วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550

การแปรรูปเป็นเอกชนมีค่าใช้จ่ายสูง


การแปรรูปเป็นเอกชนมีค่าใช้จ่ายสูง
Privatisation is costly


คุณบุรินทร์ กันตะบุตร ระบุว่า การขายรัฐวิสาหกิจเป็นเอกชนจะทำให้การดำเนินกิจการดีขึ้นและช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชน แต่ผมคิดว่าไม่น่าเป็นความจริง เพราะนอกจากค่าใช้จ่ายที่สูงลิบลิ่วของการแปรรูปแล้ว(ค่าใช้จ่ายเรื่องทนาย เรื่องสถาบันการเงินและอื่นๆ) ภาคเอกชนทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นด้วย(เพราะการให้เอกชนกู้มีความเสี่ยงกว่าให้รัฐบาลกู้) และเมื่อบริการสาธารณะกลายเป็นกิจการผูกขาด อำนาจการตลาดในรูปการแข่งขันจะหมดไป ดังนั้นแม้เอกชนจะดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า แต่ก็ไม่มีแรงจูงใจเพื่อคืนกำไรให้กับสาธารณะ ผลกำไรเหล่านั้นจะเข้ากระเป๋าผู้ถือหุ้นและเป็นเงินเดือนก้อนใหญ่ของผู้บริหารระดับสูง “ประสิทธิภาพ” อาจหมายถึงการลดจำนวนคนงาน รวมทั้งอาจต้องปรับลดคุณภาพการบริการลูกค้าอีกด้วย

Khun Burin Katabutra asserts that privatising state enterprises brings greater efficiency and reduces costs to the public. On the face of it, this doesn’t seem very likely; apart from the high costs of privatisation itself (lawyers, financial institutions, etc.) the private sector brings with it higher costs (because lending to the private sector is riskier than lending to governments). And when, as is often the case, public services are monopolies, market forces in the shape of competition are missing, so that even if the private sector runs the service more efficiently there is no incentive to pass he benefits on to consumers. They will go instead to shareholders and big salaries for those at the top. And the “efficiency” may just mean reducing the workforce and hence the level of service available to customers.
อยากให้คุณบุรินทร์สอบถามผู้โดยสารรถไฟในประเทศอังกฤษดู นับตั้งแปรรูปการรถไฟ ค่าโดยสารรถไฟเพิ่มขึ้นถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนการบริการกลับลดลง การอุดหนุนกิจการต้องใช้เงินเพิ่มขึ้นมหาศาล (เนื่องจากรถไฟมักดำเนินกิจการขาดทุนมาโดยตลอด)

Khun Burin could perhaps consult rail passengers in the UK. Since the railways were privatized, fares have gone up by over 50 percent, services have declined; and the public subsidy (because railways nearly always run at a loss) has rocketed.

ผู้โดยสารบางคนต้องจ่ายค่าแปรรูปการรถไฟด้วยชีวิต ในช่วงแรกของการดำเนินการ ซึ่งประสบปัญหาทั้งการจัดการที่ย่ำแย่และระบบการบริการที่ไม่เพียงพอ จนก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นหลายครั้ง

And some passengers paid with their lives in the early stages when a combination of bad management and systematic deficiencies in the way the privation was carried out led to a number of serious accidents.

โคลิน ร็อธ (Colin Roth)

หมายเหตุ: บทความแปลฉบับนี้ นำมาจากจดหมายภาษาอังกฤษของผู้อ่าน ใน คอลัมภ์ Postbag ประจำหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ฉบับวันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550

ไม่มีความคิดเห็น: