วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550

เชื้อร้ายเสรีนิยม: สงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุด และการทำให้โลกเป็นเหมือนอเมริกา


บทวิจารณ์หนังสือ

เชื้อร้ายเสรีนิยม: สงครามที่ไม่มีวันสิ้นสุด และการทำให้โลกเป็นเหมือนอเมริกา โดย ซาเมียร์ อามิน

The Liberal Virus: Permanent War and the Americanization of the World by Samir Amin

---- บทวิจารณ์ของ เซท แซนดรอนสกี ----

หมายเหตุ ต้นฉบับภาษาอังกฤษนำเสนอท้ายฉบับแปล

พวกเสรีนิยมมีอำนาจปกครองเบ็ดเสร็จแล้วอย่างนั้นหรือ? คนพวกนี้ทำร้ายคนที่ตนเองต้องการช่วยจริงหรือไม่? จะตอบคำถามนี้ได้ ต้องขึ้นอยู่กับว่าคุณนิยามเสรีนิยมว่าอย่างไร ครั้งหนึ่ง การเป็นเสรีนิยมคือการให้อภิสิทธิ์กับตลาดเหนือชีวิตคน เช่นที่ อดัม สมิธ นักปราชญ์ทุนนิยมได้เขียนไว้เมื่อสองศตวรรษที่ผ่านมาว่า เสรีนิยมคือการที่ประเทศต่างๆ รวมถึงชนชั้นต่างๆพากันแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน หรือเรียกว่า เสรีภาพในการตลาด เมื่อสังคมมีอิสระก็จะเจริญรุ่งเรือง ในปัจจุบัน เสรีนิยม หมายถึงนโยบายหรือแนวคิดที่สวนทางกับอิสรภาพในการตลาด ดังที่อดัม สมิธเคยเขียนไว้ แนวคิดของนักปราชญ์ท่านนี้เป็นเพียงความหมายดั้งเดิมของลัทธิเสรีนิยม ความจริงในทุกวันนี้ มันเป็นเพียงวิถีทางอนุรักษ์นิยม หรือการเปิดตลาดให้เสรีเท่านั้น

ซาเมียร์ อามิน ผู้แต่ง เป็นนักสังคมศาสตร์ชาวเมืองดักการ์ ประเทศซีเนกัล เขียนว่า อเมริกาภายใต้บัญชาการของนายจอร์จ ดับยา บุช มีลัทธิเสรีนิยมเป็นความเจ็บป่วยที่เป็นอันตรายอย่างยิ่ง ในหนังสือเล่มนี้ (ซึ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Monthly Review Press ปี 2004) อามินเสนอว่า เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกจากไวรัสเสรีนิยม มีต้นตอมาจากทฤษฏีการตลาดในจินตนาการซึ่งไม่เป็นจริง (อุปโลกน์) ทฤษฏีนี้นำเสนอภาพในอุดมคติของระบบทุนนิยม ไม่มีการเคลื่อนไหวต่อสู้ของประชาชน ไม่มีการเหยียดเชื้อชาติ ไม่มีการเหยียดเพศ และไม่มีลัทธินิยมกองทัพ อยู่เลยแม้แต่น้อย มีเพียงการต่อสู้กับการว่างงาน และสู้กับสงครามเพื่อป้องกันการรุกราน ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติเท่านั้น.

อ่านหนังสือของซาเมียร์ อามินแล้ว ช่วยให้เราเห็นความแตกต่างของตลาดในจินตนาการ และทุนนิยมที่แท้จริงได้ชัดเจนขึ้น เช่นกรณีการโจมตีอิรักของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ พร้อมกับบริษัทฮาลิเบอร์ตันลงมือปล้นทรัพยากรอิรัก อามินเขียนว่า การใช้กำลังเพื่อสร้างความชอบธรรมกับการแสวงหาผลกำไรของบรรษัทเป็นเรื่องป่าเถื่อน สาธารณชนอเมริกัน รวมทั้งผู้ร่วมงาน กลุ่มเพื่อนและครอบครัว ควรตั้งคำถามเรื่องความมีสติของรัฐบาลและบรรษัท ว่ายังมีอยู่หรือไม่ เหตุใดถึงทำได้ ทั้งรัฐบาลสหรัฐและบรรษัทติดเชื้อที่ ซาเมียร์ อามิน ตั้งชื่อว่า “เชื้อร้ายเสรีนิยมซึ่งเชื่อว่าตลาดจะสร้างโอกาสให้คนเข้าถึงเสรีภาพ.

