วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550

เชื้อร้ายเสรีนิยม: สงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุด และการทำให้โลกเป็นเหมือนอเมริกา


บทวิจารณ์หนังสือ

เชื้อร้ายเสรีนิยม: สงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุด และการทำให้โลกเป็นเหมือนอเมริกา โดย ซาเมียร์ อามิน

The Liberal Virus: Permanent War and the Americanization of the World by Samir Amin

---- บทวิจารณ์ของ เซท แซนดรอนสกี ----

หมายเหตุ ต้นฉบับภาษาอังกฤษนำเสนอท้ายฉบับแปล

พวกเสรีนิยมมีอำนาจปกครองเบ็ดเสร็จแล้วอย่างนั้นหรือ? คนพวกนี้ทำร้ายคนที่ตนเองต้องการช่วยจริงหรือไม่? จะตอบคำถามนี้ได้ ต้องขึ้นอยู่กับว่าคุณนิยามเสรีนิยมว่าอย่างไร ครั้งหนึ่ง การเป็นเสรีนิยมคือการให้อภิสิทธิ์กับตลาดเหนือชีวิตคน เช่นที่ อดัม สมิธ นักปราชญ์ทุนนิยมได้เขียนไว้เมื่อสองศตวรรษที่ผ่านมาว่า เสรีนิยมคือการที่ประเทศต่างๆ รวมถึงชนชั้นต่างๆพากันแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน หรือเรียกว่า เสรีภาพในการตลาด เมื่อสังคมมีอิสระก็จะเจริญรุ่งเรือง ในปัจจุบัน เสรีนิยม หมายถึงนโยบายหรือแนวคิดที่สวนทางกับอิสรภาพในการตลาด ดังที่อดัม สมิธเคยเขียนไว้ แนวคิดของนักปราชญ์ท่านนี้เป็นเพียงความหมายดั้งเดิมของลัทธิเสรีนิยม ความจริงในทุกวันนี้ มันเป็นเพียงวิถีทางอนุรักษ์นิยม หรือการเปิดตลาดให้เสรีเท่านั้น

ซาเมียร์ อามิน ผู้แต่ง เป็นนักสังคมศาสตร์ชาวเมืองดักการ์ ประเทศซีเนกัล เขียนว่า อเมริกาภายใต้บัญชาการของนายจอร์จ ดับยา บุช มีลัทธิเสรีนิยมเป็นความเจ็บป่วยที่เป็นอันตรายอย่างยิ่ง ในหนังสือเล่มนี้ (ซึ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Monthly Review Press ปี 2004) อามินเสนอว่า เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกจากไวรัสเสรีนิยม มีต้นตอมาจากทฤษฏีการตลาดในจินตนาการซึ่งไม่เป็นจริง (อุปโลกน์) ทฤษฏีนี้นำเสนอภาพในอุดมคติของระบบทุนนิยม ไม่มีการเคลื่อนไหวต่อสู้ของประชาชน ไม่มีการเหยียดเชื้อชาติ ไม่มีการเหยียดเพศ และไม่มีลัทธินิยมกองทัพ อยู่เลยแม้แต่น้อย มีเพียงการต่อสู้กับการว่างงาน และสู้กับสงครามเพื่อป้องกันการรุกราน ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติเท่านั้น.

อ่านหนังสือของซาเมียร์ อามินแล้ว ช่วยให้เราเห็นความแตกต่างของตลาดในจินตนาการ และทุนนิยมที่แท้จริงได้ชัดเจนขึ้น เช่นกรณีการโจมตีอิรักของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ พร้อมกับบริษัทฮาลิเบอร์ตันลงมือปล้นทรัพยากรอิรัก อามินเขียนว่า การใช้กำลังเพื่อสร้างความชอบธรรมกับการแสวงหาผลกำไรของบรรษัทเป็นเรื่องป่าเถื่อน สาธารณชนอเมริกัน รวมทั้งผู้ร่วมงาน กลุ่มเพื่อนและครอบครัว ควรตั้งคำถามเรื่องความมีสติของรัฐบาลและบรรษัท ว่ายังมีอยู่หรือไม่ เหตุใดถึงทำได้ ทั้งรัฐบาลสหรัฐและบรรษัทติดเชื้อที่ ซาเมียร์ อามิน ตั้งชื่อว่า “เชื้อร้ายเสรีนิยมซึ่งเชื่อว่าตลาดจะสร้างโอกาสให้คนเข้าถึงเสรีภาพ.

อามินเชื่อว่า ในมุมมองประวัติศาสตร์ เชื้อร้ายเสรีนิยมแพร่มาจากระบบความเชื่อในลัทธิเสรีนิยมสุดขั้ว ที่ถือเอาสหรัฐอเมริกาเป็นศูนย์กลาง ที่น่าเศร้าคือ มันเป็นปฏิปักษ์กับแนวคิดเรื่องความเสมอภาค (ในทางตรงกันข้าม) ความเสมอภาคเป็นแก่นสารของแนวคิดปลดปล่อยในยุโรป นับตั้งแต่การปฏิวัติในฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับชาวเฮติและชนชาติต่างๆ ที่มีแนวคิดปฏิวัติสังคม นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ความแตกต่างทางอุดมการณ์เกิดขึ้นในฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งของเรา สิ่งที่อเมริกาทำไว้มีอยู่สองอย่างคือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการกดคนลงเป็นทาส เราและคนอื่นๆในโลกมีชีวิตอย่างทรมานแสนสาหัส เนื่องจากความป่วยไข้ของวัฒนธรรมการเมืองอเมริกัน อามิน กระหน่ำโจมตีสหรัฐอเมริกันอย่างไม่ยั้ง.

อามินเขียนว่า “สังคมอเมริกันเกลียดชังความเสมอภาค ไม่เพียงแต่ยอมรับความเหลื่อมล้ำอย่างสุดขั้ว ยังถือว่ามันเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จ ที่ได้จากเสรีภาพอีกด้วย แต่ทว่า เสรีภาพที่ปราศจากความเสมอภาคคือความป่าเถื่อนผมเข้าใจมากขึ้นแล้วว่า ทำไมชาวยุโรปที่มีชั่วโมงทำงานน้อยกว่า จึงมีสุขภาพดีกว่าชาวอเมริกัน.

อามินเชื่อมั่นว่า ชาวยุโรปจะสามารถสร้างนโยบาย ที่ให้ความสำคัญกับมนุษยชาติยิ่งกว่าผลกำไร ผมเองเชื่อว่า เราชาวอเมริกันจะเป็นกุญแจสำคัญที่สามารถเปลี่ยนระบบโลก ซึ่งยกย่องการทำลายล้าง ให้เป็นโลกที่เกื้อกูลมนุษยชาติ ผมชื่นชมชาวยุโรปที่ออกมาออกมาต่อต้านสิ่งที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์สิบเอ็ดกันยายน และการรุกรานปกครองอิรักเพื่อตั้งฐานทัพของสหรัฐอย่างแข็งขัน.

อามินให้เหตุผลเรื่องสงครามการก่อการร้ายของสหรัฐว่า เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอำพรางเศรษฐกิจสหรัฐที่ถดถอยลงเรื่อยๆ นับแต่สงครามเวียดนาม ที่กองทัพสหรัฐเกรี้ยวกราดเป็นการโต้ตอบคู่แข่งทางการค้าในทวีปเอเชียและยุโรป การวิเคราะห์การเมืองและเศรษฐกิจอย่างถึงรากถึงโคนของซาเมียร์ อามิน ทำได้ยอดเยี่ยม ลองอ่านบทที่ชื่อ “คำถามของเกษตรกร อามินชี้ว่าเกษตรกรสามพันล้านคนกำลังเผชิญหน้ากับเกษตรกรรมแผนใหม่ยี่สิบล้านแห่ง ธุรกิจเกษตรทุนนิยมกำลังขับไล่เกษตรกรรายย่อยออกจากแผ่นดิน มุ่งสู่เมืองใหญ่ในประเทศโลกที่สามและในสหรัฐอเมริกา ที่ที่ค่าจ้างไม่พอเลี้ยงชีวิต ต้นตอมาจากข้อตกลงการค้าหลายฉบับเช่น ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (หรือ NAFTA—ผู้แปล) ซึ่งเหยียบย่ำทำลายเกษตรกรรมขนาดเล็กในเม็กซิโก.

ผมชอบซาเมียร์ อามินวิจารณ์อุดมการณ์ก่อสงครามไม่สิ้นสุดของสหรัฐ แต่ผมอยากให้นำเสนอด้วยว่า อุดมการณ์ตลาดเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเรื่องโกหกเกี่ยวกับตลาดทางช่องฟ๊อกซ์ทีวีก็ใช่ แต่คนเราสามารถสร้างอุดมการณ์ตลาดอื่นๆได้อีก สังเกตจากลักษณะงานในประเทศทุนนิยมร่ำรวยเช่นสหรัฐอเมริกา ความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างบีบคั้นให้คนส่วนใหญ่ต้องยอมก้มหัวให้กับแนวคิดเผด็จการในที่ทำงาน ว่าเป็นกฎของธรรมชาติ เช่นเดียวกับแรงโน้มถ่วง จะมีการตลาดที่เสรีได้อย่างไร หากปราศจากอิสรภาพในการทำงาน อยากป้องกันตัวเองจากความเจ็บป่วยของการสร้างภาพการตลาด ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้!

-------------------

เซท แซนดรอนสกี เป็นสมาชิกของกลุ่มรณรงค์ต่อสู้แบบไม่ใช้ความรุนแรงแห่งเมืองซาคราเมนโต (Sacramento Area Peace Action) เป็นบรรณาธิการร่วมของหนังสือพิมพ์หัวก้าวหน้าชื่อ Because People Matter สามารถติดต่อ เซท แซนดรอนสกี ที่ ssandron@hotmail.com


ต้นฉบับ

Book review

The Liberal Virus, by Samir Amin


Are liberals in control? Do they really hurt the people they try to help? How you answer depends on your definition of the "L" word.

Once, to be a liberal meant to privilege the market over people. So wrote Adam Smith, the guru of capitalism, over two centuries ago. For him, liberalism was nations and peoples pursuing their self-interest, or freedom, in the marketplace. Thus freed, society would prosper.

Currently, liberalism describes policies or views that run counter to the market freedom that Smith backed. His vision was the traditional meaning of liberalism. Today it is actually the conservative, or free-market, approach.

In George W. Bush’s America, such liberalism is a dangerous sickness, writes author Samir Amin, a top social scientist based in Dakar, Senegal. In his book titled The Liberal Virus: Permanent War and the Americanization of the World (Monthly Review Press, 2004), he argues that the global consequences of this virus are spawned by a theory of an imaginary market. It presents an idealized version of the capitalist economy. Thus regular people’s struggles against racism, sexism and militarism vanish. In their places are "natural" rates of unemployment and "preventive" wars.

Reading Amin’s book helps us to see more clearly the distinction between the imaginary market and real capitalism. A case in point is the Pentagon’s smashing of Iraq as Halliburton Corp. is looting its energy resources. This trend of might makes right for corporate profits is barbaric, he notes.

Say that in public and many Americans—including co-workers, friends and family — might question your sanity. Why? They are infected with what Amin terms the "liberal virus," that the market brings us the opportunity for liberty.

For him, this virus flows, historically, from a U.S.-centered belief system of extreme individualism. Tragically, it has crushed the concept of equity. By contrast, equity has been central to European liberalism since the French Revolution that inspired revolutionary Haitians, and others.

The opposite has been and is the case on our side of the Atlantic. Two examples are the U.S.America’s political culture. Amin pulls no punches in criticizing the U.S.

"American society despises equality," he writes. "Extreme inequality is not only tolerated, it is taken as a symbol of "success" that liberty promises. But liberty without equality is equal to barbarism." I better understand now why Europeans work fewer hours and have better health care than Americans.

Amin has much faith in Europeans to forge policies that put humanity before profitability. I see the American people—you and me—as the key to changing the world system from one that glorifies brutality into one that nurtures humanity. Still, I am heartened by Europeans strong opposition after 9/11 to the U.S. invasion and occupation of Iraq that is establishing American military bases there.

America’s war on terror, Amin reasons, is partly a cover for a weak U.S. economy in decline since the Vietnam War. American military aggression is a response to the rise of Asian and European commercial rivals.

Amin’s radical analysis of politics and economics is a knockout. Consider his section on the "peasant question." Peasant agriculture, accounting for 3 billion humans, faces economic extermination by 20 million modern farms, he warns. Such capitalist agribusiness is driving these small farmers off their land and into big cities in the Third World and the U.S. that lack livable employment. Case in point is commercial pacts such as the North American Free Trade Agreement that are smashing small farming in Mexico.

I applaud Amin for critiquing the ideology of America’s permanent war culture. However, I wanted more on how market ideology is produced.

Believing the market myths on FOX-TV is one thing. Yet people’s lives generate market ideology in other ways. Take the nature of their work in a rich capitalist nation such as the U.S. Such relations of inequality between laborers and bosses force most folks most of the time to accept workplace tyranny as a natural law, like gravity. How can there be a "free" job market in the absence of freedom on the job?

--Seth Sandronsky, a member of Sacramento Area Peace Action and a co-editor of Because People Matter, Sacramento’s progressive paper. He can be reached at: ssandron@hotmail.com. legacy of genocide and slavery. We and the world are the worse for the resulting sickness of

http://www.politicalaffairs.net/article/articleview/893/1/86/

อาหารคือของขวัญเพื่อแบ่งปัน


อาหารคือของขวัญเพื่อแบ่งปัน

Gift of Food by Vandana Shiva

วันทนา ศิวะ เขียน ชำนาญ ยานะ แปล

หมายเหตุ งานแปลชิ้นนี้ยังอยู่ในระหว่างการตรวจสอบความถูกต้อง อาจมีความผิดพลาด จึงขอให้ผู้อ่านช่วยตรวจสอบและเสนอแนะความเห็นได้ เมื่อแก้ไขแล้ว ผู้แปลจะนำไปเผยแพร่บนเวปไซต์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ต่อไป อนึ่ง ต้นฉบับแปลอยู่ด้านล่างของบทความนี้ เพื่อความสะดวกในการเทียบเคียง

สิ่งแรกที่เราระลึกถึงเมื่อกล่าวถึงอาหารคือ อาหารเป็นรากฐานของชีวิต อาหารมีชีวิต มิใช่เพียงก้อนวัตถุที่รวมคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและแร่ธาตุเข้าไว้ด้วยกันเท่านั้น นอกจากจะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิ่งมีชีวิตแล้ว อาหารยังเป็นผู้สร้างชีวิต (Creator) อีกด้วย เพราะเหตุนี้ ชาวอินเดียที่ยากจนจึงมีหม้อดินเล็กๆไว้สำหรับกราบไหว้บูชาในบ้าน ขนมปังก้อนแรกที่พวกเขามี จะนำไปให้วัว หลังจากนั้นชาวอินเดียจะตรวจดูว่า ในละแวกที่ตนเองอาศัย มีใครอีกบ้างที่ไม่มีอาหารกิน (เพื่อจะแบ่งขนมปังที่มีอยู่ให้คนคนนั้นผู้แปล) ในจารึกศาสนบัญญัติอินเดียโบราณ มีคำกล่าวว่า ผู้ให้อาหารคือผู้ให้ชีวิต ฉะนั้นผู้ที่ต้องการแสวงหาความสุขสวัสดีทั้งในภพนี้และภพหน้า จะต้องเป็นผู้ที่ถือเอาการแบ่งปันอาหารเป็นกิจของตน

เนื่องจากอาหารเป็นรากฐานของการสร้างสรรค์ ฉะนั้นอาหารเองจึงเป็นการสร้างสรรค์และเป็นผู้สร้างชีวิตในเวลาเดียวกัน พวกเรามีหน้าที่หลายอย่างที่ต้องปฏิบัติ เพื่อแสดงความเคารพกับสิ่งที่เรากินเข้าไป สังคมใดมีคนที่มีอาหารกินอย่างถ้วนหน้า แสดงว่าสังคมนั้นยังไม่ลืมหน้าที่ที่มีต่ออาหาร แต่หากสังคมใดมีคนอดอยากอยู่ นั่นก็แสดงว่าสังคมได้ละทิ้งศีลธรรมที่มีต่ออาหารไปแล้ว

คนเราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้ ก็เพราะมีอีกหลายชีวิตได้ดำรงอยู่มาก่อน เช่นพ่อแม่ ผืนดิน ไส้เดือนดิน ในประเทศอินเดีย การแบ่งปันอาหารเป็นการเสียสละที่ชาวอินเดียพึงกระทำเป็นกิจวัตรประจำวัน ถือเป็นพิธีกรรมที่ฝังแน่นอยู่ในอาหารทุกมื้อ สะท้อนความคิดที่ว่า การให้คือสภาวะของการมีชีวิตอยู่ ชาวอินเดียมิได้ให้เพราะถือเป็นกิจกรรมพิเศษ แต่ให้เพราะตระหนักถึงความเชื่อมโยงของสรรพชีวิต

มีภาพภาพหนึ่งที่ติดตาตรึงใจข้าพเจ้าเกี่ยวกับประเทศอินเดีย นั่นคือภาพของโกลัม(kolam) ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ฝีมือสตรีชาวอินเดีย ทำขึ้นเพื่อประดับไว้หน้าบ้าน ในช่วงเทศกาลปองกัล (pongal) อันเป็นเทศกาลเกี่ยวข้าวทางภาคใต้ของอินเดีย ข้าพเจ้าสังเกตเห็นสตรีในท้องถิ่นนั้นตื่นก่อนฟ้าสาง เพื่อประดิษฐ์โกลัมอยู่ภายนอกบ้าน

เหตุผลจริงๆของสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวก็เพื่อแบ่งอาหารให้มด โกลัมเป็นงานศิลป์ที่ผู้เป็นแม่ถ่ายทอดให้ลูกสาว ในเทศกาลปองกัล สตรีทุกคนต่างพากันทำโกลัมของตนอย่างสุดฝีมือเพื่อเป็นการทำบุญ ดังนั้นการให้อาหารมดกับการสร้างสรรค์ศิลปะจึงบรรสานสอดคล้องกัน

ข้าพเจ้าเคยไปเยือนถิ่นชาวเขาเผ่าชาติการ(Chattigarh) ซึ่งเป็นพื้นที่ปลูกข้าวสายพันธ์อินเดีย เป็นครั้งแรกเมื่อประมาณสิบห้าปีที่แล้ว ผู้คนแถบนั้นกำลังสานชิ้นงานที่ทำด้วยข้าวอย่างสวยงามยิ่งเพื่อเอาห้อยไว้นอกบ้าน ตอนแรกข้าพเจ้าคิดว่าคงจะมีเทศกาลบางอย่างเป็นแน่ จึงได้เอ่ยถามไปว่า ท่านประดิษฐ์งานชิ้นนี้เนื่องในโอกาสพิเศษอะไรหรือ?” คนเหล่านั้นตอบว่า เปล่าหรอก พอดีฤุดูนี้เป็นช่วงที่นกไม่สามารถหาเมล็ดข้าวในนากินได้เขาต้องการแบ่งเมล็ดข้าวให้สัตว์ต่างๆ ในรูปของงานฝีมือที่ประณีตนั่นเอง

เพราะเราเป็นหนี้สรรพสิ่งต่าง สิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเหล่านั้นจึงเป็นแรงบันดาลใจเรื่องการให้อาหารเป็นทาน (annadana) หรือการแบ่งปันอาหาร วิถีชีวิตในสังคมเกื้อหนุนให้ทุกคนยึดถือการแบ่งปันอาหารเป็นประจำทุกวัน ดังสุภาษิตอินเดียที่ว่า ไม่มีการให้ทานใดยิ่งใหญ่กว่าการแบ่งปันอาหาร หรือในบทสวดศักดิ์สิทธิ์ก็กล่าวไว้เช่นกันว่า อย่าปล่อยให้คนที่มาเยือนประตูหน้าบ้านของท่านกลับไโดยไม่ได้รับอาหารหรือความเอื้อเฟื้อใดๆจากท่านเป็นอันขาด นี่เป็นกฏที่มนุษย์จะละเว้นเสียมิได้ มนุษย์มีอาหารกินอย่างอุดม ต้องมีหน้าที่ทำนุบำรุงความอุดมดังกล่าวไว้ ตลอดจนประกาศให้ทั้งโลกได้ทราบว่า มีอาหารไว้พร้อมแล้วสำหรับทุกชีวิตบนโลกนี้ ด้วยวัฒนธรรมการให้ทาน เราทั้งหลายจะถึงพร้อมด้วยความอุดมสมบูรณ์และการแบ่งปันกัน

หากเรามองดูสภาพปัจจุบันที่โลกกำลังประสบอยู่ จะเห็นการผลิตอาหารจนล้นเกินความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกัน ผู้คนจำนวน 820 ล้านคนกำลังต้องการอาหาร ในฐานะนักนิเวศวิทยา ข้าพเจ้ามองว่าส่วนเกินของการผลิตอาหารเป็นส่วนเกินจอมปลอม ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะคลังเก็บอาหารและชั้นวางในตลาดแน่นขนัดไปด้วยของกิน อันเป็นผลจากระบบการผลิตและการกระจายอาหารที่แย่งอาหารจากมือคนอ่อนแอและคนที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ตลอดจนแย่งอาหารจากสรรพชีวิตอื่นๆ

ครั้งหนึ่งข้าพเจ้าเดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้ามาร์คแอนด์สเปนเซอร์ (Mark and Spencer) ข้าพเจ้ารู้สึกสะท้อนใจที่เห็นอาหารในนั้น เพราะข้าพเจ้าทราบดีว่า กล้วยที่วางขายอยู่ได้มาจากการเปลี่ยนไร่นาของชาวนาชาวไร่ให้เป็นแปลงปลูกกล้วยขนาดใหญ่ ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าเห็นห้างสรรพสินค้า ข้าพเจ้าเห็นภาพชุมชนและระบบนิเวศน์ที่มีศักยภาพในการผลิตเลี้ยงสิ่งมีชีวิตทั้งมวลถูกทำลาย เพียงเพื่อให้คนจำนวนน้อยนิดในโลกได้มีอาหารจนล้นเกินความสามารถที่จะบริโภค แต่อนิจจา อาหารที่ล้นเกินเหล่านี้เป็นสิ่งจอมปลอม ที่ผลักไสให้คนอีก 820 ล้านคนขาดแคลนอาหาร ในขณะที่คนอื่นๆที่เหลือบริโภคมากเกินพอดีจนเจ็บป่วยและเป็นโรคอ้วน

ทีนี้ลองกลับมาดูกันซิว่า มนุษย์ผลิตอาหารได้อย่างไร ก่อนอื่นเราต้องมีผืนดินที่จะทำหน้าที่เป็นระบบที่มีชีวิต เพื่อการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน เราต้องการสิ่งมีชีวิตในดินจำนวนหลายล้านชนิดเพื่อให้ดินอุดมสมบูรณ์ ความอุดมสมบูรณ์จะผลิตอาหารที่มีคุณประโยชน์ให้กับเรา ในวัฒนธรรมแบบอุตสาหกรรม เราลืมไปว่าไส้เดือนสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน โดยพากันเชื่อว่า ความอุดมสมบูรณ์ของดินได้มาจากธาตุไนเตรด ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลือจากโรงงานผลิตวัตถุระเบิด อีกทั้งยังเชื่ออีกว่า การกำจัดแมลงไม่ได้เกิดจากความสมดุลของพืชพันธ์ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด แต่มาจากการใช้ยาพิษ เมื่อเราสามารถรักษาความสมดุลได้ สิ่งมีชีวิตต่างๆจะไม่กลายเป็นแมลงรบกวนที่ต้องกำจัดทิ้ง แต่จะอยู่ร่วมกันโดยไม่มาทำลายพืชผักที่เราปลูก

มีรายงานล่าสุดจากองค์การเกษตรกรรมและอาหาร แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า มนุษย์ใช้วิธีการใดผลิตอาหาร แต่คำนวณออกมาแค่ตัวเลขแรงงานที่ถูกผลักไส (labour displacement) ออกจากการบวนการผลิต โดยให้ความสำคัญเฉพาะการผลิตภาคแรงงาน (labour productivity) เท่านั้น ตัวอย่างเช่น มีอาหารจำนวนเท่าใดบ้าง ที่ได้จากการใช้เทคโนโลยีที่กีดกันแรงงานคน กีดกันสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ตลอดจนทำลายแหล่งทรัพยากรที่ใช้ผลิตอาหารนั้นๆด้วยซ้ำ เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่ได้แปลว่าเราผลิตอาหารได้มากขึ้นต่อขนาดพื้นที่ ไม่ได้แปลว่าเราได้อาหารเพิ่มขึ้นต่อหน่วยการใช้น้ำ ไม่ได้แปลว่าเราได้อาหารเพิ่มขึ้นเพื่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่ต้องการอาหารเหมือนกับเรา ความต้องการอันหลากหลายดังที่กล่าวมานี้กำลังถูกทำลาย เมื่อเรานิยามประสิทธิภาพการผลิตให้เหลือแค่การผลิตอาหารต่อหน่วยแรงงาน

เรากำลังใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมที่แพร่ขยายความรุนแรงออกไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในระหว่างที่เดินทางไปเมืองปัญจาบ ข้าพเจ้าตกใจมากเมื่อทราบว่า แมลงที่ช่วยผสมเกษรได้ตายจากไปหมดแล้ว คนที่บ้าคลั่งเทคโนโลยีได้ดัดแปรพืช ด้วยการยิงยีนส์มีพิษของเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ บาซิลลัส ทูริงเจนซิส เข้าไปในต้นพืช เพื่อให้พืชนั้นสามารถสร้างสารพิษออกมาตลอดเวลา ทั้งในเซลทุกเซล ในใบ ในรากและในเกษร เมื่อแมลงเต่าทองและผีเสื้อกินพืชดังกล่าวเข้าไป จึงพากันตาย

เพราะคนพวกนั้นมืดบอดจึงมองไม่เห็นข่ายใยชีวิต(web of life) ที่ตนเองกำลังทำลายลงไป เราจะเห็นความเชื่อมโยงได้ ก็ต่อเมื่อเรารู้สึกต่อความอ่อนไหวของข่ายใยดังกล่าว เมื่อตระหนักรู้ได้เช่นนี้ เราจะทราบว่า ตนเองเป็นหนี้บุญคุณสิ่งต่างๆในเรื่องใดบ้าง เป็นหนี้บุญคุณแมลงผสมเกษรอย่างไร เป็นหนี้ชาวนาชาวไร่ผู้ผลิตอาหารให้เรากิน ตลอดจนเป็นหนี้คนที่นำอาหารมาให้เรา ในยามที่ตนเองไม่สามารถหาอาหารกินเองได้อย่างไรบ้าง

การแบ่งปันอาหารสัมพันธ์กับความเชื่อที่ว่า เราทุกคนเกิดมาเพื่อใช้หนี้สรรพชีวิตอื่นๆ เรามีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะหนี้ชนิดนี้ เราเกิดมาพร้อมกับหนี้ เราจึงต้องใช้หนี้คืนชั่วชีวิต ต้องใช้หนี้ให้กับผึ้งและผีเสื้อที่ผสมเกษรให้เรา ใช้หนี้ให้กับไส้เดือนและรา รวมถึงจุลชีพ (microbe) และแบคทีเรียในดินที่ทำงานอย่างแข็งขัน เพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน ซึ่งปุ๋ยเคมีไม่มีวันที่จะทำได้

เราเกิดมาและดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยหนี้ ที่มีต่อการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ(Creation) เราจึงต้องจำใส่ใจไว้ ของขวัญสำหรับแบ่งปันกันของอาหารคือการระลึกรู้เรื่องการใช้คืน ภารกิจดังกล่าวถือเป็นความรับผิดชอบ เป็นเรื่องของการยอมรับและความพยายามตอบแทนบุญคุณให้กับการสร้างสรรค์ของธรรมชาติ และตอบแทนชุมชนที่เราเป็นสมาชิก เหล่านี้เป็นเหตุผลที่วัฒนธรรมส่วนใหญ่มองนิเวศน์วิทยา (ecology) ว่าเป็น sacred trust (หรือ สิ่งที่ประกันการอยู่รอดอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งต้องกราบไหว้ผู้แปล) ที่ระบุความรับผิดชอบ เมื่อข้าพเจ้าใส่ใจให้ทุกคนรอบตัวมีอาหารกิน คนที่อยู่รอบตัวข้าพเจ้าก็จะใส่ใจว่าข้าพเจ้าเองจะมีอาหารกินเช่นเดียวกัน

ในตอนที่ข้าพเจ้าลาออกจากการสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยเมื่อปี ค..1982( หรือปี พ..2525) ทุกคนต่างถามข้าพเจ้าว่า อาจารย์จะอยู่อย่างไรถ้าไม่ได้รับเงินเดือนข้าพเจ้าตอบว่า ถ้าชาวอินเดียร้อยละเก้าสิบสามารถมีชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากเงินเดือน ข้าพเจ้าก็สามารถมีชีวิตอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์แบบมีหลักประกันการอยู่รอดร่วมกับคนเหล่านั้นได้เช่นเดียวกันหากเรารู้จักให้ เราก็จะได้รับเป็นการตอบแทน ไม่ต้องคำนวณว่าจะได้รับเท่าไหร่ สิ่งเดียวที่เราควรสนใจคือการให้ก็เพียงพอแล้ว

ในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ เราก็เป็นหนี้ แต่เป็นหนี้สิน เด็กที่เกิดในประเทศโลกที่สามทุกประเทศ มีหนี้ติดตัวหลายล้านดอลลาร์ โดยมีธนาคารโลกเป็นเจ้าหนี้ ซึ่งสามารถใช้อำนาจสั่งให้เราและประเทศของเราเลิกผลิตอาหารสำหรับใส้เดือนและนก หรือแม้แต่อาหารสำหรับมนุษย์ด้วยกันเอง จากนั้นก็สั่งให้เราเลี้ยงกุ้งหรือปลูกดอกไม้เพื่อส่งออก เพราะนั่นเป็นวิธีที่สามารถหาเงิน(มาใช้หนี้)ได้

แม้จะหาเงินได้ก็จริง แต่ก็เป็นจำนวนไม่มากนัก ข้าพเจ้าคำนวณแล้วว่า หากคิดในแง่ผลกำไร เงินที่ได้จากการทำธุรกิจระหว่างประเทศหนึ่งดอลลาร์ จะก่อให้เกิดการทำลายล้างเชิงนิเวศและเศรษฐกินในระบบนิเวศท้องถิ่นคิดเป็นมูลค่าสิบดอลลาร์ ฉะนั้นทุกหนึ่งดอลลาร์ที่ได้มาจากการค้า เราต้องสูญเสียต้นทุนแฝง(หรือ shadow cost) ถึงสิบดอลลาร์ ไปกับการปล้นชิงอาหารจากคนที่เขาต้องการอาหาร เราสามารถทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้จากการสังเกตการค้าระหว่างประเทศที่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น ความขาดแคลนอาหารยิ่งเพิ่มสูงขึ้นด้วย นั่นเป็นเพราะผู้ที่ต้องการอาหารมากที่สุด กลับถูกผลักไสออกจากระบบการค้า เพื่อไม่ให้ได้รับอาหาร

สิ่งที่เรียกว่าการค้าเสรีกำลังพยายามทุกวิถีทาง ที่จะฉุดกระชากผู้คนไม่ให้ตอบสนองความต้องการของคนอื่นแม้แต่ความต้องการของตนเองได้

มีคนถามข้าพเจ้าว่า เราจะปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ(biodiversity) ได้อย่างไร ถ้าหากจำเป็นต้องตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ข้าพเจ้าตอบว่า วิธีเดียวที่จะตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของมนุษย์ได้คือการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะถ้าเราดูแลรักษาไส้เดือน นกและผีเสื้อไม่ได้ เราก็ดูแลรักษามนุษย์ด้วยกันไม่ได้เช่นเดียวกัน

ความคิดที่ว่า มนุษยชาติสามารถตอบสนองความต้องการของตน ด้วยการทำลายสรรพชีวิตอื่นๆให้สูญสิ้นไปเป็นสมมุติฐานที่ผิดพลาด เพราะแนวคิดนี้มาจากการมืดบอดต่อข่ายใยชีวิต ที่เชื่อมโยงเราทุกคนเข้าด้วยกัน มองไม่เห็นว่าเราทุกคนดำรงชีวิตอย่างบรรสานสอดคล้องและพึ่งพาอาศัยกัน

วัฒนธรรมเดี่ยว(monoculture) เพียงหนึ่งเดียว สามารถสร้างวัฒนธรรมเดี่ยวอื่นๆให้มีมากขึ้น แต่ไม่ได้สร้างอาหารให้มากขึ้นแต่อย่างใดทั้งสิ้น ถ้าเรามีสวนสักแห่ง เรานำพืชยี่สิบชนิดลงปลูก เราจะได้ผลผลิตจำนวนมหาศาล แต่ถ้าปลูกพืชชนิดเดียว เช่นปลูกแต่เข้าโพดหรือข้าวฟ่าง แล้วเทียบกับสวนที่สวนที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว เราจะได้อาหารน้อยกว่า เพราะทั้งสวนไม่ได้มีแต่ข้าวโพดอย่างเดียว ดังนั้นการเปลี่ยนจากระบบการปลูกพืชแบบหลากหลาย ไปเป็นระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยวแบบอุตสาหกรรม ที่ใช้สารเคมีและเครื่องจักร เราจะพบว่าเราได้ผลผลิตมากกว่า(การปลูกพืชแบบหลากหลาย) ถึงแม้ว่าความจริงเราจะได้ผลผลิตน้อยลงกว่าเดิมก็ตาม

เมื่อมีสิ่งมีชีวิตน้อยลง ผลผลิตก็ยิ่งน้อยลง สารอาหารน้อยลง เกษตรกรน้อยลง อาหารมีน้อยลง การหาสารอาหารมาบำรุงร่างกายทำได้น้อยลง ถึงอย่างนั้น เราก็ยังถูกล้างสมองให้เชื่อว่า เราผลิตได้มากขึ้นทั้งๆที่ผลิตได้น้อย อย่างนี้เรียกว่าภาพลวงตาชนิดหยั่งลึกเข้าไปในจิตใจ (deep illusion)

ในปัจจุบัน การค้าไม่ใช่การแลกเปลี่ยนสิ่งที่เราต้องการเพราะเราผลิตเองไม่ได้ แต่การค้าเป็นเรื่องของการหยุดผลิตสิ่งที่เราต้องการ หยุดช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะซื้อสิ่งเหล่านี้จากที่อื่น

มีบรรษัทค้าเมล็ดพันธ์สี่บรรษัท บรรษัทที่ใหญ่ที่สุดคือ คาร์กิล (Cargills) ซึ่งควบคุมการค้าอาหารทั่วโลกคิดเป็นร้อยละเจ็ดสิบ มีอำนาจกำหนดราคาตามใจชอบ บรรษัทเหล่านี้ชี้นำเกษตรกรว่าสิ่งใดควรปลูก จากนั้นรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคาถูก ในขณะเดียวกัน ก็ขายผลผลิตนั้นให้กับผู้บริโภคในราคาแพง ในกระบวนการผลิต บรรษัทค้าเมล็ดพันธ์ก่อพิษภัยให้กับทุกส่วนของห่วงโซ่อาหาร บรรษัทเหล่านี้ไม่เคยให้ คิดแต่เพียงผลประโยชน์แม้จนชิ้นสุดท้าย ทั้งจากระบบนิเวศ จากสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตลอดจนจากคนยากจน รวมถึงจากประเทศโลกที่สาม

ต้นปี คศ. 1990 (หรือ พศ.2543) บริษัทคาร์กิลแถลงว่า ชาวนาอินเดียช่างโง่เขลานัก คนพวกนี้โง่ถึงขนาดไม่รู้ว่าเมล็ดพันธ์ของเรานั้นเฉลียวฉลาด เราค้นเทคโนโลยีใหม่ ที่ป้องกันไม่ให้ผึ้งขโมย เกษรดอกไม้ได้

แนวคิดของขวัญจากอาหารบอกว่า เกษรดอกไม้เป็นของขวัญสำหรับแบ่งปัน ที่เราต้องรักษาไว้ให้แมลงที่ผสมเกษร ดังนั้นเราจึงต้องปลูกพืชที่เปิดโอกาสให้ผึ้งและผีเสื้อผสมเกษรได้ เพราะเกษรคืออาหารของแมลง พวกมันมีสิทธิ์ใช้พื้นที่ทางนิเวศ (ecological space) เราต้องระมัดระวังไม่ให้ตนเองรุกล้ำพื้นที่ของแมลงเหล่านั้น

แต่บริษัทคาร์กิลกลับหาว่า ผึ้งขโมยเกษรดอกไม้ ก็เพราะบริษัทนี้นิยามว่า เกษรดอกไม้ทุกอณูเป็นของตน เช่นเดียวกับที่บริษัทมอนซานโต้บอกว่าเราสามารถป้องกันไม่ให้วัชพืชขโมยแสงแดดได้ ด้วยการใช้ยาฆ่าหญ้าราวอัพโลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ ซึ่งถือเป็นพลังที่ให้ชีวิต แต่บริษัทมอนซานโต้กลับมาบอกว่า ตนเองและเกษตรกรที่ทำสัญญาปลูกพืชกับทางบริษัทมีสิทธิ์ในการใช้แสงอาทิตย์แต่เพียงผู้เดียว ใครอื่นนอกจากนี้หากมาใช้ร่วมถือเป็นการโจรกรรม

โลกที่เราอยู่จึงเป็นโลกที่ตรงกันข้ามกับการแบ่งปันอาหารกัน เป็นโลกที่ฉกฉวยอาหารไปจากห่วงโซ่อาหารและข่ายใยชีวิต แทนที่จะเป็นการแบ่งปันกัน เรากลับยึดถือผลกำไรและความโลภเป็นสรณะสูงสุด น่าเศร้านักที่ผลกำไรเพิ่มมากขึ้น การขาดแคลนอาหารกลับยิ่งเพิ่มสูงสุด ความเจ็บป่วย การทำลายล้างธรรมชาติ การทำลายล้างผืนดิน การทำลายล้างผืนน้ำ การทำลายล้างความหลากหลายทางชีวภาพ ทำให้ระบบอาหารที่เรามีขาดความยั่งยืนยิ่งๆขึ้นไป พวกเราต่างยู่ในวังวนหนี้ ไม่ใช่หนี้ที่มีต่อธรรมชาติ ไม่ใช่หนี้ที่มีต่อโลกหรือต่อสรรพชีวิตอื่นๆ แต่เป็นหนี้สินที่ต้องจ่ายคืนเจ้าหนี้และตัวแทนจำหน่ายสารเคมีและเมล็ดพันธ์ หนี้สินมาแทนที่หนี้ด้านนิเวศ การให้เพื่อทำนุบำรุงชีวิตและอาหารถูกแทนที่ด้วยการแสวงหาผลกำไรที่เพิ่มขึ้นทุกที

สิ่งที่เราต้องช่วยกันทำเดี๋ยวนี้คือการแสวงหาหนทางสลัดตัวเองจากแผนการสู่ความหายนะ ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนการค้าเสรีให้เป็นการค้าที่เป็นธรรมเท่านั้น ถ้ายังมองไม่เห็นภาพรวมที่กำลังนำเราไปสู่การใช้ยาพิษและการสร้างมลพิษให้กับชีวิตรวมถึงตัวเราเอง ก็ไม่สามารถทีจะยกระดับไปสู่วิถีสู่ความอุดมสมบูรณ์ได้อีก เราจะไม่สามารถสร้างความอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาได้ ถ้ารู้จักแต่หยิบฉวยจากธรรมชาติ โดยไม่รู้จักให้ เราจะสามารถสร้างได้แต่ความขาดแคลนเท่านั้น

ความขาดแคลนที่เกิดขึ้นในโลก เป็นส่วนหนึ่งของความขาดแคลนที่ว่า โรคร้ายอันเนื่องมาจากการดำรงชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือยที่กำลังแพร่กระจายออกไป เป็นส่วนหนึ่งของความขาดแคลนเช่นกัน ถ้าหากเราวางตนได้อย่างเหมาะสมภายในหลักประกันการอยู่รอดด้านนิเวศวิทยา และระลึกรู้ว่าเรามีหนี้ที่ต้องจ่ายคืนให้กับมนุษย์และสรรพสิ่งอื่นๆ เมื่อนั้น การปกป้องสิทธิให้กับสิ่งมีชีวิตต่างๆจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมเนียมและวิถีชีวิตของเรา ผลที่จะเกิดตามมาคือ คนที่พึ่งพาด้านอาหารจากคนอื่น จะได้รับอาหารที่ดีและได้รับประโยชน์จากอาหารนั้นเพื่อบำรุงร่างกาย ฉะนั้นหากเราเริ่มต้นจากการบำรุงข่ายใยชีวิต เราก็จะสามารถแก้ไขวิกฤตด้านเกษตรกรรม วิกฤตสุขภาพของผู้บริโภค ตลอดจนวิกฤตด้านเศรษฐกิจอันเกิดจากความยากจนในประเทศโลกที่สามได้


หมายเหตุ: แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง Gift of Food ของ Vandana Shiva ซึ่งตีพิมพ์ใน Resurgence ซึ่งเป็นนิตยสารรายไตรมาส (รายสามเดือน)ในประเทศอังกฤษ ที่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างแหวกแนวท้าทาย นอกกรอบวังวนของการศึกษากระแสหลัก มุ่งเน้นองค์ความรู้ด้านนิเวศน์วิทยา สังคมวิทยาและจิตวิญญาณ

……………………………………………………..

ต้นฉบับ

Gift of Food by Vandana Shiva

The first thing to recognise about food is that it is the very basis of life. Food is alive: it is not just pieces of carbohydrate, protein and nutrient, it is a being, a sacred being. Not only is food sacred, not only is it living, but it is the Creator itself, and that is why in the poorest of Indian huts you find the little earthen stove being worshipped; the first piece of bread is given to the cow, then you are required to find out who else is hungry in your area. In the words of the sacred texts of India, "The giver of food is the giver of life," and indeed of everything else. Therefore, one who desires wellbeing in this world and beyond should especially endeavour to give food.

Because food is the very basis of creation, food is creation, and it is the Creator. There are all kinds of duties that we should be performing with respect to food. If people have food it is because society has not forgotten those duties. If people are hungry, society has rejected the ethical duties related to food.

The very possibility of our being alive is based on the lives of all kinds of beings that have gone before us - our parents, the soil, the earthworm - and that is why the giving of food in Indian thought has been treated as everyday sacrifice that we have to perform. It is a ritual embodied in every meal, reflecting the recognition that giving is the condition of our very being. We do not give as an extra, we give because of our interdependence with all of life.

One of my favourite images in India is the kolam, a design which a woman makes in front of her house. In the days of Pongal, which is the rice harvest festival in South India, I have seen women get up before dawn to make the most beautiful art work outside their houses, and it is always made with rice. The real reason is to feed the ants, but it is also a beautiful art form that has gone on from mother to daughter, and at festival time everyone tries to make the best kolam as their offering. Thus, feeding the ants and works of art are integrated.

The indica rice variety's homeland is a tribal area called Chattisgarh in India. It must be about fifteen years ago that I first went there. The people there weave beautiful designs of paddy, which they then hang outside their houses. I thought that this must be related to a particular festival, and I asked, "What festival is it for?" They said, "No, no, this is for the season when the birds cannot get rice grain in the fields." They were putting rice out for other species, in very beautiful offerings of art work.

Because we owe the conditions of our life to all other beings and all other creatures, giving - to humans and to non-human species - has inspired annadana, the gift of food. All other ethical arrangements in society get looked after if everyone is engaging in annadana on a daily basis. According to an ancient Indian saying: "There is no gift greater than annadana, the giving of food." Or again, in the words of the sacred texts: "Do not send away anyone who comes to your door without offering him or her food and hospitality. This is the inviolable discipline of humankind; therefore have a great abundance of food and exert all your efforts towards ensuring such abundance, and announce to the world that this abundance of food is ready to be partaken by all."

Thus from the culture of giving you have the conditions of abundance, and the sharing by all.

IF WE REALLY look at what is happening in the world, we seem to have more and more food surpluses, while 820 million people still
go hungry every day. As an ecologist, I see these surpluses as pseudo-surpluses. They are pseudo-surpluses because the overflowing stocks and packed supermarket shelves are the result of production and distribution systems which take food away from the weak and marginalised, and from non-human species.

I went through the food department of Marks & Spencer the other day, and I went dizzy seeing all the food there, because I knew that, for example, a peasant's rice field would have been converted into a banana plantation to get luscious bananas to the world's markets. Each time I see a supermarket, I see how every community and ecosystem's capacity to meet its food needs is being undermined, so that a few people in the world can experience food 'surpluses'.

But these are pseudo-surpluses leadingto 820 million malnourished people, while many others eat too much and get ill or obese.

LET US SEE how food is produced. To have sustainable food supplies we need our soils to function as living systems: we need all those millions of soil organisms that make fertility. And that fertility gives us healthy foods. In industrial cultures we forget that it is the earthworm that creates soil fertility; we believe that soil fertility can come from nitrates - the surplus of explosives factories; that pest-control does not come out of the balance of different crops hosting different species, but from poisons. When you have the right balance, living organisms never become pests: they all coexist, and none of them destroys your crop.

The recently released report of the Food and Agriculture Organization has chart after chart to show how in the last century we increased food productivity. But all they really calculated is labour displacement. They only looked at labour productivity - as how much food a human being produces by using technologies that are labour-displacing, species-displacing and resource-destroying. It does not mean that you have more food per acre; it does not mean that you have more food per unit used of water; it does not mean that you have more food for all the other species that need food. All of these diverse needs are being destroyed as we define productivity on the basis of food production per unit of labour.

We are now working on technologies, based on genetic engineering, which accelerate this violence towards other beings. On my recent trip to Punjab, it suddenly hit me that they no longer have pollinators. Those technologically obsessed people are manipulating crops to put genes from the Bt toxin (the soil bacterium Bacillus thuringiensis) into plants, so that the plant releases toxins at every moment and in every cell: in its leaves, its roots, its pollen. These toxins are being eaten by ladybirds and butterflies which then die.

We do not see the web of life that we are rupturing. We can only see the interconnections if we are sensitive to them. And when we are aware of them we immediately recognise what we owe to other beings: to the pollinators, to the farmers who have produced the food, and to the people who have nourished us when we could not nourish ourselves.

The giving of food is related to the idea that every one of us is born in debt to other beings: our very condition of being born depends on this debt. So we come with a debt and for the rest of our lives we are paying back that debt - to the bees and the butterflies that pollinate our crops, to the earthworms and the fungi and the microbes and the bacteria in the soil that are constantly working away to create the fertility that our chemical fertilisers can never, never replenish.

We are born and live in debt to all Creation, and it becomes our duty to recognise this. The gift of food is merely a recognition of the need for constantly paying back that obligation, that responsibility. It is merely a matter of accepting and endeavouring to repay our debts to Creation, and to the communities of which we are a part. And that is why most cultures that have seen ecology as a sacred trust have always spoken of responsibility. Rights have flowed out of responsibility: once I ensure that everyone in my sphere of influence is fed, someone in that sphere is also ensuring that I am fed.

WHEN I LEFT university teaching in 1982, everyone said, "How will you manage without a salary?" I replied by saying that if ninety per cent of India manages without a salary, all I have to do is put my life in the kind of relationships of trust that they live through. If you give, then you will receive. You do not have to calculate the receiving: what you have to be conscious of is the giving.

In modern economic systems we also have debts, but they are financial debts. A child born in any Third World country already has millions of dollars of debt on her or his head owed to the World Bank, which has every power to tell you and your country that you should not be producing food for the earthworms and the birds, or even for the people of the land: you should be growing shrimps and flowers for export, because that earns money.

It does not earn very much money, either. I have made calculations that show that one dollar of trading by international business, in terms of profit, leads to $10 of ecological and economic destruction in local ecosystems. Now if for every dollar being traded we have a $10 shadow-cost in terms of how we are literally robbing food from those who need it most, we can understand why, as growth happens and as international trade becomes more 'productive', there is, inevitably, more hunger: because the people who needed that food most are the ones who are being denied access to it by this new system of trading. This so-called free trade is taking away from them any way of looking after others' needs, or their own.

People ask me: "How can we protect biodiversity if we are to meet growing human needs?" My reply is that the only way to meet growing human needs is to protect biodiversity, because unless we are looking after the earthworms and the birds and the butterflies we are not going to be able to look after people either. This idea that somehow the human species can only meet its needs by wiping out all other species is a wrong assumption: it is based on not seeing how the web of life connects us all, and how much we live in interaction and in interdependence.

Monocultures produce more monocultures, but they do not produce more nutrition. If you take a field and plant it with twenty crops, it will have a lot of food output, but if any one of those individual yields - say of corn or wheat - is measured in comparison with that of a monoculture field, of course you will have less, because the field is not all corn. So just by shifting from a diversity-based system into a monoculture industrially supported with chemicals and machines, you automatically define it as more, even though you are getting less! Less species, less output, less nutrition, less farmers, less food, less nourishment. And yet we have been absolutely brainwashed into believing that when we are producing less we are producing more. It is an illusion of the deepest kind.

Trade today is no longer about the exchange of things which we need and which we cannot produce ourselves. Trade is an obligation to stop producing what we need, to stop looking after each other, and to buy from somewhere else.

In trade today there are four grain giants. The biggest of them, Cargill, controls seventy per cent of the food traded in the world; and they fix the prices. They sell the inputs, they tell the farmer what to grow, they buy cheaply from the farmer, then they sell it at high cost to consumers. In the process they poison every bit of the food chain. Instead of giving, they are thinking of how they can take out that last bit, from ecosystems, other species, the poor, the Third World.

In the early 1990s Cargill said, "Oh, these Indian peasants are stupid. They do not realise that our seeds are smart: we have found new technologies that prevent the bees from usurping the pollen." Now the concept of 'the gift of food' tells us that pollen is the gift that we must maintain for pollinators, and therefore we must grow open-pollinated crops that bees and butterflies can pollinate. That is their food and it is their ecological space. And we have to make sure that we do not eat into their space.

Instead, Cargill says that the bees usurp the pollen - because Cargill have defined every piece of pollen as their property. And in a similar way, Monsanto said: "Through the use of Roundup we are preventing weeds from stealing the sunshine." The entire planet is energised by the life-giving force of the sun, and now Monsanto has basically said that it is Monsanto and the farmers in contract with Monsanto that, alone on the planet, have the right to sunshine - the rest of it is theft.

So what we are getting is a world which is absolutely the opposite to the 'giving of food'. Instead, it is the taking of food from the food chain and the web of life. Instead of gift we have profit and greed as the highest organising principle. Unfortunately, the more the profit, the more hunger, illness, destruction of Nature, of soil, of water, of biodiversity, the more non-sustainable our food systems become. We then actually become surrounded by deepening debt: not the ecological debt to Nature, to the Earth and to other species, but the financial debt to the money-lenders and to the agents of chemicals and seeds. The ecological debt is in fact replaced by this financial debt: the giving of nourishment and food is replaced by the making of more and more profits.

WHAT WE NEED to do now is to find ways of detaching ourselves from these destructive arrangements. It is not just replacing free trade with fair trade: unless we see how the whole is leading to the poisoning and polluting of our very beings, of our very consciousness, we will not be able to make the deeper shifts that allow us to create abundance again. In taking all from nature, without giving, we are not creating abundance; we are creating scarcity.

Growing world hunger is part of that scarcity. And the growing diseases of affluence are a part of that scarcity too. If we relocate ourselves again in the sacred trust of ecology, and recognise our debt to all human and non-human beings, then the protection of the rights of all species simply becomes part of our ethical norm and our ethical duty. And as a result of that, those who depend on others for feeding them and for bringing them food will get the right kind of food and the right kind of nourishment. So, if we begin with the nourishment of the web of life, we actually solve the agricultural crisis of small farms, the health crisis of consumers, and the economic crisis of Third World poverty.

