An ant carrying a wild lettuce seed, a source of food for them that Monsanto seeks to destroy through use of its herbicides. ภาพประกอบจากเวปไซต์ www.resurgence.org
อาหารคือของขวัญเพื่อแบ่งปัน
Gift of Food by Vandana Shiva
วันทนา ศิวะ เขียน ชำนาญ ยานะ แปล
หมายเหตุ งานแปลชิ้นนี้ยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบความถูกต้อง อาจมีความผิดพลาด จึงขอให้ผู้อ่านช่วยตรวจสอบและเสนอแนะความเห็นได้ เมื่อแก้ไขแล้ว ผู้แปลจะนำไปเผยแพร่บนเวปไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ต่อไป อนึ่ง ต้นฉบับแปลอยู่ด้านล่างของบทความนี้ เพื่อความสะดวกในการเทียบเคียง
สิ่งแรกที่เราระลึกถึงเมื่อกล่าวถึงอาหารคือ อาหารเป็นรากฐานของชีวิต อาหารมีชีวิต มิใช่เพียงก้อนวัตถุที่รวมคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและแร่ธาตุเข้าไว้ด้วยกันเท่านั้น นอกจากจะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิ่งมีชีวิตแล้ว อาหารยังเป็นผู้สร้างชีวิต (Creator) อีกด้วย เพราะเหตุนี้ ชาวอินเดียที่ยากจนจึงมีหม้อดินเล็กๆไว้สำหรับกราบไหว้บูชาในบ้าน ขนมปังก้อนแรกที่พวกเขามี จะนำไปให้วัว หลังจากนั้นชาวอินเดียจะตรวจดูว่า ในละแวกที่ตนเองอาศัย มีใครอีกบ้างที่ไม่มีอาหารกิน (เพื่อจะแบ่งขนมปังที่มีอยู่ให้คนคนนั้น—ผู้แปล) ในจารึกศาสนบัญญัติอินเดียโบราณ มีคำกล่าวว่า ผู้ให้อาหารคือผู้ให้ชีวิต ฉะนั้นผู้ที่ต้องการแสวงหาความสุขสวัสดีทั้งในภพนี้และภพหน้า จะต้องเป็นผู้ที่ถือเอาการแบ่งปันอาหารเป็นกิจของตน
เนื่องจากอาหารเป็นรากฐานของการสร้างสรรค์ ฉะนั้นอาหารเองจึงเป็นการสร้างสรรค์และเป็นผู้สร้างชีวิตในเวลาเดียวกัน พวกเรามีหน้าที่หลายอย่างที่ต้องปฏิบัติ เพื่อแสดงความเคารพกับสิ่งที่เรากินเข้าไป สังคมใดมีคนที่มีอาหารกินอย่างถ้วนหน้า แสดงว่าสังคมนั้นยังไม่ลืมหน้าที่ที่มีต่ออาหาร แต่หากสังคมใดมีคนอดอยากอยู่ นั่นก็แสดงว่าสังคมได้ละทิ้งศีลธรรมที่มีต่ออาหารไปแล้ว
คนเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้ ก็เพราะมีอีกหลายชีวิตได้ดำรงอยู่มาก่อน เช่นพ่อแม่ ผืนดิน ไส้เดือนดิน ในประเทศอินเดีย การแบ่งปันอาหารเป็นการเสียสละที่ชาวอินเดียพึงกระทำเป็นกิจวัตรประจำวัน ถือเป็นพิธีกรรมที่ฝังแน่นอยู่ในอาหารทุกมื้อ สะท้อนความคิดที่ว่า การให้คือสภาวะของการมีชีวิตอยู่ ชาวอินเดียมิได้ให้เพราะถือเป็นกิจกรรมพิเศษ แต่ให้เพราะตระหนักถึงความเชื่อมโยงของสรรพชีวิต
มีภาพภาพหนึ่งที่ติดตาตรึงใจข้าพเจ้าเกี่ยวกับประเทศอินเดีย นั่นคือภาพของโกลัม(kolam) ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ฝีมือสตรีชาวอินเดีย ทำขึ้นเพื่อประดับไว้หน้าบ้าน ในช่วงเทศกาลปองกัล (pongal) อันเป็นเทศกาลเกี่ยวข้าวทางภาคใต้ของอินเดีย ข้าพเจ้าสังเกตเห็นสตรีในท้องถิ่นนั้นตื่นก่อนฟ้าสาง เพื่อประดิษฐ์โกลัมอยู่ภายนอกบ้าน
เหตุผลจริงๆของสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวก็เพื่อแบ่งอาหารให้มด โกลัมเป็นงานศิลป์ที่ผู้เป็นแม่ถ่ายทอดให้ลูกสาว ในเทศกาลปองกัล สตรีทุกคนต่างพากันทำโกลัมของตนอย่างสุดฝีมือเพื่อเป็นการทำบุญ ดังนั้นการให้อาหารมดกับการสร้างสรรค์ศิลปะจึงบรรสานสอดคล้องกัน
ข้าพเจ้าเคยไปเยือนถิ่นชาวเขาเผ่าชาติการ(Chattigarh) ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวสายพันธ์อินเดีย เป็นครั้งแรกเมื่อประมาณสิบห้าปีที่แล้ว ผู้คนแถบนั้นกำลังสานชิ้นงานที่ทำด้วยข้าวอย่างสวยงามยิ่งเพื่อเอาห้อยไว้นอกบ้าน ตอนแรกข้าพเจ้าคิดว่าคงจะมีเทศกาลบางอย่างเป็นแน่ จึงได้เอ่ยถามไปว่า “ท่านประดิษฐ์งานชิ้นนี้เนื่องในโอกาสพิเศษอะไรหรือ?” คนเหล่านั้นตอบว่า “เปล่าหรอก พอดีฤุดูนี้เป็นช่วงที่นกไม่สามารถหาเมล็ดข้าวในนากินได้” เขาต้องการแบ่งเมล็ดข้าวให้สัตว์ต่างๆ ในรูปของงานฝีมือที่ประณีตนั่นเอง
เพราะเราเป็นหนี้สรรพสิ่งต่าง สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเหล่านั้นจึงเป็นแรงบันดาลใจเรื่องการให้อาหารเป็นทาน (annadana) หรือการแบ่งปันอาหาร วิถีชีวิตในสังคมเกื้อหนุนให้ทุกคนยึดถือการแบ่งปันอาหารเป็นประจำทุกวัน ดังสุภาษิตอินเดียที่ว่า ไม่มีการให้ทานใดยิ่งใหญ่กว่าการแบ่งปันอาหาร หรือในบทสวดศักดิ์สิทธิ์ก็กล่าวไว้เช่นกันว่า อย่าปล่อยให้คนที่มาเยือนประตูหน้าบ้านของท่านกลับไโดยไม่ได้รับอาหารหรือความเอื้อเฟื้อใดๆจากท่านเป็นอันขาด นี่เป็นกฏที่มนุษย์จะละเว้นเสียมิได้ มนุษย์มีอาหารกินอย่างอุดม ต้องมีหน้าที่ทำนุบำรุงความอุดมดังกล่าวไว้ ตลอดจนประกาศให้ทั้งโลกได้ทราบว่า มีอาหารไว้พร้อมแล้วสำหรับทุกชีวิตบนโลกนี้ ด้วยวัฒนธรรมการให้ทาน เราทั้งหลายจะถึงพร้อมด้วยความอุดมสมบูรณ์และการแบ่งปันกัน
หากเรามองดูสภาพปัจจุบันที่โลกกำลังประสบอยู่ จะเห็นการผลิตอาหารจนล้นเกินความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกัน ผู้คนจำนวน 820 ล้านคนกำลังต้องการอาหาร ในฐานะนักนิเวศวิทยา ข้าพเจ้ามองว่าส่วนเกินของการผลิตอาหารเป็นส่วนเกินจอมปลอม ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะคลังเก็บอาหารและชั้นวางในตลาดแน่นขนัดไปด้วยของกิน อันเป็นผลจากระบบการผลิตและการกระจายอาหารที่แย่งอาหารจากมือคนอ่อนแอและคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ตลอดจนแย่งอาหารจากสรรพชีวิตอื่นๆ
ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าเดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้ามาร์คแอนด์สเปนเซอร์ (Mark and Spencer) ข้าพเจ้ารู้สึกสะท้อนใจที่เห็นอาหารในนั้น เพราะข้าพเจ้าทราบดีว่า กล้วยที่วางขายอยู่ได้มาจากการเปลี่ยนไร่นาของชาวนาชาวไร่ให้เป็นแปลงปลูกกล้วยขนาดใหญ่ ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าเห็นห้างสรรพสินค้า ข้าพเจ้าเห็นภาพชุมชนและระบบนิเวศน์ที่มีศักยภาพในการผลิตเลี้ยงสิ่งมีชีวิตทั้งมวลถูกทำลาย เพียงเพื่อให้คนจำนวนน้อยนิดในโลกได้มีอาหารจนล้นเกินความสามารถที่จะบริโภค แต่อนิจจา อาหารที่ล้นเกินเหล่านี้เป็นสิ่งจอมปลอม ที่ผลักไสให้คนอีก 820 ล้านคนขาดแคลนอาหาร ในขณะที่คนอื่นๆที่เหลือบริโภคมากเกินพอดีจนเจ็บป่วยและเป็นโรคอ้วน
