วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

แมรี่กับอาการ alexithymia

งานแปลชิ้นที่ 2

เมื่อแมรี่บอกกับนักจิตวิเคราะห์ว่า เธอได้รับเพียงบาดเจ็บเล็กน้อยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ในเช้าวันนั้น นักจิตวิเคราะห์จึงตัดสินใจจัดสอนวิธีกระตุ้นความรู้สึกให้ทันที ถ้าเป็นผู้ป่วยอื่นๆ การจัดสอนกระตุ้นความรู้สึก อาจทำให้คนเราเกิดจินตนาการได้ต่างๆนา อยากระบายเรื่องที่เก็บไว้และอยากเล่าสิ่งที่คิดฝัน แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นกับแมรี่ เมื่อได้รับการร้องขอให้อธิบายความรู้สึกเกี่ยวกับอุบัติเหตุ แมรี่นึกออกแค่สิ่งที่เกิดกับรถอีกคัน กับเหตุการณ์จริงที่ว่าคนขับรถคันนั้นเป็นผู้หญิง เธอกำลังมีอาการผิดปกติ ประเภทที่ทำให้นักจิตวิเคราะห์กังวลใจอย่างมาก อาการนี้เรียกว่า อเลกซิธิเมีย (alexithymia) ซึ่งแปลว่าแมรี่มีภาวะไร้อารมณ์ขั้นรุนแรง

อเลกซิธิเมีย (alexithymia) มาจากภาษากรีก แปลว่า“ไม่มีคำมาอธิบายความรู้สึก” ผู้ป่วยโรคนี้จะไม่สามารถอธิบายความรู้สึกลึกๆในใจตนเองได้ คนเหล่านี้ประสบปัญหาเรื่องการบอกและอารมณ์ที่ตนเองมี และมักอธิบายเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตอย่างไร้ความรู้สึก มักตั้งใจเล่าแต่รายละเอียดที่ไม่น่าสนใจ ที่ปราศจากสีสันและจินตนาการ

ผู้ป่วยด้วยอาการไร้อารมณ์เหล่านี้มักเฉยชาและเก็บตัวเงียบ หลายคนเกิดความผิดปกติทางประสาทที่ส่งผลต่อร่างกายเช่น มีแผลตามร่างกายและมีอาการปวดหัวชนิดไมเกรน เนื่องจากคนไข้ไม่สามารถแสดงคิดแสดงความรู้สึก ทำให้เกิดความเครียดสะสม ก่อให้เกิดโรคผิดปกติทางประสาท ถ้าคุณทะเลาะกับเจ้านายและจินตนาการถึงตอนเผชิญหน้ากันหรือถึงขั้นลงไม้ลงมือ คุณยังรู้สึกตัวว่ามีอารมณ์โกรธ แต่ผู้ป่วยโรค อเลกซิธีเมีย (alexithymia) จะกลับบ้านพร้อมอาการปวดหัวโดยไม่ทราบสาเหตุ ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกมีความสุขและไม่สามารถแสดงความรักความเห็นใจกับคนที่ตนเองรักได้

..........................

ฉลอง 60 ปี “ยูเอ็น” ภาคพื้นเอเชีย


ฉลอง 60 ปี “ยูเอ็น” ภาคพื้นเอเชีย เชิดชูเกียรติ อมาตยา เซน
UN’s 60th Anniversary in Asia; Amartya Sen Honoured

กรุงเทพ 29 มีนาคม (สำนักสารนิเทศสหประชาชาติ-สำนักข่าวไทย) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงแสดงสุนทรกถามีใจความว่า “ประชาชนคือความมั่งคั่งที่แท้จริงของชาติ” เนื่องในโอกาสงานฉลองการปฎิบัติงานของหน่วยงานสาขาแห่งองค์การสหประชาชาติประจำภูมิภาคเอเชียครบหกสิบปี ในงานนี้มีการยกย่อง อมาตยา เซน เจ้าของรางวัลโนเบล ที่ได้เสนอแนวคิดเศรษฐศาสตร์เพื่อแก้ปัญหาของภูมิภาคนี้มาโดยตลอด

“เป้าหมายของการพัฒนาคือขยายทางเลือก ให้ประชนมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี” สมเด็จพระเทพฯ ตรัสเสริมว่า ศาสตราจารย์เซนและ คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) ได้ทำหน้าที่แตกต่างกันไปในงานพัฒนา

พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีแถลงว่า ประเทศไทยรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ที่ได้รับเลือกเป็นที่ตั้งสำนักงานเอสแคป มากว่าหกสิบปี และประเทศไทยจะสนับสนุนระบบขององค์การสหประชาชาติและการทำงานในภูมิภาคเอเชียต่อไป

สมเด็จพระเทพฯ ทรงตรัสเน้นว่า เอสแคปได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามารถ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอด้อยโอกาส โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย พระองค์ทรงชื่นชมเลขาธิการแห่งคณะกรรมาธิการฯคนใหม่ ที่เป็นผู้นำการดำเนินงานในภูมิภาคนี้ได้เป็นอย่างดี

พระองค์ทรงร่วมกับองค์การสหประชาชาติ เชิดชูเกียรติ อมาตยา เซน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ผู้คิดหาหนทางพัฒนาและแก้ปัญหาอย่างท้าทายวิธีคิดแบบเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก ดังคำกล่าวในงานเฉลิมฉลองของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติในครั้งนี้ ที่ว่า “ความคิดของอมาตยา เซน ท้าทายกระบวนทัศน์เศรษฐศาสตร์(กระแสหลัก)”

อมาตยา เซน แสดงปาฐกถานำในงานเฉลิมฉลองหกสิบปีการทำงานของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) ในงานนี้ อมาตยา เซน เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ เข้ารับรางวัล Award for Life Achievement นับเป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้จากคณะกรรมาธิการฯแห่งสหประชาชาติ

นายบัน คีมุน เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลาหกทศวรรษที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการฯแห่งสหประชาชาติได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับประชาชนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อขจัดความกลัวและความขาดแคลน ทุกวันนี้ ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งมีประชากรหกพันล้านคน เป็นขุมพลังให้กับเศรษฐกิจโลก

คณะกรรมาธิการฯแห่งสหประชาชาติ ได้เลือกประโยค “สร้างศตวรรษใหม่ให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเจริญรุ่งเรือง” เป็นคำขวัญ นายคิม ฮัก ซู เลขาธิการใหญ่ของเอสแคปแถลงว่า “มันเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องรับใช้ประชาชนในภูมิภาคนี้ และจะทำงานกันให้เกิดสัมฤทธิผล ในช่วงเวลาประวัติศาสตร์เช่นนี้ เราจะพยายามสุดความสามารถเพื่อสร้างศตวรรษใหม่ให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเจริญรุ่งเรือง”

เอสแคป ประกอบด้วยสมาชิกหกสิบสองประเทศ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 1947 เดิมมีชื่อว่า คณะกรรมการเศรษฐกิจเพื่อเอเชียและตะวันออกไกล (ECAFE) คณะกรรมการเศรษฐกิจฯได้ย้ายสำนักงานใหญ่จากกรุงเซี่ยงไฮ้ มาที่กรุงเทพมหานครในปี 1949

……………………………………..