของสมัชชาคนจนนั้นเป็นกรณีศึกษาที่โดดเด่นซึ่งขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนทั้งในและต่างประเทศอื่นๆ ควรจะนำไปเรียนรู้เพิ่มเติม ยุทธวิธีที่สมัชชาคนจนริเริ่มมีหลากหลาย อาทิเช่น การรวบรวมชาวบ้านหลายพันคนทั่วประเทศมาผนึกกำลังกันเรียกร้องความเป็นธรรมโดยการตั้ง “หมู่บ้านประท้วง” เป็นครั้งแรก หน้าทำเนียบรัฐบาล (เป็นเวลายาวนานติดต่อกันถึง 99 วัน) และในอีกหลายพื้นที่ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ ยังมี การอดอาหารประท้วง การจัดขบวนยาตราทั่วภาคอีสาน การทำงานวิจัยไทบ้านครั้งแรกในประเทศไทย (งานวิจัยนี้ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่นจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ) วิธีการต่างๆเหล่านี้ล้วนสะท้อนความสามารถในการใช้ภูมิปัญญาแก้ปัญหาและความมุ่งมั่นที่จะตัดสินชะตาชีวิตด้วยตนเองของชาวบ้านในหลายๆรูปแบบ ช่วงเวลาที่ชาวบ้านร่วมใจกันต่อสู้นี้ ในหลายต่อหลายครั้ง เป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านต้องทนนั่งหรือเดินกรำแดดเป็นกิโลๆ ต้องกล้ำกลืนความขมขื่น เผชิญความหวาดระแวงหรือคำเหยียดหยามดูถูกจากคนเมืองผู้ไม่เข้าใจปัญหา และในหลายๆครั้ง ต้องสูญเสียเลือดเนื้อในขณะปะทะกับกำลังเจ้าหน้าที่ของรัฐ

ตัวพี่มดเองก็ถูกฟ้องในหลายข้อหา (และบางคดีก็ยังอยู่ในชั้นศาล) มีความเป็นไปได้อย่างมาก ที่ชื่อพี่มดอาจจะอยู่ใน “บัญชีดำ” ลำดับต้นๆของหน่วยงานรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เจ้าของโครงการเขื่อนปากมูลและโครงการพัฒนาอื่นๆ
แต่ไม่เคยมีสักครั้งที่ผู้หญิงคนนี้จะยอมแพ้

คนที่เคยทำงานกับพี่มด ล้วนกล่าวเป็นเสียงเดียวกันถึงความเป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย การใช้ชีวิตอย่างสมถะ คิดถึงคนอื่นก่อนตัวเองเสมอ (มีหลายครั้งที่พี่มดได้รับการเสนอชื่อให้รับรางวัลเกียรติยศ แต่ทุกครั้งพี่มดก็จะตอบปฏิเสธไป) ความกล้าหาญของพี่มดเป็นสิ่งที่หาได้ยากในสังคมปัจจุบัน และที่เหนือไปกว่านั้น คือการรู้จักให้อภัย แม่สมปอง เวียงจันทน์ แกนนำสมัชชาคนจน เคยเล่าให้ฟังว่า พี่มดมักพูดกับแม่สมปองเสมอ ถึงการให้อภัยคนที่มาสร้างปัญหาทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน พี่มดขอให้แม่สมปองสู้ด้วยจิตใจที่อาจหาญ โดยไม่ต้องพะวงกับผลลัพธ์ คำพูดหนึ่งที่แม่สมปองยกมาคือ “วันนี้เราอาจจะแพ้ ถ้าเราไม่ท้อถอยมันก็คงจะมีวันของเราบ้าง”

พี่มดอุทิศตนทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย จนกระทั่งวันที่ล้มป่วยด้วยโรคมะเร็ง ที่จริงแล้ว พี่มดไม่ได้สู้โรคร้ายแต่เพียงลำพัง ยังมีชาวบ้านหลายพันคนที่คอยเอาใจช่วย เมื่อได้ทราบข่าวร้ายนี้ ชาวบ้านพวกนี้ต่างถือว่าพี่มดคือมิตรแท้ แม้พวกเขาจะไม่สามารถมอบสิ่งใดเพื่อตอบแทนพี่มดได้ นอกจากข้าวเหนียว และปลาร้า รวมถึงสายตาที่บ่งบอกถึงความซาบซึ้งต่อสิ่งที่พี่มดได้ทำเพื่อพวกเขามาโดยตลอดชีวิต

ไม่กี่วันก่อนวาระสุดท้าย เพื่อนสนิทของพี่มดได้เดินทางมาเยี่ยมให้กำลังใจกันหลายคน หนึ่งในนั้นคือพี่รสนา โตสิตระกูล เพื่อนร่วมชั้นสมัยเรียนมัธยม

พี่รสนาเล่าว่าแม้ขณะที่พี่มดพูดแทบไม่ได้ พี่มดยังยื่นมือมาจับแขนพี่รสนา พร้อมกับพูดเบาๆว่า “บ้านเมืองคงต้องฝากให้เธอดูแลต่อไปแล้วนะ”

พี่มดเสียชีวิตเมื่อเวลา 13 นาฬิกาของวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ทิ้งภารกิจที่เคยทำมาตลอดชีวิตให้คนที่ยังอยู่ได้สืบสานต่อ พี่มดจากพวกเราไป สี่วัน ก่อนวันครบรอบสิบสองปีของสมัชชาคนจนซึ่งพี่มดได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง

.....................................
OBITUARY / WANIDA TANTIWITAYAPITAK (1955-2007)
An activist and true friend of the poor
Right up till the very last days of her life, Wanida Tantiwitayapitak continued to hold on to her fiery mission to serve the underprivileged in Thailand
By SUPARA JANCHITFAH and VASANA CHINVARAKORN
The Bangkok Post December 8, 2007
..............................................................................

A few months ago we visited Wanida Tantiwitayapitakat at her brother's house where she was resting after a series of treatments for cancer. Accompanying us was Phinun Chotirosseranee, a businesswoman-turned-environmentalist from Kanchanaburi. During our conversation, which touched on the usual subjects of social problems and possible alternatives, Wanida raised her concern about the safety of the Sri Nakharin dam in Ms Phinun's hometown. ''The structure of the dam is not solid; it is located in an earthquake-prone area,'' Wanida made the observation in her feeble voice. ''What will happen to people who live downstream if the dam collapses?
''But please continue your campaign to raise public awareness,'' Wanida asked Ms Phinun. ''I will try my best to fight alongside with you,'' she said.

Despite her bony cheeks and sparse hair (due to chemotherapy), Wanida's eyes still shone; her parched lips maintained their stubborn character, ever ready to challenge the powers that be. But they were the very same lips which always spoke kindly to the poor she came across, be they the fisherfolk affected by the Pak Moon and other dam projects, the slum people in Bangkok and other big cities, the factory workers whose health had been ravaged due to poor environment... The list of the downtrodden whose lives began to feel a glimmer of hope, thanks to Wanida and her peers at the Assembly of the Poor (AoP), is long and diverse.

The list is also a testament to how misguided Thailand's development policies have been over the last five decades. Centrally planned, with little consideration for the locals, the mega projects have adamantly been imposed for short-term profit (of politicians and the few local influential people) and not much else.

The entrance of Wanida on the scene has - to the annoyance of policy-makers - significantly reshaped the otherwise mundane narratives of the poor being robbed of their livelihood and having to fend for themselves.

The AoP, for all its limitations, is the very first effective networking of villagers from all corners of the country who have managed to coerce a certain bargaining power vis-a-vis the national administration. Unprecedented in this country's history, the government was obliged to pay compensation for ''the loss of opportunity'' to the Isan villagers affected by the Pak Moon dam who were not able to fish during the three-year construction period.

Contrary to the authority's promises, the stocks of fish continued to dwindle after the dam went into operation, and with the subsequent finding by the World Commission on Dams that the project yielded far less electricity power than originally projected, the Thaksin cabinet was pressured to open the dam's gates for four months a year. Such a challenge to the state by the downtrodden had never before been heard of in Thailand.

(However, the Pak Moon villagers have had to rally every year to remind the government to fulfil its promise. Early this year, the Surayud cabinet cancelled the cabinet's resolution altogether.)

Born in Bangkok in 1955, Wanida demonstrated her interest in, and concern for, the less privileged from a very young age. Her teenage years coincided with the growing civil movement, mostly student-led, after years of suppressive military regimes.

Still a senior high school student, she took part in the historic Oct 14, 1973 uprising that toppled the Thanom-Prapass government. During the three-year interlude of so-called
''democracy'' (1973-1976), Wanida worked on various campaigns, notably with the women workers at Hara Jeans factory.

The legendary siege by the Hara workers, after unsuccessful rounds of negotiations with the employers over unfair treatment, witnessed the very first attempt to run an enterprise by and for workers themselves.

The bloody massacre of leftist students on Oct 6, 1976 put an abrupt halt to such endeavours. Wanida herself fled to join the Communist Party of Thailand in the jungle, where she stayed for about four years.

In 1981 she returned to the capital, completed her university education, worked for a couple of years to repay the family's debts and support her younger siblings' schooling.