ทีนี้ลองกลับมาดูกันซิว่า มนุษย์ผลิตอาหารได้อย่างไร ก่อนอื่นเราต้องมีผืนดินที่จะทำหน้าที่เป็นระบบที่มีชีวิต เพื่อการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน เราต้องการสิ่งมีชีวิตในดินจำนวนหลายล้านชนิดเพื่อให้ดินอุดมสมบูรณ์ ความอุดมสมบูรณ์จะผลิตอาหารที่มีคุณประโยชน์ให้กับเรา ในวัฒนธรรมแบบอุตสาหกรรม เราลืมไปว่าไส้เดือนสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน โดยพากันเชื่อว่า ความอุดมสมบูรณ์ของดินได้มาจากธาตุไนเตรด ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลือจากโรงงานผลิตวัตถุระเบิด อีกทั้งยังเชื่ออีกว่า การกำจัดแมลงไม่ได้เกิดจากความสมดุลของพืชพันธ์ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด แต่มาจากการใช้ยาพิษ เมื่อเราสามารถรักษาความสมดุลได้ สิ่งมีชีวิตต่างๆจะไม่กลายเป็นแมลงรบกวนที่ต้องกำจัดทิ้ง แต่จะอยู่ร่วมกันโดยไม่มาทำลายพืชผักที่เราปลูก
มีรายงานล่าสุดจากองค์การเกษตรกรรมและอาหาร แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า มนุษย์ใช้วิธีการใดผลิตอาหาร แต่คำนวณออกมาแค่ตัวเลขแรงงานที่ถูกผลักไส (labour displacement) ออกจากการบวนการผลิต โดยให้ความสำคัญเฉพาะการผลิตภาคแรงงาน (labour productivity) เท่านั้น ตัวอย่างเช่น มีอาหารจำนวนเท่าใดบ้าง ที่ได้จากการใช้เทคโนโลยีที่กีดกันแรงงานคน กีดกันสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ตลอดจนทำลายแหล่งทรัพยากรที่ใช้ผลิตอาหารนั้นๆด้วยซ้ำ เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่ได้แปลว่าเราผลิตอาหารได้มากขึ้นต่อขนาดพื้นที่ ไม่ได้แปลว่าเราได้อาหารเพิ่มขึ้นต่อหน่วยการใช้น้ำ ไม่ได้แปลว่าเราได้อาหารเพิ่มขึ้นเพื่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่ต้องการอาหารเหมือนกับเรา ความต้องการอันหลากหลายดังที่กล่าวมานี้กำลังถูกทำลาย เมื่อเรานิยามประสิทธิภาพการผลิตให้เหลือแค่การผลิตอาหารต่อหน่วยแรงงาน
เรากำลังใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมที่แพร่ขยายความรุนแรงออกไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในระหว่างที่เดินทางไปเมืองปัญจาบ ข้าพเจ้าตกใจมากเมื่อทราบว่า แมลงที่ช่วยผสมเกษรได้ตายจากไปหมดแล้ว คนที่บ้าคลั่งเทคโนโลยีได้ดัดแปรพืช ด้วยการยิงยีนส์มีพิษของเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ บาซิลลัส ทูริงเจนซิส เข้าไปในต้นพืช เพื่อให้พืชนั้นสามารถสร้างสารพิษออกมาตลอดเวลา ทั้งในเซลทุกเซล ในใบ ในรากและในเกษร เมื่อแมลงเต่าทองและผีเสื้อกินพืชดังกล่าวเข้าไป จึงพากันตาย
เพราะคนพวกนั้นมืดบอดจึงมองไม่เห็นข่ายใยชีวิต(web of life) ที่ตนเองกำลังทำลายลงไป เราจะเห็นความเชื่อมโยงได้ ก็ต่อเมื่อเรารู้สึกต่อความอ่อนไหวของข่ายใยดังกล่าว เมื่อตระหนักรู้ได้เช่นนี้ เราจะทราบว่า ตนเองเป็นหนี้บุญคุณสิ่งต่างๆในเรื่องใดบ้าง เป็นหนี้บุญคุณแมลงผสมเกษรอย่างไร เป็นหนี้ชาวนาชาวไร่ผู้ผลิตอาหารให้เรากิน ตลอดจนเป็นหนี้คนที่นำอาหารมาให้เรา ในยามที่ตนเองไม่สามารถหาอาหารกินเองได้อย่างไรบ้าง
การแบ่งปันอาหารสัมพันธ์กับความเชื่อที่ว่า เราทุกคนเกิดมาเพื่อใช้หนี้สรรพชีวิตอื่นๆ เรามีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะหนี้ชนิดนี้ เราเกิดมาพร้อมกับหนี้ เราจึงต้องใช้หนี้คืนชั่วชีวิต ต้องใช้หนี้ให้กับผึ้งและผีเสื้อที่ผสมเกษรให้เรา ใช้หนี้ให้กับไส้เดือนและรา รวมถึงจุลชีพ (microbe) และแบคทีเรียในดินที่ทำงานอย่างแข็งขัน เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ซึ่งปุ๋ยเคมีไม่มีวันที่จะทำได้
เราเกิดมาและดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยหนี้ ที่มีต่อการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ(Creation) เราจึงต้องจำใส่ใจไว้ ของขวัญสำหรับแบ่งปันกันของอาหารคือการระลึกรู้เรื่องการใช้คืน ภารกิจดังกล่าวถือเป็นความรับผิดชอบ เป็นเรื่องของการยอมรับและความพยายามตอบแทนบุญคุณให้กับการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ และตอบแทนชุมชนที่เราเป็นสมาชิก เหล่านี้เป็นเหตุผลที่วัฒนธรรมส่วนใหญ่มองนิเวศน์วิทยา (ecology) ว่าเป็น sacred trust (หรือ สิ่งที่ประกันการอยู่รอดอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งต้องกราบไหว้—ผู้แปล) ที่ระบุความรับผิดชอบ เมื่อข้าพเจ้าใส่ใจให้ทุกคนรอบตัวมีอาหารกิน คนที่อยู่รอบตัวข้าพเจ้าก็จะใส่ใจว่าข้าพเจ้าเองจะมีอาหารกินเช่นเดียวกัน
ในตอนที่ข้าพเจ้าลาออกจากการสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยเมื่อปี ค.ศ.1982( หรือปี พ.ศ.2525) ทุกคนต่างถามข้าพเจ้าว่า “อาจารย์จะอยู่อย่างไรถ้าไม่ได้รับเงินเดือน” ข้าพเจ้าตอบว่า “ถ้าชาวอินเดียร้อยละเก้าสิบสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากเงินเดือน ข้าพเจ้าก็สามารถมีชีวิตอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์แบบมีหลักประกันการอยู่รอดร่วมกับคนเหล่านั้นได้เช่นเดียวกัน” หากเรารู้จักให้ เราก็จะได้รับเป็นการตอบแทน ไม่ต้องคำนวณว่าจะได้รับเท่าไหร่ สิ่งเดียวที่เราควรสนใจคือการให้ก็เพียงพอแล้ว
ในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ เราก็เป็นหนี้ แต่เป็นหนี้สิน เด็กที่เกิดในประเทศโลกที่สามทุกประเทศ มีหนี้ติดตัวหลายล้านดอลลาร์ โดยมีธนาคารโลกเป็นเจ้าหนี้ ซึ่งสามารถใช้อำนาจสั่งให้เราและประเทศของเราเลิกผลิตอาหารสำหรับใส้เดือนและนก หรือแม้แต่อาหารสำหรับมนุษย์ด้วยกันเอง จากนั้นก็สั่งให้เราเลี้ยงกุ้งหรือปลูกดอกไม้เพื่อส่งออก เพราะนั่นเป็นวิธีที่สามารถหาเงิน(มาใช้หนี้)ได้
แม้จะหาเงินได้ก็จริง แต่ก็เป็นจำนวนไม่มากนัก ข้าพเจ้าคำนวณแล้วว่า หากคิดในแง่ผลกำไร เงินที่ได้จากการทำธุรกิจระหว่างประเทศหนึ่งดอลลาร์ จะก่อให้เกิดการทำลายล้างเชิงนิเวศและเศรษฐกินในระบบนิเวศท้องถิ่นคิดเป็นมูลค่าสิบดอลลาร์ ฉะนั้นทุกหนึ่งดอลลาร์ที่ได้มาจากการค้า เราต้องสูญเสียต้นทุนแฝง(หรือ shadow cost) ถึงสิบดอลลาร์ ไปกับการปล้นชิงอาหารจากคนที่เขาต้องการอาหาร เราสามารถทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้จากการสังเกตการค้าระหว่างประเทศที่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น ความขาดแคลนอาหารยิ่งเพิ่มสูงขึ้นด้วย นั่นเป็นเพราะผู้ที่ต้องการอาหารมากที่สุด กลับถูกผลักไสออกจากระบบการค้า เพื่อไม่ให้ได้รับอาหาร
สิ่งที่เรียกว่าการค้าเสรีกำลังพยายามทุกวิถีทาง ที่จะฉุดกระชากผู้คนไม่ให้ตอบสนองความต้องการของคนอื่นแม้แต่ความต้องการของตนเองได้
มีคนถามข้าพเจ้าว่า เราจะปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ(biodiversity) ได้อย่างไร ถ้าหากจำเป็นต้องตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ข้าพเจ้าตอบว่า วิธีเดียวที่จะตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของมนุษย์ได้คือการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะถ้าเราดูแลรักษาไส้เดือน นกและผีเสื้อไม่ได้ เราก็ดูแลรักษามนุษย์ด้วยกันไม่ได้เช่นเดียวกัน