Vandana Shiva is Director of Bija Vidyapeeth, the International College for Sustainable Living, in Dehra Dun, India.


http://www.resurgence.org/2005/shiva228.htm

เงินในทรรศนะของ เบอร์นาร์ด ลีเอตตาร์


I have come to the conclusion that greed and fear of scarcity are in fact being continuously created and amplified as a direct result of the kind of money we are using. For example, we can produce more than enough food to feed everybody, and there is definitely enough work for everybody in the world, but there is clearly not enough money to pay for it all.

ผมขอสรุปว่ามีการสร้างและแพร่กระจายความโลภและความกลัวความขาดแคลนขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลโดยตรงจากประเภทของเงินที่เราใช้อยู่ ยกตัวอย่างเช่นเราสามารถผลิตอาหารให้เพียงพอสำหรับทุกคน รวมทั้งทำให้ทุกคนในโลกมีงานทำได้ แต่เราไม่สามารถหาเงินมาจ่ายอย่างพอเพียงในกิจกรรมเหล่านี้

The scarcity is in our national currencies. In fact, the job of central banks is to create and maintain that currency scarcity. The direct consequence is that we have to fight with each other in order to survive. Money is created when banks lend it into existence. When a bank provides you with a $100,000 mortgage, it creates only the principal, which you spend and which then circulates in the economy.

ความขาดแคลนมีอยู่ในระบบเงินที่เราใช้ อันที่จริง ธนาคารกลางทำหน้าที่สร้างและทำให้ความขาดแคลนเงินดำรงอยู่ สิ่งที่เกิดตามมาคือเราต้องลุกขึ้นสู้กันเองเพื่อเอาชีวิตรอด เงินเกิดขึ้นมาได้เมื่อธนาคารนำออกมาให้กู้ เมื่อธนาคารให้เรากู้เงินหนึ่งแสนเหรียญ ธนาคารสร้างเฉพาะเงินต้น ซึ่งเราจะนำไปใช้และเงินนี้ก็จะหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ

The bank expects you to pay back $200,000 over the next 20 years, but it doesn't create the second $100,000 - the interest. Instead, the bank sends you out into the tough world to battle against everybody else to bring back the second $100,000.

ธนาคารจะให้เราจ่ายเงินคืนสองแสนเหรียญในอีกยี่สิบปีข้างหน้า แต่ธนาคารไม่ได้สร้างเงินอีกหนึ่งแสนเหรียญ ซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายคืน แต่ผลักให้เราไปสู่โลกที่โหดร้ายเพื่อห้ำหั่นกับคนอื่นๆ ให้ได้มาซึ่งเงินอีกหนึ่งแสนเหรียญ

Bernard Lietaer

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550

สองเรื่องไม่จริงที่ทำให้โลกไม่หายจน


บทความชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเวปไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

สองเรื่องไม่จริงที่ทำให้โลกไม่หายจน
วันทนา ศิวะ เขียน ชำนาญ ยานะ แปล
นักศึกษาปริญญาโท สาขาการแปล
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล
ฉบับแปล
หมายเหตุ: ต้นฉบับภาษาอังกฤษมีต่อด้านท้าย
วันทนา ศิวะ นักรณรงค์ปกป้องสิ่งแวดล้อมชาวอินเดีย ให้ความเห็นว่า ความยากจนทั่วโลกกำลังเป็นประเด็นร้อน แต่คนที่ต้องการกำจัดความยากจน ต้องเข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของมันเสียก่อนดูเหมือนโลกนี้จะมีคนดังจำนวนไม่น้อย ที่คิดวางแผนกำจัดความจน ตั้งแต่ บ๊อบ เกลด๊อฟ นักร้องเพลงร็อค ไปจนถึง กอร์ดอน บราวน์ นักการเมืองอังกฤษ, แต่สำหรับเจฟฟรี่ แซคส์ เขาไม่ใช่แค่คนอยากทำความดีธรรมดาๆ หากแต่เป็นหนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลก เขาเป็นผู้อำนวยการสถาบันโลก (Earth Institute) และดำรงตำแหน่งคณะกรรมการดูแลงานเร่งรัดการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ ฉะนั้น เมื่อเขาเขียนหนังสือเรื่อง จุดจบของความจน ใครต่อใครจึงให้ความสนใจ ถึงขั้นที่นิตยสารไทม์นำเรื่องนี้ไปขึ้นปกแต่วิธีกำจัดความจนของแซคส์กลับเป็นปัญหา เขาไม่เข้าใจว่า แท้จริงแล้วความจนมีสาเหตุมาจากอะไร ดูเหมือนแซคส์มองความจนเป็นบาปที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เขาเขียนในหนังสือว่า "เมื่อไม่กี่ชั่วคนก่อนหน้านี้ คนเกือบทั้งหมดมีฐานะยากจน การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้มีคนรวยหน้าใหม่เพิ่มขึ้น แต่ยังมีคนอีกมากในโลกที่ยังล้าหลัง"ข้อเขียนของแซคส์แสดงถึงความเข้าใจผิดโดยสิ้นเชิงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความจน คนจนไม่ใช่คนที่"ล้าหลัง" เรื่องความรวย แต่เป็นคนที่ถูกปล้น. ทรัพย์สินที่สะสมอยู่ในยุโรปและอเมริกาเหนือส่วนใหญ่มาจากความมั่งคั่งที่ปล้นไปจากทวีปเอเชีย, แอฟริกาและละตินอเมริกา หากไม่ทำลายอุตสาหกรรมทอผ้าที่มั่งคั่งของอินเดีย ไม่ผูกขาดควบคุมการค้าเครื่องเทศ หากไม่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอินเดียนแดง ไม่จับคนแอฟริกันมาเป็นทาส การปฏิวัติอุตสาหกรรมไม่มีวันสร้างความร่ำรวยให้กับยุโรปและอเมริกาเหนือได้อย่างทุกวันนี้เป็นแน่

การผูกขาดควบคุมทรัพยากรและการค้าในประเทศโลกที่สามด้วยความรุนแรงต่างหาก ที่สร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศซีกโลกเหนือ และสร้างความยากจนให้กับประเทศซีกโลกใต้ในยุคนี้ มีมายาคติที่สำคัญมากเกี่ยวกับเศรษฐกิจ 2 เรื่อง ที่ทำให้คนเราปฏิเสธความเชื่อมโยงข้างต้น รวมทั้งแพร่กระจายความคิดผิดๆ เกี่ยวกับความจน

มายาคติเรื่องแรก การทำลายธรรมชาติและความสามารถในการดูแลตัวเองถูกตำหนิหรือกล่าวโทษ ไม่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมและลัทธิอาณานิคมทางเศรษฐกิจ แต่เกิดจากคนจนเอง แนวคิดนี้กล่าวว่า ความยากจนก่อให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อม. โรคร้ายจึงกลับถูกนำเสนอว่าเป็นยารักษา กล่าวคือมีความเชื่อผิด ๆ ว่า ถ้าทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโต ก็จะช่วยแก้ปัญหาความยากจนและบรรเทาการทำลายสิ่งแวดล้อม ทั้งที่ความเติบโตทางเศรษฐกิจต่างหากที่เป็นต้นเหตุของปัญหามาตั้งแต่แรก นี่คือหัวใจของสิ่งที่แซคส์ วิเคราะห์มายาคติเรื่องที่สอง คือสมมุติฐานที่ว่า หากคนเราบริโภคสิ่งที่ผลิตเอง ไม่ถือว่านั่นคือการผลิตจริง ๆ อย่างน้อยก็ในแง่เศรษฐกิจ ถ้าข้าพเจ้าผลิตอาหารเองแต่ไม่นำออกขาย มันก็ไม่ทำให้ GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ)เพิ่มขึ้น ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่มีประโยชน์ต่อ"การเจริญเติบโต"ทางเศรษฐกิจ. คนเราถูกมองว่ายากจน ถ้ากินแต่อาหารที่ตนเองผลิต แทนที่จะซื้ออาหารขยะของบริษัทธุรกิจเกษตรระดับโลก คนจะถูกมองว่ายากจน ถ้าอาศัยอยู่ในบ้านที่สร้างเอง ด้วยวัสดุที่เหมาะกับสภาพแวดล้อม อย่างเช่นไม้ไผ่และดินเหนียว แทนที่จะเป็นอิฐเผาหรือบ้านปูนซีเมนต์ คนจะถูกมองว่ายากจน ถ้าใส่เสื้อผ้าเส้นใยธรรมชาติทอมือแทนผ้าใยสังเคราะห์

แต่การมีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง ที่คนรวยในโลกตะวันตกคิดว่าเป็นความยากจน ไม่ได้หมายถึงคุณภาพชีวิตที่ตกต่ำเสมอไป ตรงกันข้ามโดยธรรมชาติแล้ว เศรษฐกิจที่มีรากฐานจากความพอเพียงให้คุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยิ่ง หากวัดในแง่ของการเข้าถึงน้ำและอาหารที่สะอาด โอกาสที่จะมีชีวิตอย่างยั่งยืน มีเอกลักษณ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองและการมีชีวิตอยู่อย่างมีความหมาย แต่เพียงเพราะคนจนเหล่านี้ไม่มีประโยชน์กับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จึงถูกกล่าวหาว่าเป็นพวก"ล้าหลัง"

การแยกแยะที่ไม่ถูกต้องระหว่างปัจจัยที่สร้างความร่ำรวยกับปัจจัยที่สร้างความยากจน เป็นปัญหาสำคัญในการวิเคราะห์ของแซคส์ ด้วยเหตุนี้ แนวทางแก้ปัญหาที่เขาเสนอจึงมีแต่จะทำให้ปัญหาความยากจนรุนแรงและเลวร้ายลง มิใช่ยุติความยากจน. แนวคิดสมัยใหม่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งแซคส์คิดว่าเป็น "ยารักษา" ปัญหาความยากจนนั้น เพิ่งมีมาในประวัติศาสตร์มนุษย์เมื่อไม่นานนี้เอง ในขณะที่หลักการมีชีวิตอย่างพอเพียงทำให้สังคมมากมายอยู่รอดและเจริญรุ่งเรืองมาได้ตั้งหลายศตวรรษ สังคมเหล่านั้นเคารพข้อจำกัดของธรรมชาติและข้อจำกัดนี้ทำให้คนรู้จักจำกัดการบริโภคเมื่อสังคมสัมพันธ์กับธรรมชาติบนพื้นฐานของความพอเพียง ธรรมชาติจะดำรงอยู่ในรูปของสมบัติส่วนรวม ธรรมชาติถูกนิยามใหม่ว่าเป็น "ทรัพยากร" ต่อเมื่อกำไรกลายเป็นหลักการในการจัดการสังคมและใช้อำนาจทางการเงินมากำหนดการพัฒนา และทำลายทรัพยากรเหล่านี้เพื่อค้าขายในตลาดไม่ว่าเราจะแกล้งลืมหรือไม่ยอมรับก็ตามที แต่ทุกคนในทุกสังคมยังต้องพึ่งพาธรรมชาติ ถ้าไม่มีน้ำสะอาด, ไม่มีผืนดินที่อุดมสมบูรณ์, รวมทั้งความหลากหลายทางพันธุกรรม, มนุษย์เราจะอยู่รอดไม่ได้. ทุกวันนี้การพัฒนาเศรษฐกิจกำลังทำลายสมบัติที่เคยเป็นของส่วนรวมนี้ ก่อให้เกิดความขัดแย้งแบบใหม่ขึ้นมา กล่าวคือ การพัฒนาอ้างว่าจะช่วยประชาชน แต่กลับพรากประชาชนไปจากผืนดินและวิถีชีวิตที่ยั่งยืน ผลักไสให้คนเหล่านั้นต้องเอาชีวิตรอดในโลกที่ธรรมชาติถูกทำลายลงไปเรื่อยๆ

ระบบที่เรารู้จักกันในวันนี้ ซึ่งเป็นแม่แบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเน้นความเจริญเติบโต กำลังสร้างผลกำไรมหาศาลนับหลายพันล้านดอลลาร์ให้กับบรรษัท ขณะเดียวกันก็ผลักไสให้คนหลายร้อยล้านคนตกสู่ความยากจน ความยากจนไม่ใช่สภาวะขั้นต้นของพัฒนาการความก้าวหน้าที่มนุษย์ต้องหนีให้พ้นอย่างที่แซคส์เสนอ มันคือสภาวะสุดท้ายที่คนเราต้องเผชิญ เพราะการพัฒนาแบบด้านเดียวทำลายระบบสังคมและระบบนิเวศวิทยา ซึ่งทำหน้าที่พยุงชีวิต สุขภาพ และความเป็นอยู่อย่างยั่งยืนของคนและโลกมาแล้วนานแสนนานให้ย่อยยับ

ความจริงคือ คนเราไม่ได้ตายเพราะไม่มีรายได้ แต่ตายเพราะไม่สามารถเข้าถึงสมบัติส่วนรวมได้ต่างหาก ตรงนี้ก็เช่นกัน แซคส์เข้าใจผิดอีกที่กล่าวว่า "ในโลกที่อุดมสมบูรณ์ คนนับพันล้านคนยังยากจนข้นแค้นในระดับวิกฤต" ชาวพื้นเมืองแถบลุ่มน้ำอเมซอน, คนในชุมชนเทือกเขาหิมาลัย, ชาวไร่ชาวนาทุกแห่งหนที่แผ่นดินยังไม่ถูกยื้อแย่งไป, แหล่งน้ำและความหลากหลายทางชีวภาพที่ยังไม่ถูกทำลายด้วยการเกษตรแบบอุตสาหกรรมที่สร้างหนี้สิน ต่างมีความมั่งคั่งด้านสิ่งแวดล้อม ถึงแม้จะมีรายได้น้อยกว่าวันละหนึ่งดอลลาร์ก็ตามในทางตรงข้าม คนจะยากจนเพราะต้องใช้เงินซื้อสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานในราคาแพง ไม่ว่าจะหาเงินได้เท่าใดก็ตาม ดูกรณีของอินเดีย เนื่องจากอาหารและเส้นใยราคาถูกที่ประเทศพัฒนาแล้วนำมาทุ่มตลาด พร้อมทั้งการที่รัฐบาลอินเดียลดมาตรการคุ้มครองทางการค้า ราคาพืชผลในประเทศอินเดียจึงตกฮวบฮาบ ซึ่งหมายความว่า ชาวนาชาวไร่อินเดียต้องสูญเสียรายได้ถึงปีละ 2,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

เกษตรกรจำนวนมากไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจใหม่ ต้องทนทุกข์กับความยากจนแสนสาหัส ในแต่ละปีมีหลายพันคนต้องฆ่าตัวตาย ในที่อื่นๆของโลก น้ำถูกแปรรูปเป็นของเอกชน บรรษัทเหล่านั้นทำกำไรได้ถึงล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี จากการขายทรัพยากรที่จำเป็นต่อชีวิตให้คนจน ทั้งที่เมื่อก่อน น้ำเป็นสิ่งที่ไม่ต้องใช้เงินซื้อ

"เงินช่วยเหลือ" มูลค่า 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งหยดมาจากซีกโลกเหนือสู่ประเทศซีกโลกใต้ เป็นเพียงแค่เศษหนึ่งส่วนสิบของเงิน 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ถูกดูดออกไปเพื่อจ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ และผ่านกลไกอันอยุติธรรมอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจโลก ตามคำบงการของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศถ้าเราต้องการกำจัดความจนอย่างจริงใจ เราต้องจริงจังที่จะหยุดระบบต่างๆ ที่สร้างความยากจน หยุดการปล้นสมบัติส่วนรวม การดำรงชีพ และรายได้ไปจากคนจน

ก่อนที่เราจะทำให้ความยากจนเป็นเพียงประวัติศาสตร์ เราต้องทำให้ประวัติศาสตร์เรื่องความยากจนถูกต้องเสียก่อน มันไม่ใช่เรื่องที่ว่า ประเทศร่ำรวยจะบริจาคช่วยเหลือได้มากแค่ไหน แต่ขึ้นอยู่กับว่าประเทศเหล่านั้นจะกอบโกยน้อยลงแค่ไหนต่างหาก

หมายเหตุ : ดร.วันทนา ศิวะเป็นนักฟิสิกส์และนักเคลื่อนไหวปกป้องสิ่งแวดล้อมชาวอินเดียคนสำคัญ เป็นผู้ก่อตั้งนวธัญญา (Navdanya) ซึ่งเป็นองค์กรที่เคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิทธิของเกษตรกร. เธอเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนโยบายทรัพยากรธรรมชาติ. งานเขียนเมื่อเร็วๆนี้ของเธอประกอบด้วย Biopiracy: The Plunder of Nature and Knowledge and Stolen Harvest: The Hijacking of the Global Food Supply.

ขอขอบคุณ คุณภัควดี วีระภาสพงษ์ สำหรับคำแนะนำและการปรับแก้ต้นฉบับให้กับผู้แปล

..................................
ต้นฉบับ

Two Myths that Keep the World Poor by Vandana Shiva

Global poverty is a hot topic right now. But anyone serious about ending it needs to understand the true causes, argues Indian environmentalist Vandana Shiva. From rock singer Bob Geldof to UK politician Gordon Brown, the world suddenly seems to be full of high-profile people with their own plans to end poverty. Jeffrey Sachs, however, is not a simply a do-gooder but one of the world's leading economists, head of the Earth Institute and in charge of a UN panel set up to promote rapid development. So when he launched his book The End of Poverty, people everywhere took notice. Time magazine even made it into a cover story.