Despite the good income, after completing her family duty, Wanida resumed her labour of love: that of working with and for the poor.

Long before the southern violence erupted, during our stroll through a fresh food market in Pattani, Wanida recalled the time she spent at a CPT base nearby. The forest there was still in pristine condition, she remarked, for the CPT members had been protecting it as their hideout.
She also commented on how the southern vendors of pork and beef could put up their booths near one another. ''See how the folk here can live together - religious differences [between Muslims and Buddhists] are not a problem. It is the outsiders' interference that usually pits people against one another.''

Ironically, Wanida's own line of public campaigning on behalf of the poor throughout the kingdom suffered a similar charge of ''outside interference''. But one needs to understand the difference in context - and in intention.

In an interview with Thai NGO.org online newsletter, Wanida explained how the common folk have been deprived of their right to control their own destiny. Her job was to empower their voice. ''They don't have anything at all. No law, no army, police, civilian officials or weapons [to protect them]. Even to talk among themselves about whether or not a [development] project is justified could land them in jail. Back then, the Pak Moon villagers had to sneak out into the fields to talk about the dam.''

For Wanida, knowledge was power. And her years of social work were put to good use in support of the powerless. Again, Wanida more or less started a new chapter in Thailand's grassroots movement. Unlike the previous (and even current) generations of activists who are typically from the middle class, with a university education and enjoying regular salaries, Wanida was one of the very few who embarked on a new type of public campaign, one that would later see a blossoming of quintessentially mass-based leaders _ those who are native to the land and dare to challenge the imposition of mega projects.

Despite the differences in their background and nature of problems facing them, this new breed of grassroots leaders shared a common cause: a search for justice.

The fisherfolk of Ubon Ratchathani, for example, have become confident of their rights. They no longer feel embarrassed or shy about speaking up. More importantly, the role of intellectuals vis-a-vis villagers has been reversed. The Assembly of the Poor was a pioneer in doing away with hierarchies: the villagers now took a front-seat role as por krua yai (core members) while Wanida and other educated middle-class activists served as advisers. The new era had begun.
It would be a dramatic, larger-than-life step towards real democracy. A democracy that went beyond the routine of elections and the perennial struggle for power.

During a planned state visit by General Maung Aye, vice chairman of Burma's State Peace and Development Council, in 2002, Wanida was asked by a member of Thaksin Shinawatra's cabinet, a former associate from the October generation, to relocate the demonstrations by the AoP to a secluded spot so that it would not be ''an eyesore'' for the Burmese delegation.

She refused, arguing that the Burmese leaders should have a chance to learn what Thai-style democracy actually was all about.

In retrospect, the democratisation process was a class in itself, for both Thailand and other countries, to take lessons from; a process that saw thousands of villagers across the nation joining hands to set up the country's first protest village, right in front of Government House (once lasting 99 days) and at several other sites.

The villagers' ingenuity and sense of determination has been manifest in various forms _ hunger protests, long marches throughout the Isan region, a completion of Thailand's first grassroots-based research (that went on to win the Best Research of the Year award from the National Public Health Foundation).

In between the moments of glory have been times of bitterness, sweat, clashes, doubts, physical and verbal confrontation.

Wanida herself was slapped with several lawsuits (some of which have yet to reach their final verdict). For the energy policy planners, in particular the Electricity Generating Authority of Thailand, Wanida was probably at the very top of their blacklist.
But this woman never wavered.

Those who have worked with Wanida have invariably commented on her consistency, simple lifestyle, selflessness (she turned down several nominations for awards), and remarkable courage. And the willingness to forgive.

Sompong Wiangjand, an AoP core member, said Wanida often told her how important it was to forgive those who have wreaked havoc on the villagers' lives. She also encouraged Ms Sompong to keep up the fighting spirit, regardless of the results.

''We may lose today, but we can always fight again tomorrow,'' Ms Sompong quoted her sister-friend as saying.

Up until the day she fell ill with cancer, Wanida tirelessly devoted herself to her mission. It has not been a lonely struggle: she cultivated long-lasting friendships with thousands of villagers who considered her their true friend. They had nothing to offer her besides sticky rice and fish, and a gaze that revealed their deep gratitude for what she was trying to do on their behalf.

A few days before her death, some close friends of Wanida paid her a visit. One was Rosana Tositrakul, who had been her classmate back in high-school days.

Ms Rosana later related how Wanida, though barely able to speak, placed her hand on hers and said softly: ''Please continue the work for the country for me.''

Wanida passed away at 1pm on Dec 6, 2007, leaving her life-long mission for others to carry on. It was four days short of the 12th anniversary of the Assembly of the Poor, which she co-founded.

……………………..