ความคิดที่ว่า มนุษยชาติสามารถตอบสนองความต้องการของตน ด้วยการทำลายสรรพชีวิตอื่นๆให้สูญสิ้นไปเป็นสมมุติฐานที่ผิดพลาด เพราะแนวคิดนี้มาจากการมืดบอดต่อข่ายใยชีวิต ที่เชื่อมโยงเราทุกคนเข้าด้วยกัน มองไม่เห็นว่าเราทุกคนดำรงชีวิตอย่างบรรสานสอดคล้องและพึ่งพาอาศัยกัน
วัฒนธรรมเดี่ยว(monoculture) เพียงหนึ่งเดียว สามารถสร้างวัฒนธรรมเดี่ยวอื่นๆให้มีมากขึ้น แต่ไม่ได้สร้างอาหารให้มากขึ้นแต่อย่างใดทั้งสิ้น ถ้าเรามีสวนสักแห่ง เรานำพืชยี่สิบชนิดลงปลูก เราจะได้ผลผลิตจำนวนมหาศาล แต่ถ้าปลูกพืชชนิดเดียว เช่นปลูกแต่เข้าโพดหรือข้าวฟ่าง แล้วเทียบกับสวนที่สวนที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว เราจะได้อาหารน้อยกว่า เพราะทั้งสวนไม่ได้มีแต่ข้าวโพดอย่างเดียว ดังนั้นการเปลี่ยนจากระบบการปลูกพืชแบบหลากหลาย ไปเป็นระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยวแบบอุตสาหกรรม ที่ใช้สารเคมีและเครื่องจักร เราจะพบว่าเราได้ผลผลิตมากกว่า(การปลูกพืชแบบหลากหลาย) ถึงแม้ว่าความจริงเราจะได้ผลผลิตน้อยลงกว่าเดิมก็ตาม
เมื่อมีสิ่งมีชีวิตน้อยลง ผลผลิตก็ยิ่งน้อยลง สารอาหารน้อยลง เกษตรกรน้อยลง อาหารมีน้อยลง การหาสารอาหารมาบำรุงร่างกายทำได้น้อยลง ถึงอย่างนั้น เราก็ยังถูกล้างสมองให้เชื่อว่า เราผลิตได้มากขึ้นทั้งๆที่ผลิตได้น้อย อย่างนี้เรียกว่าภาพลวงตาชนิดหยั่งลึกเข้าไปในจิตใจ (deep illusion)
ในปัจจุบัน การค้าไม่ใช่การแลกเปลี่ยนสิ่งที่เราต้องการเพราะเราผลิตเองไม่ได้ แต่การค้าเป็นเรื่องของการหยุดผลิตสิ่งที่เราต้องการ หยุดช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะซื้อสิ่งเหล่านี้จากที่อื่น
มีบรรษัทค้าเมล็ดพันธ์สี่บรรษัท บรรษัทที่ใหญ่ที่สุดคือ คาร์กิล (Cargills) ซึ่งควบคุมการค้าอาหารทั่วโลกคิดเป็นร้อยละเจ็ดสิบ มีอำนาจกำหนดราคาตามใจชอบ บรรษัทเหล่านี้ชี้นำเกษตรกรว่าสิ่งใดควรปลูก จากนั้นรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคาถูก ในขณะเดียวกัน ก็ขายผลผลิตนั้นให้กับผู้บริโภคในราคาแพง ในกระบวนการผลิต บรรษัทค้าเมล็ดพันธ์ก่อพิษภัยให้กับทุกส่วนของห่วงโซ่อาหาร บรรษัทเหล่านี้ไม่เคยให้ คิดแต่เพียงผลประโยชน์แม้จนชิ้นสุดท้าย ทั้งจากระบบนิเวศ จากสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตลอดจนจากคนยากจน รวมถึงจากประเทศโลกที่สาม
ต้นปี คศ. 1990 (หรือ พศ.2543) บริษัทคาร์กิลแถลงว่า ชาวนาอินเดียช่างโง่เขลานัก คนพวกนี้โง่ถึงขนาดไม่รู้ว่าเมล็ดพันธ์ของเรานั้นเฉลียวฉลาด เราค้นเทคโนโลยีใหม่ ที่ป้องกันไม่ให้ผึ้งขโมย เกษรดอกไม้ได้
แนวคิดของขวัญจากอาหารบอกว่า เกษรดอกไม้เป็นของขวัญสำหรับแบ่งปัน ที่เราต้องรักษาไว้ให้แมลงที่ผสมเกษร ดังนั้นเราจึงต้องปลูกพืชที่เปิดโอกาสให้ผึ้งและผีเสื้อผสมเกษรได้ เพราะเกษรคืออาหารของแมลง พวกมันมีสิทธิ์ใช้พื้นที่ทางนิเวศ (ecological space) เราต้องระมัดระวังไม่ให้ตนเองรุกล้ำพื้นที่ของแมลงเหล่านั้น
แต่บริษัทคาร์กิลกลับหาว่า ผึ้งขโมยเกษรดอกไม้ ก็เพราะบริษัทนี้นิยามว่า เกษรดอกไม้ทุกอณูเป็นของตน เช่นเดียวกับที่บริษัทมอนซานโต้บอกว่า “เราสามารถป้องกันไม่ให้วัชพืชขโมยแสงแดดได้ ด้วยการใช้ยาฆ่าหญ้าราวอัพ” โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ ซึ่งถือเป็นพลังที่ให้ชีวิต แต่บริษัทมอนซานโต้กลับมาบอกว่า ตนเองและเกษตรกรที่ทำสัญญาปลูกพืชกับทางบริษัทมีสิทธิ์ในการใช้แสงอาทิตย์แต่เพียงผู้เดียว ใครอื่นนอกจากนี้หากมาใช้ร่วมถือเป็นการโจรกรรม
โลกที่เราอยู่จึงเป็นโลกที่ตรงกันข้ามกับการแบ่งปันอาหารกัน เป็นโลกที่ฉกฉวยอาหารไปจากห่วงโซ่อาหารและข่ายใยชีวิต แทนที่จะเป็นการแบ่งปันกัน เรากลับยึดถือผลกำไรและความโลภเป็นสรณะสูงสุด น่าเศร้านักที่ผลกำไรเพิ่มมากขึ้น การขาดแคลนอาหารกลับยิ่งเพิ่มสูงสุด ความเจ็บป่วย การทำลายล้างธรรมชาติ การทำลายล้างผืนดิน การทำลายล้างผืนน้ำ การทำลายล้างความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ระบบอาหารที่เรามีขาดความยั่งยืนยิ่งๆขึ้นไป พวกเราต่างยู่ในวังวนหนี้ ไม่ใช่หนี้ที่มีต่อธรรมชาติ ไม่ใช่หนี้ที่มีต่อโลกหรือต่อสรรพชีวิตอื่นๆ แต่เป็นหนี้สินที่ต้องจ่ายคืนเจ้าหนี้และตัวแทนจำหน่ายสารเคมีและเมล็ดพันธ์ หนี้สินมาแทนที่หนี้ด้านนิเวศ การให้เพื่อทำนุบำรุงชีวิตและอาหารถูกแทนที่ด้วยการแสวงหาผลกำไรที่เพิ่มขึ้นทุกที
สิ่งที่เราต้องช่วยกันทำเดี๋ยวนี้คือการแสวงหาหนทางสลัดตัวเองจากแผนการสู่ความหายนะ ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนการค้าเสรีให้เป็นการค้าที่เป็นธรรมเท่านั้น ถ้ายังมองไม่เห็นภาพรวมที่กำลังนำเราไปสู่การใช้ยาพิษและการสร้างมลพิษให้กับชีวิตรวมถึงตัวเราเอง ก็ไม่สามารถทีจะยกระดับไปสู่วิถีสู่ความอุดมสมบูรณ์ได้อีก เราจะไม่สามารถสร้างความอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้ ถ้ารู้จักแต่หยิบฉวยจากธรรมชาติ โดยไม่รู้จักให้ เราจะสามารถสร้างได้แต่ความขาดแคลนเท่านั้น
ความขาดแคลนที่เกิดขึ้นในโลก เป็นส่วนหนึ่งของความขาดแคลนที่ว่า โรคร้ายอันเนื่องมาจากการดำรงชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือยที่กำลังแพร่กระจายออกไป เป็นส่วนหนึ่งของความขาดแคลนเช่นกัน ถ้าหากเราวางตนได้อย่างเหมาะสมภายในหลักประกันการอยู่รอดด้านนิเวศวิทยา และระลึกรู้ว่าเรามีหนี้ที่ต้องจ่ายคืนให้กับมนุษย์และสรรพสิ่งอื่นๆ เมื่อนั้น การปกป้องสิทธิให้กับสิ่งมีชีวิตต่างๆจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมเนียมและวิถีชีวิตของเรา ผลที่จะเกิดตามมาคือ คนที่พึ่งพาด้านอาหารจากคนอื่น จะได้รับอาหารที่ดีและได้รับประโยชน์จากอาหารนั้นเพื่อบำรุงร่างกาย ฉะนั้นหากเราเริ่มต้นจากการบำรุงข่ายใยชีวิต เราก็จะสามารถแก้ไขวิกฤตด้านเกษตรกรรม วิกฤตสุขภาพของผู้บริโภค ตลอดจนวิกฤตด้านเศรษฐกิจอันเกิดจากความยากจนในประเทศโลกที่สามได้
หมายเหตุ: แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง Gift of Food ของ Vandana Shiva ซึ่งตีพิมพ์ใน Resurgence ซึ่งเป็นนิตยสารรายไตรมาส (รายสามเดือน)ในประเทศอังกฤษ ที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างแหวกแนวท้าทาย นอกกรอบวังวนของการศึกษากระแสหลัก มุ่งเน้นองค์ความรู้ด้านนิเวศน์วิทยา สังคมวิทยาและจิตวิญญาณ
……………………………………………………..