อามินเชื่อว่า ในมุมมองประวัติศาสตร์ เชื้อร้ายเสรีนิยมแพร่มาจากระบบความเชื่อในลัทธิเสรีนิยมสุดขั้ว ที่ถือเอาสหรัฐอเมริกาเป็นศูนย์กลาง ที่น่าเศร้าคือ มันเป็นปฏิปักษ์กับแนวคิดเรื่องความเสมอภาค (ในทางตรงกันข้าม) ความเสมอภาคเป็นแก่นสารของแนวคิดปลดปล่อยในยุโรป นับตั้งแต่การปฏิวัติในฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับชาวเฮติและชนชาติต่างๆ ที่มีแนวคิดปฏิวัติสังคม นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ความแตกต่างทางอุดมการณ์เกิดขึ้นในฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งของเรา สิ่งที่อเมริกาทำไว้มีอยู่สองอย่างคือ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการกดคนลงเป็นทาส เราและคนอื่นๆในโลกมีชีวิตอย่างทรมานแสนสาหัส เนื่องจากความป่วยไข้ของวัฒนธรรมการเมืองอเมริกัน อามิน กระหน่ำโจมตีสหรัฐอเมริกันอย่างไม่ยั้ง.

อามินเขียนว่า “สังคมอเมริกันเกลียดชังความเสมอภาค ไม่เพียงแต่ยอมรับความเหลื่อมล้ำอย่างสุดขั้ว ยังถือว่ามันเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จ ที่ได้จากเสรีภาพอีกด้วย แต่ทว่า เสรีภาพที่ปราศจากความเสมอภาคคือความป่าเถื่อนผมเข้าใจมากขึ้นแล้วว่า ทำไมชาวยุโรปที่มีชั่วโมงทำงานน้อยกว่า จึงมีสุขภาพดีกว่าชาวอเมริกัน.

อามินเชื่อมั่นว่า ชาวยุโรปจะสามารถสร้างนโยบาย ที่ให้ความสำคัญกับมนุษยชาติยิ่งกว่าผลกำไร ผมเองเชื่อว่า เราชาวอเมริกันจะเป็นกุญแจสำคัญที่สามารถเปลี่ยนระบบโลก ซึ่งยกย่องการทำลายล้าง ให้เป็นโลกที่เกื้อกูลมนุษยชาติ ผมชื่นชมชาวยุโรปที่ออกมาออกมาต่อต้านสิ่งที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์สิบเอ็ดกันยายน และการรุกรานปกครองอิรักเพื่อตั้งฐานทัพของสหรัฐอย่างแข็งขัน.

อามินให้เหตุผลเรื่องสงครามการก่อการร้ายของสหรัฐว่า เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอำพรางเศรษฐกิจสหรัฐที่ถดถอยลงเรื่อยๆ นับแต่สงครามเวียดนาม ที่กองทัพสหรัฐเกรี้ยวกราดเป็นการโต้ตอบคู่แข่งทางการค้าในทวีปเอเชียและยุโรป การวิเคราะห์การเมืองและเศรษฐกิจอย่างถึงรากถึงโคนของซาเมียร์ อามิน ทำได้ยอดเยี่ยม ลองอ่านบทที่ชื่อ “คำถามของเกษตรกร อามินชี้ว่าเกษตรกรสามพันล้านคนกำลังเผชิญหน้ากับเกษตรกรรมแผนใหม่ยี่สิบล้านแห่ง ธุรกิจเกษตรทุนนิยมกำลังขับไล่เกษตรกรรายย่อยออกจากแผ่นดิน มุ่งสู่เมืองใหญ่ในประเทศโลกที่สามและในสหรัฐอเมริกา ที่ที่ค่าจ้างไม่พอเลี้ยงชีวิต ต้นตอมาจากข้อตกลงการค้าหลายฉบับเช่น ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (หรือ NAFTA—ผู้แปล) ซึ่งเหยียบย่ำทำลายเกษตรกรรมขนาดเล็กในเม็กซิโก.

ผมชอบซาเมียร์ อามินวิจารณ์อุดมการณ์ก่อสงครามไม่สิ้นสุดของสหรัฐ แต่ผมอยากให้นำเสนอด้วยว่า อุดมการณ์ตลาดเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเรื่องโกหกเกี่ยวกับตลาดทางช่องฟ๊อกซ์ทีวีก็ใช่ แต่คนเราสามารถสร้างอุดมการณ์ตลาดอื่นๆได้อีก สังเกตจากลักษณะงานในประเทศทุนนิยมร่ำรวยเช่นสหรัฐอเมริกา ความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างบีบคั้นให้คนส่วนใหญ่ต้องยอมก้มหัวให้กับแนวคิดเผด็จการในที่ทำงาน ว่าเป็นกฎของธรรมชาติ เช่นเดียวกับแรงโน้มถ่วง จะมีการตลาดที่เสรีได้อย่างไร หากปราศจากอิสรภาพในการทำงาน อยากป้องกันตัวเองจากความเจ็บป่วยของการสร้างภาพการตลาด ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้!

