วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ประชาธิปัตย์แถลงนโยบายใหม่พรรค

....................
ปชป.แถลงนโยบายใหม่พรรค
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สัญญาจะผลักดันนโยบายหลักของพรรคภายใต้คำขวัญ “ประชาชนต้องมาก่อน”
นายอภิสิทธิ์ ให้คำมั่นในระหว่างการประชุมประจำปีของพรรคว่า จะช่วยฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยด้วยการรับรองรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พร้อมแนะให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไปเข้าคูหาใช้สิทธิ์ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เองก็จะส่งผู้สมัครลงแข่งขันด้วย ทั้งนี้หัวหน้าพรรคกล่าวอีกว่า ทางกองทัพที่กระทำรัฐประหารโค่นล้มอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ถึงเวลากลับเข้ากรมกองแล้ว หลังประเทศไทยได้ระบอบประชาธิปไตยคืนมาอีกครั้ง

นายอภิสิทธิ์แถลงว่า ตนเองไม่คิดว่าภาคเอกชนต้องช่วยเหลือคนจน แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจของประเทศไม่มีทางดีขึ้น ถ้าไม่แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและความอยู่ดีมีสุขของประชาชนเป็นอย่างแรกนอกจากนั้น นายอภิสิทธิ์สัญญาด้วยว่าจะผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัว เพื่อให้คนจนมีรายได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกษตรกรที่ผลิตพืชผลทางการเกษตรเลี้ยงโลก
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า เป็นหน้าที่หลักของรัฐบาลที่ต้องจัดทำโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจในพื้นที่ชนบทซึ่งประสบปัญหาความยากจนทั่วทั้งประเทศ คนจนต้องมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ให้มากที่สุดจากโครงการลงทุนที่คุ้มค่าและมีให้เลือกหลากหลาย ขณะเดียวกัน ต้องพัฒนาโครงการชลประธานให้ครอบคลุมพื้นที่เกษตรในพื้นที่ทุรกันดารให้กว้างขวางกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการต้องได้รับการสนับสนุนให้เข้มแข็ง

นายอภิสิทธิ์ระบุว่า ควรมีมาตรการจำกัดการขนส่งที่มีต้นทุนสูงภายในประเทศ เช่น การขนส่งสินค้าจากพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ควรสร้างเส้นทางขนส่งสินค้าโดยตรง เช่นท่าเรือบริเวณทะเลอันดามันสำหรับภาคใต้และระบบรถไฟคู่ขนานสำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ตนเองจะผลักดันโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และโครงการเพื่อพัฒนาการศึกษา นอกจากนั้นยังให้ความเห็นอีกว่าว่าประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของประทศ โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องหยุดการทำร้ายกันและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
การเลือกตั้งทั่วไปคาดว่าจะมีขึ้นในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้
………………………………………

Thailand’s Oldest Party Announces New Policy Platform

BANGKOK, July 21 Democrat Party leader Abhisit Vejjajiva pledged Saturday to push forward several major party policies under a ‘‘People Come First‘‘ platform.

During the annual party caucus, Mr. Abhisit pledged to help restore democratic rule by endorsing the newly-drafted constitution and urging eligible voters to go to the polls which his Democrat Party will contest. The military, which had staged last year's coup to oust former prime minister Thaksin Shinawatra, are bound to return to their barracks after democratic rule has returned to the country, the Democrat leader said.

Mr. Abhisit said he did not believe the private sector should necessarily take care of the poor, but said the national economy will not improve unless the people's economy and well-being have been restored in the first place.

In addition, Mr. Abhisit vowed to push for economic recovery so that the poor earn higher income, especially the farmers who have been feeding the world with their farm products and food.

Rural, poverty-stricken areas throughout the country should top government priorities for economic restoration projects, he said. The impoverished people should be entitled to optimum benefits from varied, cost-effective investment schemes while irrigation projects should be developed to cover wider farmland in remote areas than today and industries and service businesses should be strengthened.

Thailand's high logistics costs involving the transport of goods should be substantially reduced, he said. For instance, goods from the northeastern and southern regions of the country should have direct access to export markets, such as an Andaman Sea port for the South and a double railroad system for the Northeast. The Democrat leader said he will push for human resources and educational development projects and see to it that people in all parts of the country, especially those in the southernmost provinces, stop from harming one another and begin to co-exist in peace.

The general election is expected to be held in December this year.

การแปลและการเซ็นเซอร์ในยุโรป

Translation and Censorship in European Environments
การแปลและการเซ็นเซอร์ในยุโรป
Antonia Keratsa เขียน ชำนาญ ยานะ เรียบเรียง
Translation Journal Volume 9, No. 3 July 2005

บทความชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการแปลภายใต้ระบบการเซ็นเซอร์ เป็นการสำรวจกลไกการจัดการกับต้นฉบับ ทั้งดัดแปลงบิดเบือนหรือกำจัดเนื้อหาต้นฉบับ เพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง ในประวัติศาสตร์ของยุโรป การเซ็นเซอร์งานแปลถูกนำมาอ้างว่าเป็นเครื่องมือในการปกป้องวัฒนธรรมของชาติจากอิทธิพลต่างชาติ ขณะเดียวกันก็เชิดชูอุดมการณ์ชาตินิยมของชนชั้นนำในประเทศนั้น เนื้อหาในบทความนี้มุ่งสำรวจและตรวจสอบอุตสาหกรรมการแปลในสามประเทศได้แก่

1. อิตาลีภายใต้ระบอบฟาสซิสต์
2. เยอรมันภายใต้ระบอบนาซี
3. สเปนภายใต้การนำของนายพลฟรังโก
………………………………

1. การแปลและการเซ็นเซอร์ในอิตาลีใต้ระบอบฟาสซิสต์
Translation and Censorship in Fascist Italy

รัฐบาลอิตาลีของนายกรัฐมนตรี เบนิโต มุสโสลินี ต้องการให้ประชาชนหลงใหลระบอบการปกครองแบบฟาสซิสต์ เพื่อนำไปสู่การสถาปนาอุดมการณ์ฟาสซิสต์ให้มั่นคงในสังคมอิตาลี มุสโสลินีต้องการให้ประชาชนเชื่อว่า ตนเองกำลังนำพาประเทศไปพบกับความสำเร็จ สู่ความมีอารยธรรมที่รุ่งเรือง และเหตุผลอีกประการหนึ่งคือ รัฐบาลมุสโสลินีต้องการปกป้องตนเองจากคำวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับพฤติกรรมเผด็จการ ดังนั้นรัฐบาลจึงควบคุมการสื่อสารทุกประเภทเช่น วิทยุ ภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ สำนักพิมพ์และหนังสือ


ช่วงทศวรรษที่ 1920 ยังไม่มีการเซ็นเซอร์จากส่วนกลาง ไม่มีการแยกวรรณกรรมอิตาเลียนจากวรรณกรรมต่างประเทศ กฎเกณฑ์ควบคุมการแปลยังไม่มีบัญญัติ ช่วงทศวรรษที่ 1930 อิตาลีตีพิมพ์งานแปลมากกว่าประเทศใดๆในยุโรป ส่วนใหญ่จะเป็นผลงานจากอังกฤษและอเมริกา ต่อมารัฐบาลไม่ต้องการให้อิตาลีรับอิทธิพลจากต่างชาติมากเกินไป เพราะนั่นสะท้อนถึงความล้มเหลวของการปฏิวัติชาติสู่ระบอบฟาสซิสต์ เพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ จึงได้มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรมออกกฎหมายควบคุมงานแปล

สำนักพิมพ์ถูกบังคับให้แจ้งและขออนุญาตก่อนพิมพ์งานแปลหนังสือต่างประเทศ งานแปลจำพวกบันเทิงถูกจำกัด บางครั้งก็ถูกเซ็นเซอร์ตามคำสั่งรัฐบาล สำนักพิมพ์จำใจต้องเซ็นเซอร์ตัวเองก่อนตีพิมพ์หนังสือ เนื่องจากการห้ามจำหน่ายหลังตีพิมพ์อาจทำให้สูญเสียเงินจำนวนมหาศาล จนอาจทำให้บริษัทล้มละลายได้

งานแปลชื่อ Americana เป็นหนังสือชุดสองเล่ม รวมงานประพันธ์ที่นักเขียนอิตาเลียนร่วมสมัยหลายท่านร่วมกันแปล ได้ถูกห้ามตีพิมพ์ถึงสองครั้ง ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาลอยากแสดงให้ว่าไม่ต้องการเป็นมิตรกับอเมริกา ไม่เว้นแม้แต่กับวรรณกรรม แต่ในที่สุดรัฐบาลก็ตัดสินใจอนุญาตให้ตีพิมพ์ กระนั้นก็ตามหลายส่วนของหนังสือเล่มนี้ถูกตัดออกให้สอดคล้องกับอุดมการณ์ของรัฐบาล

เห็นได้ชัดว่า ยุทธการรวมทั้งมาตรการลงโทษขั้นรุนแรงของมุสโสลินี มีจุดประสงค์เพื่อรวบอำนาจมาไว้กับรัฐบาล เชิดชูค่านิยมแบบฟาสซิสต์และแยกวัฒนธรรมอิตาเลียนให้พ้นอิทธิพลต่างชาติ อย่างไรก็ตาม ชาวอิตาเลียนรู้สึกชื่นชอบวัฒนธรรมต่างชาติ ทำให้รัฐบาลไม่สามารถสร้างระบบเซนเซอร์ที่มีประสิทธิภาพ มาต่อต้านการรุกรานของวัฒนธรรมต่างชาติและจัดการอุตสาหกรรมการแปลได้

2. การแปลและการเซ็นเซอร์ในเยอรมนียุครัฐบาลนาซี
Translation and Censorship in Nazi Germany

ในรัฐบาลพรรคนาซีของอดอร์ฟ ฮิตเลอร์ นักแปลถูกมองว่าเป็นศัตรูของวัฒนธรรมประจำชาติ วารสารของรัฐบาลนาซีระบุว่าการแปลเป็นภัยต่อความจริงและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสังคมเยอรมัน อีกทั้งเป็นอันตรายต่อวัฒนธรรมที่พรรคนาซีสร้างขึ้น รัฐบาลจึงสั่งให้ต่อต้านการคุกคามของต่างชาติด้วยการส่งเสริมวรรณกรรมนาซี ห้ามสิ่งพิมพ์ใดๆที่ขัดแย้งกับอุดมการณ์นาซี ที่มุ่งเชิดชูจิตวิญญาณความเป็นเยอรมัน ด้านเชื้อชาติ ความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ความเป็นผู้นำ แบบแผนความเป็นชาย/หญิง ความเป็นชนบทที่ตรงกันข้ามกับความเป็นเมืองซึ่งชั่วร้าย เป็นการปกป้องประชาชนเยอรมันจากอิทธิพลที่คุกคามจากต่างประเทศ

ช่วงทศวรรษที่ 1930 ยังไม่มีมาตรการควบคุมหนังสือและงานแปลอย่างเป็นกิจลักษณะ ทำให้ผลของการละเมิดเป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ ก่อให้เกิดความกลัวและความรู้สึกไม่ปลอดภัยให้กับสำนักพิมพ์ การเซ็นเซอร์ตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญในตอนนั้น เพราะสำนักพิมพ์ไม่อยากสูญเสียเงิน อันอาจเกิดการถูกสั่งห้ามจำหน่าย ภายหลังปี 1933 การควบคุมสื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานแปล ได้บัญญัติเป็นกฎหมาย การเซนเซอร์ก่อนตีพิมพ์เป็นไปอย่างจริงจัง การเซนเซอร์ดำเนินการโดยกระทรวงโฆษณาการของ ดร. พอล โจเซฟ เกิบเบิล และองค์กรตำรวจลับเกสตาโป การกระทำนี้ยากที่จะรู้ได้ เนื่องจาก “ทำก่อนการจำหน่ายหนังสือและก่อนนำหนังสือเข้าห้องสมุด”

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง งานแปลทั้งหมดจากประเทศศัตรูถูกเซ็นเซอร์อย่างหนัก รัฐบาลสร้างภาพว่าวัฒนธรรมต่างชาติต่ำต้อยและเป็นอันตรายต่อวัฒนธรรมประจำชาติ พรรคนาซีโฆษณาชวนเชื่อผ่านนิตยสารสายการเมืองของพรรคชื่อ Bucherkund ซึ่งตีพิมพ์รายเดือนตั้งแต่ปี 1934 ถึง 1944 มีการนำเสนอผลงานที่ “แนะนำ”และ”ไม่แนะนำ” ให้อ่าน ควบคู่กับบทวิจารณ์งานแปลซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส ตลอดจนหัวข้ออื่นที่เกี่ยวกับวรรณกรรมร่วมสมัย ต่อมางานแปลทั้งสองภาษาถูกกำจัดออกไป คงเหลือเพียงงานแปลภาษาอื่นที่ ”เป็นมิตร”มากกว่า นอกจากนั้น งานแปลเป็นภาษาเยอรมันจะได้รับยกย่อง ถ้าแสดงความเป็นต่างชาติแต่เพียงน้อย และภาพลักษณ์วัฒนธรรมต่างชาติที่ถูกต้องต้องยึดตามที่พรรคนาซีกำหนดเท่านั้น

ตัวอย่างวรรณกรรมฝรั่งเศสและอังกฤษที่แปลเป็นภาษาเยอรมัน แต่ถูกสร้างภาพให้นำเสนอความต่ำต้อยในวัฒนธรรมต้นฉบับได้แก่ วรรณกรรมเรื่อง Minuit ของ Julien Green ในฉบับแปล มีการสร้างภาพชาวฝรั่งเศสให้เป็นคนจิตใจหยาบช้า ไม่ยึดถือหลักการใดๆทั้งสิ้น นอกจากนี้ วรรณกรรมเรื่อง "Autobiography of a Cad" ของ AG MacDonnell ได้ถูกนำมาแปลโดยสร้างภาพว่า ความจริงแล้ว ชาวอังกฤษเป็นพวกชนชั้นต่ำนิสัยชอบประจบประแจง
นอกจากจะควบคุมงานแปลแล้ว กิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการแปลและศิลปะก็ถูกเซ็นเซอร์และบิดเบือนด้วย ด้วยเหตุที่ชาวเยอรมันถือว่าการแสดงบนเวทีมักมีเรื่องการเมือง ศีลธรรมจรรยา รัฐบาลนาซีจึงตัดส่วนประกอบที่เห็นว่าเป็นวัฒนธรรมต่างชาติ เป็นอันตรายต่อการละครของประเทศ กระทรวงวัฒนธรรมของรัฐบาลนาซีจึงเล่นบทจอมเซ็นเซอร์ ใช้อำนาจจัดการกำกับควบคุมบทละครต่างประเทศ ก่อนการนำขึ้นแสดงบนเวที

ในเยอรมันยุคนาซี การแปลถูกมองว่าเลวร้าย มีอันตราย ทำให้วัฒนธรรมในฉบับแปลแปดเปื้อนด้วยความเป็นต่างชาติ ดังนั้น งานแปลที่เห็นว่าขัดกับหลักการของประเทศจึงถูกแก้ไขและเซ็นเซอร์ นักแปลถูกเนรเทศและฆ่าตาย ส่วนสำนักพิมพ์ที่ดื้อแพ่งก็มักพบจุดจบ

3. การแปลและการเซนเซอร์ในสเปนยุคนายพลฟรังโก
Translation and Censorship in Franco's Spain

การเซ็นเซอร์วัฒนธรรมจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับรัฐบาลนายพลฟรานซิสโก ฟรังโก เพราะถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบอบเผด็จการ ไม่เช่นนั้นรัฐบาลของนายพลฟรังโก จะไม่สามารถควบคุมสังคมสเปนได้ เป้าหมายของนายพลฟรังโกคือรักษาอุดมการณ์การปกครองของตนเอง ขณะเดียวก็ต้องการแยกวัฒนสเปนออกจากอิทธิพลต่างชาติ มีหน่วยงานรัฐบาลสามหน่วยรับผิดชอบในเรื่องนี้

ผลงานศิลปะที่เห็นว่าเป็นภัยต่ออุดมการณ์ของรัฐ ขัดต่อศีลธรรมทางเพศ การเมือง ศาสนาและการใช้ภาษาจะถูกเซ็นเซอร์ ในกรณีของหนังสือ นอกจากจะต้องถูกรัฐบาลเซ็นเซอร์ก่อนตีพิมพ์แล้ว ก่อนหน้านั้นต้องผ่านกระบวนการเซ็นเซอร์ตัวเองของผู้แต่ง ผู้แปลและกองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ ผลงานที่เห็นว่ามีผลดีต่อสภาวะการทางการเมืองของสเปนเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาต เมื่อเป็นเช่นนี้ นักเขียนสเปนหัวก้าวหน้าจึงต้องลี้ภัยเพราะปฏิเสธวิธีการของรัฐบาล

มีผลงานของผู้แต่งชาวต่างชาติเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์ได้ ผลงานของนักเขียนโด่งดังเหล่านั้นมีทั้งที่โดนแก้ไขงานหรือไม่ก็ถูกห้ามตีพิมพ์ กระทั่งมีผู้กล่าวไว้ว่า การแปลในสเปนหลังสงครามเป็นมากกว่าภารกิจด้านภาษา การแทรกแซงของรัฐบาลทำให้นักแปลแทบจะลืมทักษะการใช้ภาษาของตนเอง

ตัวอย่างวรรณกรรมสองชิ้นที่ถูกเซ็นเซอร์ภายใต้รัฐบาลฟรังโกได้แก่ เรื่อง Across into the Trees ของ Ernest Hemingway คำว่า “Franco” ถูกตัดออกจากวลี “General Fat-Ass Franco” ในฉบับแปลภาษาสเปน อีกเรื่องคือ The Spanish Earth ของ Hemmingway อีกเช่นกัน

ส่วนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของสเปน การพากย์เสียงถูกใช้เป็นเครื่องมือปลุกปั่นความรู้สึกชาตินิยม มีการบังคับ สร้างมาตรฐาน กำหนดลักษณะพึงประสงค์ให้ภาษาประจำชาติ ยกตัวอย่างเช่น เสียงต้นฉบับในภาพยนต์ถูกตัดออก ภาษาต่างประเทศถูกห้ามเด็ดขาด เพราะรัฐบาลนายพลฟรังโก ต้องการกำจัดอิทธิพลต่างชาติ และสร้างภาพว่าภาพยนตร์ต่างประเทศที่ผ่านการเซ็นเซอร์ถ่ายทำในสเปน โดยใช้มาตรฐานแบบสเปนของนายพลฟรังโก
ภาพยนตร์ตลกถูกกำหนดมาตรฐานความขำขัน ภาพยนตร์ตลกสองเรื่องที่ผลิตโดย Billy Wilder ชื่อ The Apartment และ Some Like It Hot ภาพยนต์ตลกทั้งสองประสบความสำเร็จอย่างสูงในอเมริกา แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้น ลักษณะตัวละครในภาพยนตร์นี้มีพฤติกรรมรักนอกสมรส มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย และเป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องต้องห้ามและต้องถูกตัดออก มีมุขตลกจำนวนมากถูกตัดทิ้งหรือไม่ก็ถูกแก้ไขเพราะเห็นว่าขัดกับศีลธรรมหรือไม่ก็ไร้ศีลธรรม

สเปนในยุคนายพลฟรังโก มีนโยบายตั้งตัวเป็นศัตรูกับวัฒนธรรมต่างชาติเท่านั้น นั่นแปลว่า นโยบายของนายพลฟรังโก มุ่งเน้นการควบคุมวัฒนธรรมชาติอื่น มากกว่าสร้างวัฒนธรรมของตนเอง ระบบการเซ็นเซอร์มีลักษณะเข้มงวดและมีบทลงโทษรุนแรง เพื่อต่อต้านวัฒนธรรมต่างชาติที่หลั่งไหลเข้าประเทศ แต่ในที่สุด มาตรการต่างๆของรัฐบาลนายพลฟรังโก ก็ถูกบีบให้คลายความเข้มงวดลง เปิดทางให้กับเสรีภาพในการแสดงออก อำนาจของการเซ็นเซอร์ในสเปนค่อยๆเสื่อมสลายไป พร้อมกับการฟื้นฟูผลงานศิลปะ
บทสรุป

การแปลไม่ว่าในรูปแบบไหน มักเป็นที่ปะทะสังสรรค์กันของอำนาจของคนหลายกลุ่ม และการปรับแก้บิดเบือนงานแปลก็ทำด้วยหลายเหตุผล ตั้งแต่อยากประหยัดเงินไปจนถึงความต้องการควบคุมพฤติกรรม ตั้งแต่ความต้องการให้ปฏิบัติตามแบบแผนดั้งเดิมไปจนถึงความต้องการสถาปนาอำนาจทางวัฒนธรรม เมื่อการแปลถูกกีดกันไม่ให้แสดงออกอย่างซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา แต่ถูกครอบงำด้วยอิทธิพลของความรุนแรง เช่นการเซ็นเซอร์ ผลสะเทือนทั้งในมิติทางวัฒนธรรมและศีลธรรมจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่นำเสนอไปแล้วเป็นตัวอย่างของการแปลในสภาพสังคมที่คลั่งไคล้ลัทธิชาตินิยม ณ ที่นั้น การแปลถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม และการเซ็นเซอร์ก็เป็นวิธีแก้ไข ที่เชื่อว่าสามารถป้องกันการรุกรานและการปนเปื้อนของวัฒนธรรมต่างชาติ