Because food is the very basis of creation, food is creation, and it is the Creator. There are all kinds of duties that we should be performing with respect to food. If people have food it is because society has not forgotten those duties. If people are hungry, society has rejected the ethical duties related to food.
The very possibility of our being alive is based on the lives of all kinds of beings that have gone before us - our parents, the soil, the earthworm - and that is why the giving of food in Indian thought has been treated as everyday sacrifice that we have to perform. It is a ritual embodied in every meal, reflecting the recognition that giving is the condition of our very being. We do not give as an extra, we give because of our interdependence with all of life.
One of my favourite images in
The indica rice variety's homeland is a tribal area called Chattisgarh in
Because we owe the conditions of our life to all other beings and all other creatures, giving - to humans and to non-human species - has inspired annadana, the gift of food. All other ethical arrangements in society get looked after if everyone is engaging in annadana on a daily basis. According to an ancient Indian saying: "There is no gift greater than annadana, the giving of food." Or again, in the words of the sacred texts: "Do not send away anyone who comes to your door without offering him or her food and hospitality. This is the inviolable discipline of humankind; therefore have a great abundance of food and exert all your efforts towards ensuring such abundance, and announce to the world that this abundance of food is ready to be partaken by all."
Thus from the culture of giving you have the conditions of abundance, and the sharing by all.
IF WE REALLY look at what is happening in the world, we seem to have more and more food surpluses, while 820 million people still
go hungry every day. As an ecologist, I see these surpluses as pseudo-surpluses. They are pseudo-surpluses because the overflowing stocks and packed supermarket shelves are the result of production and distribution systems which take food away from the weak and marginalised, and from non-human species.
I went through the food department of Marks & Spencer the other day, and I went dizzy seeing all the food there, because I knew that, for example, a peasant's rice field would have been converted into a banana plantation to get luscious bananas to the world's markets. Each time I see a supermarket, I see how every community and ecosystem's capacity to meet its food needs is being undermined, so that a few people in the world can experience food 'surpluses'.
But these are pseudo-surpluses leadingto 820 million malnourished people, while many others eat too much and get ill or obese.
LET US SEE how food is produced. To have sustainable food supplies we need our soils to function as living systems: we need all those millions of soil organisms that make fertility. And that fertility gives us healthy foods. In industrial cultures we forget that it is the earthworm that creates soil fertility; we believe that soil fertility can come from nitrates - the surplus of explosives factories; that pest-control does not come out of the balance of different crops hosting different species, but from poisons. When you have the right balance, living organisms never become pests: they all coexist, and none of them destroys your crop.
The recently released report of the Food and Agriculture Organization has chart after chart to show how in the last century we increased food productivity. But all they really calculated is labour displacement. They only looked at labour productivity - as how much food a human being produces by using technologies that are labour-displacing, species-displacing and resource-destroying. It does not mean that you have more food per acre; it does not mean that you have more food per unit used of water; it does not mean that you have more food for all the other species that need food. All of these diverse needs are being destroyed as we define productivity on the basis of food production per unit of labour.
We are now working on technologies, based on genetic engineering, which accelerate this violence towards other beings. On my recent trip to
We do not see the web of life that we are rupturing. We can only see the interconnections if we are sensitive to them. And when we are aware of them we immediately recognise what we owe to other beings: to the pollinators, to the farmers who have produced the food, and to the people who have nourished us when we could not nourish ourselves.
The giving of food is related to the idea that every one of us is born in debt to other beings: our very condition of being born depends on this debt. So we come with a debt and for the rest of our lives we are paying back that debt - to the bees and the butterflies that pollinate our crops, to the earthworms and the fungi and the microbes and the bacteria in the soil that are constantly working away to create the fertility that our chemical fertilisers can never, never replenish.
We are born and live in debt to all Creation, and it becomes our duty to recognise this. The gift of food is merely a recognition of the need for constantly paying back that obligation, that responsibility. It is merely a matter of accepting and endeavouring to repay our debts to Creation, and to the communities of which we are a part. And that is why most cultures that have seen ecology as a sacred trust have always spoken of responsibility. Rights have flowed out of responsibility: once I ensure that everyone in my sphere of influence is fed, someone in that sphere is also ensuring that I am fed.
WHEN I LEFT university teaching in 1982, everyone said, "How will you manage without a salary?" I replied by saying that if ninety per cent of
In modern economic systems we also have debts, but they are financial debts. A child born in any Third World country already has millions of dollars of debt on her or his head owed to the World Bank, which has every power to tell you and your country that you should not be producing food for the earthworms and the birds, or even for the people of the land: you should be growing shrimps and flowers for export, because that earns money.
It does not earn very much money, either. I have made calculations that show that one dollar of trading by international business, in terms of profit, leads to $10 of ecological and economic destruction in local ecosystems. Now if for every dollar being traded we have a $10 shadow-cost in terms of how we are literally robbing food from those who need it most, we can understand why, as growth happens and as international trade becomes more 'productive', there is, inevitably, more hunger: because the people who needed that food most are the ones who are being denied access to it by this new system of trading. This so-called free trade is taking away from them any way of looking after others' needs, or their own.
People ask me: "How can we protect biodiversity if we are to meet growing human needs?" My reply is that the only way to meet growing human needs is to protect biodiversity, because unless we are looking after the earthworms and the birds and the butterflies we are not going to be able to look after people either. This idea that somehow the human species can only meet its needs by wiping out all other species is a wrong assumption: it is based on not seeing how the web of life connects us all, and how much we live in interaction and in interdependence.
Monocultures produce more monocultures, but they do not produce more nutrition. If you take a field and plant it with twenty crops, it will have a lot of food output, but if any one of those individual yields - say of corn or wheat - is measured in comparison with that of a monoculture field, of course you will have less, because the field is not all corn. So just by shifting from a diversity-based system into a monoculture industrially supported with chemicals and machines, you automatically define it as more, even though you are getting less! Less species, less output, less nutrition, less farmers, less food, less nourishment. And yet we have been absolutely brainwashed into believing that when we are producing less we are producing more. It is an illusion of the deepest kind.
Trade today is no longer about the exchange of things which we need and which we cannot produce ourselves. Trade is an obligation to stop producing what we need, to stop looking after each other, and to buy from somewhere else.
In trade today there are four grain giants. The biggest of them, Cargill, controls seventy per cent of the food traded in the world; and they fix the prices. They sell the inputs, they tell the farmer what to grow, they buy cheaply from the farmer, then they sell it at high cost to consumers. In the process they poison every bit of the food chain. Instead of giving, they are thinking of how they can take out that last bit, from ecosystems, other species, the poor, the
In the early 1990s Cargill said, "Oh, these Indian peasants are stupid. They do not realise that our seeds are smart: we have found new technologies that prevent the bees from usurping the pollen." Now the concept of 'the gift of food' tells us that pollen is the gift that we must maintain for pollinators, and therefore we must grow open-pollinated crops that bees and butterflies can pollinate. That is their food and it is their ecological space. And we have to make sure that we do not eat into their space.
Instead, Cargill says that the bees usurp the pollen - because Cargill have defined every piece of pollen as their property. And in a similar way, Monsanto said: "Through the use of Roundup we are preventing weeds from stealing the sunshine." The entire planet is energised by the life-giving force of the sun, and now Monsanto has basically said that it is Monsanto and the farmers in contract with Monsanto that, alone on the planet, have the right to sunshine - the rest of it is theft.
So what we are getting is a world which is absolutely the opposite to the 'giving of food'. Instead, it is the taking of food from the food chain and the web of life. Instead of gift we have profit and greed as the highest organising principle. Unfortunately, the more the profit, the more hunger, illness, destruction of Nature, of soil, of water, of biodiversity, the more non-sustainable our food systems become. We then actually become surrounded by deepening debt: not the ecological debt to Nature, to the Earth and to other species, but the financial debt to the money-lenders and to the agents of chemicals and seeds. The ecological debt is in fact replaced by this financial debt: the giving of nourishment and food is replaced by the making of more and more profits.
WHAT WE NEED to do now is to find ways of detaching ourselves from these destructive arrangements. It is not just replacing free trade with fair trade: unless we see how the whole is leading to the poisoning and polluting of our very beings, of our very consciousness, we will not be able to make the deeper shifts that allow us to create abundance again. In taking all from nature, without giving, we are not creating abundance; we are creating scarcity.
Growing world hunger is part of that scarcity. And the growing diseases of affluence are a part of that scarcity too. If we relocate ourselves again in the sacred trust of ecology, and recognise our debt to all human and non-human beings, then the protection of the rights of all species simply becomes part of our ethical norm and our ethical duty. And as a result of that, those who depend on others for feeding them and for bringing them food will get the right kind of food and the right kind of nourishment. So, if we begin with the nourishment of the web of life, we actually solve the agricultural crisis of small farms, the health crisis of consumers, and the economic crisis of
Vandana Shiva is Director of Bija Vidyapeeth, the International College for Sustainable Living, in Dehra Dun,
http://www.resurgence.org/2005/shiva228.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น