But, there is a problem with Sachs' how-to-end poverty prescriptions. He simply doesn't understand where poverty comes from. He seems to view it as the original sin. "A few generations ago, almost everybody was poor," he writes, then adding: "The Industrial Revolution led to new riches, but much of the world was left far behind."

This is a totally false history of poverty. The poor are not those who have been "left behind"; they are the ones who have been robbed. The wealth accumulated by Europe and North America are largely based on riches taken from Asia, Africa and Latin America. Without the destruction of India's rich textile industry, without the takeover of the spice trade, without the genocide of the native American tribes, without African slavery, the Industrial Revolution would not have resulted in new riches for Europe or North America. It was this violent takeover of Third World resources and markets that created wealth in the North and poverty in the South.
Two of the great economic myths of our time allow people to deny this intimate link, and spread misconceptions about what poverty is.

First, the destruction of nature and of people's ability to look after themselves are blamed not on industrial growth and economic colonialism, but on poor people themselves. Poverty, it is stated, causes environmental destruction. The disease is then offered as a cure: further economic growth is supposed to solve the very problems of poverty and ecological decline that it gave rise to in the first place. This is the message at the heart of Sachs' analysis. The second myth is an assumption that if you consume what you produce, you do not really produce, at least not economically speaking. If I grow my own food, and do not sell it, then it doesn't contribute to GDP, and therefore does not contribute towards "growth". People are perceived as "poor" if they eat food they have grown rather than commercially distributed junk foods sold by global agri-business. They are seen as poor if they live in self-built housing made from ecologically well-adapted materials like bamboo and mud rather than in cinder block or cement houses. They are seen as poor if they wear garments manufactured from handmade natural fibres rather than synthetics.

Yet sustenance living, which the wealthy West perceives as poverty, does not necessarily mean a low quality of life. On the contrary, by their very nature economies based on sustenance ensure a high quality of life-when measured in terms of access to good food and water, opportunities for sustainable livelihoods, robust social and cultural identity, and a sense of meaning in people's lives. Because these poor don't share in the perceived benefits of economic growth, however, they are portrayed as those "left behind".

This false distinction between the factors that create affluence and those that create poverty is at the core of Sachs' analysis. And because of this, his prescriptions will aggravate and deepen poverty instead of ending it. Modern concepts of economic development, which Sachs sees as the "cure" for poverty, have been in place for only a tiny portion of human history. For centuries, the principles of sustenance allowed societies all over the planet to survive and even thrive. Limits in nature were respected in these societies and guided the limits of human consumption.

When society's relationship with nature is based on sustenance, nature exists as a form of common wealth. It is redefined as a "resource" only when profit becomes the organising principle of society and sets off a financial imperative for the development and destruction of these resources for the market.

However much we choose to forget or deny it, all people in all societies still depend on nature. Without clean water, fertile soils and genetic diversity, human survival is not possible. Today, economic development is destroying these onetime commons, resulting in the creation of a new contradiction: development deprives the very people it professes to help of their traditional land and means of sustenance, forcing them to survive in an increasingly eroded natural world.

A system like the economic growth model we know today creates trillions of dollars of super profits for corporations while condemning billions of people to poverty. Poverty is not, as Sachs suggests, an initial state of human progress from which to escape. It is a final state people fall into when one-sided development destroys the ecological and social systems that have maintained the life, health and sustenance of people and the planet for ages.

The reality is that people do not die for lack of income. They die for lack of access to the wealth of the commons. Here, too, Sachs is wrong when he says: "In a world of plenty, 1 billion people are so poor their lives are in danger." The indigenous people in the Amazon, the mountain communities in the Himalayas, peasants anywhere whose land has not been appropriated and whose water and biodiversity have not been destroyed by debt-creating industrial agriculture are ecologically rich, even though they earn less than a dollar a day.

On the other hand, people are poor if they have to purchase their basic needs at high prices no matter how much income they make. Take the case of India. Because of cheap food and fibre being dumped by developed nations and lessened trade protections enacted by the government, farm prices in India are tumbling, which means that the country's peasants are losing $26 billion U.S. each year.

Unable to survive under these new economic conditions, many peasants are now poverty-stricken and thousands commit suicide each year. Elsewhere in the world, drinking water is privatised so that corporations can now profit to the tune of $1 trillion U.S. a year by selling an essential resource to the poor that was once free. And the $50 billion U.S. of "aid" trickling North to South is but a tenth of the $500 billion being sucked in the other direction due to interest payments and other unjust mechanisms in the global economy imposed by the World Bank and the IMF.

If we are serious about ending poverty, we have to be serious about ending the systems that create poverty by robbing the poor of their common wealth, livelihoods and incomes. Before we can make poverty history, we need to get the history of poverty right. It's not about how much wealthy nations can give, so much as how much less they can take.

NOTE: Dr. Vandana Shiva is a physicist and prominent Indian environmental activist. She founded Navdanya, a movement for biodiversity conservation and farmers' rights. She directs the Research Foundation for Science, Technology and Natural Resource Policy. Her most recent books are Biopiracy: The Plunder of Nature and Knowledge and Stolen Harvest: The Hijacking of the Global Food Supply. Taken and adapted with kind permission from The Ecologist (July/August 2005), a British monthly devoted to discussion of environmental issues, international politics and globalization.

ห้าร้อยปีแห่งการปล้น จากโคลัมบัสถึงบรรษัทอเมริกา


ห้าร้อยปีแห่งการปล้น: จากโคลัมบัสถึงบรรษัทอเมริกา
Five Hundred Years of Plunder: From Columbus to Corporate America
........................
Eduardo Galeano
เขียน นักเรียนการแปล แปล
.......................

12 ตุลาคม ค.ศ.1492 ประเทศอเมริกาค้นพบระบบทุนนิยม เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสนำสิ่งที่ค้นพบใหม่นี้ไปยังหมู่เกาะแห่งทะเลแคริบเบียน ด้วยการสนับสนุนทางการเงินจากกษัตริย์สเปน และนายธนาคารแห่งเมืองเจนัว ในสมุดบันทึกการค้นพบ โคลัมบัส ในฐานะผู้บัญชาการเรือ เขียนคำว่า ทอง 139 ครั้ง และเขียนคำว่า "พระเจ้า" หรือ "พระเป็นเจ้าของเรา" 51 ครั้ง

ชายหาดอันบริสุทธิ์ทำให้โคลัมบัสคึกคักอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย วันที่ 27 พฤศจิกายน โคลัมบัสทำนายว่า "อาณาจักรพระคริสต์จะมาทำธุรกิจที่หมู่เกาะนี้" อย่างน้อยเขาก็ทำนายถูก เขาอาจเข้าใจผิดคิดว่าประเทศเฮติคือญี่ปุ่น คิดว่าประเทศคิวบาคือจีน และเชื่อว่าคนในประเทศจีนคือชาวอินเดียในประเทศอินเดีย แต่ในเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจแล้ว เขาไม่ผิดพลาดเลยแม้แต่น้อย

ระยะเวลาห้าร้อยปีในการทำธุรกิจของอาณาจักรพระคริสต์ ผืนป่าในทวีปอเมริกาถูกทำลายไปหนึ่งในสามส่วน พื้นที่สำคัญที่เคยเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไม่สามารถเพาะปลูกได้อีก และกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรมีอาหารกินเพียงหนึ่งมื้อต่อวัน ชาวอินเดียนแดงซึ่งเป็นเหยื่อของการปล้นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ยังคงถูกขับไล่ออกจากดินแดนสุดท้ายที่พวกเขาเหลืออยู่ อีกทั้งยังถูกปฏิเสธไม่ให้มีตัวตนในสังคม พวกเขาถูกห้ามไม่ให้ใช้ชีวิตตามวิถีดั้งเดิม ในตอนนั้นการปล้นสะดมและการ"ฆ่าความเป็นอื่น" ทำกันในนามของพระเจ้า ปัจจุบัน พฤติกรรมดังกล่าวทำกันในนามของความเจริญ
กระนั้นก็ตาม เค้าร่างของอเมริกาในอีกรูปแบบหนึ่ง กำลังเปล่งประกายออกมาจากเอกลักษณ์ต้องห้ามและถูกรังเกียจ โดยที่อเมริกาอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมองไม่เห็น เนื่องจากถูกแนวคิดเหยียดเชื้อชาติบดบังตาความยุ่งยากในเรื่องภาษา

- 12 ตุลาคม 1492 โคลัมบัสเขียนไว้ในสมุดบันทึกว่า เขาอยากจับชาวอินเดียนแดงกลับสเปน "จะได้สอนคนพวกนี้ให้พูดเป็น" ห้าร้อยปีถัดมา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 1989 ศาลยุติธรรมของสหรัฐพิพากษาให้ ลาดิสลาโอ พาสตรานา ชาวอินเดียนแดงเผ่ามิกซ์เทก จากเขตอัวฮากา ประเทศเม็กซิโก และเป็นคนงานเกษตรที่เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย "เป็นคนวิกลจริต" เพราะเขาพูดภาษาแคสติลัน (ภาษาสเปน) ผิดๆ ถูกๆ และแนะนำให้ขังไว้ในโรงพยาบาลบ้าชั่วชีวิต. พาสตรานาไม่เข้าใจภาษาสเปนที่ล่ามพูด นักจิตวิทยาจึงวินิจฉัยว่าเขา "ปัญญาอ่อน" จนในที่สุด นักมานุษยวิทยาจึงเข้ามาคลี่คลายเรื่องทั้งหมด แท้ที่จริงแล้ว พาสตรานาสามารถสื่อสารด้วยภาษาอินเดียนแดงเผ่ามิกซ์เทก ซึ่งเป็นภาษาของชาวอินเดียนแดงที่มาพร้อมกับมรดกทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่กว่าสองพันปี ได้อย่างไม่บกพร่อง - ประเทศปารากวัยใช้ภาษากัวรานี กรณีนี้ไม่เหมือนใครในประวัติศาสตร์โลก กัวรานีเป็นภาษาประจำชาติของชาวอินเดียนแดงที่ปราชัย อย่างไรก็ตาม การสำรวจความคิดเห็นแสดงให้เห็นว่า ชาวปารากวัยส่วนใหญ่คิดว่าคนที่พูดภาษาสเปนไม่ได้"คล้ายกับสัตว์"

- ชาวเปรู หนึ่งในสองคนมีเชื้อสายอินเดียนแดง ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของเปรู ภาษาเกชัวเป็นภาษาประจำชาติ มีสถานะเท่าเทียมภาษาสเปน แต่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ประเทศเปรูปฏิบัติต่อชาวอินเดียนแดงอย่างเลวร้ายพอๆ กับที่ประเทศแอฟริกาใต้ปฏิบัติต่อคนผิวดำ ภาษาสเปนเป็นภาษาเดียวที่สอนในสถานศึกษา เป็นภาษาเดียวที่ผู้พิพากษา ตำรวจและข้าราชการเข้าใจ จริงอยู่ภาษาสเปนไม่ใช่ภาษาเดียวที่เราได้ยินในโทรทัศน์ --เพราะยังมีภาษาอังกฤษอีกภาษาหนึ่ง

- ห้าปีที่แล้ว เจ้าหน้าที่ทะเบียนราษฎร์ในกรุงบัวโนส ไอเรส เมืองหลวงของอาร์เจนตินา ไม่ยอมบันทึกสูติบัตรของเด็กคนหนึ่ง พ่อแม่ของเด็กเป็นชาวพื้นเมืองแห่งเมืองฮูฮุย ต้องการตั้งชื่อลูกตนเองเป็นภาษาพื้นเมืองว่า คอรี รามานชา เจ้าหน้าที่ทะเบียนชาวอาร์เจนตินาไม่ยอมรับ"ภาษาต่างด้าว"เช่นนั้น

ชาวอินเดียนแดงในอเมริกาต้องมีชีวิตเหมือนถูกเนรเทศในดินแดนของตัวเอง ภาษาของพวกเขาไม่ใช่สัญลักษณ์แสดงเอกลักษณ์ แต่เป็นตราบาปหรือไม่ก็คำสาป ภาษาของชาวอินเดียนแดงไม่ได้บอกว่าคนพูดเป็นใคร แต่กลายเป็นการตีตราบาป เมื่อชาวอินเดียนแดงไม่พูดภาษาตัวเอง พวกเขาก็จะเปลี่ยนเป็น"มีอารยธรรม"

สมัยผมเป็นเด็กนักเรียนในอุรุกวัย เขาสอนผมว่า ประเทศของเราได้รับการช่วยเหลือให้รอดพ้นจาก "ปัญหาคนพื้นเมือง" ด้วยฝีมือของแม่ทัพนายกองในศตวรรษที่ผ่านมา ซึ่งช่วยกันกำจัดชาวเผ่าชารัวส์ (คนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในเขตริโอ เดอ ลา พลาตา) จนสิ้นซาก

ปัญหาคนพื้นเมือง ชาวอเมริกันกลุ่มแรกสุด ซึ่งเป็นผู้ค้นพบทวีปอเมริกาที่แท้จริงกลับเป็นตัวปัญหา เพื่อจัดการกับปัญหานี้ ชาวอินเดียนแดงต้องหยุดทำตัวเป็นชาวอินเดียนแดง ต้องถูกกำจัดให้สิ้นซากจากแผนที่ หรือไม่ก็ต้องกำจัดจิตวิญญาณความเป็นอินเดียนแดง มีทางเลือกแค่สองทางคือ กำจัดทิ้ง ไม่อย่างนั้นก็ต้องกลืนเป็นพวกเดียวกัน ต้องฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ไม่อย่างนั้นก็ต้อง "ฆ่าความเป็นอื่น"

เดือนธันวาคม 1976 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของบราซิลประกาศชัยชนะว่า "ปัญหาคนพื้นเมืองจะได้รับการแก้ไขอย่างเบ็ดเสร็จ" ภายในสิ้นศตวรรษที่ยี่สิบ นับจากนี้ ชาวอินเดียนแดงทั้งหมดจะถูกกลืนกลายเข้าสู่สังคมบราซิลและจะไม่เป็นอินเดียนแดงอีกต่อไป ท่านรัฐมนตรีอธิบายว่า หน้าที่หลักขององค์กรชาวอินเดียนแดงที่รัฐบาลตั้งขึ้น ซึ่งมีหน้าที่ปกป้องชาวอินเดียนแดง (มีชื่อว่า กองทุนอินเดียนแดงแห่งชาติ) มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ชาวอินเดียนแดงหมดไป

การรุกรานผืนป่าอเมซอนโดยภาคธุรกิจที่โลภมากอยากได้สินแร่และไม้ มักมีบางอย่างมาด้วยเสมอเช่น ลูกปืน ลูกระเบิด อาหารผสมยาพิษในรูปของแจก การทำให้แหล่งน้ำเป็นพิษ การทำลายป่าไม้และการแพร่กระจายโรคร้ายซึ่งชาวอินเดียนแดงไม่รู้จักมาก่อน แต่การคุกคามที่มีมายาวนานและร้ายกาจขนาดนี้ยังไม่พอ ยังมีความพยายามทำให้ชาวอินเดียนแดงที่ยังเหลืออยู่ กลายเป็นคนเมืองเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นคนป่าเถื่อน วิธีนี้เป็นอาวุธที่ขาดเสียมิได้ ถ้าต้องการกำจัดอุปสรรคที่ยังเหลือ ซึ่งกีดขวางเส้นทางพิชิตทวีปอเมริกา

เฮนรี่ แพรท ที่ปรึกษาชาวอเมริกันผู้เคร่งศาสนาแนะนำให้ "ฆ่าอินเดียนแดงแล้วช่วยคนไว้" หลายปีต่อมา มาริโอ วาร์กาส โญซ่า นักเขียนนวนิยายชาวเปรูอธิบายว่า วิธีการเดียวที่จะแก้ปัญหาได้คือ การเปลี่ยนชาวอินเดียนแดงล้าหลังให้เป็นคนสมัยใหม่ แม้จะต้องแลกมาด้วยการทำลายวัฒนธรรมอินเดียนแดง ทั้งนี้เพื่อช่วยให้คนเหล่านั้นรอดพ้นจากความหิวโหยและความยากจน

การล้างบาปที่ทารุณโหดร้าย การล้างบาป สาปให้ชาวอินเดียนแดงทำงานแต่เช้าตรู่จนค่ำมืดในเหมืองแร่และในพื้นที่เพาะปลูก แลกกับค่าจ้างแทบไม่พอซื้ออาหารกระป๋องเลี้ยงสุนัข การช่วยเหลือชาวอินเดียนแดงยังรวมถึงการทำลายชุมชนให้แตกสลาย แล้วจับพวกเขาโยนเข้าเมืองมหาภัยไปเป็นแรงงานราคาถูก เพื่อให้ชาวอินเดียนแดงเปลี่ยนภาษา เปลี่ยนชื่อและการใช้ชีวิต ทำให้ชาวอินเดียนแดงกลายเป็นขอทาน ขี้เหล้าและโสเภณี

นอกจากนั้น การช่วยเหลือชาวอินเดียนแดงยังหมายถึงการจับคนพวกนี้แต่งเครื่องแบบ มีปืนยาวสะพายบ่า แล้วส่งไปฆ่าชาวอินเดียนแดงด้วยกันเอง หรือไม่ก็ให้ไปตายเพื่อปกป้องระบบที่ทำร้ายชีวิตพวกเขา ชาวอินเดียนแดงใช้เป็นเป้าระเบิดได้อย่างดี ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พวกเขาถูกส่งไปรบ 25,000 คน เสียชีวิตไปถึง 10,000 คน

16 ธันวาคม 1492 โคลัมบัสเขียนอธิบายในสมุดบันทึกว่า อินเดียนแดงเหมาะสำหรับ "รับคำสั่งและทำงาน ให้เพาะปลูกและทำงานอื่นๆ ตามต้องการ ให้สร้างเมืองและให้เรียนรู้วิธีสวมเสื้อผ้า และเรียนรู้วัฒนธรรมของเรา". การกดขี่ทางกาย การปล้นเอาจิตวิญญาณ เมื่อพูดถึงการกระทำสองอย่างนี้ มีการใช้คำกริยาว่า "ลดทอน" (ภาษาสเปนคือคำกริยาว่า reducer) อยู่ตลอดเวลา ชาวอินเดียนแดงที่ได้รับการช่วยเหลือถูกลดทอนลง เขาหรือเธอเหล่านั้นถูกลดทอนลงเรื่อยๆ กระทั่งสูญหายไป จนหมดสิ้นความเป็นตัวเอง จนไม่เหลือความเป็นอินเดียนแดง กลายเป็นคนไร้ตัวตน

หมอผีของชาวอินเดียนเผ่าชามาโคคอส ในประเทศปารากวัย ร้องเพลงเกี่ยวกับดวงดาว แมงมุมและทอทิลลา ผู้ร่ำไห้เร่ร่อนอยู่ในป่า หมอผีเล่าสิ่งที่นกกินปลาเคยบอกว่า "ขออย่าได้ทุกข์เพราะไม่มีกิน ขออย่าได้ทุกข์เพราะไม่มีน้ำดื่ม ขึ้นมาบนปีกของข้าเถิด เราจะไปกินปลาที่แม่น้ำและดื่มกินสายลมด้วยกัน" หมอผีร้องเพลงที่สายหมอกเคยบอกว่า "ข้ามาเพื่อให้ความเย็นเยือกหดหาย ให้สูเจ้ามนุษย์ทั้งหลายสิ้นทุกข์จากความเหน็บหนาว". หมอผีร้องเพลงที่ม้าอาชาแห่งท้องฟ้าเคยพูดว่า "เราจะควบไปด้วยกันเพื่อตามหาสายฝน"

แต่คณะหมอสอนศาสนาคริสต์ นิกายอีแวนเจลิคัล บีบบังคับให้หมอผีคนนี้ทิ้งขนนก เครื่องเป่าและคำสวด เพราะ "สิ่งเหล่านั้นมาจากปีศาจร้าย". หมอผีต้องไม่รักษาแผลงูกัด ไม่ขอฝนเมื่อเกิดความแห้งแล้ง ไม่เดินทางไปที่ต่างๆ เพื่อร้องเพลงเกี่ยวกับสิ่งที่เขาเห็น.
ในขณะสนทนากับทิซิโอ เอสโคบาร์ หมอผีเผ่าชามาโคคอส ปรารภว่า "เมื่อข้าเลิกร้องเพลง ข้าก็ป่วย ความฝันของข้าไม่มีที่ไปจึงย้อนกลับมาทำร้ายตัวข้า ตอนนี้ข้ารู้สึกแก่ชราและเป็นทุกข์ สุดท้ายแล้ว การที่ข้าละทิ้งสิ่งที่เคยเป็นของข้า มันดีต่อข้าตรงไหนหรือ?"

เหตุการณ์นี้เกิดเมื่อปี 1986 ใน ค.ศ. 1614 อาร์คบิช็อปแห่งลิม่า สั่งการให้เผาปี่เควนาส (ปี่อินเดียนแดง)และเครื่องดนตรีอื่นๆ ของชาวอินเดียนแดงทั้งหมด อีกทั้งยังสั่งห้ามไม่ให้มีการเต้นรำ ร้องเพลงและประกอบพิธีกรรมแบบอินเดียนแดง หากฝ่าฝืนมีโทษโบยหนึ่งร้อยแส้ โทษฐาน"สมคบกับมารร้าย".
เพื่อแย่งอิสรภาพและทรัพย์สมบัติไปจากชาวอินเดียนแดง พวกเขาถูกแย่งสัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นตัวตน ชาวอินเดียนแดงถูกห้ามไม่ให้ร้องเพลง ไม่ให้เต้นรำ ไม่ให้ฝันถึงเทพอันเป็นที่เคารพ แต่พวกที่ออกคำสั่ง (ชาวสเปน) กลับร้องเพลงและเต้นรำได้ อินเดียนแดงถูกตรึงกางเขนในนามของพระคริสต์ เพื่อไม่ให้ตกนรก ชนเผ่าที่นับถือผีสางต้องยอมรับพระวจนะของพระเจ้า

แน่นอน พระเจ้าของชาวคริสต์เป็นแค่ข้ออ้างของการปล้น ดังที่ท่านอาร์คบิช็อป เดสมอนด์ ตูตู แห่งประเทศแอฟริกาใต้เคยกล่าวไว้ว่า "ตอนที่พวกนั้นมา พวกเขามีคัมภีร์ไบเบิล ส่วนพวกเรามีที่ดิน พวกเขาบอกเราว่า 'จงหลับตาและภาวนาเถิด' และเมื่อพวกเราลืมตาขึ้น พวกเขามีที่ดิน ส่วนพวกเรามีคัมภีร์ไบเบิล"

รัฐสมัยใหม่ชอบใช้การศึกษาเป็นข้ออ้าง เพื่อช่วยชาวอินเดียนแดงให้พ้นจากความมืดมน คนป่าเถื่อนโง่เขลาพวกนี้ ต้องได้รับการอบรมให้มีอารยธรรม ทุกวันนี้ก็เหมือนที่เคยเป็นมาในอดีต ลัทธิเหยียดเชื้อชาติเสกให้การปล้นในยุคล่าอาณานิคม กลายร่างเป็นการสร้างความยุติธรรม ผู้อยู่ใต้อาณานิคมคือคนไม่เต็มคน รับรู้ได้แค่ความเชื่องมงาย ไม่รู้จักศาสนา รู้แค่เรื่องที่เล่าสืบกันมา แต่ไม่รู้จักวัฒนธรรม คนไม่เต็มคนพวกนี้ได้รับการสั่งสอนตามสมควร และค่าแรงอันน้อยนิดถือเป็นสิ่งตอบแทนที่เหมาะสมแล้ว การปล้นทั้งแบบยุคอาณานิคมเก่าและอาณานิคมสมัยใหม่ใช้แนวคิดเหยียดเชื้อชาติ เพื่อสร้างความชอบธรรม ละตินอเมริกาปฏิบัติต่อชาวอินเดียนแดง แบบเดียวกับที่ชาติมหาอำนาจปฏิบัติต่อละตินอเมริกา

กาเบรียล เรเน โมเรโน เป็นนักประวัติศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโบลิเวีย เมื่อร้อยปีที่ผ่านมา. ทุกวันนี้ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในโบลิเวียยังตั้งชื่อตามชื่อของเขา ตัวแทนทางวัฒนธรรมของโบลิเวียผู้โด่งดังคนนี้เชื่อว่า "ชาวอินเดียนแดงเป็นลาที่จะออกลูกเป็นล่อถ้าสืบพันธ์กับคนผิวขาว" เขาชั่งน้ำหนักสมองของคนพื้นเมืองกับสมองพวกลูกครึ่ง แล้วบอกว่า สมองคนสองจำพวกนี้มีขนาดเล็กกว่าสมองคนผิวขาวประมาณ ห้า หกหรือเจ็ด ออนซ์ เขาจึงสรุปว่า ชาวอินเดียนแดงพวกนี้ "โดยธรรมชาติในระดับเซลล์แล้ว ไม่มีทางเข้าใจอิสรภาพในระบอบสาธารณรัฐ"

ริคาร์โด พัลมา คนร่วมสมัยและเพื่อนร่วมงานชาวเปรู ของเรเน โมเรโน บันทึกไว้ว่า "อินเดียนแดงเป็นเผ่าพันธุ์ที่ต่ำช้าล้าหลัง" ส่วน โดมิงโก ฟอสติโน ซาร์เมียนโต ชาวอาร์เจนตินา ใช้คำพูดเพื่อกล่าวถึงชาวอินเดียนแดงเผ่าอารอคานอสที่ต่อสู้อย่างยาวนานเพื่ออิสรภาพว่า "คนพวกนั้นไม่รู้จักแพ้ชนะ พูดอีกทีก็คือดื้อแพ่ง ไม่คู่ควรกับการผสมกลมกลืนเข้ามาอยู่ในอารยธรรมยุโรป"

การเหยียดเชื้อชาติรุนแรง การเหยียดเชื้อชาติที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ละตินอเมริกา สามารถพบได้ในคำพูดของนักปราชญ์เรืองนามหลายคนในช่วงปลายคริสตวรรษที่ 19 และพบได้จากพฤติกรรมของนักการเมืองเสรีนิยมผู้ก่อตั้งรัฐสมัยใหม่ ทั้งที่บางครั้งคนพวกนั้นก็มีเชื้อสายอินเดียนแดง เช่น พอฟิริโอ ดิอาซ ผู้วางรากฐานการพัฒนาทุนนิยมสมัยใหม่ในเม็กซิโก เขาออกคำสั่งห้ามชาวอินเดียนแดงไม่ให้เดินบนถนนสายหลัก หรือนั่งในสวนสาธารณะ จนกว่าจะเปลี่ยนกางเกงผ้าฝ้ายไปใส่กางเกงแบบชาวยุโรป และเปลี่ยนไปใส่รองเท้าหุ้มส้นแทนรองเท้าแตะ

ตอนนั้นเป็นสมัยที่ละตินอเมริกาเริ่มผูกติดกับตลาดโลก ที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิอังกฤษ นั่นคือยุคสมัยของการดูถูกชาวอินเดียนแดง "อย่างเป็นวิทยาศาสตร์" เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการปล้นแผ่นดินและแรงงาน. ตัวอย่างเช่น ตลาดการค้าต้องการกาแฟและกาแฟก็ต้องการให้ฮุสโต รูฟิโน บาริโอส ประธานาธิบดีสายเสรีนิยมหัวก้าวหน้าของกัวเตมาลา นำวิธีบังคับเกณฑ์แรงงานยุคอาณานิคมกลับมาใช้อีก รวมทั้งยกดินแดนของชาวอินเดียนแดง และแรงงานชาวอินเดียนแดงที่มีอยู่มากมายให้สมัครพรรคพวกของตน. การเหยียดเชื้อชาติกลับมากำเริบหนักในหลายประเทศ เช่นในกัวเตมาลา ซึ่งชาวอินเดียนแดงยังเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศนี้ แม้จะถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หลายต่อหลายครั้งก็ตาม

กระทั่งปัจจุบัน ไม่มีที่ไหนอีกแล้วที่แรงงานได้ค่าจ้างแย่กว่านี้ ชาวอินเดียนแดงเผ่ามายาได้รับค่าแรง 0.65 เหรียญในการเก็บเมล็ดกาแฟหนึ่งร้อยกิโลกรัม เก็บฝ้ายหรือตัดอ้อยหนึ่งพันกิโลกรัม. ชาวอินเดียนแดงปลูกข้าวโพดไม่ได้ถ้ากองทัพไม่อนุญาต ไปทำงานที่ใดก็ไม่ได้หากไม่มีใบอนุญาตทำงาน. กองทัพบังคับเกณฑ์แรงงานจำนวนมากให้เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อการส่งออก. ในไร่เกษตรกรรมขนาดใหญ่ มีการใช้ยาฆ่าแมลงที่มีพิษร้ายแรงเกินกว่าระดับที่ยอมรับกันถึง 50 เท่า, น้ำนมมารดาจึงปนเปื้อนสารพิษมากที่สุดในซีกโลกตะวันตก

ในกัวเตมาลา มีการรับรองอย่างเป็นทางการให้นิคมของชาวอินเดียนแดงจำนวน 440 แห่งหายไปจากแผนที่ประเทศนี้นับตั้งแต่ปี 1981 ถึง 1983 ซึ่งเป็นช่วงรณรงค์กวาดล้าง ทำให้ชายหญิงนับหลายพันคนถูกสังหารหรือไม่ก็ "หายตัวไป" โดยไม่มีใครต้องรับโทษใดๆ ทั้งสิ้น ปฏิบัติการกวาดล้างในเขตภูเขา(ที่เรียกว่าปฏิบัติการ "ชำระล้างแผ่นดิน") ทำให้เด็กๆ ต้องตายอีกนับไม่ถ้วน ทั้งนี้เพราะกองทัพกัวเตมาลามั่นใจว่า เชื้อชั่วของการก่อกบฏถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม

แต่ เชื้อชาติที่ถูกกล่าวหาว่าต่ำต้อย ถูกสาปให้จมอยู่กับความชั่วร้ายและความเกียจคร้าน ไม่รู้จักระเบียบและความเจริญ ควรมีชะตากรรมที่ดีกว่านี้หรือไม่? ความรุนแรงเชิงสถาบันพร้อมที่จะขับไล่ความลังเลใจให้ปลาสนาการไป ทุกวันนี้ คอนควิสตาดอร์ (ชาวสเปนผู้ได้รับชัยชนะต่อเม็กซิโกและเปรู ในราวคริสตศตวรรษที่ 16) ไม่ได้ใส่ชุดเกราะ แต่สวมชุดเครื่องแบบทหารที่ใช้รบในสงครามเวียดนาม คนพวกนั้นไม่ได้มีผิวสีขาว แต่มีหลายเชื้อชาติปะปนกัน พวกเขาได้รับการฝึกมาอย่างโหดร้ายและมีหน้าที่ก่อกรรมทำเข็ญจนตัวตาย

ประมาณ 1200 ปีก่อนหน้านักคณิตศาสตร์ชาวยุโรป ชนชาติที่ต่ำต้อยค้นพบเลขศูนย์ พวกเขารู้อายุของจักรวาลอย่างแม่นยำจนน่าทึ่ง ก่อนหน้านักดาราศาสตร์ในยุคของเราถึงพันปี.

ชาวอินเดียนแดงเผ่ามายาเป็นนักเดินทางแห่งกาลเวลาเสมอมา พวกเขาชอบถามว่า "what is a man o the road? Time?"

คำประกาศของเฮนรี่ ฟอร์ด กระนั้นก็ตาม ชาวอินเดียนแดงไม่รู้ว่าเวลาเป็นเงินเป็นทอง เหมือนดัง เฮนรี่ ฟอร์ด ประกาศให้เรารู้ เวลาเป็นรากฐานของพื้นที่ มันเป็นสิ่งที่ชาวอินเดียนแดงถือว่าศักดิ์สิทธิ์เสมือนลูกสาว, แผ่นดิน ลูกชายหรือมนุษย์. เวลาซื้อขายไม่ได้ เช่นเดียวกับผืนดินและมนุษย์ แต่อารยธรรมกลับพยายามสอนให้พวกเขาคิดเรื่องเวลาไปในทางตรงกันข้าม

ประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับใครเป็นคนเล่า สิ่งที่ชาวโรมันเรียกว่า "การรุกรานของคนป่าเถื่อน" เป็นสิ่งที่ชาวเยอรมันเรียกว่า "การอพยพลงใต้". กระทั่งทุกวันนี้ประวัติศาสตร์ทวีปอเมริกายังไม่ได้รับการบอกเล่าในแง่ที่ว่า ชาวสเปนเป็นผู้รุกราน ผู้นำทางจิตวิญญาณชาวอินเดียนแดงเผ่ามายาผู้หนึ่ง เคยกล่าวในนามของเทพเจ้าว่า "เมื่อหมดสิ้นความโลภ, ใบหน้า มือ และเท้าของโลกจะถูกปลดพ้นพันธนาการ" เมื่อปากไม่ถูกปิดกั้น ปากนั้นจะบอกเราเรื่องอะไร? เมื่อมีอิสระ เสียงที่ไม่เคยมีใครได้ยินเลย จะเอื้อนเอ่ยเรื่องใดกับเรา? มุมมองของผู้รุกราน ซึ่งเป็นเพียงมุมมองเดียวที่รับรู้กัน ระบุว่า แบบแผนพฤติกรรมของชาวอินเดียนแดงคือหลักฐานแสดงการถูกภูตผีปีศาจครอบงำ หรือไม่ก็เกิดจากความต่ำต้อยทางชีววิทยา มุมมองเช่นนี้มีมาตั้งแต่ยุคแรกของการล่าอาณานิคม

- ชาวอินเดียนแดงแห่งทะเลแคริบเบียนฆ่าตัวตาย แทนที่จะยอมเป็นแรงงานทาส แสดงว่าคนพื้นเมืองเหล่านั้นเกียจคร้านสันหลังยาว - ชาวอินเดียนแดงไม่สวมเสื้อผ้า โดยถือว่าร่างกายเป็นเหมือนใบหน้า แปลว่าคนพื้นเมืองพวกนี้ไร้ความอาย

- ชาวอินเดียนแดงไม่รู้จักสิทธิในทรัพย์สิน มีสิ่งใดก็แบ่งปันกันและไม่อยากได้ใคร่ดีกับความมั่งคั่ง แปลว่าคนพื้นเมืองพวกนี้เหมือนลิงมากกว่าคน

- ชาวอินเดียนแดงชำระล้างร่างกายบ่อยเกินไป แสดงว่าคนพื้นเมืองพวกนี้คล้ายพวกชาวมุสลิมนอกรีต ที่ควรถูกเผาในกองไฟของอัยการศาลศาสนา

- ชาวอินเดียนแดงไม่เคยทุบตีเด็ก ปล่อยให้เด็กมีอิสรภาพตามใจ แปลว่า คนพื้นเมืองพวกนี้ไม่รู้จักหลักการลงโทษ เป็นคนไร้กฎระเบียบ

- ชาวอินเดียนแดงเชื่อเรื่องความฝัน เชื่อฟังเสียงต่างๆ ที่ได้ยิน พฤติกรรมนี้แสดงว่าถูกอิทธิพลซาตานครอบงำ หรือไม่ก็ทำเพราะโง่เขลาเบาปัญญา

- ชาวอินเดียนแดงกินอาหารเมื่อหิว ไม่กินเป็นเวลา แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คนพื้นเมืองพวกนี้ไม่รู้จักควบคุมสัญชาตญาณของตนเอง

- ชาวอินเดียนแดงมีเพศสัมพันธ์เมื่อเกิดความต้องการ แปลว่ามารร้ายบงการให้คนพื้นเมืองพวกนี้กระทำบาปกำเนิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า

- ไม่มีการประณามพฤติกรรมรักร่วมเพศ ไม่มีการให้คุณค่าเป็นพิเศษแก่พรหมจรรย์ แปลว่าว่าคนพื้นเมืองพวกนี้กำลังเข้าแถวรอเข้าห้องพิพากษาโทษเพื่อลงนรก

เมื่อปี ค.ศ.1523 หัวหน้าเผ่าอินเดียนแดงแห่งนิคารากัวถามบรรดาคอนควิสตาดอร์ (conquistadores - หมายถึงชาวสเปนผู้มีชัยชนะต่อเม็กซิโกและเปรู ในราวคริสตศตวรรษที่ 16) ว่า "ใครกันที่เลือกผู้นำท่านเป็นกษัตริย์?" หัวหน้าเผ่าท่านนี้ได้รับเลือกจากกลุ่มผู้อาวุโสในเผ่า

ประชาธิปไตยยุคก่อนโคลัมบัส อเมริกายุคก่อนโคลัมบัสกว้างใหญ่ไพศาลและมีประชาธิปไตยหลากหลายรูปแบบ ซึ่งยุโรปไม่เคยพบเห็นมาก่อน แม้แต่โลกปัจจุบันก็ไม่รู้จัก การลดทอนความจริงเกี่ยวกับชาวพื้นเมืองของอเมริกา ให้เหลือแค่ระบอบเผด็จการบ้าอำนาจของเจ้าผู้ปกครองอาณาจักรอินคา หรือพฤติกรรมโชกเลือดของราชวงศ์แอสเตค ก็เปรียบเหมือนกับการมองยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการในยุโรปว่า มีแค่ระบอบทรราชของราชวงศ์ หรือพิธีกรรมชั่วร้ายของศาลศาสนา

ยกตัวอย่างเช่น ในประเพณีของชาวอินเดียนแดงเผ่ากัวรินี หัวหน้าเผ่าจะได้รับการเลือกตั้งจากสภาที่มีทั้งหญิงและชาย และถูกถอดถอนได้หากไม่ทำตามหน้าที่. ในเผ่า อีโรควอย ชายและหญิงมีสิทธิทางการเมืองเท่าเทียมกัน หัวหน้าเผ่าเป็นผู้ชายก็จริง แต่ได้รับเลือกตั้งและถอดถอนได้โดยผู้หญิง ผู้หญิงมีอำนาจการตัดสินใจในแง่มุมต่างๆ ที่สำคัญของสมาพันธ์ชนเผ่าโดยอาศัย สภาแม่บ้าน. ประมาณ ค.ศ. 1600 เมื่ออินเดียนแดงผู้ชายเผ่า อีโรควอย ก่อสงครามเองโดยไม่ปรึกษา ผู้หญิงในเผ่าจึงประท้วงไม่ให้หลับนอนด้วย ไม่นานหลังจากนั้น ชายชาวอินเดียนแดงที่ถูกทิ้งให้นอนคนเดียว ก็พากันตกลงตั้งรัฐบาลร่วมหญิงชาย

เมื่อปี 1919 หัวหน้าเผ่าอินเดียนแดงบนเกาะแซนบลัส (ใกล้กับปานามา) ประกาศชัยชนะว่า "หญิงชาวอินเดียนแดงต้องเลิกสวมโมลาส (ชุดพื้นเมือง) และหันมาแต่งชุดตามแบบอารยชน".
เขาประกาศด้วยว่า หญิงชาวอินเดียนแดงต้องเลิกทาสีที่จมูก แต่ให้ปัดแก้มแทน และเธอเหล่านั้นควรเลิกสวมห่วงทองที่จมูก โดยสวมแค่ต่างหูให้พอเหมาะเท่านั้น.
70 ปีต่อมาในยุคของเรา หญิงอินเดียนแดงเผ่าคุนายังคงสวมห่วงทองที่จมูก และสวมชุดประจำเผ่าที่ตัดเย็บจากผ้าหลากสีผสมผสานจินตนาการและความงามสุดพรรณนา ชุดที่เธอสวมประดับกายจะถูกฝังไปพร้อมกับร่างยามสิ้นใจ

ในปี 1989 ยุคที่เริ่มถูกสหรัฐรุกราน นายพลมานูเอล โนริเอกา ยืนยันกับชาวโลกว่า ประเทศปานามาเป็นประเทศหนึ่งที่เคารพหลักสิทธิมนุษยชน เขาอธิบายว่า เพราะ "พวกเราเป็นชนเผ่าพื้นเมือง".

เครื่องมือโบราณของอินเดียนแดงเผ่าต่างๆ แปรเปลี่ยนทะเลทรายในเทือกเขาแอนดีสให้อุดมสมบูรณ์ ส่วนเทคโนโลยีสมัยใหม่ของธุรกิจเกษตรเอกชน ที่ผลิตเพื่อการส่งออก ทำให้พื้นที่อุดมสมบูรณ์กลายเป็นทะเลทราย ทั้งในเขตเทือกเขาแอนดีส และที่อื่นๆ

คงเป็นเรื่องไร้เหตุผลที่จะกลับไปใช้เทคนิคการผลิตแบบห้าร้อยปีที่แล้ว แต่มันก็ไร้เหตุผลพอๆ กันที่จะมองข้าม หายนภัยที่เกิดจากระบบที่บังคับกดขี่คน ที่แผ้วถางทำลายป่าจนราบ ที่เหยียบย่ำทำร้ายผืนดินและทำให้แม่น้ำเป็นพิษ เพียงเพราะอยากสร้างความมั่งคั่งสูงสุดในเวลาที่สั้นที่สุด. นี่ไม่ใช่เรื่องไร้เหตุผลหรือ ที่เอาธรรมชาติและชีวิตคนไปเซ่นบนแท่นบูชา เพื่อสังเวยตลาดการค้าระหว่างประเทศ? มันเป็นความไร้เหตุผลของเรา กระนั้นเรากลับยอมจำนนว่า มันคือโชคชะตาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

สำนึกความเป็นชุมชน สิ่งเรียกกันว่าวัฒนธรรมพื้นเมืองโบราณมักเป็นอันตราย ทั้งนี้เพราะมันทำให้คนที่ยึดถือมีสามัญสำนึก โดยธรรมชาติแล้ว สามัญสำนึกทำให้เรามีสำนึกถึงชุมชน ถ้าอากาศเป็นสมบัติของทุกคน ผืนดินจะเป็นทรัพย์สินส่วนตัวได้อย่างไร? ถ้าเราเกิดมาจากโลกและคืนสู่โลกเมื่อตายไป การก่อกรรมทำเข็ญกับโลกจะถือเป็นก่อกรรมทำเข็ญกับตัวเองหรือไม่? ผืนดินเป็นทั้งที่เกิดและที่ตาย เป็นทั้งแม่และเพื่อนร่วมชีวิต ผืนดินให้เรามีอยู่มีกิน เราต้องช่วยให้ผืนดินเป็นสุขและต้องปกป้องไม่ให้ผืนดินเสื่อมสลาย

ระบบรังเกียจสิ่งที่ตัวมันเองไม่เข้าใจ เพราะมันไม่ยอมรับสิ่งที่มันกลัว ไม่กล้าทำความรู้จัก การเหยียดเชื้อชาติจึงเป็นเหมือนหน้ากากปกปิดความกลัว.

เรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับวัฒนธรรมของคนพื้นเมือง? เราเห็นป่าแล้วรู้อะไรเกี่ยวกับวัฒนธรรมในทวีปแอฟริกาบ้าง? ท่านอาจารย์ที่ชื่อทาร์ซาน สอนอะไรเราบ้าง?

เมื่อสิ้นสุดศตวรรษที่แล้ว นายแพทย์ชาวอังกฤษ จอห์น ดาวน์ ได้ค้นพบกลุ่มอาการชนิดหนึ่ง ที่ตั้งชื่อตามชื่อของนายแพทย์ผู้นี้ เขาเชื่อว่าความผิดปกติของโครโมโซมหมายถึง "การย้อนกลับไปเป็นเชื้อชาติที่ต่ำต้อยกว่า" ทำให้เกิดอาการปัญญาอ่อนแบบมองโกลอยด์, อาการปัญญาอ่อนแบบนิกรอยด์, และอาการปัญญาอ่อนแบบแอซเทค. ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น นายแพทย์ชาวอิตาเลียน เซซาเร ลอมโบรโซ เรียกพวกที่เขาเชื่อว่าเป็น "อาชญากรแต่กำเนิด" ว่ามีลักษณะของคนผิวดำและชาวอินเดียนแดง

ดังนั้น จึงมีการสรรหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มารองรับอคติที่ว่า อินเดียนแดงและคนผิวดำมีแนวโน้มตามธรรมชาติที่ชอบก่ออาชญากรรม และบกพร่องด้านสติปัญญา. ชาวอินเดียนแดงและคนผิวดำซึ่งแต่เดิมเป็นเครื่องมือสำหรับใช้แรงงาน จึงกลายเป็นวัตถุทดสอบทางวิทยาศาสตร์ในเวลาต่อมา

เชื้อชาติผิวดำ ในยุคเดียวกันกับนายแพทย์ลอมโบรโซ และนายแพทย์ดาวน์. ไรมุนโด นีนา โรดริเกซ นายแพทย์ชาวบราซิล(ซึ่งเป็นลูกครึ่งผิวดำ) สรุปการทดลองว่า "การผสมข้ามเผ่าพันธุ์ทำให้เกิดลักษณะของเชื้อชาติต่ำต้อย" ดังนั้น "เชื้อชาติผิวดำจึงเป็นปัจจัยประการหนึ่ง ที่ทำให้ชนชาติของเราต้องต่ำต้อยเสมอไป" จิตแพทย์ผู้นี้เป็นนักวิจัยคนแรกที่มีเชื้อสายแอฟริกันที่เกิดในวัฒนธรรมบราซิล เขาพยายามศึกษาความด้อยของคนดำเสมือนว่าเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา โดยถือว่าศาสนาของคนผิวดำเป็นการบ่งถึงพยาธิวิทยา และการเต้นระบำในภวังค์ของคนผิวดำ เป็นสัญญาณที่บอกถึงอาการฮิสทีเรีย

ไม่นานหลังจากนั้น โฮเซ่ อินเจเนรีออส นายแพทย์ชาวอาร์เจนตินาผู้มีแนวคิดสังคมนิยม บันทึกว่า "คนผิวดำ ซึ่งเป็นเศษเดนที่น่ารังเกียจของเผ่าพันธุ์มนุษย์ มีความใกล้ชิดกับลิงมากกว่าที่จะเหมือนคนขาวผู้มีอารยธรรม" เพื่อสาธิตให้เห็นความต่ำต้อยที่แก้ไขไม่ได้ของคนผิวดำ นายแพทย์อินเจเนรีออส ระบุว่า "คนผิวดำไม่เคยมีความคิดเรื่องศาสนา"

ความจริง ความคิดเกี่ยวกับศาสนาข้ามทะเลมาพร้อมกับทาสผิวดำ เพียงแต่ความคิดทางศาสนาเหล่านี้ต้องหลบซ่อนอำพรางเป็นนักบุญผิวขาว ความคิดทางศาสนาที่อำพรางไว้นี่เองที่ช่วยคนหลายล้านคนที่ถูกฉุดคร่าอย่างทารุณมาจากแอฟริกา และถูกซื้อขายราวกับวัตถุให้อยู่รอดต่อไปได้. เทพโอกัมซึ่งเป็นเทพแห่งอัคคี แปลงกายเป็นนักบุญจอร์จ เป็นนักบุญแอนโธนี หรือไม่ก็เป็นนักบุญไมเกิล ขณะที่เทพแชงโกซึ่งมีเสียงฟ้าร้องและสายฟ้าเป็นอาวุธกลายเป็นพระเยซูคริสต์ และเทพโอชุน หรือเทพแห่งท้องน้ำที่เงียบสงบ กลายเป็นพระแม่ผู้บริสุทธิ์แห่งแสงเทียน

เทพเจ้าเหล่านี้เป็นสิ่งต้องห้ามในเขตอาณานิคมของจักรวรรดินิยมมหาอำนาจ หลังเลิกทาส ในทะเลแคริบเบียนที่อังกฤษปกครองอยู่ ข้อห้ามไม่ให้เล่นกลองหรือเครื่องเป่าแบบแอฟริกันยังคงบังคับใช้ นอกจากนั้น เพียงแค่ครอบครองภาพของเทพเจ้าแอฟริกัน ก็หมายถึงโทษจำคุกแล้ว

- ผิวสีดำคือเปลือกห่อหุ้มความผิดพลาดที่แก้ไขไม่ได้ ฉะนั้น ความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับเชื้อชาติเช่นเดียวกัน จึงมีความไม่สมบูรณ์ของมนุษย์เป็นข้ออ้าง- สองร้อยปีก่อน ฮุมโบลท์ บันทึกว่า ทั่วทั้งทวีปอเมริกามีลักษณะเป็นปิรามิดชนชั้นทางสังคม มีสีดำอยู่ตรงฐาน มีแสงสว่างอยู่ตรงยอด ตัวอย่างเช่น ที่ประเทศบราซิล ประชาธิปไตยแบบเชื้อชาตินิยมหมายถึง คนผิวขาวอยู่บนยอดสุดและคนผิวดำอยู่ล่างสุด- เจมส์ บาลด์วิน เขียนเกี่ยวกับคนผิวดำในสหรัฐอเมริกาว่า "เมื่อเดินทางขึ้นเหนือ พวกเราคนผิวดำไม่ได้เจออิสรภาพ เราพบแต่งานที่เลวร้ายที่สุดในตลาดแรงงาน ถึงทุกวันนี้ เราหนีออกมาจากที่นั่นไม่ได้"

ชาวอินเดียนแดงจากตอนเหนือของอาร์เจนตินา อาซุนเซียง ออนติเวรอส ยูลกีลา หวนนึกถึงเหตุการณ์น่าคับข้องใจสมัยเป็นวัยรุ่นว่า "ผู้คนที่ถือว่ามีรูปกายงดงามเพียบพร้อมด้วยความดี ต้องมีรูปกายคล้ายพระเยซูและพระแม่มารีผู้ทรงพรหมจรรย์ แต่พ่อแม่ของข้าพเจ้าไม่มีภาพลักษณ์คล้ายพระเยซูและพระแม่มารี เหมือนที่ข้าพเจ้าเห็นในโบสถ์เมืองแอบรา แปมปา เอาเสียเลย"

คุณค่าพื้นฐานที่อนุรักษ์ไว้ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ลัทธิลิขิตนิยมทางชีววิทยาสร้างตราบาปให้ "เชื้อชาติที่ด้อยกว่า" ตีตราว่าเชื้อชาติเหล่านั้นมีแต่ความเกียจคร้าน ความรุนแรง และความยากจนมาตั้งแต่เกิด ความเชื่อเช่นนี้ปิดกั้นเราไม่ให้เข้าใจต้นตอปัญหาที่แท้จริง นอกจากนี้ ยังทำให้เราไม่ยอมรับคุณค่าพื้นฐานของวัฒนธรรมที่ถูกรังเกียจ ทีได้รับการอนุรักษ์ให้อยู่รอดมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ แม้จะถูกกีดกัน เบียดเบียนและเหยียดหยามมานานนับหลายศตวรรษ คุณค่าพื้นฐานเหล่านี้ไม่ได้มีไว้จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ แต่เป็นตัวแปรทางประวัติศาสตร์ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากหากเราต้องการสร้างอเมริกาอีกแบบหนึ่ง ที่ไม่แบ่งแยกเป็นชนชั้นเจ้านายและชนชั้นทาส

ไม่นานมานี้ นักบวชนิกายเยซูอิต ชาวสเปน อิกนาซิโอ เอญาคูเรีย บอกข้าพเจ้าว่า เขาคิดว่าแนวคิดเรื่องการค้นพบอเมริกาเป็นเรื่องไร้สาระ ผู้กดขี่ไม่มีทางค้นพบอะไรได้ "ผู้ถูกกดขี่ต่างหากที่ค้นพบผู้กดขี่"

นักบวชท่านนี้เชื่อว่า ผู้กดขี่ไม่สามารถแม้แต่จะค้นพบตัวเอง ความเป็นจริงข้อนี้มีเพียงผู้ถูกกดขี่เท่านั้นที่รับรู้ได้.

อิกนาซิโอ เอญาคูเรีย ถูกกองทัพยิงเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1989.

ปัจฉิมลิขิต: ขอบพระคุณ คุณภัควดี วีระภาสพงษ์ ที่ให้คำแนะนำและตรวจแก้สำนวนให้กับผู้แปล บทความฉบับภาษาอังกฤษเผยแพร่บนเวปไซต์ DoubleStandards.Org
........................................

ต้นฉบับ
Five Hundred Years of Plunder: from Columbus to Corporate America by Eduardo Galleano


On October 12, 1492, America discovered capitalism as Christopher Columbus, financed by the kings of Spain and the bankers of Genoa brought this novelty to the Caribbean islands. In his journal of the Discovery, the Admiral employs the word "gold" 139 times and the words "God" or "Our Lord" 51. These unspoilt beaches filled him with tireless enthusiasm and on November 27 he prophesied that "all Christendom will do business here". In that at least he was right. He may have believed that Haiti was Japan and that Cuba was China and that the inhabitants of China were the Indians of India, but about the business side of things he made no mistake.

After five centuries of business-like activity on the part of all Christendom a third of the American forests have been destroyed, a significant part of the previously fertile land is sterile and more than half the population eats only one meal a day. The Indians, victims of the biggest expropriation in world history continue to be pushed off their last remaining lands and their identity is still denied. They are forbidden to live in their own way. At the outset the pillage and "othercide" was performed in the name of God; now it is done in the name of Progress.

However the outlines of another possible America - invisible to the existing America blinded by racism - shine through this forbidden and despised identity.

On October 12, 1492, Columbus wrote in his journal that he wanted to take some Indians to Spain "so that they can learn to speak". Five centuries later, on October 12, 1989, a United States' court declared Ladislao Pastrana, a Mixtec Indian from Mexico's Oaxaca region and an illegal agricultural worker in California "mentally retarded" because he could not speak proper Castillan (Spanish) and recommended that he be held for life in an asylum. Pastrana had difficulty understanding his Spanish-speaking interpreter and the psychologist diagnosed "intellectual deficiency". Finally, the anthropologists sorted things out; Pastrana expressed himself perfectly in his own language Mixtec, spoken by Indians with a 2000 year old cultural inheritance.

Paraguay speaks Guarani; this is a unique case in world history where the common national language is that of the conquered Indians. However, opinion polls reveal that the majority of Paraguayans think that whose who do not speak Spanish are "like animals".

One out of two Peruvians is Indian. According to the country's constitution, Quechua is a national language with the same status as Spanish. However reality does not conform to the constitution. Peru treats the Indians as South Africa treats blacks. Spanish is the only language taught in the schools, the only one understood by judges, police and officials; it is true that Spanish is not the only language heard on television - which also speaks English.

Five years ago, city registrars in the Argentine capital Buenos Aires refused to record the birth of a child. The parents, indigenous people from Jujuy wanted to give their child a first name from their language - Qori Wamancha. The Argentine registrars could not accept this "foreign name". The Indians of America live in exile in their own land. Their language is not a sign of identity but a mark or a curse. It does not say who a person is, it brands them. When Indians give up their language, they start to become "civilised".

When I was a child I was taught in the Uruguayan schools that our country had been saved from the "native problem" thanks to the generals of the last century who wiped out the last Charruas (a people from the Rio de la Plata region).

The native problem. The first Americans, the continent's real discoverers are a problem. To get rid of the problem the Indians must stop being Indians. They must either be wiped off the map or their spirit must be wiped out; the alternatives are annihilation or assimilation, genocide or "othercide". In December 1976, Brazil's interior minister announced triumphantly that "the native problem will be totally solved" by the end of the 20th century. By then all Indians would be properly absorbed into Brazilian society and would no longer be Indians. The minister explained that the task of the organisation officially entrusted with their protection (the national Indian Foundation) is to make them disappear.

The invasion of Amazonia by enterprises greedy for minerals and wood was accompanied by shots, dynamite, presents of poisoned food, the contamination of rivers, the destruction of forests and the spread of diseases unknown to the Indians. However this long and ferocious attack has not been enough. The domestication of the surviving Indians to save them from barbarism is also an indispensable weapon if all the remaining obstacles on the road of the Conquest are to be overcome.

"Kill the Indian and save the man" advised the pious American adviser Henry Pratt. Years later the Peruvian novelist Mario Vargas Llosa has explained that the only solution is to modernise the Indians even if this means that their culture has to sacrificed to save them from hunger and poverty.

The maelstrom of salvationSalvation has condemned Indians to working from dawn to dusk in mines and on plantations for wages which are not even enough for a can of dog food. Saving the Indians also involves breaking up their communities and throwing them into the maelstrom of the cities as cheap labour, where they change their language, their name and their bearing and where they become beggars, drunks and prostitutes.

Then again, saving the Indians can mean putting them in uniform and sending them, rifle on their shoulder, to kill other Indians or die defending the very system that has repudiated them. Indians make good cannon fodder, of 25,000 mobilised during the Second World War, 10,000 died. On December 16, 1492, Columbus explained in his journal that the Indians are there "to receive orders and to work, to sow and to do all that is necessary and to make cities and to learn to wear clothes and our customs".

Subjugation of the body; robbery of the soul. In speaking of this operation the verb "reduce to" (the Spanish verb reducir) appears all the time. The Indian saved has been reduced. S/he will be reduced until s/he disappears. Emptied of themselves, they are non-Indians, nobody.
The shaman of the Chamacocos Indians of Paraguay sings of the stars, the spiders and the mad Totila who wanders in the forests crying. He explains what the kingfisher says; "Do not suffer from hunger, do not suffer from thirst. Mount on my wings and we will eat the river fish and drink the wind". He sings about what the mist says: "I am coming to cut down the frost so that your people will not suffer from cold".

He sings about what the horses of the sky say: "We will saddle up and go to look for rain". However the missionaries of an evangelical sect forced the shaman to abandon his feathers, tambourines and chants because "these things are from the devil"; he can no longer attempt to cure vipers' bites, bring rain in times of drought, not fly over the land to sing about what he sees. In a conversation with Ticio Escobar the shaman said; "I stopped singing and I fell ill. My dreams don't know where to go and they torment me. I am old and wounded. In the end what good has it done me to give up what belonged to me?"

That was in 1986. In 1614, the Archbishop of Lima had all the quenas (Indian flutes) and other Indian musical instruments burnt and prohibited all their dances, songs and ceremonies threatening with a hundred lashes for those who refused for "they are in league with demons".

To dispossess the Indians of their freedom and belongings they were deprived of their symbols of identity. They were forbidden to sing, dance and dream of their gods even it they themselves (the Spaniards) had been danced and sung about in the distant ndians have been and are crucified in the name of Christ: to save them from the hell the idolatrous pagans must receive the word.

Of course, the God of the Christians is an alibi for robbery. As South Africa's Archbishop Desmond Tutu put it: "They came; they had the bible and we had the land. They said to us: 'close your eyes and pray.' And when we opened our eyes, they had the land and we had the bible".

The modern state prefers the alibi of education. To save them from the darkness, the ignorant barbarians must be civilised. Today, as yesterday, racism transforms colonial robbery into an act of justice. The colonised is a subhuman, capable of superstition but not of religion, capable of folklore but not of culture; the subhuman gets the treatment s/he deserves adn the small value of their labour is appropriately rewarded. Colonial and neo-colonial pillage is justified by racism, Latin America treats the Indians in the same way as the great powers treat Latin America.

Gabriel Rene Moreno was one of Bolivia's most prestigious historians of the last century. To this day one of the country's universities bears his name. This illustrious representative of a nation's culture believed that "the Indians are donkeys who produce mules when they intermingle with the white race". He weighed native and mixed-race brains; these, his scales told him weighed five, six or seven ounces less than those of a white. He concluded that they were "cellularly incapable of grasping republican liberty".

Rene Moreno's Peruvian contemporary and colleague Ricardo Palma wrote that "the Indians are an abject and degenerate race". And the Argentine, Domingo Faustino Sarmiento used the following terms to describe the long struggle of the Araucanos Indians for their freedom: "They are more indomitable, that is to say more recalcitrant, and less apt for European civilisation and assimilation."

Violent racism The most violent racism in the history of Latin America is found in the words of the most famous intellectuals of the end of the 19th century and in the deeds of the liberal politicians who founded the modern states. Sometimes they are of Indian origin, like Porfirio Diaz, the author of capitalist modernisation in Mexico who forbade Indians to walk in the main streets or sit in public parks unless they changed their cotton trousers for European style trousers and their sandals for shoes. This was the period when Latin America became tied into the world market ruled over by the British Empire, an epoch of "scientific" contempt for the Indians which provided the excuse for the robbery of lands and labour.

The market demanded, for example, coffee and coffee demanded more then, for example, that Guatemala's liberal president, Justo Rufino Barrios, a progressive man, reintroduced colonial-style forced labour and offered his friends Indian land and abundant Indian labour.
The racism reached its paroxysm in countries such as Guatemala where the Indians remained in the majority despite the repeated waves of extermination.

To this day there is no worse paid workforce: Maya Indians get $0.65 for cutting a quintal of coffee or cotton or a tonne of sugarcane. The Indians cannot sow maize without military permission nor move elsewhere without a work permit. The army organises massive labour recruitment for the sowing and harvesting of products destined for export. In the plantations pesticides 50 times more toxic than tolerable limits are used; mothers' milk is the most contaminated in the Western world. In complete impunity, it is officially recognised in Guatemala that 440 native settlements disappeared from the map between 1981 and 1983 in the course of a campaign of annihilation in which thousands of men and women were murdered or "disappeared". The cleanup in the mountains (operation "shaved earth") also led to the death of an incalculable number of children. The Guatemalan military are sure that the vice of rebellion is genetically transmitted.

But does this supposedly inferior race, condemned to vice and idleness, incapable of order and progress, deserve a better fate? Institutional violence is there to drive away any hesitation. Today's conquistadores no longer wear suits of armour but Vietnam war uniforms. They no longer have a white skin; they are mixed-race, brutally trained and obliged to carry out crimes that lead to their own death.

Some 1,200 years before Europeans mathematicians, this inferior race discovered the number zero. They knew the age of the universe with astonishing precision, a thousand years before the astronomers of our epoch.

The Mayas were always time travellers: "what is a man o the road? Time?"
Henry Ford's revelationHowever they did not know that time is money, as Henry Ford revealed. Time, the foundation of space, seemed sacred to them like a daughter, the land, a son or a human being: like the land and like people time cannot be bought and sold. Civilisation has been doing its best to teach them otherwise.

History changes depending on who is telling the story. What for the Romans were "barbarian invasions" were for the Germans "southward emigration".

Until now the history of the Americas has not been told by the the Spanish conquest a Maya prophet, speaking in the name of the gods announced: "when greed comes to an end, the face, the hands and the feet of the world will be released". And when the mouth is released, what will it say? What will this other voice that has never been heard say?

From the point of view of the conquerors - until now the only point of view presented - the morals of the Indians have always been taken as proof of their possession by demons or of their biological inferiority. This had been the case from the first days of colonialism.
The Indians of the Caribbean killed themselves rather than do slave labour. This proved that they were lazy.

They went naked as if their body was their face. This showed that they were without shame. They did not know about property rights, they shared everything and lacked the lust for wealth. This was because they were more like monkeys than humans.

They washed too often. This suggested a resemblance to the infidel Muslims, burned by the fires of the Inquisition.

They never hit their children and left them in freedom. They did not know how to administer punishment and lacked any doctrine.

They believed in dreams and obey voices. This is the influence of Satan or perhaps pure stupidity. They ate when they were hungry and not at the proper mealtimes. Clearly, they have no control over their instincts.

They make love when they feel desire. Here it is the Devil impelling them to repeat original sin. There is no stigma on homosexuality or special value put on virginity. This is because they line the antechamber to hell.
In 1523, the Indian chief Nicaragua asked the conquistadores, "and who elected your king?" He had been elected by the community elders.

Pre-Columbian democracy Pre-Columbian America was vast and diverse with forms of democracy that Europe has never seen and that the world does not know even today. To reduce the reality of native America to the despotism of the Inca emperors or the bloody practices of the Aztec dynasty would be like seeing in the European Renaissance only the tyranny of its monarchs or the sinister ceremonies of the Inquisition.

In Guarini tradition, for example, the chiefs are elected by assemblies of women and men - and they are chucked out if ir mandate. Among the Iroquois, men and women govern on an equal footing. Chiefs are men, but they are elected and deposed by women. Via the Council of Matrons they have decision-making power over the essential aspects of the life of the confederation. Around 1600 when the Iroquois men launched a war on their own initiative, the women staged a love strike. Shortly afterwards, the men, obliged to sleep alone, submitted to joint government.

In 1919, the Indian chief on the island of San Blas (near Panama) announced his triumph: "The Indian women no longer wear their (traditional) molas but civilised dresses".

He also announced that the women no longer painted their noses but their cheeks, as they should and that they no longer wore gold rings in their noses but in their ears, as was proper.
70 years after this the Kuna Indian women of our day still wear nose rings and wear their molas made of multi-coloured cloth blended with extraordinary imagination and beauty and are buried in them when they die.

In 1989, on the eve of the US invasion, General Manuel Noriega assured the world that Panama was a country that respected human rights. "We are a tribe", he explained.

The primitive tools of the Indian communities rendered fertile the deserts of the Andes chain. The modern technologies of the big private export-oriented estates have made deserts out of fertile lands, in the Andes and elsewhere.

It would be absurd to retreat five centuries in terms of productive techniques, but it is equally absurd to overlook the catastrophes produced by a system which forces human beings, razes the forests, violates the land and poisons the rivers to obtain the maximum wealth in the minimum time. Is it not absurd to sacrifice nature and people on the altar of the international market? This is our absurdity - and we accept it as if it were fate.

A sense of community So-called primitive cultures are always dangerous because they retain their common sense. Common sense, by a natural extension, gives us a sense of community. If the air belongs to all, how can the land be private property? If we come from the earth and return to it, is it not a crime against the earth a crime against us? The land is birthplace and tomb, mother and companion. It receives the first mouthful and we give it rest and protect it from erosion.

The system despises what it doesn't understand because it refuses to recognise what it fears to know. Racism is thus also a mask for fear.

What do we know about the native cultures? What we see in Wild we know of the African cultures? What we have been told by Professor Tarzan.

At the end of the last century an English doctor John Down identified the syndrome that bears his name. He believed that the alteration of the chromosomes implied "a return to inferior races" producing mongoloid idiots, negroid idiots and aztec idiots.


At the same time an Italian doctor, Cesare Lombroso gave the "born criminal" the features of blacks and Indians.

Thus the prejudice that Indians and blacks were naturally inclined to crime and mental deficiency was fitted out with a scientific basis. Indians and blacks, traditionally instruments of labour became objects of science.

In the epoch of Lombrosos and Down a Brazilian doctor Raimundo Nina Rodrigues (who was a mulatto) came to the conclusion that "the mixing of blood perpetrates the character of the inferior races" so that "the black race will always be a factor in our inferiority as a people". This psychiatrist was the first researcher of African origin into the Brazilian culture. He studied the latter as if it were a clinical case - with the black religions as a pathology, its trances a sign of hysteria.

Shortly after, an Argentine doctor, the socialist Jose Ingenerios wrote that "the blacks, ignominious slag of the human race are closer to apes than to civilised whites". To demonstrate their irremediable inferiority Ingenerios stated that "the blacks have no religious ideas".

In fact, religious ideas crossed the sea with the black slaves. They had to take refuge under the guise of white saints where they survived to help millions of people violently torn from Africa and sold as things. Ogum, the god of fire, reappeared as Saint George, Saint Anthony or Saint Michael while Shango, with his thunder and lightening became Jesus Christ and Oshun, divinity of calm waters was the virgin of the candles.

These Gods were forbidden in the colonies of all the imperial powers. In the English Caribbean, after the abolition of slavery, it was still forbidden to play the tambour or African wind instruments and the mere fact of owning an image of any African god meant prison.
Dark skin was the cloak of in corrigible faults. Thus social inequality, which is also racial, is provided with an alibi by human imperfections.

Two hundred years ago Humboldt noted that the whole of America works like this: the pyramid of the social classes is dark at the base and light at the top. In Brazil for example racial democracy means that the whites are on the top and the blacks on the bottom.
James Baldwin wrote about the blacks in the United States: "When went north we did not find freedom. We found the worst jobs on the labour market and we are still there".

An Indian from northern Argentina, Asuncion Ontiveros Yulquila has recounted the trauma of his youth: "Good and beautiful people were those who looked like Jesus and the Virgin. But my father and mother did not in any way look like the images of Jesus nd the Virgin that I saw in the church at Abra Pampa".

Fundamental values miraculously preserved Biological fatalism, which stigmatises the "inferior races", congenitally condemned to idleness, violence and poverty, does more than simply prevent us from seeing the real roots of our troubles. It also prevents us from recognising fundamental values miraculously preserved by these despised cultures and still more or less embodied by them despite centuries of persecution, humiliation and degradation. These fundamental values are not museum exhibits. They are historical factors, indispensable if we are to invent an America not divided into masters and slaves.

A short while ago, the Spanish Jesuit priest Ignacio Ellacuria told me that he thought the story of the discovery of America was absurd. The oppressor is incapable of discovery ": it is the oppressed who discovers the oppressor".

He believed that the oppressor cannot even discover himself. That reality also is only visible to the oppressed.

Ignacio Ellacuria was shot by the army in 1989.