-------------------

เซท แซนดรอนสกี เป็นสมาชิกของกลุ่มรณรงค์ต่อสู้แบบไม่ใช้ความรุนแรงแห่งเมืองซาคราเมนโต (Sacramento Area Peace Action) เป็นบรรณาธิการร่วมของหนังสือพิมพ์หัวก้าวหน้าชื่อ Because People Matter สามารถติดต่อ เซท แซนดรอนสกี ที่ ssandron@hotmail.com


ต้นฉบับ

Book review

The Liberal Virus, by Samir Amin


Are liberals in control? Do they really hurt the people they try to help? How you answer depends on your definition of the "L" word.

Once, to be a liberal meant to privilege the market over people. So wrote Adam Smith, the guru of capitalism, over two centuries ago. For him, liberalism was nations and peoples pursuing their self-interest, or freedom, in the marketplace. Thus freed, society would prosper.

Currently, liberalism describes policies or views that run counter to the market freedom that Smith backed. His vision was the traditional meaning of liberalism. Today it is actually the conservative, or free-market, approach.

In George W. Bush’s America, such liberalism is a dangerous sickness, writes author Samir Amin, a top social scientist based in Dakar, Senegal. In his book titled The Liberal Virus: Permanent War and the Americanization of the World (Monthly Review Press, 2004), he argues that the global consequences of this virus are spawned by a theory of an imaginary market. It presents an idealized version of the capitalist economy. Thus regular people’s struggles against racism, sexism and militarism vanish. In their places are "natural" rates of unemployment and "preventive" wars.

Reading Amin’s book helps us to see more clearly the distinction between the imaginary market and real capitalism. A case in point is the Pentagon’s smashing of Iraq as Halliburton Corp. is looting its energy resources. This trend of might makes right for corporate profits is barbaric, he notes.

Say that in public and many Americans—including co-workers, friends and family — might question your sanity. Why? They are infected with what Amin terms the "liberal virus," that the market brings us the opportunity for liberty.

For him, this virus flows, historically, from a U.S.-centered belief system of extreme individualism. Tragically, it has crushed the concept of equity. By contrast, equity has been central to European liberalism since the French Revolution that inspired revolutionary Haitians, and others.

The opposite has been and is the case on our side of the Atlantic. Two examples are the U.S.America’s political culture. Amin pulls no punches in criticizing the U.S.

"American society despises equality," he writes. "Extreme inequality is not only tolerated, it is taken as a symbol of "success" that liberty promises. But liberty without equality is equal to barbarism." I better understand now why Europeans work fewer hours and have better health care than Americans.

Amin has much faith in Europeans to forge policies that put humanity before profitability. I see the American people—you and me—as the key to changing the world system from one that glorifies brutality into one that nurtures humanity. Still, I am heartened by Europeans strong opposition after 9/11 to the U.S. invasion and occupation of Iraq that is establishing American military bases there.

America’s war on terror, Amin reasons, is partly a cover for a weak U.S. economy in decline since the Vietnam War. American military aggression is a response to the rise of Asian and European commercial rivals.

Amin’s radical analysis of politics and economics is a knockout. Consider his section on the "peasant question." Peasant agriculture, accounting for 3 billion humans, faces economic extermination by 20 million modern farms, he warns. Such capitalist agribusiness is driving these small farmers off their land and into big cities in the Third World and the U.S. that lack livable employment. Case in point is commercial pacts such as the North American Free Trade Agreement that are smashing small farming in Mexico.

I applaud Amin for critiquing the ideology of America’s permanent war culture. However, I wanted more on how market ideology is produced.

Believing the market myths on FOX-TV is one thing. Yet people’s lives generate market ideology in other ways. Take the nature of their work in a rich capitalist nation such as the U.S. Such relations of inequality between laborers and bosses force most folks most of the time to accept workplace tyranny as a natural law, like gravity. How can there be a "free" job market in the absence of freedom on the job?

--Seth Sandronsky, a member of Sacramento Area Peace Action and a co-editor of Because People Matter, Sacramento’s progressive paper. He can be reached at: ssandron@hotmail.com. legacy of genocide and slavery. We and the world are the worse for the resulting sickness of

http://www.politicalaffairs.net/article/articleview/893/1/86/

ไม่มีความคิดเห็น: