วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2551

อุปสรรคทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสาร

อุปสรรคทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพการสื่อสาร
Cultural Barriers to Effective Communication
นักเรียนการแปล เอามาเล่าใหม่เป็นภาษาไทย

การสื่อสารกับบุคคลที่มีวัฒนธรรมแตกต่างให้มีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งที่ท้าทาย วัฒนธรรมกำหนดวิธีคิดของคนเรา รวมทั้งวิธีมองได้ยินและตีความโลก ดังนั้นคำคำเดียวอาจมีความหมายต่อคนต่างวัฒนธรรมแตกต่างกัน ถึงแม้จะพูดภาษาเดียวกันก็ตาม เมื่อภาษามีความแตกต่างกันและต้องนำการแปลมาใช้สื่อสาร แนวโน้มของการไม่เข้าใจกันก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น

สเตลลา ติง-ตูเม อธิบาย 3 ปัจจัยที่วัฒนธรรมแทรกแซงประสิทธิภาพของการทำความเข้าใจกันระหว่างวัฒนธรรม ปัจจัยแรกเรียกว่า cognitive constraints หมายถึงกรอบความเข้าใจหรือการมองโลกใช้บ่งชี้ภูมิหลัง ซึ่งข้อมูลใหม่ๆถูกนำมาเปรียบเทียบหรือใส่เข้าไป

ปัจจัยที่สองคือ behavior constraints แต่ละวัฒนธรรมมีกฏเกณฑ์เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เหมาะสม ซึ่งส่งผลต่อการสื่อสารแบบวัจนภาษาและอวัจนภาษา ไม่ว่าเราจะมองเข้าไปในตาของคนอื่นหรือไม่ ไม่ว่าเราจะสื่อความหมายอย่างเปิดเผยหรือพูดคุยเกี่ยวกับบางเรื่อง ระยะห่างของเรากับคนอื่นขณะกำลังคุยกัน ทั้งหมดนี้และกฎของความสุภาพอื่นอีกมากมาย มีความแตกต่างกันออกไปในแต่ละวัฒนธรรม

ปัจจัยที่สามที่ ติง-ตูเม ระบุไว้คือ emotional constraints วัฒนธรรมที่แตกต่างกันกำหนดการแสดงอารมณ์ที่แตกต่างกัน บางวัฒนธรรมมีอารมณ์มาเกี่ยวข้องอย่างมากในระหว่างการถกเถียง มีทั้งโห่ร้อง ร้องไห้ แสดงอารมณ์โกรธ กลัว สับสน และอารมณ์อื่นๆอย่างเปิดเผย บางวัฒนธรรมพยายามเก็บงำอารมณ์เอาไว้ โดยแสดงและแลกเปลี่ยนกันเฉพาะส่วนที่ “เป็นเหตุเป็นผล” หรือเป็นข้อเท็จจริงเท่านั้น

ทั้งหมดนี้คือความแตกต่างที่อาจนำไปสู่ปัญหาการสื่อสาร ถ้าคนที่สื่อสารไม่ตระหนักปัญหาเหล่านี้ ก็มีโอกาสที่จะประสบกับปัญหาได้ ดังนั้นจึงต้องตระหนักและเอาชนะปัญหาเหล่านี้ให้สำเร็จ จึงจะสื่อสารข้ามวัฒนธรรมอย่างมีประสิทธิภาพได้

………………………..

Cultural Barriers to Effective Communication
International Online Training Program On Intractable Conflict
Conflict Research Consortium, University of Colorado, USA


Effective communication with people of different cultures is especially challenging. Cultures provide people with ways of thinking--ways of seeing, hearing, and interpreting the world. Thus the same words can mean different things to people from different cultures, even when they talk the "same" language. When the languages are different, and translation has to be used to communicate, the potential for misunderstandings increases.

Stella Ting-Toomey describes three ways in which culture interferes with effective cross-cultural understanding. First is what she calls "cognitive constraints." These are the frames of reference or world views that provide a backdrop that all new information is compared to or inserted into.

Second are "behavior constraints." Each culture has its own rules about proper behavior which affect verbal and nonverbal communication. Whether one looks the other person in the eye-or not; whether one says what one means overtly or talks around the issue; how close the people stand to each other when they are talking--all of these and many more are rules of politeness which differ from culture to culture.

Ting-Toomey's third factor is "emotional constraints." Different cultures regulate the display of emotion differently. Some cultures get very emotional when they are debating an issue. They yell, they cry, they exhibit their anger, fear, frustration, and other feelings openly. Other cultures try to keep their emotions hidden, exhibiting or sharing only the "rational" or factual aspects of the situation.

All of these differences tend to lead to communication problems. If the people involved are not aware of the potential for such problems, they are even more likely to fall victim to them, although it takes more than awareness to overcome these problems and communicate effectively across cultures.
…………………………….

http://www.colorado.edu/conflict/peace/problem/cultrbar.htm

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

เป็นครูต้องมีความฝัน : เปาโล แฟรร์

คำคมของ เปาโล แฟรร์

“I’d like to say to us as educators; poor are those among us who lose their capacity to dream, to create their courage to denounce and announce…” --- Paulo Freire

อยากบอกกับพวกเราที่เป็นครูบาอาจารย์ว่า ถ้าเราไม่มีความฝัน ไม่มีความกล้าหาญ ที่จะประณามสิ่งเลวร้ายและประกาศสิ่งดีงามแล้ว ย่อมเป็นคนที่น่าสงสารยิ่งนัก – เปาโล แฟรร์ ครูและนักเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมในสังคม